“คุณสมบัติของนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ”

ศูนย์สหกิจศึกษาได้สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ให้นักศึกได้ทราบ และนำไปเป็นแนวปฏิบัติ ซึ่งนักศึกษาจะต้องทราบว่าคุณสมบัติขงวอนักศึกษานั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งคุณสมบัติของนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ได้ทำการรวบรวมและพิจาณามาจากสาขาวิชาแล้วจึงนำมาทำเป็นองค์ความรู้ให้กับนักศึกษา

คุณสมบัตินักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ

นักศึกษาต้องผ่านเกณฑ์

  1. สอบผ่านภาษาอังกฤษพื้นฐานตามศูนย์สหกิจศึกษากำหนดร้อยละ 50 คะแนนหรือใช้ผลคะแนนสอบจากศูนย์ทดสอบทางวิชาการ(เฉพาะนักศึกษานานาชาติ)
    1. CU-TEP คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 35 คะแนนขึ้นไป
    2. TOEFL คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 399 คะแนนขึ้นไป

“ด้านการให้คำปรึกษานักศึกษาในการดำเนินงานวิทยานิพนธ์”

ความรู้เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์

           การให้คำปรึกษาเป็นสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 2 คน คนหนึ่ง คือผู้รับคำปรึกษามีความต้องการที่ได้รับโอกาสในการพูดถึงปัญหาของตนเอง ส่วนอักคนหนึ่งคือผู้ให้คำปรึกษามีความไวต่อความรู้สึก และมีวุฒิภาวะที่จะตระหนักถึงความไม่สบายใจและความขัดแย้งในใจของผู้มาขอรับคำปรึกษา การให้คำปรึกษาผู้รับคำปรึกษาต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจตนเอง ได้ปรับปรุงทักษะในการตัดสินใจ และทักษะในการตัดสินใจ ทักษะในการแก้ปัญหา ตลอดจนปรับปรุงความสามารถของตนเอง ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นที่ผู้ให้คำปรึกษาต้องมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่คำจำกัดความของการให้คำปรึกษา แต่ยังขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิด และทัศนคติของผู้ให้คำปรึกษาแต่ละคนด้วยว่าจะเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์เพียงใด

การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จัดว่าเป็นการศึกษาที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับการเตรียมนักศึกษาให้มีความรู้และทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยปัญญาโดยใช้กระบวนการวิจัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเป็นต้องมีระบบในการให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ

 

กระบวนการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ประกอบไปด้วย

           1) การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา

           2) การบริหารงานที่ปรึกษา

           3) การติดตามกำกับการทำวิจัย

           4) การประเมินผลงานวิจัย

           5) การให้คำปรึกษาในการพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย

 

บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา

  • เป็นพี่เลี้ยงอย่างเข้มแข็ง (active mentor)
  • เป็นที่ปรึกษาแนะนำ (advisor)
  • เป็นอาจารย์ผู้สอน(tutor)
  • เป็นผู้วิจารณ์(critic)
  • เป็นต้นแบบ(model)
  • เป็นผู้ประเมิน (evaluator)
  • เป็นผู้ร่วมงานวิจัย (research colleague)

 

 

แนวปฏิบัติที่ดีในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์

ในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์มีขั้นตอนที่สำคัญๆ ดังนี้

