การดำเนินงานการจัดการความรู้ KM ของหน่วยงานสนับสนุน ปีการศึกษา 2563

ประเด็นความรู้
การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของหน่วยงายฝ่ายสนับสนุน

ประเด็นความรู้
การใช้ประโยชน์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการของฝ่ายสนับสนุน

KM-AS-12 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 12)

วันที่ 22 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2561 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการให้บริการวิชาการแก่หน่วยงาน มาเป็นกรณีศึกษารวมถึงคู่มือการใช้โปรแกรม MS-Office นำมาเป็นเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป
 2 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง        บุคลการทุกคนควรมีส่วนร่วมในการออกให้บริการวิชาการทั้งระดับคณะวิชาหรือสถาบันฯ เพราะเป็นการแสดงออกถึงศักยภาพด้านวิชาการในศาสตร์วิชาการนั้นๆ และสำคัญคือการนำทฤษฏีไปใช้ปฏิบัติจริงเกิดผลลัพธ์จริง เจอสถานการณ์จริง และทุกครั้งต้องมีการวัดและประเมินผล KPI ในเชิงสถิติเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมจากการดำเนินงาน
3 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
      การจัดกิจกรรมบริการวิชากับการเรียนการสอน ไม่จำเป็นต้องจัดทาในรายวิชาเดียวแต่อาจจะจัดกิจกรรมที่รวมศาสตร์ของรายวิชาในสาชาวิชาอื่นมาประยุกต์ร่วมกัน โดยผู้สอนของแต่ละสาขาวิชาควรประชุมร่วมกันและพิจารณาว่ารายวิชาอะไรบ้างที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยสามารถมาบูรณาการร่วมกันได้ เพื่อให้เกิดองค์ความที่บูรณาการร่วมกันของแต่ละศาสตร์ และยังทาให้นักศึกษาได้เห็นถึงองค์ความรู้ในศาสตร์อื่นๆ และนามาบูรณาการร่วมกับในสาขาวิชาชีพของตนเองได้
4 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง       ร่วมกันประเมินผลจากการบริการวิชาการอีกครั้งเพื่อที่จะนำมาปรับใช้ในอนาคตแสดงตัวอย่างอย่างต่อเนื่องในชุมชนเดียวจนทำให้ชุมชนจะเลี้ยงตนเองและดำเนินการเองได้เป็นชุมชนต้นแบบให้กับชุมชนอื่นได้
5 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ      แนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะนำมาปรับปรุงในการจัดโครงการครั้งต่อไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      นำปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะมาสังเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยให้ฯกศึกษามีส่วนร่วมระบุปัจจัยที่มีผลกระทบและการดำเนินการดังกล่าวชุมชนได้อะไร อาจารย์ได้อะไร อาจารย์ผู้สอนได้อะไร ผู้เรียนได้อะไร จาการบริการวิชาการสู่ชุมชน
7 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว        นำปัญหาที่พบเช่นการถ่ายภาพของนักศึกษาอาจทำให้ผู้รับบริการไม่เข้าใจในสิ่งสอนอย่างถูกต้องทั้งอาจารย์ก็ควรนำมาปรับปรุงโดยการแนะนำเทคนิควิธีการถ่ายทอดการสอนให้กับนักศึกษาในเวลาที่นักศึกษาเรียนในแต่ละรายวิชาให้มากขึ้นเพื่อเป็นการฝึกทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษามีทักษะการถ่ายทอดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
8 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด – สรุปโครงการบริการวิชาการต่างๆ ที่ผ่านมา เพื่อหาผลที่ได้รับ รวมถึงการนำองค์ความรู้ที่มี

– ในรายวิชาไปจัดการปัญหา ของกลุ่มเป้าหมาย และหาแนวทางในการพัฒนาในครั้งต่อไป

 9 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี  มุ่งเสริมสร้างการพัฒนา เผยแพร่ความรู้ ฝึกทักษะเชิงวิชาการหรือวิชาชีพ แก่ชุมชน ท้องถิ่นหรือสังคม
10 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ        การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

1.       ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอน

2.       เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

3.       เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร

4.       ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

5.       ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน

6.       เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที

7.       แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรบัณฑิตจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และประสิทธิภาพให้กับการเรียนการสอน

8.       เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ ของทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน

11 อาจารย์รุจิตรา ตายอด      เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ ของทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน

12 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

1.       ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอน

2.       เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

3.       เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร

 

13 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด     เราสามารถนำเนื้อหา/ความรู้ ที่ไปบริการวิชาการได้นำมาบูรณาการกับการเรียนการสอนจะทำให้ การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และเป็นสื่อการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น

 

สรุปประเด็น

  1. บุคลการทุกคนควรมีส่วนร่วมในการออกให้บริการวิชาการทั้งระดับคณะวิชาหรือสถาบันฯ เพราะเป็นการแสดงออกถึงศักยภาพด้านวิชาการในศาสตร์วิชาการนั้นๆ และสำคัญคือการนำทฤษฏีไปใช้ปฏิบัติจริงเกิดผลลัพธ์จริง เจอสถานการณ์จริง และทุกครั้งต้องมีการวัดและประเมินผล KPI ในเชิงสถิติเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมจากการดำเนินงาน
  2. นำปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะมาสังเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยให้ฯกศึกษามีส่วนร่วมระบุปัจจัยที่มีผลกระทบและการดำเนินการดังกล่าวชุมชนได้อะไร อาจารย์ได้อะไร อาจารย์ผู้สอนได้อะไร ผู้เรียนได้อะไร จาการบริการวิชาการสู่ชุมชน
  3. การจัดกิจกรรมบริการวิชากับการเรียนการสอน ไม่จำเป็นต้องจัดทาในรายวิชาเดียวแต่อาจจะจัดกิจกรรมที่รวมศาสตร์ของรายวิชาในสาชาวิชาอื่นมาประยุกต์ร่วมกัน โดยผู้สอนของแต่ละสาขาวิชาควรประชุมร่วมกันและพิจารณาว่ารายวิชาอะไรบ้างที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยสามารถมาบูรณาการร่วมกันได้ เพื่อให้เกิดองค์ความที่บูรณาการร่วมกันของแต่ละศาสตร์ และยังทาให้นักศึกษาได้เห็นถึงองค์ความรู้ในศาสตร์อื่นๆ และนามาบูรณาการร่วมกับในสาขาวิชาชีพของตนเองได้

KM-AS-11 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 11)

