การจัดการความรู้ KM ประจำปีการศึกษา 2559

เป้าหมายของการจัดการความรู้ : เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ในด้านบริการวิชาการ

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากนา KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน : สาขาวิชาการตลาดได้นาแนวทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปฏิบัติเพื่อการพัฒนาถึงความต้องการของชุมชนและการพัฒนาในหลักสูตรที่ให้มีความทันสมัยต่อสาขาวิชาการตลาดเพื่อนาผลที่ได้รับไปพัฒนาในปีต่อๆไป ให้หลักสูตรระยะสั้นสามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายให้20882373_1825654224116901_7232715955221895181_n

แบบรายงานผลการดำเนินงาน KM 2559

 

การจัดการความรู้สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ปีการศึกษา 2559 ได้ดำเนินการจัดการความรู้ จำนวน 3 เรื่อง ประกอบด้วย

เรื่องที่ 1 การจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดด้วยรหัสสี

เรื่องที่ 2 การเก็บและจัดชั้นวารสารตามศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI

เรื่องที่ 3 “การเย็บรวมเล่มวารสารวิชาการ (วารสารฉบับย้อนหลัง)ที่ออกให้บริการ”

 

แบบรายงานผลการดำเนินงาน เรื่อง การจัดการความรู้ KM ประจำปีการศึกษา 2559

ระหว่างเดือน สิงหาคม 2559 – พฤษภาคม 2560

หน่วยงาน สำนักวิทยบริการ

สังกัดฝ่ายวิชาการ

ประเด็นความรู้

(เรื่อง)

เป้าหมายของการจัดการความรู้ มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ระบุจำนวนครั้งที่ ≥10ครั้ง)

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากdการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน
1.การจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดด้วยรหัสสี

2.การเก็บและจัดชั้นวารสารตามศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI

3.การเย็บรวมเล่มวารสารวิชาการ(วารสารฉบับย้อนหลัง) ที่ออกให้บริการ

1.เพื่อพัฒนาฐานความรู้ สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยและส่วนงานในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนา

2.เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สามารถนำมาในงานพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

-มีการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2559 ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2559 เพื่อร่วมกันพิจารณาดำเนินการ1.ประชุมการจัดทำแผนการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2559

2.ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดการความรู้ หัวข้อ/ประเด็นความรู้ และเป้าหมายของการจัดการความรู้

3.จัดทำแผนการจัดการความรู้ของห้องสมุด ปีการศึกษา 2559 ที่สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยและส่วนงานห้องสมุดโดยการเน้นด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริหารจัดการ

4.มีการกำหนดการจัดโครงการที่สอดคล้องกับแผนการจัดการความรู้ใน 3 ฐาน ดังนี้ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านการวิจัย 3) ด้านการบริหารจัดการ ส่วนงานสรุปการจัดการทั้ง 3 โครงการและสามารถดำเนินการได้ตามพันธกิจของส่วนงาน ซึ่งประกอบด้วย (1) ด้านการจัดการเรียนการสอน (2) ด้านการวิจัย และ (3) ด้านการบริหารจัดการ และมีการดำเนินการครบถ้วนตามแผนการจัดการความรู้ (ตามเอกสารแนบ)

1.ด้านการจัดการเรียนการสอน โดยมีการถอดบทเรียนจากผู้นำเสนอวิธีการจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดปรับใหม่โดยใช้รหัสสี โดยมีการจัดส่งให้กับคณะทำงานเป็นแนวปฏิบัติที่ดี

2.ด้านการวิจัย ได้มีการสรุปประเด็นแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการความรู้ในเรื่องการเก็บและจัดชั้นวารสารตามศูนย์ดัชนีการอ้าวอิงวารสารไทย TCI เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การให้บริการที่มีคุณภาพ

3.ด้านการบริหารจัดการ ได้มีการสรุปประเด็น การใช้งานวารสารวิชาการ ควรมีการจัดเก็บที่ถาวรด้วยการเย็บรวมเล่มตามวิธีการจัดเก็บที่คงทนถาวรและใช้งานได้สะดวก