  1. การสำรวจความสนใจและการกำหนดหัวข้อวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาต้องกำหนดแผนการเรียนร่วมกันและควรสำรวจความสนใจของนักศึกษาว่าสิ่งที่นักศึกษาสนใจจะพัฒนาเป็นงานวิจัยได้อย่างไร
  2. ในการจัดทำกรอบแนวคิดในการวิจัย ต้องมีการจัดสัมมนา หรือจัดประชุมเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พบกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือรุ่นพี่ เพื่อชี้แนะแนวทางในการค้นคว้าเอกสารเพื่อนำมากำหนดกรอบการวิจัย
  3. ขั้นการจัดทำโครงร่างวิจัยอาจารย์ที่ปรึกษาต้องเสนอแนะให้นักศึกษาเสนอโครงร่างตามรูปแบบที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ให้คำแนะนำ ชี้แนะ หรือสอนแนะ ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง
  4. การเสนอขออนุมัติโครงการวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาควรต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมการดำเนินงานของนักศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบ และจรรยาบรรณของนักวิจัย ไม่คัดลอกผลงาน ไม่จ้างทำผลงาน และต้องกำหนดเวลาของการดำเนินงานโครงการให้ชัดเจน ตลอดจนควบคุมให้เป็นไปตามกำหนดเวลา
  5. ขั้นดำเนินการวิจัย ต้องให้ความช่วยเหลือนักศึกษานักศึกษาทุกขั้นตอนแม้กระทั่งกระบวนการที่ง่ายจนถึงขั้นของการปฏิบัติที่ยาก ตลอดจนต้องพยากรณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคที่จะเกิดและแนวทางที่จะแก่ไขช่วยเหลือนักศึกษา ทุกขั้นกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการแปลความหมายของข้อมูล
  6. ขั้นการเขียนสรุปรายงานการวิจัยอาจารย์ที่ปรึกษาต้องให้คำวิพากษ์ วิจารณ์ อย่างใช้วิจารณญาณโดยต้องระวังไม่ให้ข้อวิจารณ์ของตนเอง ไปสกัดกั้นความคิดของผู้วิจัยต้องช่วยให้นักศึกษาคิดและเขียนให้สัมพันธ์กับปัญหาของการวิจัย และตอบข้อสงสัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
  7. ขั้นการสอบปากเปล่า ในขั้นนี้เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา และเป็นการประเมินผลงานวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมีส่วนร่วมในการประเมิน ดังนั้นที่ปรึกษาต้องสามารถช่วยเหลือนักศึกษาผ่านความเครียดไปได้โดยการช่วยนักศึกษาวางโครงสร้างของการสอบ และการนำเสนอให้ เป็นที่ชื่นชมของคณะกรรมการสอบ

8. ขั้นเผยแพร่ผลงานวิจัย ต้องนำผลงานวิจัยของนักศึกษาตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งข้อมูลที่หลากลายทั้งในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ นานาชาติ ในวารสารที่อยู่ในฐาน TCI ให้ได้ 100%

สร้างความรู้ความเข้าใจสหกิจศึกษา “คุณสมบัติของนักศึกษาสหกิจศึกษา”

ศูนย์สหกิจศึกษาได้สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของนักศึกษาสหกิจศึกษา ให้นักศึได้ทราบ และนำไปเป็นแนวปฏิบัติ ซึ่งนักศึกษาจะต้องทราบว่าคุณสมบัติขงวอนักศึกษานั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งคุณสมบัติข้อต่าง ๆ ได้ทำการรวบรวมและพิจาณามาจากสาขาวิชาแล้วจึงนำมาทำเป็นองค์ความรู้ให้กับนักศึกษา

คุณสมบัตินักศึกษาสหกิจศึกษา

  1. มีความรู้ทางวิชาการดี และมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 00 ในภาคการศึกษาที่สมัคร
  2. ไม่มีผลการเรียนเป็นI
  3. ผ่านการเสริมทักษะทางด้านภาษาสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารที่ศูนย์สหกิจศึกษาจัดขึ้นร้อยละ 90
  4. จะต้องสอบผ่านรายวิชาพื้นฐานที่สาขาวิชากำหนดหรือผ่านการอบรมฝึกปฏิบัติจำนวน 30 ชั่วโมง
  5. มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เคยผิดวินัยนักศึกษา โดยสาขาวิชาเป็นผู้รับรอง
  6. มีวุฒิภาวะ และการพัฒนาตนเองได้ดีเพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้ในสถานประกอบการ
  7. ปฏิบัติตามเงื่อนไข และกระบวนการสหกิจศึกษา
    **ผลการเรียนของนักศึกษาใช้ผลการเรียนตั้งแต่เริ่มศึกษา จนถึง ภาคการศึกษา1/2558

“การตีพิมพ์เผยแพร่เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ”

ความรู้ด้านการวิจัย

          การวิจัยโดยทั่วไป เป็นกระบวนการของการแสวงหาความรู้ ความจริง ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษาค้นคว้า โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ตีความหมายของข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์ของการศึกษาค้นคว้าเพื่อการวิจัย ในกระบวนการศึกษาต้องเป็นการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่   สร้างวิธีการทำงานใหม่ๆ ซึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และเกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ โดยต้องอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่เชื่อถือได้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยอย่างแท้จริง

 

ปัจจัยเกื้อหนุนที่สำให้การวิจัยประสบความสำเร็จ

  1. ด้านเวลาผู้วิจัยควรได้รับการสนับสนุนด้านเวลาที่เอื้อต่อการทำวิจัย โดยอิสระ ไม่ถูกจำกัดขอบเขต ในการลงสู่สนามวิจัยเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล และการทดลองใช้นวัตกรรม
  2. ด้านงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน ควรมีจำนวนเพียงพอต่อการ บริหารงานโครงการวิจัยและไม่ถูกจำกัดขอบเขตของการเบิกจ่ายงบประมาณ
  3. ปัจจัยด้านบุคลากร บุคลากรที่ทำงานวิจัยต้องมีองค์ความรู้ของกระบวนการวิจัย อย่างลึกซึ้ง เพื่อให้การทำวิจัยเป็นวิจัยที่มีคุณค่า
  4. เอกสาร ตำรา งานวิจัย เพื่อใช้ในการค้นคว้าต้องมีเพียงพอและครอบคลุมประเด็นศึกษาอ้างอิง

รูปแบบการเผยแพร่ผลงานวิชาการในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการกระทำได้หลายรูปแบบอาทิ การเขียนการเสนอด้วยสื่อรายงานฉบับสมบูรณ์รายงานฉบับย่อป้ายนิเทศ (BulletinBoard)บทความต้นฉบับทางวิชาการการทำแผ่นภาพโปร่งใสการทำโปสเตอร์การบรรยาย(poster)การอบรมเผยแพร่ทั่วไปการประชุมเชิงวิชาการการเรียนการสอน

การเขียนต้นฉบับทางวิชาการ ควรกระชับเน้นผลการวิจัยที่สำคัญๆ หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนต้นฉบับทางวิชาการ (Manuscript)หน้าแรกส่วนชื่อเรื่อง (Title Page)ชื่อเรื่องต้องมีความเหมาะสมกับ section ของวารสารที่ส่งไป (วารสารบางเล่มมีการแบ่ง section เป็นเฉพาะส่วนที่เน้นเนื้อหาแต่ละด้าน)การเขียนชื่อผู้แต่งและชื่อผู้แต่งร่วมต้องให้สอดคล้องกับ format ของวารสารแต่ละเล่มเช่นใช้ชื่อแรกขึ้นก่อนหรือชื่อหลังขึ้นก่อนเป็นต้นมีที่อยู่ที่ติดต่อได้และ e-mail address ของผู้แต่งทุกคน

แนวทางปฏิบัติที่ดีในการทำวิจัยและการเผยแพร่ตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการ

  1. เลือกหัวข้อที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา หรือพัฒนาองค์กรได้จริง ไม่ใช่เพียงเพื่อทำให้มีผลงานตามภาระงาน หรือทำเพื่อผลรางวัลในการนำเสนอเท่านั้น
  2. สร้างทีมงานในการวิจัยที่เข้มแข็งโดยเฉพาะกรณีผู้ทำวิจัยไม่มีประสบการณ์ด้านการวิจัย
  3. การหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนจากภายนอกและสร้างเครือข่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย
  4. ควรมีการตรวจสอบ Literature review ด้วยระบบของโปรแกรมตรวจสอบ ทั้งงานวิจัยของอาจารย์ และงานวิจัยของนักศึกษา

5. การเขียนต้นฉบับทางวิชาการ ควรกระชับและเน้นหลักเกณฑ์

แนวทางการให้คำปรึกษาของนักศึกษาสหกิจศึกษาในการจัดทำโครงงานสหกิจศึกษา

ศูนย์สหกิจศึกษาได้ประชุมเพื่อให้ได้องค์ความรู้จากสาวิชาแต่ละสาขาวิชาเพื่อได้แนวทางในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาได้การดำเนินโครงการ

ซึ่งได้แนวความคิดดังนี้

  • เมื่อนักศึกษาทราบตำแหน่งงานและสถานประกอบการแล้วให้อาจารย์นิเทศโทรประสานกับสถานประกอบการเพื่อคุยรายลเอียดลักษณะโครงงานแบบย่อ
  • เตรียมนักศึกษาเพื่อทำโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
  • ตรวจขอบเขตโครงงานขอนักศึกษาพร้อมเสนอแนะข้อปรับปรุง
  • ติดตามความก้าวหน้าของโครงงาน

14203009_1176057802466832_2132730517_o 14233773_1176057465800199_2052365540_o

การพัฒนาและปรับปรุงระบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

การเข้าสู่ระบบ CPU-elearning สามารถทำได้โดยผ่าน URL http://elearning.cpu.ac.th โดยระบบจะแสดงหน้าแรกตามรูปภาพที่ 1 สำหรับการเข้ำสู่ระบบนั้น อาจารย์ และนักศึกษาจะใช้ Username และ Password เดียวกับ Email ของ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
>>> รายละเอียดเพิ่มเติม

7-8-2559 22-12-33