วันที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ.2561 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน มีการสรุปผลการให้บริการวิชาการ และตรวจสอบดูว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ และมีข้อเสนอแนะอย่างไร เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการวิชาการในครั้งต่อๆ ไป
 2 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานในแต่ละครั้งควรต้องมีการสรุปผลการปฏิบัติการทุกครั้ง ตรวจสอบดูว่าที่ดำเนินการนั้นเป็นไปตามแผนหรือไม่ และมีข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะอย่างไรหรือไม่และนำกลับมาเพื่อปรับปรุงพัฒนาการให้บริการวิชาการในครั้งต่อๆ ไป
3 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
      การบริการวิชาการกับการเรียนการสอนแล้วนั้น นอกจากจะได้องค์ความรู้ใหม่ๆ และประสบการณ์จริงให้กับนักศึกษาแล้วนั้นน อาจารย์ผู้สอนยังสามารถนาองค์ความรู้ที่ได้จากนักศึกษามาารวบรวม และจากที่อาจารย์ได้พบนั้นมาพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัยในชั้นเรียนหรือวิจัยให้กับชุมชนได้ต่อไป ซึ่งส่งผลให้เกิดงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและชุมชน

 

4 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง       สรุปองค์ความรู้ที่ได้พัฒนาชุมชนและพัฒนาผู้เขียนร่วมกันนักศึกษาและชุมชนได้ทำงานจริงและเห็นปัญหาจริง
5 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ    จัดทำสรุปโครงการผลการดำเนินการโครงการบริการวิชาการและ วิเคราะห์ความพึงพอใจของโครงการที่ให้บริการแก่ชุมชน
6 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน     หลักสูตรมีการนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาการเรียนการสอนที่สะท้อนกับสถานการณ์จริงในยุคปัจจุบัน
7 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว หลังจากที่นักศึกษาออกบริการวิชาการจากนั้นจะได้กลับมาถ่ายทอดองค์ความรู้และนักศึกษาต้องมีการวิเคราะห์ประเมินปัญหาจากการบริการวิชาการพบว่าการรับบริการวิชาการเป็นที่น่าสนใจในการบริการน้อยหรือมีความเข้าใจในเรื่องที่สอนได้หรือไม่อย่างเต็มที่ดังนั้นนักศึกษาจึงคิดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้บริการวิชาการและหลักสูตรที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จ
8 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด   –  นำโครงการบริการวิชามาศึกษาหาแนวทางพัฒนาเพื่อความยังยืนและกำหนดการให้ความรู้ในครั้งต่อไป
 9 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี     มุ่งพัฒนาการบริการวิชาการให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อนำไปสู่การเป็นตัวแทนขององค์กรที่ได้รับ การรับรองมาตรฐานทั้งในระดับชาติ
10 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ         ตัวอย่างการบูรณาการในรายวิชาการสร้างโปรแกรมเว็บ ซึ่งในรายวิชาดังกล่าวได้มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นในลักษณะของการปฏิบัติงานจริง ซึ่งได้บรรจุกิจกรรมการให้บริการวิชาการด้านความรู้ ซึ่งตอนเปิดภาคเรียนอาจารย์ผู้สอนได้อธิบายและทาความเข้าใจกับนักศึกษาก่อนเรียนและได้ให้นักศึกษาคิดกิจกรรมบริการวิชาที่สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชา และมอบหมายให้นักศึกษาทากิจกรรมร่วมกับผู้สอน โดยการไปลงพื้นที่จริงในชุมชน โรงเรียน ในจังหวัดนครสวรรค์หรือจังหวัดใกล้เคียง และหลังจากลงไปจัดกิจกรรมแล้ว ให้นักศึกษาจัดทำรายงานสรุปเกี่ยวองค์ความรู้ที่ได้จากการออกไปจัดกิจกรรมบริการวิชา มานาเสนอให้อาจารย์และเพื่อนๆ ในชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและความรู้ที่ได้กลับมา
11 อาจารย์รุจิตรา ตายอด         การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
12 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร        การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
13 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด        การบริการวิชาการมีเนื้อหามากมายสามารถมาปรับใช้ในการเรียนการสอนได้ หากเลือกเนื้อหาที่มีความหมายเหมาะสมร่วมกันได้สามรถบูรณาการกข้ากันได้ในการเรียนการสอน

 

 

สรุปประเด็น

  1. เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานในแต่ละครั้งควรต้องมีการสรุปผลการปฏิบัติการทุกครั้ง ตรวจสอบดูว่าที่ดำเนินการนั้นเป็นไปตามแผนหรือไม่ และมีข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะอย่างไรหรือไม่และนำกลับมาเพื่อปรับปรุงพัฒนาการให้บริการวิชาการในครั้งต่อๆ ไป
  2. การบริการวิชาการกับการเรียนการสอนแล้วนั้น นอกจากจะได้องค์ความรู้ใหม่ๆ และประสบการณ์จริงให้กับนักศึกษาแล้วนั้น อาจารย์ผู้สอนยังสามารถนาองค์ความรู้ที่ได้จากนักศึกษามารวบรวม และจากที่อาจารย์ได้พบนั้นมาพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัยในชั้นเรียนหรือวิจัยให้กับชุมชนได้ต่อไป ซึ่งส่งผลให้เกิดงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและชุมชน

KM-AS-10 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 10)

วันที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้  
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      หลังการฝึกอบรมผู้รับบริการวิชาการจะต้องทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรมอีก 1 ครั้ง และนำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อประเมินผลความสำเร็จของการให้บริการวิชาการ  
2 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      เมื่อมีการให้บริการทางวิชาการแล้ว เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างไรควรนำองค์ความรู้เหล่านั้นกลับมาพัฒนาหรือบูรณาการกับการเรียนการสอนหรืองานวิจัยที่ดีได้ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการนำไปปรับปรุงและพัฒนากระบวนการที่เกี่ยวข้องต่อไป  
3 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
      ตัวอย่างการบูรณาการในรายวิชาโครงสร้างคอมพิวเตอร์ โดยอาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอานาจ เป็นผู้สอน ซึ่งในรายวิชาดังกล่าวได้มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นในลักษณะของการปฏิบัติงานจริง ซึ่งได้บรรจุกิจกรรมการให้บริการวิชาการด้านความรู้เกี่ยวกับการซ่อมบารุงคอมพิวเตอร์ลงไปใน มคอ.3 ซึ่งตอนเปิดภาคเรียนอาจารย์ผู้สอนได้อธิบายและทาความเข้าใจกับนักศึกษาก่อนเรียนและได้ให้นักศึกษาคิดกิจกรรมบริการวิชาที่สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชา และมอบหมายให้นักศึกษาทากิจกรรมร่วมกับผู้สอน โดยการไปลงพื้นทีจริงในชุมชน โรงเรียน ในจังหวัดนครสวรรค์หรือจังหวัดใกล้เคียง และหลังจากลงไปจัดกิจกรรมแล้ว ให้นักศึกษาจัดทารายงานสรุปเกี่ยวองค์ความรู้ที่ได้จากการออกไปจัดกิจกรรมบริการวิชา มานาเสนอให้อาจารย์และเพื่อนๆ ในชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและความรู้ที่ได้กลับมา
 
4 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง       ร่วมกับชุมชนเสนอแนวทางในการวางแผนธุรกิจชุมชนของธุรกิจใหม่ที่จะทำรายได้เข้าสู่ชุมชนร่วมกันพิจารณาธุรกิจอื่นๆเทคนิคในการสอนควรใช้คำง่ายๆอธิบายให้เข้าใจหรือกรณีศึกษามาประกอบ  
5 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ      ความรู้ที่ได้รับจากการบริการวิชาการหรือประเด็นปัญหาจากการบริการวิชาการ สามรถนำมาใช้กรณีศึกษาให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้ในชั้นเรียนได้  
6 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  ติดตามผลในโครงการบริการวิชาการมาศึกษาหาปัญหาว่าการแก้ไขที่ผ่านมาตรงตามประสงค์ ที่กลุ่มเป้าหมาย  
7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      หลักสูตรบริการวิชาการควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดความต่อเนื่อง และยั่งยืนไม่ควรเปลี่ยนชุมชนที่จะไปบริการวิชาการบ่อยๆเพราะจะทำให้องค์ความรู้ไม่ต่อเนื่องชุมชนไม่เข้มแข็ง  
8 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว      ในการบริการวิชาการนั้นมีการให้นักศึกษาประเมินตนเองว่านักศึกษาได้อะไรจากบริการวิชาการนักศึกษามีความร่วมมือมีองค์ความรู้ที่ได้รับมาเพื่อนำมารวบรวมเป็นองค์ความรู้เป็นข้อมูลในการถ่ายทอดมาสอนให้แก่ชุมชนสังคมที่ต้องการรับบริการวิชาการ  
9 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี ตัวอย่างการบูรณาการกับโครงการ

โครงการบริการวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ต่อสังคม โดยจัดกิจกรรมตรวจสภาพคอมพิวเตอร์ให้กับชุมชน เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการกับการพัฒนาในรายวิชาโครงสร้างคอมพิวเตอร์และรายวิชาระบบปฏิบัติการ

 
10 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ ตัวอย่างการบูรณาการกับโครงการ

โครงการบริการวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ต่อสังคม โดยจัดกิจกรรมตรวจสภาพคอมพิวเตอร์ให้กับชุมชน เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการกับการพัฒนาในรายวิชาโครงสร้างคอมพิวเตอร์และรายวิชาระบบปฏิบัติการ

 
11 อาจารย์รุจิตรา ตายอด       โครงการบริการวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ต่อสังคม โดยจัดกิจกรรมตรวจสภาพคอมพิวเตอร์ให้กับชุมชน เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการกับการพัฒนาในรายวิชาโครงสร้างคอมพิวเตอร์และรายวิชาระบบปฏิบัติการ  
12 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร ตัวอย่างการบูรณาการกับโครงการ

โครงการบริการวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ต่อสังคม โดยจัดกิจกรรมตรวจสภาพคอมพิวเตอร์ให้กับชุมชน เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการกับการพัฒนาในรายวิชาโครงสร้างคอมพิวเตอร์และรายวิชาระบบปฏิบัติการ

 
13 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด      บริการวิชาการ เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใช้ประชาชนชุมชนได้ทราบเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับ Social ต่างๆในปัจจุบันโดยทำเป็นหน้าที่ขนาดเล็ก เพื่อให้ประชาชนสามรถเก็บไว้อ่านหนังสือเหล่านั้นมาบูรณาการวิชาการการเรียนการสอนได้โดยมีเรื่องกฎหมายเข้ามาใช้  

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปประเด็น

  1. เมื่อมีการให้บริการทางวิชาการแล้ว เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างไรควรนำองค์ความรู้เหล่านั้นกลับมาพัฒนาหรือบูรณาการกับการเรียนการสอนหรืองานวิจัยที่ดีได้ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการนำไปปรับปรุงและพัฒนากระบวนการที่เกี่ยวข้องต่อไป
  2. หลังการฝึกอบรมผู้รับบริการวิชาการจะต้องทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรมอีก 1 ครั้ง และนำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อประเมินผลความสำเร็จของการให้บริการวิชาการ
  3. หลักสูตรบริการวิชาการควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดความต่อเนื่อง และยั่งยืนไม่ควรเปลี่ยนชุมชนที่จะไปบริการวิชาการบ่อยๆเพราะจะทำให้องค์ความรู้ไม่ต่อเนื่องชุมชนไม่เข้มแข็ง

KM-AS-9 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การพัฒนาคุณภาพเพื่อการเรียนรู้และบูรณาการการบริการวิชาการ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 9)

วันที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      ดำเนินการให้บริการวิชาการ โดยเน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างความคุ้นเคยในการใช้โปรแกรมให้เกิดความเชี่ยวชาญสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในองค์กรได้จริง
 2 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      บุคลากรที่จะออกให้ความรู้ ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง และสำคัญต้องเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย เพราะต้องสัมพันธ์กับชุมชนหรือชาวบ้าน การนำเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็จะทำให้เห็นถึงความทันสมัยแต่ก็ต้องระวังเรื่องทักษะของสมาชิกในชุมชนนั้นเพราะถ้าใช้สื่อหรือใช้ศัพท์ทางเทคนิคมากเกินไปก็ยากต่อการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ต่างๆ
3 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
  แนวทางการพัฒนางานบริการวิชาการ

1.พัฒนาแนวทางการจัดทาโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการกับการเรียนการสอน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.ส่งเสริมและกระตุ้นให้อาจารย์นาประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการมาใช้พัฒนาในการเรียนการสอนให้เพิ่มมากขึ้น

3.จัดทาแนวทางในการประเมินผลความสาเร็จจากการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการกับการเรียนการสอน และการประเมินผลความสาเร็จจากการนาประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการมาใช้พัฒนาในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. มีระบบการติดตาม เผยแพร่และส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในการนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการไปใช้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

