ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 1: วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 เวลา 15.15 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารและการจัดการ)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | ดร. กฤษณะ | ดาราเรือง | การติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้สอน กับ นักศึกษา นอกชั้นเรียน ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแบบเป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ เช่น e-Learning, social media ต่าง ๆ เช่น Facebook, line |
2. | อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ | หอมเจริญ | วิธีการสอนมีหลายวิธี เราต้องเลือกวิธีที่เหมาะกับผู้เรียน ซึ่งวิธีวิธีสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co – operative Leaning ) ก็เป็นการเรียนที่ต้องรับผิดชอบ ร่วมกัน คือ การให้สมาชิกทุกคนใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานกลุ่ม มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน ถ้าสมาชิกในกลุ่มไม่เข้าใจ เพื่อนในกลุ่มจะช่วยกันอธิบายจุดมุ่งหมายอยู่ที่การทำงานให้ สำเร็จ ทุกคนมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน |
3. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | การเรียนปัจจุบันผู้เรียนถ้าสังเกต จะเห็นว่า เด็กสมาธิสั้น ดังนั้นการให้นักศึกษาต้องฟังนานๆ ในเรื่องเดิมๆ เด็กจะเบื่อ และสุดท้ายก็ไม่สนใจ ดังนั้น ในการเรียน 1 วิชา/ครั้ง ควรต้องมีเทคนิคการสอนที่หลายหลาย มีการยกกรณีศึกษาและให้เด็กมีส่วนร่วมก็จะทำให้เด็กสนใจมาขึ้น |
4. | อาจารย์จิตนัย | คณะบุตร | การกำหนดกลุ่มเป้าหมายก็สำคัญ เนื้อหาในการสอนโดยดูกลุ่มนักศึกษาที่เรียนเนื้อหาแนวทางการสอนให้ตรงกับผู้เรียนโดยดูจาก อายุ กลุ่มสาขา และชั้นปีจากนั้นใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับกลุ่มดังกล่าว เช่น เกมส์ หรือสื่อที่สันสมัยทำให้เด็กตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาก็จะช่วยให้เด็กตั้งใจเรียนมากขึ้น เพราะ5.ปัจจุบันเด็กไม่ชอบจดหรือจำ แต่จะสนใจสิ่งที่แ6.ปลกใหม่ ไม่น่าเบื่อมากว่า |
5. | อาจารย์สุพจน์ | วงศ์ดี | ปัจจุบันกลุ่มผู้เรียนไม่สนใจในการเรียน และก็หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น และคุยกัน และเมื่อก่อนเน้นสอนในตำรา จึงได้ปรับปรุงกระบวกการสอนโดยเน้นให้นักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริง มีการส่งเสริมให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น |
6. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | คิดว่าผู้สอนต้องรู้ภูมิหลัง ความเป็นมาของนักศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับใด ปวช. ปวส.หรือมัธยมศึกษาตอนปราย มีความสามารถในระดับไหน มีความต้องการอะไรไม่ต้องการอะไร สนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ |
7. | อาจารย์วิรัช | กาฬภักดี | การวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อนำมาจัดทำแผนการสอนและการประเมินผลตามศักยภาพของผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ |
8. | อาจารย์มัจรี | สุพรรณ | ใช้ Social Network ในการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษานอกเวลาเรียนในห้องเรียน โดยการใช้ Google Drive |
9. | อาจารย์ ดร. ดไนยา | ตั้งอุทัยสุข | การเรียนสำคัญคือต้องรู้จักผู้เรียน เทคนิคการสอนมีหลายวิธี แต่ไม่เหมาะกับทุกคน บางคนสมาธิสั้นการที่จะตั้งคำถามในสิ่งที่ผ่านไปนานๆ เขาไม่สามารถทำได้ แต่ควรหาเครื่องมืออื่นแทน เช่น การกำหนดสถานการณ์ และให้เขามีส่วนร่วมก็จะทำให้เขาสนใจมากว่า |
10. | อาจารย์ชมานนท์ | นาถาบำรุง | การมีส่วนร่วมของผู้เรียนสำคัญ ไม่ว่าจะรูปแบบใดถ้าเขามีส่วนร่วมจะทำให้เขาจำได้และเรียนรู้ที่จะคิดต่อยอด ตรงกันข้างถ้าเขาเป็นฝ่ายรับอย่างเดียวจะทำให้เขาไม่จำและเบื่อในที่สุด |
สรุปประเด็น :
- การเรียนการสอนสามารถทำได้หลายช่องทาง ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น สามารถสื่อสารในสื่อ Online ได้ เช่น e-Learning, social media ต่าง ๆ เช่น Facebook, line
- วิธี/เทคนิคการสอนมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นต้องเลือกให้เหมาะกับผู้เรียน
- การวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อนำมาจัดทำแผนการสอนและการประเมินผลตามศักยภาพของผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- การมีส่วนร่วมของผู้เรียนสำคัญ หากการสอนแล้วกำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เช่น การคิดโจทย์ การแก้ปัญหา ฯลฯ จะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะหาคำตอบนั้นๆ
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | การกำหนดทิศทางการดำเนินงานวิจัย มีส่วนสำคัญในการทำให้หลักสูตร มีเป้าหมายในการดำเนินงานวิจัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์การวิจัยระดับชาติและความต้องการของชุมชน |
2. | อาจารย์วิรัช | กาฬภักดี | การเขียนบทความวิจัยสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องให้งานวิจัยนั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์แต่อาจเลือกนำลการวิจัยที่ดำเนินการบรรลุผลในบางวัตถุประสงค์มาเขียนเป็นบทความวิจัยเพื่อการเผยแพร่ได้ |
3. | อาจารย์มัจรี | สุพรรณ | ชื่อบทความสำคัญ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของวลี ที่ต้องมีคำนามและคำเชื่อม |
4. | อาจารย์ ดร. ดไนยา | ตั้งอุทัยสุข | การเขียนบทความวิจัย เป็นการเขียนเอกสารทางวิชาการคล้ายกับการเขียนรายงานวิจัย แต่จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด ต้องศึกษารูปแบบให้ดี เพราะเท่าที่จำได้จะมีการจำกัดจำนวนหน้าด้วย |
5. | อาจารย์ชมานนท์ | นาถาบำรุง | บทความวิจัยหรือบทความวิชาการต้องคำนึงถึงความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์มากว่ารายงานวิจัย |
6. | อาจารย์สุพจน์ | วงศ์ดี | ต้องมีความเป็นมาตรฐานมากกว่ารายงานวิจัย เพราะบทความวิจัยจะต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาสาระ และรูปแบบการจัดพิมพ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสารนั้นๆ |
7. | อาจารย์วิรัช | กาฬภักดี | ประเภทของวารสารมีหลายแบบ เช่น วารสารทางวิชาการเฉพาะทาง เป็นวารสารที่มีจุดเน้นของลักษณะที่มีจุดเน้นของลักษณะบทความต่างกัน บางฉบับก็จะเน้นบทความที่เป็นการวิเคราะห์เชิงทฤษฎี เวลาจะส่งบทความต้องศึกษาให้ดี |
8. | อาจารย์มัจรี | สุพรรณ | แต่ถ้าเป็นวารสารแนวปริทัศน์ (Review) อันนี้เน้นการพิมพ์บทความแนวบุรณาการ หรือการสังเคราะห์งานวิจัย แต่ทั้งนี้ก็ต้องตามจุดเน้นอของวารสารนั้นๆ |
9. | อาจารย์จิตนัย | คณะบุตร | วารสารต้องมีคุณภาพ ต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และที่สำคัญต้องมีคุณธรรมด้วย |
10. | ดร. กฤษณะ | ดาราเรือง | การวางแผนการตีพิมพ์ โดยจัดทำ Time line ในการดำเนินงานเพื่อวางแผนการตีพิมพ์ตามระยะเวลาที่ต้องการ |
11. | อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ | หอมเจริญ | เสนอให้มีการทบทวนปรับปรุงระบบและกลไกการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้อาจารย์เขียนบทความวิจัย/วิชาการเพิ่มมากขึ้นก่อนเป็นลำดับแรก เพราะเชื่อว่า หากมีระบบและกลไกที่ดีน่าจะช่วยให้อาจารย์มีความสะดวกในการดำเนินงานเพราะการตีพิมพ์วารสารวิชาการบางเล่มต้องเสียเงินค่าสมัครสมาชิก และชำระค่าตีพิมพ์ที่ราคาสูงเป็นอย่างมาก โดยงานวิจัยกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการให้ทุนสนับสนุนเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย/ บทความวิจัย กับจำนวนที่เรียกเก็บ โดยที่ ไม่ต้องมีส่วนต่างที่ อาจารย์เป็นผู้ออกเอง
|
12. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | ชื่อเรื่อง (title) จะไม่เหมือนกับหัวข้อ (Topic) ต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะชื่อเรื่องเป็นชื่อของบทความ รายงานวิจัย งานวิจัย หรืองานเขียนอื่นๆ แต่หัวข้อเป็นการตอบคำถามว่างานนี้เกี่ยวข้องกับอะไร |
สรุปประเด็น :
- การกำหนดทิศทางการดำเนินงานวิจัย มีส่วนสำคัญในการทำให้หลักสูตร มีเป้าหมายในการดำเนินงานวิจัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- ชื่อเรื่อง (title) จะไม่เหมือนกับหัวข้อ (Topic) ต้องศึกษาให้ดี
- ชื่อบทความทำหน้าที่สรุปใจความสำคัญของบทความ ไม่จำเป็นต้องตั้งให้ยาว แต่ต้องระบุตัวแปร ทฤษฎี หรือสิ่งที่ต้องกาศึกษา ใช้คำที่เอื้อต่อการทำดัชนีสืบค้น และผู้เขียนบทความควรระบุชื่อผู้เขียนตามลำดับความสำคัญและหน่วยงานที่สังกัด พร้อมให้ข้อมูลอื่นๆ ด้วย
(ภาพ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 1: วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 เวลา 15.15 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารและการจัดการ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 2: วันที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 13.30 – 14.45 น. ณ ห้อง 223)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | อาจารย์ต้องมีเทคนิคการสอนที่ทันสมัยปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันสมัยทันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะศาสตร์ทางด้านบัญชีที่อ้างอิงจากมาตรฐานการบัญชี IAS และ IFRS |
2. | อาจารย์วิรัข | กาฬภักดี | การส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนด้วยการกระทำ เพราะการได้ลงมือทำจริง จะทำให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย |
3. | ดร. กฤษณะ | ดาราเรือง | สร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่าน social media ต่าง ๆ เช่น Facebook, line เพื่อส่งข้อมูลแก่นักศึกษา รวมถึง Crip ที่มีประโยชน์เกี่ยวกับด้านความต้องการของสถานประกอบการ หรือทักษะสำคัญในยุคปัจจุบัน |
4. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | ปัจจุบันการสอนต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะใช้เทคนิคใดๆ ต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม หรือบางครั้งควรเริ่มที่ตัวผู้เรียน เช่น ให้เขาเป็นผู้สร้างสถานการณ์ เป็นต้น |
5. | อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ | หอมเจริญ | วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming ) เป็นการระดมสมอให้มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย ช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือก สำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือก ที่ดีที่สุด ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทาง |
6. | อาจารย์เยาวเรศ | กาฬภักดี | ก่อนการทำการเรียนการสอน เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพให้อธิบายผลการเรียนที่ต้องการที่ระบุใน มคอ.3 ให้นักศึกษาทราบก่อน |
7. | การประเมินผลระหว่างเรียน เพื่อประเมินความเข้าใจของนักศึกษาทีมีต่อการเรียนการสอนของอาจารย์ ซึ่งเป็นการแก้ไข ความไม่เข้าใจในวิธีต่างๆที่ทำการสอนหรือกิจกรรมต่างๆที่จัดทำ ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยการทำกิจรรมระหว่างเรียน โดยการนำปัญหาต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการสอนอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในกระบวนการต่างๆของการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น | ||
8. | อาจารย์อรวรรณ | เกิดจันทร์ | การชี้แจงและสร้างความเข้าใจระหว่าง ผู้สอน กับ นักศึกษา แนวทางการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และภายนอกห้องเรียนในรูปแบบต่าง ๆ จากสื่อต่างๆ เช่น Facebook, line |
9. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | ผู้สอนต้องมีเทคนิคการสอนที่ทันสมัยปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันสมัยทันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน |
10. | อาจารย์ชุติมา | พราหมนันท์ | การจัดการเรียนการสอนแบบบรรยาย เน้นการสอนโดยใช้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้โดยตรงโดยมุ่งให้นักศึกษาศึกษาโดยวิธีค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น ลงมือปฏิบัติมากขึ้น เน้นให้เกิดการคิดการแก้ปัญหาต่าง ๆ |
สรุปประเด็น :
- การส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนด้วยการกระทำ เพราะการได้ลงมือทำจริง จะทำให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย
- เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเข้าใจสถานการณ์ จึงจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจในหลักการต่างๆ ได้
- สร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่าน social media ต่าง ๆ เช่น Facebook, line เพื่อส่งข้อมูลแก่นักศึกษา รวมถึง Crip ที่มีประโยชน์เกี่ยวกับด้านความต้องการของสถานประกอบการ หรือทักษะสำคัญในยุคปัจจุบัน
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์สุกัญญา | หนองกาวี | การพิจารณาวารสารที่จะตีพิมพ์ ควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์ |
2. | อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ | หอมเจริญ | ให้พิจารณาความเชี่ยวชาญของตนเองเป็นอันดับแรกว่ามีความรอบรู้ลึกซึ้งในด้านกำหนดประเด็นของ บทความวิชาการ Theme การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมากพอ และต้องอาศัยเวลาและโอกาสในการอ่านเพื่อกลั่นกรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ความรู้ที่เกิดจากการอ่าน มีทัศนะของผู้เขียนบนฐานข้อเท็จจริงทางวิชาการ |
3. | อาจารย์วิรัช | กาฬภักดี | งานวิจัยที่มีขอบเขตการวิจัยที่หลากหลายและกว้างขวาง สามารถนำมาแยกเขียนเป็นบทความวิจัยได้หลายบทความ |
4. | อาจารย์จารุวรรณ | กมลสินธุ์ | ในงานวิจัย 1 เล่ม สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการตีพิมพ์ได้ 2 เรื่อง คือ 1 การ Review Content กับ 2 ผลของการวิจัยในวัตถุประสงค์หลัก |
5. | อาจารย์เรวดี | วงษ์วัฒนะ | การเลือกวารสาร ควรพิจารณาจุดเน้นของเอกสารนั้นๆว่า มีเนื้อหาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอกาสในการตีพิมพ์ |
6. | ดร. กฤษณะ | ดาราเรือง | ในงานวิจัย 1 เล่ม สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการตีพิมพ์ได้ 2 เรื่อง คือ 1 การ Review Content กับ 2 ผลของการวิจัยในวัตถุประสงค์หลัก |
7. | อาจารย์ปิยะวดี | หาดแก้ว | ต้องมีการวางแผนการเขียนการวิจัยและบทความวิชาการที่สร้างผลทางสังคมจึงจะสามารถตีพิมพ์ในกลุ่มวารสาร (TCI) |
8. | อาจารย์ชมปณัสกาญน์ | ศุภวงศ์ธนาการนต์ | การสร้างเครือข่ายนักวิจัยระหว่างสาขาวิชา เพื่อการบูรณาการผลงานวิจัยหรือบทความวิชาการข้ามศาสตร์ และการให้ข้อคิดข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ |
9. | ดร. สิทธิพร | เขาอุ่น | การปรับประเภทหรือกลุ่มวารสาร การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking การเป็นที่ยอมรับ ความต่อเนื่อง จำนวนปีที่ตีพิมพ์ รูปแบบการตีพิมพ์ เช่น แบบอิเล็กทอรนิกส์ หรือตัวเล่ม |
10. | อาจารย์ณัฎฐาพร | มีโชติ | การศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) ในการพิจารณาคุณภาพบทความที่ครอบคลุมสาขาวิชาหรือกลุ่มสาขาวิชาตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รวมถึงกระบวนการคัดกรองบทความวิจัยที่มีคุณภาพ |
สรุปประเด็น :
- การพิจารณาวารสารที่จะตีพิมพ์สิ่งที่ควรพิจารณา คือ จุดเน้นของวารสารว่าวารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด ก็จะทำให้รู้แนวทางและมีโอกาสในการตีพิมพ์มากขึ้น
- งานวิจัยที่มีขอบเขตการวิจัยที่หลากหลายและกว้างขวาง สามารถนำมาแยกเขียนเป็นบทความวิจัยได้หลายบทความ แต่ต้องมีประเด็นที่แตกต่าง
- ในงานวิจัย 1 เล่ม สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการตีพิมพ์ได้ 2 เรื่อง คือ 1 การ Review Content กับ 2 ผลของการวิจัยในวัตถุประสงค์หลัก
(ภาพ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 2: วันที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 13.30 – 14.45 น. ณ ห้อง 223)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 3: วันที่ 28 สิงหาคม 2561 เวลา 15.10 – 16.30 น. ณ ห้อง 222)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์ทิพย์สุดา | คงเมือง | ปรับวิธีการสอน โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หรือใช้กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ และมีใช้วัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง โดยคำนึงถึงการเรียนรู้ ของผู้เรียนทั้งความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะ |
2. | ดร.กฤษณะ | ดาราเรือง | การเปลี่ยนบทบาทจากผู้บรรยาย เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้า หรือใช้กระบวนการวิจัย ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ และมีใช้วัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง โดยค่านึงถึงการเรียนรู้ ของผู้เรียนทั้งความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะ |
3. | อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ | หอมเจริญ | วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice ) ให้ผู้เรียน โดยการให้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นการสอนที่มุ่งให้เกิดการผสมผสานระหว่าง ทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ เป็นการฝึกฝนความรู้ความเข้าใจจากทฤษฎีที่เรียนมาโดยเน้นการฝึกทักษะ
|
4. | อาจารย์ชมานนท์ | นาถาบำรุง | กำหนดเป้าหมายในการเรียนการสอนให้ตรงกับพันธกิจโดยแบ่งหัวข้อเป็น
1. การกำหนดเนื้อหารายวิชาให้ชัดเจน 2. การฝึกทักษะทางความคิด การวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาการทำงานร่วมกับผู้อื่น |
5. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | สร้างแรงจูงใจ อาจารย์ต้องมีความกระตือรือร้นตื่นตัวตลอดเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีทางเลือกเช่น มีแบบฝึกหัดหลายข้อให้นักศึกษาเลือกทำโดยอาจารย์อาจกำหนดจำนวนข้อให้ ตั้งเป้าหมายโดยบอกให้นักศึกษาว่าในการเรียนการาอรอาจารย์ต้องการอะไร คาดหวังให้นักศึกษาสามารพนำไปใช้ประโยชน์ได้ |
6. | อาจารย์วิรัช | กาฬภักดี | การส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น |
7. | อาจารย์จุรีรัตน์ | เกตุแก้ว | การเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้า หรือใช้กระบวนการวิเคราะห์ ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยคำนึงถึงการเรียนรู้ ของผู้เรียนทั้งความรู้ ทักษะ ที่สามารถใช้ได้จริงในการเรียน และการทำงานในชีวิตประจำวัน |
8. | อาจารย์ ดร. ดไนยา | ตั้งอุทัยสุข | การพัฒนาเทคนิคการสอนที่ทันสมัยสอดคล้องกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ต้องอธิบายผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ที่แสดงออกและวัดได้ และกำหนดวิธีการสอน โดยระบุใน มคอ.3 เพื่อผู้สอนจะได้มีแนวทางการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
9. | อาจารย์มัจจรี | สุพรรณ | ปรับจากการเรียนแบบบรรยายเป็นแบบ Project Base |
10. | อาจารย์จักรพันธ์ | จันทร์เขียว | ต้องใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอน เพราะปัจจุบันพฤติกรรมและความสนใจของผู้เรียนเปลี่ยนไป เขาไม่ชอบการจดบันทึก หรือให้ทำอะไรที่เดิมๆ เช่น การบรรยายหน้าชั้นเรียน ดังนั้น รูปแบบหรือเทคนิคการสอนต้องให้ตอบสนองความสนใจของผู้เรียน จึงจะทำให้เขาเกิดความสนใจ และอยากที่จะเรียนรู้ |
สรุปประเด็น :
- การพัฒนาเทคนิคการสอนที่ทันสมัยสอดคล้องกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ต้องอธิบายผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ที่แสดงออกและวัดได้ และกำหนดวิธีการสอน โดยระบุใน มคอ.3 เพื่อผู้สอนจะได้มีแนวทางการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ต้องใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอน เพราะปัจจุบันพฤติกรรมและความสนใจของผู้เรียนเปลี่ยนไป เขาไม่ชอบการจดบันทึก หรือให้ทำอะไรที่เดิมๆ เช่น การบรรยายหน้าชั้นเรียน ดังนั้น รูปแบบหรือเทคนิคการสอนต้องให้ตอบสนองความสนใจของผู้เรียน จึงจะทำให้เขาเกิดความสนใจ และอยากที่จะเรียนรู้
- การส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | ดร.กฤษณะ | ดาราเรือง | Introduction ต้องบรรยายให้เห็นพัฒนาการของผลงานวิจัยก่อนหน้านี้ และนำเข้าสู่ปัญหาวิจัย |
2. | อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ | หอมเจริญ | นอกจากการเขียน บทความในประเด็นที่เรามีความชำนาญมากที่สุด มีความเชี่ยวชาญที่สุดและเข้าใจอย่างลึกซึ้งในทางทฤษฏี ตลอดจนทุกประเด็นเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำ การวิเคราะห์ การพิจารณาจาก Impact Factor คือ การยอมรับอ้างอิงของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ การเลือกวารสารอ้างอิงต้องพิจารณาจากผลการกำหนดอันดับของ Impact Fator ของวารสารนั้นประกอบด้วย(Impact Factor หรือ Journal Impact Factor หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ย ที่บทความของวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิง ในแต่ละปี)
|
3. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | การพัฒนาตนเองทางการการพัฒนาผลงานวิจัยควรเริ่มตั้งแต่การเลือกปัญหาการวิจัย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตั้งข้อสมมุติฐานการวิจัย การหาแนวทางการแก้ไขปัญหา การออกแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิจัย และที่มสำคัญการเผยแพร่ผลการวิจัย |
4. | อาจารย์วิรัช | กาฬภักดี | บทความวิจัยจะต้องมีประเด็นหรือแนวคิดทางวิชาการที่ชัดเจน |
5. | อาจารย์จุรีรัตน์ | เกตุแก้ว | การเลือกวารสารควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์ |
6. | อาจารย์อรวรรณ | เกิดจันทร์ | การเลือกวารสาร ควรพิจารณาจุดเน้นของเอกสารนั้นๆว่า มีเนื้อหาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอกาสในการตีพิมพ์ |
7. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย และผลการวิจัยต้องสรุปให้มีความกะทัดรัดและสั้น |
8. | อาจารย์เยาวเรศ | กาฬภักดี | ผลงายวิจัยควรผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ เนื่องจากวารสารบางฉบับอาจกำหนดหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ |
9. | อาจารย์ทิพย์สุดา | คงเมือง | ควรทำความเข้าใจในกฎระเบียบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการอย่างละเอียดถี่ถ้วน และห้ามส่งบทความวิชาการเรื่องเดียวกันลงในวารสารหลายฉบับ |
10. | อาจารย์จักรพันธ์ | จันทร์เขียว | การสร้างระบบกรค้นคือการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Cited reference searching) ระหว่างเครือข่ายระหว่างสาขา และคณะจะมีการจัดทำดัชนีในเขตข้อมูลรายการอ้างอิง (Cited reference field) |
สรุปประเด็น :
- ควรทำความเข้าใจในกฎระเบียบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการอย่างละเอียดถี่ถ้วน และห้ามส่งบทความวิชาการเรื่องเดียวกันลงในวารสารหลายฉบับ
- การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย และผลการวิจัยต้องสรุปให้มีความกะทัดรัดและสั้น
- บทความวิจัยจะต้องมีประเด็นหรือแนวคิดทางวิชาการที่ชัดเจน
- การเลือกวารสารควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์
(ภาพ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 3: วันที่ 28 สิงหาคม 2561 เวลา 15.10 – 16.30 น. ณ ห้อง 222)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 4: วันที่ 19 กันยายน 2561 เวลา 13.30 – 14.45 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารฯ)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์มัจจรี | สุพรรณ | ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ Internet โดยผู้สอนต้องหาแหลางการสืบค้นให้กับนักศึกษาทราบแหล่งเรียนรู้ |
2. | ดร. กฤษณะ | ดาราเรือง | การจัดการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญกับนักศึกษา โดย ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายเทคโนโลยี Internet ในเรื่องที่สอดคล้องกับเนื้อหาบาทเรียน โดยอาจารย์ต้องสามารถให้ความรู้ในด้านแหล่งสืบค้น และเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียนแก่นักศึกษา |
3. | อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ | หอมเจริญ | วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ( Simulation )
วิธีสอนที่จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ใน ชั้นเรียน โดยพยายามทำให้เหมือจริงที่สุด มีการกำหนดกติกาหรือเงื่อนไข แล้วแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มให้ เข้าไปเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ๆ ด้วยกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการเผชิญกับปัญหา จะต้องมีการตัดสินใจและใช้ไหวพริบ |
4. | ดร.สิทธิพร | เขาอุ่น | มอบหมายงานให้นักศึกษาทำระหว่างศึกษา ควรมอบหมายงานในลักษณะ โครงงาน หรือ วิจัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ไปบูรณาการกับการทำงานจริง สามารถเกิดองค์ความรู้ใหม่ และแก้ไขปัญหาได้จริง |
5. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | อาจารย์อาจจะต้องสังเกตพฤติกรรมนักศึกษา หากเห็นว่าคนไหนกำลังประสบปัญหาหรือไม่สบายใจ ควรสอบถามและให้กำลังใจ สามารถนำกิจกรรมบางอย่างมาช่วยก็ได้ |
6. | อาจารย์วิรัช | กาฬภักดี | การตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ |
7. | อาจารย์จุรีรัตน์ | เกตุแก้ว | อาจารย์ต้องสามารถให้ความรู้ในด้านแหล่งสืบค้นข้อมูลที่ถูกต้อง และเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียนแก่นักศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญแก่นักศึกษา สามารถส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายเทคโนโลยี Internet ในเรื่องที่สอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียน ส่งผลให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง โดยการใช้วิธีในการสอนในลักษณะนี้ อาจารย์ผู้สอนจะต้องมีความรู้ที่เพียงพอสามารถให้ข้อมูลต่างๆแก่นักศึกษาได้อย่างเป็นปัจจุบันที่สุด |
8. | อาจารย์จิตนัย | คณะบุตร | จัดการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญกับนักศึกษา โดยส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายเทคโนโลยี Internet ในเรื่องที่สอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียน โดยอาจารย์ต้องสามารถให้ความรู้ในด้านแหล่งสืบค้น และเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียนแก่นักศึกษา |
9. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ Internet โดยผู้สอนต้องหาแหลางการสืบค้นให้กับนักศึกษาทราบแหล่งเรียนรู้ |
10. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | การสอนอีกรูปแบบคือการให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มในการคิดแก้โจทย์ปัญหาและสรุปเป็นหลักการของกลุ่ม ซึ่งผู้สอนอาจจะมอบโจทย์ให้กับผู้เรียน ซึ่งหลักสำคัญคือการคือให้ครอบคลุมทักษะต่างๆ ทั้ง 5 ด้าน และบางวิชาที่เป็นการคำนวณควรเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียนด้วย |
สรุปประเด็น :
- ควรมีการตรวจเช็ค ว่าผู้เรียนมีการตอบสนองหรือไม่ โดยสังเกตพฤติกรรมการแสดงออก เช่น ท่าทาง สีหน้า ฯลฯ
- การสอนอีกรูปแบบคือการให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มในการคิดแก้โจทย์ปัญหาและสรุปเป็นหลักการของกลุ่ม ซึ่งผู้สอนอาจจะมอบโจทย์ให้กับผู้เรียน ซึ่งหลักสำคัญคือการคือให้ครอบคลุมทักษะต่างๆ ทั้ง 5 ด้าน และบางวิชาที่เป็นการคำนวณควรเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียนด้วย
- การจัดการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญกับนักศึกษา โดย ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายเทคโนโลยี Internet ในเรื่องที่สอดคล้องกับเนื้อหาบาทเรียน โดยอาจารย์ต้องสามารถให้ความรู้ในด้านแหล่งสืบค้น และเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียนแก่นักศึกษา
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์จิตนัย | คณะบุตร | งานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณาการตีพิมพ์ จะต้องมีเรื่องที่เป็นประโยชน์และมี Impact สูง เพราะฉะนั้นผู้ทำจะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงาน |
2. | ดร.กฤษณะ | ดาราเรือง | งานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญเพราะฉะนั้นอาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงาน |
3. | อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ | หอมเจริญ | บทความวิจัยที่จะเผยแพร่ควรเป็นประเด็นที่เป็นเรื่องที่น่าสนใจ(Hot Issue) ต้องเป็นบทความวิจัยที่ใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใด ซึ่งแหล่งเผยแพร่บทความวิจัยหลายแห่งจะระบุไว้ว่าในการเสนอต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่จะต้องไม่เคยอยู่ หรือ อยู่ในระหว่างรอการนำเสนอเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในที่อื่น ดังนั้น บทความวิจัยเรืองเดียวกันจะทำได้เพียงครั้งเดียว ไม่สมารถลงซ้ำและถือเป็นจรรยาบรรณสำคัญของนักวิจัยหรือนักวิชาการที่ควรยึดปฏิบัติโดยเคร่งครัด
|
4. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | วิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง จะเป็นวิจัยที่ได้รับการยอมรับในเวทีต่าง ๆ เพราะวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์มีความสำคัญ การทำวิจัยผู้วิจัยจะต้องศึกษาข้อมูล ให้ดี เลือกประชากรกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องตามหลักการ |
5. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | บทความวิจัยจะต้องมีความทันสมัย และวิเคราะห์เป็นไปตามแนวคิดและทฤษฎีที่เหมาะสมและชัดเจน |
6. | อาจารย์จุรีรัตน์ | เกตุแก้ว | วารสารแต่ละเล่ม (กองวารสาร) มีรอบการตีพิมพ์ที่ต่างกัน เช่น 4 เล่มต่อปี 3 เล่มต่อปี หรือ 2 เล่มต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในกระบวนการพิจารณา |
7. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | ส่วนประกอบของบทความวิจัยที่สำคัญอีกประการคือ วิธีการ (Methods) ซึ่งเป็นการเสนอสาระของวิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ลักษณะของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง การนิยามตัวแปร เครื่องมือวิจัยและคุณภาพเครื่องมือ วิธีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น |
8. | ดร.สิทธิพร | เขาอุ่น | ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Results) อันนี้ต้องเสนอเนื้อหาบรรยายแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย ซึ่งต้องมีการบรรยายสาระประกอบด้วย |
