ประเด็นความรู้ด้านการเรียนการสอน” …………………………………………………………………………………………………………..

ด้านอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของรายวิชา แนวปฏิบัติที่ดี อาจารย์ผู้สอนต้องเขียน มคอ.3 รายละเอียดแผนการเรียนรู้ และแจ้งให้ผู้เรียนทราบก่อนเริ่มทำการเรียนการสอน เพื่อเป็นการทำให้ผู้เรียนรู้ว่าจะต้องเรียนอะไร เรียนเพื่ออะไร เรียนทำไม และต้องปฏิบัติตนอย่างไรในขณะที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนนอกจากพิจารณาเขียน มคอ3 แล้วอาจารย์ผู้สอนต้องพิจารณาว่าแผนการเรียนรู้ (มคอ.3) ที่เขียนนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ของหลักสูตรและรายวิชา แผนการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลสอดคล้องกันหรือไม่ ซึ่งต้องอาจพิจารณาปรับปรุงข้อสอบ  วิธีการสอน และการวัดประเมินผล

ปัจจัยที่เกื้อหนุนการจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จนั้น  อาจารย์ผู้สอนต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการสอน  ต่อผู้เรียน  และต้องมีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาแต่ละคนว่า ไม่ใช่เป็นการลำเอียง หรือการจับผิดผู้เรียน นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนต้องสร้างแรงจูงใจในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน และสร้างแรงจูงใจในการเห็นความสำคัญของการทวนสอบ ว่าไม่ใช่ภาระงานที่หนัก และต้องให้ความร่วมมือในกิจกรรม

 

ด้านเทคนิคในการสอน

อาจารย์ผู้สอนควรเน้นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง  เน้นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้สัมพันธ์กับคนอื่น อาจารย์ผู้สินต้องสร้างบรรยากาศที่ปลุกเร้าแรงจูงใจและเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนการสอนต้องเน้นทักษะการสื่อสารได้แก่ การฟัง  การพูด  การอ่าน และการเรียน ใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิตจริง ต้องจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน ซึ่งพบว่าเทคนิคและวิธีสอนที่จะส่งเสริมการวิจัยได้แก่ การสอนแบใช้ปัญหาเป็นฐาน

ด้านการวัดและประเมินผล

–  ต้องวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  จุดประสงค์คือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การประเมิน และทวนสอบผลการเรียนได้ด้วยตนเอง

– เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลผู้เรียนควรมีลักษณะที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ทักษะทางปัญญา ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดเชิงระบบ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ทักษะ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

ด้านหลักสูตร

          ต้องมีหลักสูตรที่ดี เป็นไปตามความต้องการของตลาดในบริบทปัจจุบัน  จึงควรมีการศึกษา วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชาว่าเนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ซึ่งผู้เรียนควรได้รับนั้นมีความทันสมันต่อโลกยุคปัจจุบันหรือไม่ อาจต้องพิจารณาปรับเพิ่ม-ลดในบางหัวข้อเพื่อใหเหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา และบริบทของสังคม และวัฒนธรรม

 

ด้านตัวผู้เรียน

  1. ความพร้อมของผู้เรียนทั้งด้าน คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะด้านสังคม และทักษะด้านเทคโนโลยี เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริม สนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จเนื่องจากเป็นการเรียนในระดับผู้ใหญ่ เป็นผู้ที่มีงานทำแล้ว อาศัยประสบการณ์ในการเชื่อมโยงองค์ความรู้เก่ากับใหม่เข้าด้วยกัน และนำสู่การปฏิบัติ แต่หากตัวผู้เรียนมีประสบการณ์ที่ขัดกับองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งขององค์ความรู้
  2. ทักษะด้านอารมณ์ของผู้เรียนอาจก่อปัญหาในการจัดการเรียนการสอน การยอมรับในตัวผู้สอนเมื่อเกิดการขัดแย้งของความรู้เก่า กับความรู้ใหม่ ดังนั้นผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติเพื่อเป็นการพิสูจน์ทฤษฎีว่าจริงหรือไม่
  3. การคัดเลือกผู้เรียนเข้าสู่ระบบการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ควรต้องมีคุณสมบัติที่เป็นไปตามธรรมชาติของหลักสูตรอย่างแท้จริง เช่นสาขาหลักสูตรและการสอน ก็ควรเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจึงจะเหมาะสม ผู้เรียนสามารถจะมองเห็นประโยชน์ของการศึกษาในกหลักสูตรอย่างถ่องแท้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์จริงไม่ใช่เพื่อการเพิ่มคุณวุฒิเท่านั้น

 

ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญที่สุดในการสนับสนุนสิ่งเรียนรู้  ต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนการสอน  ห้องปฏิบัติการ  เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ควรมีความทันสมัย อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ นอกจากนี้วัสดุ อุปกรณ์บางประเภท หรือเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องมีจำนวนเพียงพอต่อการให้บริการ

 

แนวทางปฏิบัติที่ดี

  1. ก่อนการจัดทำแผนการเรียนรู้อาจารย์ผู้สอนควรวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของสาระที่เป็นองค์ความรู้ว่าควรปรับเพิ่ม-ลด ให้สอดคล้องกับความรู้ในปัจจุบันนั้นๆ

2.อาจารย์ผู้สอนต้องจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3) ก่อนล่วงหน้าการสอนอย่างน้อย 1 สัปดาห์

  1. ในสัปดาห์แรกของการสอนควรมีการปฐมนิเทศ ชี้แจง รายละเอียดการเรียนการสอน การแจ้งภาระงาน ชิ้นงาน กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลที่ชัดเจนร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษาให้ชัดเจน
  2. การวัดประเมินผลนักศึกษาต้องครอบคลุมทักษะ5 ด้านตามกรอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนตรวจสอบผลการเรียนรู้ของตนเองได้

5. ก่อนการสอบวัดผลและการประเมิน ข้อสอบ หรือเครื่องมือการประเมินควรส่งให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรร่วมพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรหรือรายวิชาหรือไม่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *