ความรู้เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์
การให้คำปรึกษาเป็นสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 2 คน คนหนึ่ง คือผู้รับคำปรึกษามีความต้องการที่ได้รับโอกาสในการพูดถึงปัญหาของตนเอง ส่วนอักคนหนึ่งคือผู้ให้คำปรึกษามีความไวต่อความรู้สึก และมีวุฒิภาวะที่จะตระหนักถึงความไม่สบายใจและความขัดแย้งในใจของผู้มาขอรับคำปรึกษา การให้คำปรึกษาผู้รับคำปรึกษาต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจตนเอง ได้ปรับปรุงทักษะในการตัดสินใจ และทักษะในการตัดสินใจ ทักษะในการแก้ปัญหา ตลอดจนปรับปรุงความสามารถของตนเอง ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นที่ผู้ให้คำปรึกษาต้องมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่คำจำกัดความของการให้คำปรึกษา แต่ยังขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิด และทัศนคติของผู้ให้คำปรึกษาแต่ละคนด้วยว่าจะเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์เพียงใด
การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จัดว่าเป็นการศึกษาที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับการเตรียมนักศึกษาให้มีความรู้และทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยปัญญาโดยใช้กระบวนการวิจัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเป็นต้องมีระบบในการให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ
กระบวนการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ประกอบไปด้วย
1) การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา
2) การบริหารงานที่ปรึกษา
3) การติดตามกำกับการทำวิจัย
4) การประเมินผลงานวิจัย
5) การให้คำปรึกษาในการพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย
บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
- เป็นพี่เลี้ยงอย่างเข้มแข็ง (active mentor)
- เป็นที่ปรึกษาแนะนำ (advisor)
- เป็นอาจารย์ผู้สอน(tutor)
- เป็นผู้วิจารณ์(critic)
- เป็นต้นแบบ(model)
- เป็นผู้ประเมิน (evaluator)
- เป็นผู้ร่วมงานวิจัย (research colleague)
แนวปฏิบัติที่ดีในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์
ในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์มีขั้นตอนที่สำคัญๆ ดังนี้
- การสำรวจความสนใจและการกำหนดหัวข้อวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาต้องกำหนดแผนการเรียนร่วมกันและควรสำรวจความสนใจของนักศึกษาว่าสิ่งที่นักศึกษาสนใจจะพัฒนาเป็นงานวิจัยได้อย่างไร
- ในการจัดทำกรอบแนวคิดในการวิจัย ต้องมีการจัดสัมมนา หรือจัดประชุมเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พบกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือรุ่นพี่ เพื่อชี้แนะแนวทางในการค้นคว้าเอกสารเพื่อนำมากำหนดกรอบการวิจัย
- ขั้นการจัดทำโครงร่างวิจัยอาจารย์ที่ปรึกษาต้องเสนอแนะให้นักศึกษาเสนอโครงร่างตามรูปแบบที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ให้คำแนะนำ ชี้แนะ หรือสอนแนะ ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง
- การเสนอขออนุมัติโครงการวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาควรต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมการดำเนินงานของนักศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบ และจรรยาบรรณของนักวิจัย ไม่คัดลอกผลงาน ไม่จ้างทำผลงาน และต้องกำหนดเวลาของการดำเนินงานโครงการให้ชัดเจน ตลอดจนควบคุมให้เป็นไปตามกำหนดเวลา
- ขั้นดำเนินการวิจัย ต้องให้ความช่วยเหลือนักศึกษานักศึกษาทุกขั้นตอนแม้กระทั่งกระบวนการที่ง่ายจนถึงขั้นของการปฏิบัติที่ยาก ตลอดจนต้องพยากรณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคที่จะเกิดและแนวทางที่จะแก่ไขช่วยเหลือนักศึกษา ทุกขั้นกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการแปลความหมายของข้อมูล
- ขั้นการเขียนสรุปรายงานการวิจัยอาจารย์ที่ปรึกษาต้องให้คำวิพากษ์ วิจารณ์ อย่างใช้วิจารณญาณโดยต้องระวังไม่ให้ข้อวิจารณ์ของตนเอง ไปสกัดกั้นความคิดของผู้วิจัยต้องช่วยให้นักศึกษาคิดและเขียนให้สัมพันธ์กับปัญหาของการวิจัย และตอบข้อสงสัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ขั้นการสอบปากเปล่า ในขั้นนี้เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา และเป็นการประเมินผลงานวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมีส่วนร่วมในการประเมิน ดังนั้นที่ปรึกษาต้องสามารถช่วยเหลือนักศึกษาผ่านความเครียดไปได้โดยการช่วยนักศึกษาวางโครงสร้างของการสอบ และการนำเสนอให้ เป็นที่ชื่นชมของคณะกรรมการสอบ
8. ขั้นเผยแพร่ผลงานวิจัย ต้องนำผลงานวิจัยของนักศึกษาตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งข้อมูลที่หลากลายทั้งในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ นานาชาติ ในวารสารที่อยู่ในฐาน TCI ให้ได้ 100%