สรุปประเด็น :
- งานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญเพราะฉะนั้นอาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงาน
- ส่วนประกอบของบทความวิจัยที่สำคัญอีกประการคือ วิธีการ (Methods) ซึ่งเป็นการเสนอสาระของวิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ลักษณะของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง การนิยามตัวแปร เครื่องมือวิจัยและคุณภาพเครื่องมือ วิธีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
- วิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง จะเป็นวิจัยที่ได้รับการยอมรับในเวทีต่าง ๆ เพราะวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์มีความสำคัญ การทำวิจัยผู้วิจัยจะต้องศึกษาข้อมูล ให้ดี เลือกประชากรกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องตามหลักการ
(ภาพ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 4: วันที่ 19 กันยายน 2561 เวลา 13.30 – 14.45 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารฯ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 5: วันที่ 12 ตุลาคม 2561 เวลา 14.30 – 15.35 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารฯ)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์มัจรี | สุพรรณ | กิจกรรมและแบ่งกลุ่มตามลักษณะของนักนักศึกษาในการเรียนให้เหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษามากที่สุด |
2. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | ในการจัดการเรียนการสอนจะเห็นได้ว่านักศึกษาแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ทำให้การแสดงผลของการเรียนรู้ของแต่ละคน ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน อาจารย์จึงต้องจัดสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนในลักษณะที่ทำให้นักศึกษาสามารถช่วยกันระดมความคิดเห็นโดยภาพรวมเป็นกลุ่มๆและสามารถสรุปออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ส่งผลให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ในการคิดวิเคราะห์และการทำงานร่วมกันที่ถูกวิธี และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษาในการเรียนภายในห้องเรียน และเป็นประโยชน์แก่อาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนให้ศึกษาให้เกิดทักษะองค์ความรู้ที่ถูกวิธี |
3. | อาจารย์วิรัช | กาฬภัดี | ในการจัดการเรียนการสอนจะเห็นได้ว่านักศึกษาแต่ละ คนมีความแตกต่างกัน ทำให้การแสดงผลของการเรียนรู้ ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน อาจารย์จึงต้องจัดสภาพแวดล้อม และกิจกรรมในการเรียนให้เหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษามากที่สุด |
4. | อาจารย์จารุวรรณ | กมลสินธุ์ | วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )
วิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดย มีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การ กระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง |
5. | อาจารย์ ดร.ดไนยา | ตั้งอุทัยสุข | การจัดการสอนแบบลงปฏิบัติ เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม/ทีม มากขึ้น เพื่อสร้างทักษะให้นักศึกษาเกิดความเป็นผู้นำ-ผู้ตามในเวลาเดียวกัน แชร์ประสบการณ์หรือความรู้ซึ่งกันและกัน เกิดกระบวนการคิดร่วมกัน ลงมือปฏิบัติด้วยกัน แก้ปัญหาร่วมกัน จะทำให้เกิดการวิเคราะห์ต่าง ๆ มากขึ้น |
6. | อาจารย์สุกัญญา | หนองกาวี | การสอนนักศึกษาที่เรียนด้านบัญชี ควรเน้นให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดหลายๆ ข้อ โดยลักษณะของแบบฝึกหัดต้องมีระดับความยากง่าย มีกำไร มีขาดทุน ให้นักศึกษาได้เห็นข้อแตกต่าง เน้นการสอนที่ต้องให้นักศึกษาสามรถวิเคราะห์ นำเสนอ และรายงานผลของข้อมูลได้ |
7. | อาจารย์จักรพันธ์ | จันทร์เขียว | การใช้สื่อการสอน ที่หลากหลายและทันสมัย เพื่อเร้าความสนใจ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น |
8. | อาจารย์ชุติมา | พราหมนันท์ | กิจกรรมและแบ่งกลุ่มตามลักษณะของนักนักศึกษาในการเรียนให้เหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษามากที่สุด |
9. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | Problem Solving เป็นเทคนิคเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหา กรณีนี้ผู้สอนควรกำหนดปัญหาหรือสถานการณ์หรืออาจนำเอาปัญหามาเป็นหน่วยการเรียนรู้ก็ได้ หรืออาจให้ผู้เรียนนำเสนอปัญหาหรือสถานการณ์ที่เขาสนใจก็ได้ |
10. | อาจารย์สุพจน์ | วงศ์ดี | การสอนโดยการกำหนดปัญหาผู้เรียนต้องตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหานั้นและสรุปสาเหตุของปัญหาโดยกำหนดเป็นสมมติฐานด้วย |
สรุปประเด็น :
- การจัดการสอนแบบลงปฏิบัติ เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม/ทีม มากขึ้น เพื่อสร้างทักษะให้นักศึกษาเกิดความเป็นผู้นำ-ผู้ตามในเวลาเดียวกัน แชร์ประสบการณ์หรือความรู้ซึ่งกันและกัน เกิดกระบวนการคิดร่วมกัน ลงมือปฏิบัติด้วยกัน แก้ปัญหาร่วมกัน จะทำให้เกิดการวิเคราะห์ต่าง ๆ มากขึ้น
- Problem Solving เป็นเทคนิคเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหา กรณีนี้ผู้สอนควรกำหนดปัญหาหรือสถานการณ์หรืออาจนำเอาปัญหามาเป็นหน่วยการเรียนรู้ก็ได้ หรืออาจให้ผู้เรียนนำเสนอปัญหาหรือสถานการณ์ที่เขาสนใจก็ได้
- ปรับรูปแบบให้มีการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายและทันสมัย เพื่อเร้าความสนใจ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์ชุติมา | พราหมนันท์ | งานวิจัยที่จะได้รับหารพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญ เพราะฉนั้นอาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงานของตนเอง |
2. | อาจารย์สุพจน์ | วงศ์ดี | ผลงานที่ตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าวารสารอยู่ใน TCI ฐานไหนซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง Website |
3. | อาจารย์จักรพันธ์ | จันทร์เขียว | ในการจัดการเรียนการสอนจะเห็นได้ว่านักศึกษาแต่ละ คนมีความแตกต่างกัน ทำให้การแสดงผลของการเรียนรู้ ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน อาจารย์จึงต้องจัดสภาพแวดล้อม และกิจกรรมในการเรียนให้เหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษามากที่สุด |
4. | ดร.กฤษณะ | ดาราเรือง | สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับนักศึกษาในการกำหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือ หัวข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับหลักสูตรและการปฏิบัติงาน เพื่อให้นักศึกษาประเมินสถานการณ์หากต้องปฏิบัติงานจริง |
5. | อาจารย์วิรัช | กาฬภักดี | วรรณกรรมที่นำมาใช้ต้องสัมพันธ์กับงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ ไม่ควรเขียนทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้วิจัยอ่านมา |
6. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | การเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ สำคัญอีกประการคือการใช้ภาษา ภาษาต้องจบประโยค เลี่ยงภาษาที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ควรหลีกเลี่ยงภาษาพูด ภาษาที่ฟุ่มเฟือย ไม่กระชับ เป็นต้น |
7. | อาจารย์จารุวรรณ | กมลสินธุ์ | ภาษาที่ใช้บางครั้งพบว่าเป็นประโยคที่ซับซ้อนควรใช้คำเชื่อมที่เหมาะสม ส่วนใหญ่ใจความสำคัญมีเพียงประโยคเดียวส่วนใหญ่เป็นส่วนขยายเสียมากกว่า |
8. | อาจารย์ ดร.ดไนยา | ตั้งอุทัยสุข | หนึ่งหน้าควรมีเพียงย่อหน้าเดียว แต่ถ้าสำคัญและกลัวว่าจะทำให้ผู้อ่านจับประเด็นไม่ได้ หากข้อความยาวเกินไป ก็อาจเพิ่มได้แต่ต้องดูให้เหมาะสม |
สรุปประเด็น :
- สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับนักศึกษาในการกำหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือ หัวข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับหลักสูตรและการปฏิบัติงาน เพื่อให้นักศึกษาประเมินสถานการณ์หากต้องปฏิบัติงานจริง
- การเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ สำคัญอีกประการคือการใช้ภาษา ภาษาต้องจบประโยค เลี่ยงภาษาที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ควรหลีกเลี่ยงภาษาพูด ภาษาที่ฟุ่มเฟือย ไม่กระชับ เป็นต้น
- วรรณกรรมที่นำมาใช้ต้องสัมพันธ์กับงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ ไม่ควรเขียนทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้วิจัยอ่านมา
(ภาพ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
#อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก >>> แลกเปลี่ยน-KM-61
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 6: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.30 – 16.35 น. ณ ห้อง 222)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์มัจจรี | สุพรรณ | การจัดการเรียนการสอนหากอาจารย์ออกแบบกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายจะสามารถสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
2. | อาจารย์เยาวเรศ | กาฬภักดี | อาจารย์ผู้สอนควรเลือกกรณีศึกษาที่เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีหรือเนื้อหาวิชาอย่างชัดเจน |
3. | ดร. กฤษณะ | ดาราเรือง | การใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายจะเป็นการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ |
4. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | การนำเสนองานหน้าชั้นเรียนควรส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ควรใช้สื่อที่ทันสมัย เช่น YouTube |
5. | อาจารย์ชมานนท์ | นาถาบำรุง | การทำกิจกรรมกลุ่มควรกำหนดบทบาทให้นักศึกษาอย่างชัดเจน |
6. | อาจารย์ทิพย์สุดา | คงเมือง | e-Learning/ digital media เป็นสื่อที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และนำข้อมูลมาทบทวน ได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียน |
7. | อาจารย์อรวรรณ | เกิดจันทร | การประเมินผลระหว่างเรียนให้กำหนดโจทย์ที่ชัดเจน และเกิดการกระจายการวัดและประเมินผล |
8. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | การประเมินผลการทำงานกลุ่มก็ใช้ได้ เพราะจะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วม แต่ทั้งนี้ต้องสรุปประเด็น หรือกำหนดประเด็นบางอย่างในการแสดงความเห็นและหาข้อยุติร่วมกัน
|
9. | อาจารย์สุพจน์ | วงศ์ดี | เน้นการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ก็จะเป็นการฝึกทักษะทางปัญญาให้กับผู้เรียนด้วย อาจสร้างเป็นสถานการณ์ก็ได้ |
10. | อาจารย์จิตนัย | คณะบุตร | การมอบหมายให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล และนำมาอภิปรายในชั้นเรียน และสอดแทรกให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการใช้สื่อด้วยก็จะเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารให้กับผู้เรียนได้ด้วย |
สรุปประเด็น :
- การประเมินผลการทำงานกลุ่มก็ใช้ได้ เพราะจะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วม แต่ทั้งนี้ต้องสรุปประเด็น หรือกำหนดประเด็นบางอย่างในการแสดงความเห็นและหาข้อยุติร่วมกัน
- การมอบหมายให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล และนำมาอภิปรายในชั้นเรียน และสอดแทรกให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการใช้สื่อด้วยก็จะเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารให้กับผู้เรียนได้ด้วย
- การนำเสนองานหน้าชั้นเรียนควรส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ควรใช้สื่อที่ทันสมัย
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | บทนำ และวัตถุประสงค์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้อ่านเห็นว่ารายงานที่กำลังจะอ่านต่อไปมีคุณค่าสมควรแก่การอ่าน ในบทนำจึงควรบอกว่าปัญหานี้มีความสำคัญอย่างไรจึงต้องทำการวิจัย มีข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง
|
2. | อาจารย์ชมานนท์ | นาถาบำรุง | ลักษณะที่ดีของบทความวิจัยอธิบายถึงปัญหาอย่างชัดเจน บอกเจตนาและเหตุผลของการวิจัย กล่าวถึงรากฐานทางทฤษฎีของงานวิจัย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
|
3. | อาจารย์ทิพย์สุดา | คงเมือง | หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับรองการนำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์ หมายถึง หน่วยงานหรือ องค์กร หรือชุมชนภายนอกสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีการนำงานวิจัยหรืองาน สร้างสรรค์ของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาไปใช้ ก่อให้เกิดประโยชน์
|
4. | อาจารย์อรวรรณ | เกิดจันทร | ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น ไม่นำผลงานในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารมากกว่า 1 ฉบับ
|
5. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล และแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
|
6. | อาจารย์มัจจรี | สุพรรณ | การละเมิดลิขสิทธิ์ในกรณีที่การเผยแพร่งานครั้งแรกนั้นมีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่ การเผยแพร่ซ้ำ ใน บางบริบทอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้
|
7. | อาจารย์เยาวเรศ | กาฬภักดี | การวิจัยเชิงคุณภาพถือว่า กรอบแนวคิดไม่ใช่สิ่งที่จะยึดตายตัว แต่เป็นเพียงแนวทาง สำหรับหาคำตอบในการวิจัย โดยสามารถยืดหยุ่นหรือปรับได้เมื่อมีหลักฐานหรือข้อมูลที่ชี้ว่าควรปรับปรุง |
8. | ดร. กฤษณะ | ดาราเรือง | การนำเสนอบทความวิจัยในที่ ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม |
สรุปประเด็น :
- ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงานวิชาการ ผู้วิจัยต้องไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น ไม่นำผลงานในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารมากกว่า 1 ฉบับ
- การอ้างอิงบุคคลต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล และแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับรองการนำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์ หมายถึง หน่วยงานหรือ องค์กร หรือชุมชนภายนอกสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีการนำงานวิจัยหรืองาน สร้างสรรค์ของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาไปใช้ ก่อให้เกิดประโยชน์
(ภาพ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 6: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.30 – 16.35 น. ณ ห้อง 222)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 7: วันที่ 28 ธันวาคม 2561 เวลา 14.30 – 15.35 น. ณ ห้อง 224)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์ชุติมา | พราหมนันท์ | หากอาจารย์เข้าใจและสังเกต การเรียนรู้ของนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนใน อาจารย์จะได้ทราบถึงหลักเกณฑ์ในการสอนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยการจัดให้มีทั้งแนวทฤษฎีและแนวปฏิบัติควบคู่ไปกับกิจกรรมต่างๆภายในห้องเรียน และส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้ว่าผลการออกแบบกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายจะสามารถเสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้กรณีศึกษาต่างๆด้วยตนเอง และเกิดความเข้าใจในหลายด้านๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
2. | อาจารย์สุพจน์ | วงศ์ดี | การเลือกกรณีศึกษาประกอบการเรียนการสอน ควรพิจารณากรณีศึกษาที่เป็นปัจจุบันที่สุด และสอดคล้องกับสาระสำคัญของเนื้อหาวิชา โดยให้นักศึกษาร่วมกันมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และอภิปรายอย่างมีเหตุผล และในการสรุปสาระสำคัญของกรณีศึกษา อาจารย์ผู้สอนควรชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีหรือเนื้อหาวิชาอย่างชัดเจน เพื่อส่งผลให้นักศึกษาสามารถเข้าใจได้โดยง่ายและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน |
3. | อาจารย์จักรพันธ์ | จันทร์เขียว | ปัจจุบันแหล่งความรู้มีมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น และเข้าถึงได้ง่ายทั้งในรูปแบบเอกสาร วารสาร หนังสือ และบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างๆ โดยประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้เกิดการต่อยอดไปสู่ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งอาจารย์ต้องเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษา และสามารถชี้แนะแหล่งเรียนรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่นักศึกษา เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอน |
4. | ดร.กฤษณะ | ดาราเรือง | การจัดการเรียนการสอน โดยการส่งเสริมให้นักศึกษามีหลายวิธี โดยเริ่มจากการอธิบายและใช้สื่อเทคโนยีต่างๆเป็นตัวช่วยให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจทักษะด้านเทคโนโลยี และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงจากสถานการณ์จริง โดยการให้นักศึกษาลงพื้นที่จริงในการสำรวจ การคิด การวิเคราะห์ ลักษณะต่างๆ ของนักท่องเที่ยว และนำมาสรุปผลที่ในการนำเสนอรายงานในลักษณะเป็น YouTube การตัดต่อเป็น Crip VDO แทนการนำเสนอในลักษณะรายงานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากที่สุดจากสถานการณ์จริงที่นักศึกษาจะต้องพึงรู้ในปัจจุบัน |
5. | อาจารย์วิรัช | กาฬภักดี | การทำกิจกรรมกลุ่ม ในการแบ่งการทำงาน โดยกำหนดให้นักศึกษาแต่ละคนมีบทบาทในการดำเนินงานที่ชัดเจนและเหมาะสม และจะต้องมีการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างทั่วถึง โดยอาจารย์มีหน้าที่กำกับและติดตามผล ส่งผลให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้น และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบต่อชิ้นงานของตนเอง |
6. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | วิธีการสอนมีหลักสำคัญข้อแรกคือต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการสอน เราต้องการจุดมุ่งหมายในวิชาที่เราสอนหรือตามที่เราสอนอย่างไร เราจะต้องเลือกวิธีการเพื่อให้ได้ตามนั้น เช่น ถ้าเราต้องการให้ผู้เรียนได้ความรู้ ทฤษฎีเป็นหลัก วิธีการที่น่าจะเหมาะสมก็คือการบรรยาย แต่ถ้าเราต้องการให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ได้ การบรรยายจะไม่สามารถทำให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ได้ เราต้องการใช้อภิปรายถกเถียงกันในหมู่เรียนเป็นหลักจึงจะทำให้ผู้เรียนคิดได้ |
7. | อาจารย์จารุวรรณ | กมลสินธุ์ | การใช้ e-Learning/ digital media ให้นักศึกษาไปเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ ทบทวนหลังจากที่ได้เรียนมา และนำมาแลกเปลี่ยนความรู้กันในชั้นเรียนทำให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียน ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการค้นคว้าและหาข้อมูลที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ใหม่และเป็นปัจจุบันมากขึ้น |
8. | อาจารย์ ดร.ดไนยา | ตั้งอุทัยสุข | ความเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่สอน ถ้าเป็นเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเป็นทางทฤษฎี หลักการก็อาจจะใช้การบรรยายได้ ถ้าเป็นเนื้อหาที่ยังเป็นปัญหาข้อถกเถียง คำอภิปรายก็อาจจะใช้การอภิปราย ถ้าต้องฝึกฝนก็ควรฝึกปฏิบัติ |
สรุปประเด็น :
การจัดการเรียนการสอน โดยการส่งเสริมให้นักศึกษามีหลายวิธี โดยเริ่มจากการอธิบายและใช้ สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ปัจจุบัน เช่น การใช้ Google classroom เป็นตัวช่วยให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจทักษะด้านเทคโนโลยี และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงจากสถานการณ์จริง โดยการให้นักศึกษาลงพื้นที่จริงในการสำรวจ การคิด การวิเคราะห์ ลักษณะต่างๆ ของนักท่องเที่ยว และนำมาสรุปผลที่ในการนำเสนอรายงานในลักษณะเป็น YouTube การตัดต่อเป็น Clip VDO แทนการนำเสนอในลักษณะรายงานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากที่สุดจากสถานการณ์จริงที่นักศึกษาจะต้องพึงรู้ในปัจจุบัน
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์ชุติมา | พราหมนันท์ | ทบทวนตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ระเบียบวิธีวิจัย การเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรมตามระบบที่วารสารกำหนด หรือให้ผู้อื่นทั้งในและนอกสาขาอ่านเพื่อตรวจสอบเนื้อหาและภาษาที่ใช้ในงานวิจัยก่อนส่งรายงานการวิจัย |