5. มีการติดตามผลภายหลังที่ชุมชนมีการดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดโครงการเพิ่มเติมเพื่อติดตามประเมินผลการดาเนินงานและความต่อเนื่องยั่งยืน

4 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง      นักศึกษาและอาจารย์ประจำหลักสูตรวิเคราะห์ปัญหาด้วยกันและนำมาปรับใช้ในครั้งต่อไปเพื่ออาจจะเป็นการเพิ่มเติมหลักสูตรในปีการศึกษาถัดไป

 

5 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ       ลงพื้นที่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ตามเป้าหมายที่วางไว้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
6 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      การที่ออกบริการวิชาการเราไม่ได้ไปให้ความรู้ชุมชนอย่างเดียว ผู้สอนพานักศึกษาไปหาความรู้ใหม่ๆจากชุมชนเช่นกัน
7 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว       จากการวิเคราะห์จากนักศึกษานักศึกษาเลือกเทคนิคการสอนการถ่ายทอดความรู้หลักสูตรที่ตั้งไว้โดยแบ่งการสอนเกี่ยวกับเครื่องมือเทคนิคการถ่ายภาพการพูดเสียงท่าทางเป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ชุมชนหรือผู้รับการบริการได้ปฏิบัติจริงเจอปัญหาจริงเพื่อให้แก้ไขเฉพาะหน้าได้โดยการลงมือปฏิบัติกับผู้มีประสบการณ์ผู้ได้รับบริการจึงสามารถแก้ไขปัญหาแนะนำได้ในทันที

จากการวิเคราะห์จากนักศึกษานักศึกษาเลือกเทคนิคการสอนการถ่ายทอดความรู้หลักสูตรที่ตั้งไว้โดยแบ่งการสอนเกี่ยวกับเครื่องมือเทคนิคการถ่ายภาพการพูดเสียงท่าทางเป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ชุมชนหรือผู้รับการบริการได้ปฏิบัติจริงเจอปัญหาจริงเพื่อให้แก้ไขเฉพาะหน้าได้โดยการลงมือปฏิบัติกับผู้มีประสบการณ์ผู้ได้รับบริการจึงสามารถแก้ไขปัญหาแนะนำได้ในทันทีทัน จากการวิเคราะห์จากนักศึกษานักศึกษาเลือกเทคนิคการสอนการถ่ายทอดความรู้หลักสูตรที่ตั้งไว้โดยแบ่งการสอนเกี่ยวกับเครื่องมือเทคนิคการถ่ายภาพการพูดเสียงท่าทางเป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ชุมชนหรือผู้รับการบริการได้ปฏิบัติจริงเจอปัญหาจริงเพื่อให้แก้ไขเฉพาะหน้าได้โดยการลงมือปฏิบัติกับผู้มีประสบการณ์ผู้ได้รับบริการจึงสามารถแก้ไขปัญหาแนะนำได้ในทันที

 

8 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด   –  นำปัญหามาศึกษาเพื่อจัดโครงการบริการวิชาการแก้ไขปัญหา  และนำองค์ความรู้จากหลายๆศาสตร์ มาบูรณาการร่วมกัน
 9 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      ส่งเสริมให้ชุมชนหรือสังคมใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งเรียนรู้และ อ้างอิงทางวิชาการ
10 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ แนวทางการพัฒนางานบริการวิชาการ

1.       พัฒนาแนวทางการจัดทาโครงการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการกับการเรียนการสอน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.       ส่งเสริมและกระตุ้นให้อาจารย์นาประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการมาใช้พัฒนาในการเรียนการสอนให้เพิ่มมากขึ้น

3.       จัดทาแนวทางในการประเมินผลความสาเร็จจากการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการกับการเรียนการสอน และการประเมินผลความสาเร็จจากการนาประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการมาใช้พัฒนาในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

4.       มีระบบการติดตาม เผยแพร่และส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในการนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการวิชาการไปใช้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

มีการติดตามผลภายหลังที่ชุมชนมีการดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดโครงการเพิ่มเติมเพื่อติดตามประเมินผลการดาเนินงานและความต่อเนื่องยั่งยืน

11 อาจารย์รุจิตรา ตายอด พัฒนา ปรับปรุงตามผลงานจากการติดตามประเมินผล

1.       นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาวางแผนในการธำรงรักษาการบริการวิชาการไว้

2.       จัดทำแผนในการพัฒนาการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน การพัฒนาความต้องการที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย

3.       กำหนดตัวชี้วัดแผนพัฒนาการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัย

12 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร พัฒนา ปรับปรุงตามผลงานจากการติดตามประเมินผล

1.       นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาวางแผนในการธำรงรักษาการบริการวิชาการไว้

2.       จัดทำแผนในการพัฒนาการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน การพัฒนาความต้องการที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย

3.       กำหนดตัวชี้วัดแผนพัฒนาการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัยการบูรณาการระหว่างวิชา( Interdisciplinary Instruction )  เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่างๆตั้งแต่  2  สาขาวิชาขึ้นไปภายใต้หัวเรื่อง    (Theme )  เดียวกัน  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชาต่างๆมากกว่า  1  วิชาขึ้นไป  เพื่อการแก้ปัญหาหรือการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่างๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด

13 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด    การวิเคราะห์และการจัดทำสรุปประเด็นต่างๆหรือความรู้ต่างๆที่ได้ออกไปรับบริการว่าสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างไร และทำแบบประเมินผลว่าสามารถบูรณาการได้หรือไม่เพราะอะไร แล้วเห็นภาพได้อย่างชัดเจนมายิ่งขึ้น

 

 

 

 

สรุปประเด็น

  1. ดำเนินการให้บริการวิชาการ โดยเน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างความคุ้นเคยในการใช้โปรแกรมให้เกิดความเชี่ยวชาญสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในองค์กรได้จริง
  2. บุคลากรที่จะออกให้ความรู้ ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง และสำคัญต้องเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย เพราะต้องสัมพันธ์กับชุมชนหรือชาวบ้าน การนำเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็จะทำให้เห็นถึงความทันสมัยแต่ก็ต้องระวังเรื่องทักษะของสมาชิกในชุมชนนั้นเพราะถ้าใช้สื่อหรือใช้ศัพท์ทางเทคนิคมากเกินไปก็ยากต่อการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ต่างๆ

KM-AS-8 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 8)

วันที่ 28 เดือน มกราคม พ.ศ.2561 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      ก่อนการดำเนินการให้บริการวิชาการ ผู้ฝึกอบรมจะต้องทำแบบทดสอบก่อนฝึกอบรมเพื่อเป็นข้อมูลในการวัดผลประเมินผลความสำเร็จของการให้บริการวิชาการ
  อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      เมื่อเลือกชุมชนใดแล้ว ควรตั้งใจที่จะทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ในระหว่างปีควรมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะมีอะไรอีกหรือไม่ที่สอดรับในการพัฒนาต่อยอด ก็ควรนำมาพิจารณาต่อยอด และหากสามารถพัฒนาจนเป็นงานวิจัยได้ก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์เพื่อต่อยอดในการพัฒนาต่อไปในอนาคตได้
2 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
    กระบวนการติดตามและประเมินผลการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน ก่อนเริ่มดำเนินโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการต้องกำหนดเป้าหมายของการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนก่อน ว่าต้องการให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้หรือได้รับประโยชน์อะไรจาก การบริการวิชาการ ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลการดาเนินงาน เช่น กรณีการบูรณาการกับการทำโครงงานก็จะใช้ตัวโครงงาน ระยะเวลาที่แล้วเสร็จ เป็นเกณฑ์การประเมิน รวมถึงการใช้แบบประเมินที่มหาวิทยาลัยกำหนดในการ ประเมินผลสำเร็จการดำเนินงานด้วย
3 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง      นำมาปรับใช้ประยุกต์ใช้ซึ่งก็สามารถนำมาใช้ได้ดีนักศึกษาร่วมกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับการวิเคราะห์

 

4 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ      กำหนดกลุ่มนักศึกษาและเนื้อหาที่จะที่จะนำมาบูรณาการกับรายวิชาการบริกสนวิชาการ บริการวิเคราะห์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
5 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      ผู้สอนสามรถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการมาต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และพัฒนาการเรียนการสอนได้หลากหลายน่าสนใจ
6 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว       ให้นักศึกษาวิเคราะห์และคิดเทคนิควิธีการใช้ของนักศึกษาที่จะใช้เทคนิคในการสอนอย่างไรเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดการสอนและความเข้าใจบริการผลสำเร็จและมีความน่าสนใจให้กับชุมชนที่ได้รับบริการ
7 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  นำปัญหาที่ได้รับจากชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมายมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดและแนวทางแก้ไข จากองค์ความรู้ที่มีในรายวิชา
 8 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      ใช้โครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการ เป็นฐานในการบูรณาการการบริการวิชาการกับการ เรียนการสอน
9 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ การติดตาม กำกับ ประเมินผล ทบทวน

1.       กำหนดวาระต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มตนเองพร้อมระบุเดือนที่จะนำเข้าในวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยโดยจัดทำทั้งปีงบประมาณ

2.       บรรจุเป็นวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยตามเวลาที่กำหนด

3.       กำหนดแนวทางการบันทึกรายงานการประชุม พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบการติดตามเอกสารน่าเข้าตามแผนที่กำหนดก่อนประชุมอย่างน้อยสองสัปดาห์

4.       กำหนดให้มีการเก็บรวบรวมรายงานการประชุมที่เป็นระบบทั้งในฐานข้อมูลและในแฟ้มเอกสารที่ง่ายต่อการสืบค้น

กำหนดการขอเอกสารเพื่อน่าไปใช้อ้างอิงโดยออกเป็น เอกสารคัดสำเนาโดยหน้าแรกบรรทัดแรกของหัวกระดาษพิมพ์ว่าเอกสารคัดสำเนาจากนั้นเป็นรายงานบันทึกการประชุมที่ระบุครั้งที่ วัน เดือน ปี และผู้เข้าร่วมประชุม เนื้อหาถัดไปเป็นเนื้อหาที่ผู้ขอใช้เอกสารต้องการใช้อ้างอิงตามบันทึกผลการประชุมโดยต้องมีลายเซ็นของผู้บันทึกรายงานการประชุม ผู้ตรวจทาน และผู้รับรองรายงานการประชุม เอกสารคัดสำเนาจึงจะเป็นเอกสารที่สมบูรณ์สามารถนำไปใช้อ้างอิงหลักฐานได้

10 อาจารย์รุจิตรา ตายอด       กำหนดการขอเอกสารเพื่อนำไปใช้อ้างอิงโดยออกเป็น เอกสารคัดสำเนาโดยหน้าแรกบรรทัดแรกของหัวกระดาษพิมพ์ว่าเอกสารคัดสำเนาจากนั้นเป็นรายงานบันทึกการประชุมที่ระบุครั้งที่ วัน เดือน ปี และผู้เข้าร่วมประชุม เนื้อหาถัดไปเป็นเนื้อหาที่ผู้ขอใช้เอกสารต้องการใช้อ้างอิงตามบันทึกผลการประชุมโดยต้องมีลายเซ็นของผู้บันทึกรายงานการประชุม ผู้ตรวจทาน และผู้รับรอง      รายงานการประชุม เอกสารคัดสำเนาจึงจะเป็นเอกสารที่สมบูรณ์สามารถนำไปใช้อ้างอิงหลักฐานได้
11 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร      การติดตาม กำกับ ประเมินผล ทบทวน

1. กำหนดวาระต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มตนเองพร้อมระบุเดือนที่จะนำเข้าในวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยโดยจัดทำทั้งปีงบประมาณ

2. บรรจุเป็นวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยตามเวลาที่กำหนด

3.กำหนดแนวทางการบันทึกรายงานการประชุม พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบการติดตามเอกสารนำเข้าตามแผนที่กำหนดก่อนประชุมอย่างน้อยสองสัปดาห์

4.กำหนดให้มีการเก็บรวบรวมรายงานการประชุมที่เป็นระบบทั้งในฐานข้อมูลและในแฟ้มเอกสารที่ง่ายต่อการสืบค้น

5.กำหนดการขอเอกสารเพื่อน่าไปใช้อ้างอิงโดยออกเป็น เอกสารคัดสำเนาโดยหน้าแรกบรรทัดแรกของหัวกระดาษพิมพ์ว่าเอกสารคัดสำเนาจากนั้นเป็นรายงานบันทึกการประชุมที่ระบุครั้งที่ วัน เดือน ปี และผู้เข้าร่วมประชุม เนื้อหาถัดไปเป็นเนื้อหาที่ผู้ขอใช้เอกสารต้องการใช้อ้างอิงตามบันทึกผลการประชุมโดยต้องมีลายเซ็นของผู้บันทึกรายงานการประชุม ผู้ตรวจทาน และผู้รับรองรายงานการประชุม เอกสารคัดสำเนาจึงจะเป็นเอกสารที่สมบูรณ์สามารถนำไปใช้อ้างอิงหลักฐานได้ต่างๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด

12 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด        การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่ไปวิชาการให้ความรู้ต่างๆที่ได้บริการวิชาการแนะนำหรือให้ความรู้แก่ชุมชนแล้วนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับกับการบูรณาการการเรียนการสอน

 

 

 

 

สรุปประเด็น

  1. เมื่อเลือกชุมชนใดแล้ว ควรตั้งใจที่จะทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ในระหว่างปีควรมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะมีอะไรอีกหรือไม่ที่สอดรับในการพัฒนาต่อยอด ก็ควรนำมาพิจารณาต่อยอด และหากสามารถพัฒนาจนเป็นงานวิจัยได้ก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์เพื่อต่อยอดในการพัฒนาต่อไปในอนาคตได้
  2. ก่อนการดำเนินการให้บริการวิชาการ ผู้ฝึกอบรมจะต้องทำแบบทดสอบก่อนฝึกอบรมเพื่อเป็นข้อมูลในการวัดผลประเมินผลความสำเร็จของการให้บริการวิชาการ
  3. การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่ไปวิชาการให้ความรู้ต่างๆที่ได้บริการวิชาการแนะนำหรือให้ความรู้แก่ชุมชนแล้วนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับกับการบูรณาการการเรียนการสอน

KM-AS-7 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 7)

วันที่ 4 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      ติดตั้งโปรแกรมและตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้พร้อมในการให้บริการวิชาการ
 

2

อาจารย์วิรัช กาฬภักดี    การนำผลการบูรณะการบูรณาการวิชาการกับการเรียนการสอนไปใช้ประโยชน์คือนำไปใช้ประเมินรูปแบบในการคิดการบูรณาการในครั้งต่อไปและการนำไปเผยแพร่แก่ผู้ ผู้ที่สนใจ
3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง ระยะเวลาในการลงพื้นที่ต้องมีการกำหนดให้เหมาะสม สอดคล้องกับช่วงเวลาของชุมชนที่จะสามารถเข้าร่วมและดำเนินการต่อได้ ประกอบกับในด้านรอบเวลาของมหาวิทยาลัยฯ ก็ต้องให้สอดคล้อง และต้องเผื่อเวลาในการติดตามผลด้วย
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
       โดยใช้การวิเคราะห์รายวิชาที่มีการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปีเป็นฐานในการคิดกิจกรรมเสริมให้กับนักศึกษา เพราะสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติและลงมือทาจริง ดังนั้นจึงสามารถให้นักศึกษาลงพื้นที่ทางานร่วมกับชุมชนเกือบทุกวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ดังนั้น จึงได้นามาเป็นหลักคิดว่ามีรายวิชาใดบ้างที่จะให้นักศึกษาลงพื้นที่ให้บริการแก่ชุมชน โดยจะมอบหมายงานให้นักศึกษา ค้นหานวัตกรรมเกี่ยวกับทางด้านคอมพิวเตอร์ที่สามารถไปให้บริการวิชาการแก่ชุมชนได้ เพื่อนาเสนอในชั้นเรียน จากนั้นนาไปถ่ายทอดให้กับชุมชน ซึ่งทาให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากนั้นนักศึกษาได้นาเสนอสรุปความรู้ที่ได้ จากการบริการวิชาการแก่เพื่อนนักศึกษาด้วยกันในชั้นเรียน

 

5 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ     การวางแผนการบริการวิชาการ ต้องการวางแผนให้ครอบคลุมตลอดระยะเวลาตลอดภาคเรียนการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในโครงการ
6 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน ถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา สู่ตลาดแรงงานได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงๆมากเท่าไหร่ก็จะทำให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตได้
7 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว        เพื่อเป็นการฝึกฝนและทบทวนองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาที่นักศึกษาลงพื้นที่เเละดำเนินกิจกรรมในการบริการวิชาการโดยมีอาจารย์เป็นผู้นำผู้ดูแลและผู้คอยช่วยเหลือโดยให้นักศึกษาออกแบบสื่อต่างๆเช่น PowerPoint ที่ใช้ถ่ายทอดสดหรือการแสดงตัวอย่างในการสอน
8 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  กำหนดระยะเวลาในการจัดทำโครงการเพื่อให้ เพื่อให้การบริการวิชาการชัดเจนและต่อเนื่องหลายครั้ง อย่างมีประสิทธิภาพ
 9 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี การนำเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ตามความถนัดหรือตามศาสตร์หรือความเชี่ยวชาญ ของแต่ละหน่วยงาน ไปบริการวิชาการอย่างมีคุณภาพ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่ชุมชน และสังคม
10 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ การวิเคราะห์รายวิชาที่มีการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปีเป็นฐานในการคิดกิจกรรมเสริมให้กับนักศึกษา
11 อาจารย์รุจิตรา ตายอด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีอยู่หลายลักษณะและหลายระดับโดยที่ครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยการเรียน ช่วยเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น  โดยการเตรียมด้านเนื้อหา  วัสดุอุปกรณ์  สื่อการเรียนต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน การเรียนการสอนที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางนี้ มีความต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัดกับแนวโน้มในปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง

12 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student- Centred Approach )

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีอยู่หลายลักษณะและหลายระดับโดยที่ครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยการเรียน ช่วยเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น  โดยการเตรียมด้านเนื้อหา  วัสดุอุปกรณ์  สื่อการเรียนต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน การเรียนการสอนที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางนี้ มีความต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัดกับแนวโน้มในปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งจะมีคำศัพท์บัญญัติไว้หลายคำ เช่น Learner Autonomy, Self-directed Learner  และ   Learner Independence  แต่สำหรับการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ มุ่งที่ผู้เรียนเป็นกลุ่มมากกว่าเป็นรายบุคคล การบูรณาการภายในวิชา (Intradisciplinary Instruction ) เป็นการบูรณาการที่เกิด ขึ้น ภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน  วิชาที่ใช้หลัก การบูรณาการภายในวิชาเดียวกันมากที่สุด  คือวิชาภาษา  หรือกระบวนการทางภาษาซึ่งประกอบด้วยการฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกันหลายแบบนอกจากวิชาภาษาแล้วยังมีวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ก็ใช้หลักการเชื่อมโยงภายในวิชาได้