เอกสารแนบท้ายแบบรายงาน

การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กิจกรรมการจัดการความรู้

ลำดับ กิจกรรมการจัดการความรู้ ระยะเวลา
1. การบ่งชี้ความรู้  
  1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ (KM) สิงหาคม 2559
  1.2 ประชุมระดมความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ของสำนักวิทยบริการ ครอบคลุมประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กร          สู่ระบบบริหารจัดการที่ดี  
2. การสร้างและแสวงหาความรู้

2.1 ค้นคว้าและศึกษาความรู้เพิ่มเติมจาก เวทีแลกเปลี่ยนความรู้           การเล่าประสบการณ์ และกิจกรรมต่าง ๆ

 

ตุลาคม 2559

3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

3.1 กำหนดหมวดหมู่ให้องค์ความรู้ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นองค์ความรู้ในเรื่อง 1) การจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดด้วยรหัสสี

2) การเก็บและจัดชั้นวารสารตามศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI

3) การเย็บรวมเล่มวารสารวิชาการ(วารสารฉบับย้อนหลัง) ที่ออกให้บริการ

 

พฤศจิกายน 2559-กุมภาพันธ์ 2560

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้  
  4.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ ประชุมและติดตามผลเดือนละ 1 ครั้ง
5. การเข้าถึงความรู้  
  5.1 ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ผ่านเว็บไซต์

http://cpu.ac.th

– Facebook

-บล๊อกการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย

พฤศจิกายน 2559-กุมภาพันธ์ 2560
6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้  
  6.1 จัดประชุม/อบรมการจัดการความรู้ให้กับบุคลากรภายในสำนักฯ ธันวาคม 2559 , เมษายน 2560
  6.2 จัดประชุม/ติดตามผลการจัดดำเนินการ  
  6.3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  
7. การเรียนรู้  
  7.1 วิเคราะห์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีจากแหล่งต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมที่ได้จากการจัดการความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่          สำนักวิทยบริการ นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน สิงหาคม 2559- พฤษภาคม 2560
  7.2 ขยายผลการปรับใช้ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์  
  7.3 สรุปผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ในประเด็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของหน่วยงาน

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาศึกษาทั่วไปที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม(ค่านิยมหลัก 12 ประการ) ครั้งที่ 10

เป้าหมายของการจัดความรู้ :  เพื่อพัฒนาผู้เรียนในรายวิชาศึกษาทั่วไปให้มีความรอบรู้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และซื่อสัตย์สุจริต มีทักษะด้านการเรียนรู้ ทักษะด้านวิชาชีพ ทักษะด้านชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อสารและเทคโนโลยี และมีความตระหนักเกี่ยวกับความเป็นไปของโลก โดยการจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษา เข้าใจธรรมชาติตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน  :

1) การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนทำให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อสังคม เคารพในความแตกต่างทางความคิด และสามารถดำรงชีวิตอย่างดีงาม

2) ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล

3) ผู้เรียนสามารถเป็นผู้ที่มีโลกทัศน์กว้างไกล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในบริบทของท้องถิ่น ของประเทศ และของโลก

4) ส่งเสริม ผู้เรียนมีความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม และความงดงามตามธรรมชาติ

5) พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านภาษาและสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนได้อย่างเหมาะสม

6) ผู้เรียนสามารถนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน ในหน้าที่การงาน ชีวิตครอบครัว และกิจกรรมทางสังคมได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น อันเนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

IMG_3894[1]

การดำเนินการจัดสอบ

การดำเนินการจัดสอบ

          การสอบถือเป็นมาตรการสำคัญที่มหาวิทยาลัยใช้รักษามาตรฐานคุณภาพการศึกษาและเป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดความรู้อันเป็นผลการศึกษาของนักศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือการมีแบบทดสอบที่มีคุณภาพตามหลักวิชาการและการดำเนินการสอบที่มีความยุติธรรมคู่มือการสอบกำหนดรูปแบบการจัดสอบตลอดจนแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการสอบ ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่จะทำให้การดำเนินการสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพตามจุดประสงค์ของมหาวิทยาลัย

ศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและการประเมินผล

08/05/60

การจัดสอบ

          การสอบถือเป็นเครื่องมือในการรักษามาตรฐานการศึกษาเพื่อการวัดความรู้ของนักศึกษาที่จะสำเร็จ คือผ่านการศึกษาในรายวิชานั้น ดังนั้นคุณภาพของบัณฑิตจึงขึ้นกับคุณภาพของข้อสอบและการจัดการสอบที่มีความยุติธรรม กำหนดขั้นตอนที่รอบครอบรัดกุม มีวิธีการสอบที่น่าเชื่อถือเพียงพอที่จะแยกคนรู้และคนไม่รู้ออกจากกัน

การเตรียมการสอบ

          ฝ่ายวิชาการเตรียมบุคลากร เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่างๆ โดยเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบอันประกอบด้วย ผู้อำนวยการสนามสอบ กรรมการกองกลาง กรรมการควบคุมการสอบ กรรมการระเบียบวินัย นักศึกษา และกำหนดวันเวลาในการปฏิบัติหน้าที่พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้ทราบรายละเอียดข้อกำหนดต่างๆ

การดำเนินการสอบ

  1. ฝ่ายวิชาการจัดการให้มีการปฐมนิเทศกรรมการคุมสอบ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในส่วนต่างๆ ให้ทราบบทบาทหน้าที่ ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติก่อนวันสอบ
  2. หัวหน้าศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและประเมินผลส่งมอบกุญแจห้องเก็บข้อสอบและกุญแจตู้เก็บข้อสอบต่อผู้อำนวยการสนามสอบ หัวหน้ากรรมการกองกลางจัดข้อสอบแยกตามห้องสอบ จัดเตรียมบัญชีการรับส่งข้อสอบให้เสร็จสิ้นก่อนถึงเวลาสอบ 50 นาที
  3. กรรมการกองกลางส่งมอบข้อสอบต่อหัวหน้ากรรมการคุมสอบ กรรมการคุมสอบแต่ละห้อง ซึ่งจะต้องตรวจสอบความถูกต้อง ลงชื่อในบัญชีรับข้อสอบ และนำไปสู่ห้องสอบทันที
  4. หัวหน้าห้องสอบและเจ้าหน้าที่คุมสอบดำเนินการสอบ
  5. ผู้อำนวยการสนามสอบ กรรมการระเบียบวินัยนักศึกษาตรวจสอบความเรียบร้อยของการดำเนินการสอบ ผู้อำนวยการสนามสอบเก็บสถิติผู้เข้าสอบและผู้ขาดสอบแต่ละวิชา แต่ละห้องสอบ
  6. หัวหน้าห้องสอบนำข้อสอบที่สอบแล้ว และกระดาษคำตอบส่งกองกลางลงนามส่งข้อสอบ
  7. กองกลางตรวจความถูกต้องเรียบร้อย เก็บเข้าตู้ข้อสอบ
  8. ผู้อำนวยการสนามสอบส่งมอบแบบทดสอบและกระดาษคำตอบรวมทั้ง อุปกรณ์การจัดสอบให้ ศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและประเมินผล

ข้อมูลทั่วไปสำหรับการจัดสอบ

           การสอบเป็นขั้นตอนสำคัญของการวัดผลการศึกษาอันเป็นหน้าที่ของครู อาจารย์ที่จะดำเนินการวัดผลการเรียนของนักศึกษาแต่ละคนอันจะเป็นเครื่องสะท้อนถึงผลการสอนด้วย การสอนจึงเป็นเครื่องมือแยกคนรู้ออกจากคนไม่รู้ ให้คนรู้สอบได้และให้คนไม่รู้สอบตก ดังนั้นครูอาจารย์ทุกท่านจึงต้องทำความตกลงกันเพื่อแบ่งหน้าที่กันทดสอบความรู้ของนักศึกษา บุคคลที่มีหน้าที่ในการดำเนินการสอบก็คือครูอาจารย์ทุกคน

  1. บุคลากร

ในการสอบแต่ละครั้งมหาวิทยาลัยจะแต่งตั้งบุคลากรตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้