2. | อาจารย์สุพจน์ | วงศ์ดี | ส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ และมีการติดตามผลจากบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไข บรรณาธิการของวารสารจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรรีบดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ (reviewer) ของวารสาร และส่งตามเวลาที่วารสารกำหนด |
3. | อาจารย์จักรพันธ์ | จันทร์เขียว | ในการเผยแพร่ครั้งที่สอง หากใช้สื่อเดียวกับครั้งแรกเช่นเป็นบทความทั้งคู่ ให้พยายามสื่อด้วย การทวนความ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์และการลอก เลียนโดยมิชอบ |
4. | ดร.กฤษณะ | ดาราเรือง | การวางแผนการตีพิมพ์ โดยจัดทำ Time line ในการดำเนินงานเพื่อวางแผนการตีพิมพ์ตามระยะเวลาที่ต้องการ |
5. | อาจารย์วิรัช | กาฬภักดี | ในงานวิจัย 1 เล่ม สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการตีพิมพ์ได้ 2 เรื่อง คือ 1 ผลกการประเมินตามวัตถุประสงค์หลัก และ 2.การ Review Content |
6. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | การเลือกวารสารจากระบบ TCI Online จะมีกลุ่มของบทความที่จะนำเสนอควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด และเปิดรับในช่วงใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์ |
7. | อาจารย์จารุวรรณ | กมลสินธุ์ | วารสารแต่ละเล่ม (กองวารสาร) มีรอบการตีพิมพ์ที่ต่างกัน เช่น 4 เล่มต่อปี 3 เล่มต่อปี หรือ 2 เล่มต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในกระบวนการพิจารณา |
8. | อาจารย์ ดร.ดไนยา | ตั้งอุทัยสุข | งานวิจัยที่จะได้รับหารพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญและสาย IT จะเน้นไปทางองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย |
สรุปประเด็น :
- ส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ และมีการติดตามผลจากบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไข บรรณาธิการของวารสารจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรรีบดำเนินการแก้ไขตาม
- ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ (reviewer) ของวารสาร และส่งตามเวลาที่วารสารกำหนดการเลือกวารสารจากระบบ TCI Online จะมีกลุ่มของบทความที่จะนำเสนอควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด และเปิดรับในช่วงใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์
(ภาพ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 7: วันที่ 28 ธันวาคม 2561 เวลา 14.30 – 15.35 น. ณ ห้อง 224)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 8: วันที่ 25 มกราคม 2562 เวลา 15.15 – 16.55 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารฯ)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริง และดูผลการปฏิบัติของตนเอง |
2. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ |
3. | อาจารย์มัจรี | สุพรรณ | มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน เครื่องเชิดชูเกียรติการลงโทษ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม |
4. | อาจารย์เยาวเรศ | กาฬภักดี | การเร้าความสนใจผู้เรียนในเรื่องที่จะสอนก่อนลงมือทำการสอนเสมอ |
5. | อาจารย์สุกัญญา | หนองกาวี | เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาสาเหตุ เหตุผล ความเป็นไปของสิ่งที่เรียน มีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผลการเรียนการสอน |
6. | อาจารย์ชมปณัสกาญน์ | ศุภวงศ์ธนากานต์ | สร้างความสัมพันธ์ของเนื้อหาและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง |
7. | อาจารย์ปิยะวดี | หาดแก้ว | ประเมินผลตลอดเวลา โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เป็นต้น เพื่อประเมินว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ |
สรุปประเด็น :
- ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ง่าย ๆ เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
- ควรต้องมีการประเมินผลตลอดเวลา โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เป็นต้น เพื่อประเมินว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | กองวารสารบางแห่งจะพิจารณาว่าผลงานผ่านคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ ดังนั้น อาจารย์ควรนำผลงานผ่านการพิจารณารับรองการวิจัยในมนุษย์ |
2. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | การมีเครือข่าย หรือคณาจารย์ที่รู้จักต่างสถาบัน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นช่องทางในการตีพิมพ์ที่ง่ายมากยิ่งขึ้น |
3. | อาจารย์มัจรี | สุพรรณ | การตรวจสอผลงานที่ตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าวารสารอยู่ใน TCI ฐานใดซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง Website ของ TCI |
4. | อาจารย์เยาวเรศ | กาฬภักดี | คำชี้แจงของกองบรรณาธิการวารสารเป็นสิ่งสำคัญ อาจารย์ที่จะส่งผลงานตีพิมพ์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนตามแบบฟอร์มอย่างเคร่งครัด |
5. | อาจารย์สุกัญญา | หนองกาวี | เมื่อบทความของอาจารย์เขียนเสร็จแล้วลองนำไปให้เพื่อนอาจารย์อ่านและสอบถามความเข้าใจในบทความที่จัดทำขึ้น |
6. | อาจารย์ชมปณัสกาญน์ | ศุภวงศ์ธนากานต์ | การแก้ไขบทความตามข้อแนะนำของผู้ทรงจากกองวารสาร หากประเด็นไหนไม่เห็น และมั่นใจว่าถูกต้องแล้วด้วยสามารถทำคำชี้แจงได้ |
7. | อาจารย์ปิยะวดี | หาดแก้ว | การส่งผลงานอาจารย์เมื่อส่งครั้งแรกแล้วโดน reject อย่างเพิ่งไปท้อ ให้พยายามปรับปรุงแก้ไข และหาที่ส่งใหม่ต่อไป |
8. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | การนำงานวิจัยมาเขียนเป็นบทความวิจัย สิ่งสำคัญคือต้องสรุปประเด็นให้กระชับ ตรงประเด็น ครบถ้วน ไม่ใช้ภาษาฟุ่มเฟือยแต่ต้องไม่ลืม Topic ที่สำคัญที่เป็นสิ่งที่ค้นพบจากงานวิจัยนั้นๆ |
สรุปประเด็น :
- การตรวจสอผลงานที่ตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าวารสารอยู่ใน TCI ฐานใดซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง Website ของ TCI
- การนำงานวิจัยมาเขียนเป็นบทความวิจัย สิ่งสำคัญคือต้องสรุปประเด็นให้กระชับ ตรงประเด็น ครบถ้วน ไม่ใช้ภาษาฟุ่มเฟือยแต่ต้องไม่ลืม Topic ที่สำคัญที่เป็นสิ่งที่ค้นพบจากงานวิจัยนั้นๆ
(ภาพ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 8: วันที่ 25 มกราคม 2562 เวลา 15.15 – 16.55 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารฯ)
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 9: วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 16.15 – 16.55 น. ณ ห้อง 223)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์ณัฎฐาพร | มีโชติ | อาจารย์อาจเสริมแรงบวก โดยวิธีการพูดทางบวก และควรสอนแบบเน้นการมีส่วนร่วม ให้นักศึกษาดูแลซึ่งกันและกัน ให้คนเก่งสอนคนไม่เก่ง ให้พี่สอนน้อง |
2. | อาจารย์เรวดี | วงศ์วัฒนะ | การสอนทุกครั้งเมื่อสอบจบบทอาจารย์ผู้สอนควรมีการทดสอบ เพื่อประเมินผลการเรียนของนักศึกษา และประเมินการสอนของอาจารย์เองว่าสามารถสอนให้นักศึกษาเข้าใจหรือไม่ |
3. | อาจารย์ชุติมา | พราหมนันท์ | หลังสอบกลางภาคอาจารย์ควรรีบตรวจข้อสอบ เพื่อพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา หากพบว่านักศึกษาคนไหนมีผลการเรียนตก สอบไม่ผ่าน จะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา เช่นนัดพูดคุยหาสาเหตุเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา และอาจะมีการสอนเสริมให้กับนักศึกษาที่มีผลการเรียนตกต่ำ |
4. | อาจารย์ชมานนท์ | นาถาบำรุง | เพิ่มชองทางการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอาทิ LINE Facebook Google Classroom เพื่อให้นักศึกษาสามารถสอบถามปัญหาข้อสงสัยต่าง ๆ นอกห้องเรียนได้ |
5. | ดร. เชาวฤทธิ์ | จงเกตกรณ์ | การทำงานกลุ่ม กิจกรรมกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาแต่ละคนมีบทบาทในการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างทั่วถึงสามารถทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น และรู้หน้าที่คามรับผิดชอบของตนเอง
|
6. | ดร.กฤษณะ | ดาราเรือง | การสรุปสาระสำคัญของเนื้อหาที่สอนไปแต่ละครั้งมีความสำคัญถ้าเราอยากรู้ว่าผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่สอนเราสามารถให้นักศึกษาสรุปสาระสำคัญให้ฟังได้ และเนื้อหาส่วนที่ขาดหายไป ผู้สอนควรเติมเต็มให้นักศึกษา |
7. | อาจารย์อรวรรณ | เกิดจันทร์ | การวัดและประเมินผลการเรียนต้องประเมินให้ครบตามผลการเรียนรู้ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาตรี TQF 5 ด้าน |
8. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | การสอนทุกครั้งต้องยึดตามที่เขียนไว้ใน มคอ. 3 เป็นสำคัญ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้ควรต้องมีการบันทึกหลังการสอนทุกครั้ง เพื่อนำไปสรุปไว้ใน มคอ. 5 ในการปรับปรุงรูปแบบการสอนหรือหากมีข้อสังเกตอื่นๆ |
สรุปประเด็น :
- หลังสอบกลางภาคอาจารย์ควรรีบตรวจข้อสอบ เพื่อพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา หากพบว่านักศึกษาคนไหนมีผลการเรียนตก สอบไม่ผ่าน จะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา เช่นนัดพูดคุยหาสาเหตุเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา และอาจะมีการสอนเสริมให้กับนักศึกษาที่มีผลการเรียนตกต่ำ
- การสอนทุกครั้งต้องยึดตามที่เขียนไว้ใน มคอ. 3 เป็นสำคัญ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้ควรต้องมีการบันทึกหลังการสอนทุกครั้ง เพื่อนำไปสรุปไว้ใน มคอ. 5 ในการปรับปรุงรูปแบบการสอนหรือหากมีข้อสังเกตอื่นๆ
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์ณัฎฐาพร | มีโชติ | ในการเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัย เพื่อนำมาตีพิมพ์ในวารสาร ส่วนการเลือกวารสารควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์ |
2. | อาจารย์เรวดี | วงศ์วัฒนะ | วารสารแต่ละเล่ม (กองวารสาร) มีรอบการตีพิมพ์ที่ต่างกัน เช่น 4 เล่มต่อปี 3 เล่มต่อปี หรือ 2 เล่มต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในกระบวนการพิจารณา |
3. | อาจารย์ชุติมา | พราหมนันท์ | งานวิจัยที่จะได้รับหารพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญเพราะฉนั้นอาจารย์ต้องให้คว่สำคัญกับคุณภาพของผลงาน |
4. | อาจารย์ชมานนท์ | นาถาบำรุง | กองวารสารบางแห่งจะพิจารณาว่าผลงานผ่านคณะกรรมการวิจัยในมนุษญ์ ดังนั้น อาจารย์ควรนำผลงานผ่านการพิจารณารับรองการวิจัยในมนุษย์ |
5. | ดร. เชาวฤทธิ์ | จงเกตกรณ์ | การมีเครือข่ายในสถาบันต่างๆ จะเป็นช่องทางนการตีพิมพ์ที่ง่ยขึ้น |
6. | ดร.กฤษณะ | ดาราเรือง | ผลงานที่ตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าวารสารอยู่ใน TCI ฐานไหนซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง Website |
7. | อาจารย์อรวรรณ | เกิดจันทร์ | อาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนตามแบบฟอร์มของกองวารสารซึ่งจะมีคำชี้แจง |
8. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | การเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัย เมื่อเขียนตามแบบ/หัวข้อที่กำหนดแล้ว ควรให้ผู้อื่นช่วยตรวจสอบอีกครั้งจะดี เพื่อเป็นการทวนสอบอีกครั้งก็จะทำให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเราเป็นผู้เขียนเองบางครั้งจะไม่พบข้อผิดพลาดของตนเอง |
สรุปประเด็น :
- อาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนตามแบบฟอร์มของกองวารสารซึ่งจะมีคำชี้แจง
- การเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัย เมื่อเขียนตามแบบ/หัวข้อที่กำหนดแล้ว ควรให้ผู้อื่นช่วยตรวจสอบอีกครั้งจะดี เพื่อเป็นการทวนสอบอีกครั้งก็จะทำให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเราเป็นผู้เขียนเองบางครั้งจะไม่พบข้อผิดพลาดของตนเอง
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 10: วันที่ 5 มีนาคม 2562 เวลา 16.15 – 16.55 น. ณ ห้อง 224)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์จารุวรรณ | กมลสินธุ์ | การจัดการเรียนการสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อย โดยเน้นให้นักศึกษามีโอกาสและเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องในเรื่องหนึ่ง |
2. | อาจารย์จุรีรัตน์ | เกตุแก้ว | การจัดการเรียนการสอนแบบสาธิต วิธีนี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ โดยให้นักศึกษาออกมาเป็นผู้แสดงหรือเป็นผู้กระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมกับการบอกหรืออธิบายให้เข้าใจ เช่น การสอนทำบัญชีครัวเรือน |
3. | อาจารย์เรวดี | วงษ์วัฒนะ | การสอนโดยการมอบหมายงานให้นักศึกษาเป็นระดับความรู้และนำผลงานที่ผลิตมาวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นหรือผลที่ได้เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ก่อนการทำงานจริงในสถานประกอบการ |
4. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | การสอนแบบจำลองสถานการณ์ ก็จะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในรูปแบบดังกล่าวควรให้มีความหลากหลายและให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน ก็จะเกิดการเรียนรู้ |
5. | อาจารย์สุพจน์ | วาศ์ดี | การจัดการเรียนการสอนแบบสมมติ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ต้องกำหนดหัวข้อเรื่องหรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้คล้ายกับความจริง |
6. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกม การจัดการเยนการสอนแบบนี้เป็นวิธีน่าสนใจเพราะทำให้ดูสนุกสนาน ผู้เรียนไม่เบื่อ
|
7. | อาจารย์เยาวเรศ | กาฬภักดี | การสอนโดยการกำหนดแผนงานให้นักศึกษาผลิตผลงานตามลำดับและแก้ปัญหาตามระดับความยากง่าย เพื่อฝึกประสบการณ์ในการกำหนดในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ |
8. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | การทวนสอบมีความสำคัญ เพื่อเป็นการดูว่าเทคนิคการสอนที่สอนในแต่ละครั้งนั้น ตอบวัตถุประสงค์ของเนื้อหารายวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนหรือไม่ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น |
สรุปประเด็น :
- การสอนแบบจำลองสถานการณ์ ก็จะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในรูปแบบดังกล่าวควรให้มีความหลากหลายและให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน ก็จะเกิดการเรียนรู้
- การทวนสอบมีความสำคัญ เพื่อเป็นการดูว่าเทคนิคการสอนที่สอนในแต่ละครั้งนั้น ตอบวัตถุประสงค์ของเนื้อหารายวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนหรือไม่ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์เรวดี | วงษ์วัฒนะ | การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการทำผลงานวิจัยและบทความวิชาการที่มีคุณภาพ และมีประโยชน์ ผู้วิจัยเองควรศึกษาพัฒนาวิธีการด้วยตนเอง เพื่อพัฒนางานวิจัยไปสู่การได้รับรางวัล ควรบริหารเวลาให้ดี |
2. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | แนวทางการพัฒนาผลงานวิจัยควรเริ่มตั้งแต่การเลือกปัญหาการวิจัย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตั้งข้อสมมุติฐานการวิจัย การหาแนวทางการแก้ไขปัญหา การออกแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิจัย และที่มสำคัญการเผยแพร่ผลการวิจัย |
3. | อาจารย์สุพจน์ | วาศ์ดี | การทำงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง จะเป็นวิจัยที่ได้รับการยอมรับในเวทีต่าง ๆ เพราะวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์มีความสำคัญ การทำวิจัยผู้วิจัยจะต้องศึกษาข้อมูล ให้ดี เลือกประชากรกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องตามหลักการ |
4. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | สิ่งสำคัญคือการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาจาแหล่งข้อมูลต่าง ๆเช่น เอกสาร ตำรา หนังสือ บทความ วารสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะทำการวิจัย รวมทั้งข่าวสารที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันหลายๆ เล่ม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการรวบรวมประมวลผลข้อมูลที่เป็นเนื้อหาสาระในการทำวิจัย แล้วนำเนื้อหาที่ได้จากการประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็นแนวทางของผู้วิจัย
|
5. | อาจารย์เยาวเรศ | กาฬภักดี | การเลือกวารสาร ควรพิจารณาจุดเน้นของเอกสารนั้นๆว่า มีเนื้อหาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอกาสในการตีพิมพ์ |
6. | อาจารย์เรวดี | วงษ์วัฒนะ | วารสารแต่ละเล่ม (กองวารสาร) มีรอบการตีพิมพ์ที่ต่างกัน เช่น 4 เล่มต่อปี 3 เล่มต่อปี หรือ 2 เล่มต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในกระบวนการพิจารณา |
7. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | งานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญเพราะฉะนั้นอาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงาน |
8. | อาจารย์ปานทิพย์ | แสนสง | บทความวิจัย ควรต้องเขียนเมื่อทำงานวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และนำมาเขียนสรุปให้ครอบคลุมหัวข้อที่กำหนด เพราะถ้ายังทำงานวิจัยเรื่องนั้นๆ ไม่เสร็จการจำนำมาเขียนเป็นบทความไม่ควร เว้นแต่สามารถสรุปประเด็นที่ยังดำเนินไม่เสร็จได้ |
สรุปประเด็น :
การเขียนบทความวิจัย ควรต้องเขียนเมื่อทำงานวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และนำมาเขียนสรุปให้ครอบคลุมหัวข้อที่กำหนด เพราะถ้ายังทำงานวิจัยเรื่องนั้นๆ ไม่เสร็จการจำนำมาเขียนเป็นบทความไม่ควร เว้นแต่สามารถสรุปประเด็นที่ยังดำเนินไม่เสร็จได้ สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงคุณภาพของงานเป็นสำคัญ
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 11: วันที่ 6 เมษายน 2562 เวลา 15.20 – 16.50 น. ณ ห้อง 222)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์ณัฎฐาพร | มีโชติ | การจัดการเรียนการสอนหากอาจารย์เข้าใจการเรียนรู้ของนักศึกษาซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทตามแบบแผนการเรียนรู้ คือ (1) เรียนรู้จากการ ดูหรือมองเห็น (2) เรียนรู้จากการฟังหรือ ได้ยิน (3) เรียนรู้ จากการอ่านหรือเขียน และ (4) เรียนรู้จากการสัมผัสหรือเคลื่อนไหวร่างกาย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการออกแบบกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายจะสามารถสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการเรียนที่ไม่น่าเบื่อ นักศึกษามีส่วนร่วมในการสอน |
2. | อาจารย์ชุติมา | พราหมนันท์ | การเสือกกรณีศึกษาประกอบการเรียนการสอน ควรพิจารณากรณีศึกษาที่เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับสาระสำคัญของเนื้อหาวิชา โดยให้นักศึกษาร่วมกันมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และอภิปรายอย่างมีเหตุผล และในการสรุปสาระสำคัญของกรณีศึกษา อาจารย์ผู้สอนควรชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีหรือเนื้อหาวิชาอย่างชัดเจน |
3. | อาจารย์ชมานนท์ | นาถาบำรุง | ปัจจุบันแหล่งความรู้มีมากขึ้น และเข้าถึงได้ง่ายทั้งในรูปแบบเอกสาร วารสาร หนังสือ และบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายจะเป็นการต่อยอดไปสู่ความรู้ใหม่ๆ อาจารย์ต้องสามารถชี้แนะแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา และมีการเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษา |
4. | อาจารย์เยาวเรศ | กาฬภักดี | การสอนโดยส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดทักษะด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจ เช่น การนำเสนอรายงานในลักษณะเป็น YouTube การตัดต่อเป็น Crip VDO แทนการนำเสนอในลักษณะรายงานหน้าชั้นเรียน สามารถสร้างความน่าสนใจ ความสนุกในการเรียนการสอน |
5. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | การทำกิจกรรมกลุ่ม โดยกำหนดให้นักศึกษาแต่ละคนมีบทบาทในการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยมีผู้สอนคอยเป็นโค้ช/ พี่เลี้ยง สามารถทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น และรู้หน้าที่คามรับผิดชอบของตนเอง มีการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างทั่วถึง |
6. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | การใช้ e-Learning/ digital media ให้นักศึกษาไปเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ ทบทวนหลังจากที่ได้เรียน และนำมาพูดคุยกันในชั้นเรียนทำให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียน |
7. | อาจารย์จุรีรัตน์ | เกตุแก้ว | การประเมินผลระหว่างเรียนเพื่อประเมินความเข้าใจของนักศึกษา และ แก้ไข ความไม่เข้าใจ หรือ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เช่น การให้ทำกิจกรรม/โจทย์ระหว่างเรียน หรือ การให้ทำกิจกรรมโดยไม่มีคะแนน |
สรุปประเด็น :
รูปแบบ/เทคนิคการสอน มีความหลากหลาย ซึ่งอีกรูปแบบที่น่าสนใจ คือ การทำกิจกรรมกลุ่ม โดยกำหนดให้นักศึกษาแต่ละคนมีบทบาทในการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยมีผู้สอนคอยเป็นโค้ช/ พี่เลี้ยง สามารถทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น และรู้หน้าที่คามรับผิดชอบของตนเอง มีการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างทั่วถึง
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์ณัฎฐาพร | มีโชติ | ทั้งนี้กองวารสารบางแห่งจะพิจารณาว่าผลงานผ่านคณะกรรมการวิจัยในมนุษญ์ ดังนั้น อาจารย์ควรนำผลงานผ่านการพิจารณารับรองการวิจัยในมนุษย์ |
2. | อาจารย์ชุติมา | พราหมนันท์ | สิ่งที่อยากฝากคือการมีเครือข่ายในสถาบันต่างๆ จะเป็นช่องทางนการตีพิมพ์ที่ง่ยขึ้น
|
3. | อาจารย์ชมานนท์ | นาถาบำรุง | ทั้งนี้ผลงานที่ตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าวารสารอยู่ใน TCI ฐานไหนซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง Website
|
4. | อาจารย์เยาวเรศ | กาฬภักดี | อีกประการคือ อาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนตามแบบฟอร์มของกองวารสารซึ่งจะมีคำชี้แจง
|
5. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | สิ่งสำคัญด้านการตั้งสมมติฐาน โดยศึกษาตัวอย่างงานวิจัยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเรื่องที่จะทำวิจัย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ สมมติฐานในการวิจัย เป็นข้อความหรือคำตอบสรุปผลการวิจัยที่ผู้วิจัยคาดการณ์หรือคาดเดาไว้ล่วงหน้า ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขึ้นโดยใช้หลักเหตุผลที่น่าจะเป็นให้มากที่สุด อาจจะอาศัยหลักฐานความรู้เดิมที่มีมาก่อนหรือรากฐานของทฤษฎี ผลการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น |
6. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำความรู้ในเรื่องการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาต่อมาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการหาคำตอบ ที่จะนำไปสู่การตอบคำถามของวัตถุประสงค์ของการวิจัย
|
7. | อาจารย์จุรีรัตน์ | เกตุแก้ว | โดยศึกษาจากตัวอย่างงานวิจัยที่มีลักษณะคล้ายกับเรื่องที่จะทำการวิจัยทั้งนี้อาจเป็นเพราะ การสรุผลการวิจัย เป็นการระบุคำตอบปัญหาของการวิจัย หรือสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ภายในขอบเขตของข้อมูลของการวิจัย เป็นไปตามผลการวิเคราะห์ข้อมูล และมีการเสนอแนะเกี่ยวกับการน า
ผลการวิจัยไปใช้และการท าวิจัยต่อไป |
8. | ดร. สิทธิพร | เขาอุ่น | วารสารแต่ละเล่ม (กองวารสาร) มีรอบการตีพิมพ์ที่ต่างกัน เช่น 4 เล่มต่อปี 3 เล่มต่อปี หรือ 2 เล่มต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในกระบวนการพิจารณา |
9. | อาจารย์จารุวรรณ | กมลสินธ็ | งานวิจัยที่จะได้รับหารพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญและสาย IT จะเน้นไปทางองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย |
สรุปประเด็น :
การวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำความรู้ในเรื่องการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาต่อมาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการหาคำตอบ ที่จะนำไปสู่การตอบคำถามของวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
คณะบริหารและการจัดการ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)
(ครั้งที่ 12: วันที่ 24 พฤษภาคม 2562 เวลา 15.20 – 16.50 น. ณ ห้องประชุมคณะฯ)
———————————————
ประเด็น : ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | อาจารย์อัจจิมา | สมบัติปัน | การจัดทำแผนการสอนโดยอธิบายผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนรายละเอียดวิธีการสอน และการวัดประประเมินผลที่ชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ |
2. | อาจารย์ทิพย์สุดา | คงเมือง | สร้างช่องทางให้นักศึกษาได้รับรู้ถึงความต้องการทักษะของนักศึกษาจากสถานประกอบการ |
3. | อาจารย์จุรีรัตน์ | เกตุแก้ว | การสร้างความเข้าใจก่อนนักศึกษาออก Wil และปฏิบัติงานสหกิจศึกษา |
4. | อาจารย์มัจจรี | สุพรรณ | กรณีศึกษาเป็นสิ่งที่ให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์ เพื่อการเตรียมตัวในการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา |
5. | ดร.กฤษณะ | ดาราเรือง | การให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตั้งประเด็นที่จะเรียนรู้เป็นสิ่งที่จะทำให้นักศึกษาได้เรียนและให้นักศึกษาประเมินสถานการณ์ได้จริงหากต้องปฏิบัติงานจริง |
6. | อาจารย์จักรพันธ์ | จันทร์เขียว | การให้ความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ ด้านการค้นคว้า การเรียบเรียงข้อมูล ข้อค้นพบ ความคิดเห็น การให้เหตุผล โต้แย้ง สามารถทำให้นักศึกษามีความพร้อมที่จะนำไปใช้เชื่อมโยงกับการทำงาน |
7. | อาจารย์เรวดี | วงษ์วัฒนะ | กำหนดให้นักศึกษาใช้แผนผังความคิดในการนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการให้นักศึกษารู้จักคิด และอาจารย์สามารถประเมินความรู้และความคิดใหม่ของนักศึกษา ได้อย่างดี |
8. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติโดยใช้ทฤษฎีนำ เพื่อนำหลักการปฏิบัติไปใช้บูรณาการกับการทำงาน |
9. | อาจารย์ปิยะวดี | หาดแก้ว | การกำหนดกิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มเพื่อให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนรวมชั้นเรียน |
10. | อาจารย์สุพจน์ | วงศ์ดี | การฝีกให้นักศึกษาเรียนรู้การสืบค้นข้อมูลผ่านสารสนเทศที่หลากหลายในการหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา |
สรุปประเด็น :
- การฝีกให้นักศึกษาเรียนรู้การสืบค้นข้อมูลผ่านสารสนเทศที่หลากหลายในการหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
- กำหนดให้นักศึกษาใช้แผนผังความคิดในการนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการให้นักศึกษารู้จักคิด และอาจารย์สามารถประเมินความรู้และความคิดใหม่ของนักศึกษา ได้อย่างดี
- สร้างช่องทางให้นักศึกษาได้รับรู้ถึงความต้องการทักษะของนักศึกษาจากสถานประกอบการ
ประเด็น : ด้านวิจัย
บุคลากร | ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ||
1. | ดร.กฤษณะ | ดาราเรือง | ต้องมีระบบพี่เลี้ยงให้กับอาจารย์ที่ยังไม่มีประสบการณ์ หรือควรทำเป็นแบบฉบับเพื่อให้อาจารย์น้องใหม่ได้เรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนของตนเอง |
2. | อาจารย์จักรพันธ์ | จันทร์เขียว | คำชี้แจงของกองบรรณาธิการวารสารเป็นสิ่งสำคัญ อาจารย์ที่จะส่งผลงานตีพิมพ์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนตามแบบฟอร์มอย่างเคร่งครัด |
3. | อาจารย์เรวดี | วงษ์วัฒนะ | การแก้ไขบทความตามข้อแนะนำของผู้ทรงจากกองวารสาร หากประเด็นไหนไม่เห็น และมั่นใจว่าถูกต้องแล้วด้วยสามารถทำคำชี้แจงได้ |
4. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น ไม่นำผลงานในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารมากกว่า 1 ฉบับ |
5. | อาจารย์จักรพันธ์ | จันทร์เขียว | ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล และแสดงหลักฐานของการค้นคว้า |
6. | อาจารย์เรวดี | วงษ์วัฒนะ | การละเมิดลิขสิทธิ์ในกรณีที่การเผยแพร่งานครั้งแรกนั้นมีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่ การเผยแพร่ซ้ำ ใน บางบริบทอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ |
7. | อาจารย์สรพงษ์ | ศรีเดช | การวิจัยเชิงคุณภาพถือว่า กรอบแนวคิดไม่ใช่สิ่งที่จะยึดตายตัว แต่เป็นเพียงแนวทาง สำหรับหาคำตอบในการวิจัย โดยสามารถยืดหยุ่นหรือปรับได้เมื่อมีหลักฐานหรือข้อมูลที่ชี้ว่าควรปรับปรุง |
8. | อาจารย์ปิยะวดี | หาดแก้ว | การนำเสนอบทความวิจัยในที่ ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม
|
9. | อาจารย์สุพจน์ | วงศ์ดี | ทบทวนตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ระเบียบวิธีวิจัย การเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรมตามระบบที่วารสารกำหนด หรือให้ผู้อื่นทั้งในและนอกสาขาอ่านเพื่อตรวจสอบเนื้อหาและภาษาที่ใช้ในงานวิจัยก่อนส่งรายงานการวิจัย |
10. | อาจารย์จักรพันธ์ | จันทร์เขียว | ส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ และมีการติดตามผลจากบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไข บรรณาธิการของวารสารจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรรีบดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ (reviewer) ของวารสาร และส่งตามเวลาที่วารสารกำหนด |
11. | อาจารย์สุกัญญา | หนองกาวี | ในการเผยแพร่ครั้งที่สอง หากใช้สื่อเดียวกับครั้งแรกเช่นเป็นบทความทั้งคู่ ให้พยายามสื่อด้วย การทวนความ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์และการลอก เลียนโดยมิชอบ |
12. | อาจารย์อรวรรณ | เกตุแก้ว | ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความจำเป็น ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลงานวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว |
สรุปประเด็น :
- ควรต้องมีระบบพี่เลี้ยงให้กับอาจารย์ที่ยังไม่มีประสบการณ์ หรือควรทำเป็นแบบฉบับเพื่อให้อาจารย์น้องใหม่ได้เรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนของตนเอง
- การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ และมีการติดตามผลจากบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไข บรรณาธิการของวารสารจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรรีบดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ (reviewer) ของวารสาร และส่งตามเวลาที่วารสารกำหนด
*********************************************