1.การบูรณาการระหว่างวิชา( Interdisciplinary Instruction )  เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่างๆตั้งแต่  2  สาขาวิชาขึ้นไปภายใต้หัวเรื่อง    (Theme )  เดียวกัน  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชาต่างๆมากกว่า  1  วิชาขึ้นไป  เพื่อการแก้ปัญหาหรือการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่างๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด

13 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด       บริการวิชาการ เรื่อง การขายใน App Line โดยได้ไปสอนในชุมชนให้ทราบวิธีการขายของออนไลน์และได้ทำเป็นคู่มือแจกประชาชนเพื่อให้ได้ศึกษา แล้วจึงนำมาทำคู่มือปรับใช้สอนกับนักศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

 

สรุปประเด็น

  1. ระยะเวลาในการลงพื้นที่ต้องมีการกำหนดให้เหมาะสม สอดคล้องกับช่วงเวลาของชุมชนที่จะสามารถเข้าร่วมและดำเนินการต่อได้ ประกอบกับในด้านรอบเวลาของมหาวิทยาลัยฯ ก็ต้องให้สอดคล้อง และต้องเผื่อเวลาในการติดตามผลด้วย
  2. การนำผลการบูรณะการบูรณาการวิชาการกับการเรียนการสอนไปใช้ประโยชน์คือนำไปใช้ประเมินรูปแบบในการคิดการบูรณาการในครั้งต่อไปและการนำไปเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ

KM-AS-6 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 6)

วันที่ 26 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      จัดทำหัวข้อและเนื้อหาการฝึกอบรมการใช้โปรแกรม MS-Office โดยกำหนดหัวข้อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง และสร้างแบบทดสอบเพื่อประเมินผลก่อน-หลังการฝึกอบรม
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี ข้อที่ควรระวังในการบูรณาการการเรียนการสอน

-นักศึกษาทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมบูรณาการ

-อาจารย์ต้องวิเคราะห์เนื้อหากับกิจกรรมการบูรณาการให้เหมาะสม

-ต้องมีวิธีการกระตุ้นติดตามและควบคุม

-ต้องมีเครื่องมือวัดผลที่สามารถวัดการบูรณาได้อย่างชัดเจน

 3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      ความรู้พื้นฐานสมาชิกในชุมชนก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการที่จะเข้าไปให้ความรู้ทางวิชาการ เพราะถ้าชุมชนมีความเชื่อที่แตกต่าง ปิดกั้นไม่เปิดรับสิ่งต่างๆ การให้ความรู้ความเข้าใจก็จะไม่เกิดการยอดรับและไม่ปฏิบัติตามในที่สุด ก็ทำให้เสียเวลาและงบประมาณ ดังนั้น การให้ความเข้าใจว่ามีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญ
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
      กรณีการจัดโครงการที่มีระยะเวลาดาเนินงานเพียง 1-2 วัน เช่น การจัดประชุมวิชาการ จะมีการวางแผนงาน อย่างไรเพื่อให้บูรณาการกับการเรียนการสอนได้

สาหรับกิจกรรมที่จัดเพียง 1-2 วัน นั้น ในการเขียนแผนปฏิบัติงานหรือกิจกรรมการดาเนินงาน ต้องมีการเขียน แผนงานที่มากกว่าการจัดกิจกรรมเพียง 1-2 วัน เช่น ก่อนจัดประชุมวิชาการ อาจจะมีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาออก พื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการประชุมวิชาการและนามาเสนอในชั้นเรียน จากนั้น จึงมีกิจกรรมต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงวันที่จัดประชุมวิชาการซึ่งแม้จะมีการจัด 1-2 วัน ก็ถือว่ามีการบูรณาการกับการเรียน การสอนเรียบร้อยแล้ว หรืออาจนาความรู้ที่ได้การประชุมวิชาการ เป็นหัวข้อในการเรียนการสอนแก่นักศึกษา โดย มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้แล้วนามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน หรือหากไม่สามารถบูรณาการกับการ เรียนการสอนได้อาจนาไปบูรณาการกับการวิจัยแทน เช่น การนานักศึกษาเข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษ การร่วม นาเสนอผลงาน เป็นต้น

5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง ลงมือช่วยกันสอนเพื่อเขียนแผนธุรกิจกับธุรกิจเดิมที่มีอยู่ กับว่าบางท่านสามารถเขียนได้และเข้าใจแต่บางท่านยังไม่ค่อย เข้าใจจึงเสนอให้ลงทะเบียนแผนตัวย่างและข้าวชุมชนเพื่อส่งอีกครั้ง คำวิเศษณ์มีการเขียนแผนธุรกิจขนาดย่อยอีกครั้งซ้ำทำให้เห็นรูปร่างการทำธุรกิจขนาดย่อมมากขึ้นเราเสนอให้ปรับใช้กับธุรกิจของชุมชนรวมท่าช่วยกันวางแผนทรัพยากรบุคคลเข้าไปด้วย

 

6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ       ศึกษาข้อมูลของชุมชนและสังคมที่ต้องการให้บริการวิชาการและนำมาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับรายวิชา เป็นเทคนิคที่ดี ที่ทำให้การ

ดำเนินการโครงการบริการวิชาการ เป็นเทคนิคที่ดีที่ทำให้บูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนประสบการณ์

7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน       ทำให้ผู้เรียนเกิดการสังเคราะห์องค์ความรู้และสามารถแก้ไขปัญหา

เฉพาะหน้าได้

8 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว      นำหลักสูตรที่จัดทำขึ้นไปประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนโรงเรียนต่างๆเพื่อสำรวจความต้องการบริการวิชาการในหลักสูตรดังกล่าวว่ามีโรงเรียนไหนชุมชนใดต้องการรับบริการวิชาการในหลักสูตรหรือไม่
9 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  นำปัญหาที่ได้รับจากกลุ่มเป้าหมายมาให้ผู้เรียนได้ศึกษาใน รายวิชาที่กำหนด เพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ไขตามรายวิชาที่เรียน
 10 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      ส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรพัฒนาศักยภาพและคุณภาพตนเอง ให้เป็นที่ยอมรับของ ชุมชนและสังคม ในการบริการวิชาการ
11 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ      การบูรณาการแบบนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
12 อาจารย์รุจิตรา ตายอด การบูรณาการแบบข้ามวิชา

การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้สอนที่สอนวิชาต่างๆร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือกำหนดหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหาเดียวกัน  จัดทำแผนการสอนร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนเป็นคณะ ผู้สอนทุกวิชากำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนร่วมกัน การเรียนการสอนแบบบูรณาการ   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย

13 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การบูรณาการแบบข้ามวิชา ( Transdisciplinary Instruction )

การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้สอนที่สอนวิชาต่างๆร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือกำหนดหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหาเดียวกัน  จัดทำแผนการสอนร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนเป็นคณะ ( Team ) โดยดำเนินการสอนผู้เรียนกลุ่มเดียวกันมอบหมายงาน / โครงงานให้ผู้เรียนเรียนทำร่วมกัน  ผู้สอนทุกวิชากำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนร่วมกัน การเรียนการสอนแบบบูรณาการ   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย

14 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด       เรื่องการนำความรู้ไปใช้ในการบริการวิชาการมาใช้ในกรเรียนการสอนในรายวิชาตนเองทำการสอน เพื่อเป็นการบูรณาการให้สามารถประยุกต์ใช้ได้มากที่สุด

 

 

สรุปประเด็น

  1. นักศึกษาทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมบูรณาการ
  2. อาจารย์ต้องวิเคราะห์เนื้อหากับกิจกรรมการบูรณาการให้เหมาะสม
  3. ต้องมีวิธีการกระตุ้นติดตามและควบคุม
  4. ต้องมีเครื่องมือวัดผลที่สามารถวัดการบูรณาได้อย่างชัดเจน
  5. ความรู้พื้นฐานสมาชิกในชุมชนก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการที่จะเข้าไปให้ความรู้ทางวิชาการ เพราะถ้าชุมชนมีความเชื่อที่แตกต่าง ปิดกั้นไม่เปิดรับสิ่งต่างๆ การให้ความรู้ความเข้าใจก็จะไม่เกิดการยอดรับและไม่ปฏิบัติตามในที่สุด ก็ทำให้เสียเวลาและงบประมาณ ดังนั้น การให้ความเข้าใจว่ามีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญ

KM-AS-5 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 5)

วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      ทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้ขอรับบริการวิชาการเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับองค์ความรู้พื้นฐานและนำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ใหม่
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี       ผลที่ได้รับจาการบูรณาการบริการวิชาการคือนักศึกษาจะได้ประโยชน์แต่ละรูปแบบต่างกันแต่รูปแบบที่ให้นักศึกษาได้ทักษะมากที่สุดคือการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการเพราะนักศึกษาจะได้ลงพื้นที่จริงและลงมือปฏิบัติจริง
 3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การให้บริการทางวิชาการที่บางครั้งเป็นปัญหา มองว่าส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ผู้นำไม่เข้าใจหรือไม่ได้ให้ความสนในที่จะพัฒนาอย่างแท้จริง กระบวนการต่างๆ จึงไม่เกิดการทำซ้ำจนเกิดเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามที่ต้องการ
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
ในการวางแผนและการจัดระบบการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน ก่อนจะจัดทาโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการต้องทาการวิเคราะห์รายวิชาที่จะทาการเรียนการสอนในปีการศึกษานั้น ๆ ก่อน ว่ามีรายวิชาใดบ้างที่สามารถนามาบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคมได้ เมื่อได้รายวิชาที่จะบูรณาการแล้ว ลาดับต่อมาคือการวางแผนการจัดกิจกรรมการบริการวิชาการ โดยต้องวางแผนกิจกรรมให้ครอบคลุมตามงบประมาณ ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมการบริการวิชาการกับกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกันในช่วงเวลาการดำเนินงาน

 

5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง      ให้สาขาวิชาบัญชีช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนรับการเงินเพื่อจะช่วยถ่ายทอดต่อชุมชน
6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ     การจัดโครงการการบริการวิชาการ ต้องนำนักศึกษาออกพื้นที่ให้บริการวิชาการ เพื่อให้ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงกับชุมชนโดยสำรวจความต้องการของชุมชนนั้นๆเพื่อนำมาศึกษาข้อมูลในการพัฒนาต่อยอด
7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน    การบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอน มุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
8 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  กำหนดรูปแบบในโครงการ แนวทางในการให้บริการ ให้ตรงกับองค์ความรู้และรายวิชาศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาหรือการให้บริการ จากรายวิชาตามองค์ความรู้ที่มี
9 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี การสร้างศักยภาพและมาตรฐานคุณภาพทางวิชาการและบริการสังคม
10 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student- Centred Approach )

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีอยู่หลายลักษณะและหลายระดับโดยที่ครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยการเรียน ช่วยเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น  โดยการเตรียมด้านเนื้อหา  วัสดุอุปกรณ์  สื่อการเรียนต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน การเรียนการสอนที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางนี้ มีความต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัดกับแนวโน้มในปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งจะมีคำศัพท์บัญญัติไว้หลายคำ เช่น Learner Autonomy, Self-directed Learner  และ   Learner Independence  แต่สำหรับการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ มุ่งที่ผู้เรียนเป็นกลุ่มมากกว่าเป็นรายบุคคล

11 อาจารย์รุจิตรา ตายอด การบูรณาการแบบสหวิทยาการ
12 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การบูรณาการแบบสหวิทยาการ
13 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด          การออกแบบโปรเตอร์เพื่อนำมาโพสขายของโดย โปรแกรม โดยสอนปฏิบัติและจัดทำเป็นคู่มือวิธีการสร้างโปสเตอร์ให้นักศึกษาจึงนำคู่มือมาปรับใช้ในการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาได้ศึกษาคู่มือการสร้างโปสเตอร์เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างโปสเตอร์

 

 

 

สรุปประเด็น

  1. ในการวางแผนและการจัดระบบการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน ก่อนจะจัดทำโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการต้องทำการวิเคราะห์รายวิชาที่จะทำการเรียนการสอนในปีการศึกษานั้น ๆ ก่อน ว่ามีรายวิชาใดบ้างที่สามารถนามาบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคมได้ เมื่อได้รายวิชาที่จะบูรณาการแล้ว ลำดับต่อมาคือการวางแผนการจัดกิจกรรมการบริการวิชาการ โดยต้องวางแผนกิจกรรมให้ครอบคลุมตามงบประมาณ ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมการบริการวิชาการกับกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกันในช่วงเวลาการดำเนินงาน
  2. ผลที่ได้รับจาการบูรณาการบริการวิชาการคือนักศึกษาจะได้ประโยชน์แต่ละรูปแบบต่างกันแต่รูปแบบที่ให้นักศึกษาได้ทักษะมากที่สุดคือการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการเพราะนักศึกษาจะได้ลงพื้นที่จริงและลงมือปฏิบัติจริง