          1.1    ผู้อำนวยการสนามสอบ

          1.2    กรรมการกองกลาง

          1.3    กรรมการคุมสอบ

          1.4    กรรมการระเบียบวินัยนักศึกษา

  1. จำนวนห้องสอบ

          2.1    ห้องสอบขนาด 60 – 80 ตารางเมตร จัดที่นั่งสอบไม่เกิน 40 ที่นั่ง

          2.2    ห้องสอบขนาด 81– 132 ตารางเมตร จัดที่นั่งสอบไม่เกิน 60 ที่นั่ง

          2.3    ห้องสอบขนาดเกินกว่า 132 ตารางเมตร จัดที่นั่งสอบตามส่วน 1 ต่อ 2 ตารางเมตร

  1. อัตรากำลัง

          3.1    ผู้อำนวยการสนามสอบ สนามสอบละ 1 คน

          3.2    กองกลาง สนามสอบที่ใช้ห้องสอบประมาณ 10 ห้อง จะมีเจ้าหน้าที่กองกลาง 5 คน (รวม เจ้าหน้าที่
ประชาสัมพันธ์ 1 คน) และ เจ้าหน้าที่กองกลางจะเพิ่มขึ้น 1 คน เมื่อจำนวนห้องสอบเพิ่มขึ้น 5 ห้อง เช่น สนาม
สอบที่ใช้ห้องสอบสูงสุด 15 ห้อง จะมีเจ้าหน้าที่กองกลาง 6 คน สนามสอบที่ใช้ห้องสอบสูงสุด 26 ห้อง จะมีเจ้า
หน้าที่กองกลาง 8 คน เป็นต้น

          3.3    กรรมการคุมสอบ ห้องสอบ 1 ห้อง ใช้กรรมการคุมสอบ 2 คน เป็นหัวหน้าห้องสอบ 1 คน และเป็นเจ้า
หน้าที่คุมสอบ 1 คน

                    –    ห้องสอบที่มีที่นั่งสอบไม่เกิน 60 ที่นั่ง ใช้กรรมการคุมสอบ 2 คน เป็นหัวหน้าห้องสอบ 1 คน และเป็น
เจ้าหน้าที่คุมสอบ 1 คน

                    –    จัดที่นั่งสอบเกินกว่า 60 ที่นั่ง ให้เพิ่มเจ้าหน้าที่ 1 คน ต่อผู้ข้าสอบ 20 คน

          3.4    กรรมการระเบียบวินัยนักศึกษา ประกอบด้วยหัวหน้า 1 คน และกรรมการอาคาร 1 คน

หน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติงานของบุคลากร

 ผู้อำนวยการสนามสอบ

หน้าที่ของผู้อำนวยการสนามสอบ

  1. อำนวยการเตรียมสนามสอบ
  2. รับและเก็บรักษาแบบทดสอบขณะดำเนินการสอบ
  3. จัดให้มีการปฐมนิเทศกรรมการคุมสอบ และเจ้าหน้าที่ดำเนินการสอบ
  4. อำนวยการสอบให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
  5. จัดมอบแบบทดสอบที่สอบแล้วและกระดาษคำตอบกับคืนศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและการประเมินผล
  6. รายงานผลการดำเนินการสอบให้อธิการบดีทราบภายหลังการสอบเสร็จสิ้น

ขั้นตอนการปฏิบัติงานผู้อำนวยการสนามสอบ

  1. ผู้อำนวยการสนามสอบจะวางแผนการจัดสอบ และตรวจความพร้อมของการดำเนินการสอบในแต่ละวัน
  2. จัดให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักศึกษาทราบสถานที่สอบ วันและเวลาที่มีการสอบ
  3. ตรวจสอบว่ากรรมการกองกลาง กรรมการคุมสอบ เจ้าหน้าที่อื่นๆ และสภาพการสอบพร้อมที่จะดำเนินการ    หรือไม่
  4. ขณะที่ดำเนินการสอบ ผู้อำนวยการสนามสอบจะต้องวินิจฉัยสั่งการในกรณีที่มีปัญหาและดูแลการสอบให้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพพิจารณาตัดสินอนุญาตให้ผู้เข้าสอบที่มีหลักฐานไม่         สมบรูณ์เข้าสอบ ในกรณีที่มีการทุจริตการสอบ ผู้อำนวยการสนามสอบ มีอำนาจสอบสวนและเสนอข้อตัดสินตามระเบียบการสอบ
  5. เมื่อการสอบเสร็จสิ้นลง ผู้อำนวยการสถานสอบจะมอบแบบทดสอบและกระดาษคำตอบกลับคืนศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและการประเมินผล พร้อมแจ้งผลการดำเนินการสอบ ได้แก่ สภาพการสอบ ปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดจนข้อเสนอแนะในการจัดสอบครั้งต่อไป รายงานผู้เข้าสอบที่ทำการทุจริต กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิด

          จัดให้มีห้องกองกลางซึ่งตั้งอยู่ในจุดซึ่งเป็นศูนย์กลางของสนามสอบ ต้องกว้างขวางพอที่จะใช้เป็นที่ประสานงานการสอบ เมื่อได้รับบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบหมายเลขห้องสอบ และระเบียบมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาว่าด้วยการสอบ จากสำนักงานทะเบียนและวัดผลแล้ว ก็จะต้องมอบหมายให้มีการติดรายชื่อผู้เข้าสอบหน้าห้องสอบ โดยต้องติดรายชื่อผู้เข้าสอบให้ตรงตามห้องสอบที่กำหนดไว้ และติดระเบียบว่าด้วยการสอบฯ ไว้หน้าห้องสอบทุกห้อง เพื่อเป็นการเตือนย้ำให้ผู้เข้าสอบปฏิบัติตามจัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับผู้เข้าสอบที่ป่วยอย่างปัจจุบันทันด่วน จัดให้มีการเก็บแบบทดสอบให้มิดชิดปลอดภัย

กรรมการกองกลาง

หน้าที่ของกรรมการกองกลาง

  1. ทำการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้เข้าสอบทราบวันและเวลาสอบ และห้องสอบ
  2. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าสอบทราบก่อนเข้าสอบว่าต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นอะไรบ้าง
  3. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าสอบ
  4. พิจารณาคำร้องขอเข้าสอบของผู้เข้าสอบที่มีหลักฐานการเข้าสอบไม่ครบถ้วน
  5. จัดซองข้อสอบ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ การสอบมอบให้แก่กรรมการคุมสอบและรับคืนเมื่อการสอบเสร็จสิ้นเก็บแบบทดสอบที่สอบแล้ว และกระดาษคำตอบบรรจุหีบห่อ เพื่อส่งคืนศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและการประเมินผล
  6. เป็นศูนย์อำนวยการสอบ
  7. บันทึกการมาปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร

ขั้นตอนการปฏิบัติงานของกรรมการกองกลาง

  1. ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการจัดสอบ
  2. แจกคู่มือการจัดสอบให้กรรมการคุมสอบทุกคนศึกษาหน้าที่และบทบาทของตัวเอง
  3. ให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประกาศให้ผู้เข้าสอบทราบว่า วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการสอบมีดินสอดำเบอร์ 2 หรือชนิด 2B ปากกา ยางลบ กบ หรือมีดเหลาดินสอ เท่านั้น ผู้เข้าสอบทุกคนต้องเตรียมให้พร้อม และประกาศให้ผู้เข้าสอบทราบว่าถ้าไม่มีบัตรประจำตัวนักศึกษาจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องสอบ ดังนั้นถ้าใครไม่มีบัตรประจำตัวนักศึกษาให้รีบมาติดต่อยื่นคำร้อง ขอมีบัตรเข้าห้องสอบที่กองกลาง
  4. จัดซองแบบทดสอบและบัญชีผู้เข้าสอบเป็นห้องๆมอบซองแบบทดสอบให้หัวหน้าห้องสอบ โดยให้เซ็นชื่อรับเป็นหลักฐาน
  5. ให้สัญญาณลงมือสอบเมื่อถึงเวลา
  6. ให้สัญญาณหมดเวลาสอบเมื่อถึงเวลา
  7. ตรวจนับจำนวนแบบทดสอบ ที่หน้าห้องสอบนำมาคืนว่าครบตามจำนวนที่เขียนไว้บนซองหรือไม่ ถ้าครบให้ใช้กระดาษกาวปิดซอง ตรวจนับจำนวนกระดาษคำตอบว่าครบตามที่เซ็นชื่อเข้าสอบหรือไม่ ถ้าครบก็ใช้กระดาษกาวปิดซอง ทั้งนี้ให้นำใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบใส่ไว้ในซองกระดาษคำตอบด้วย และเซ็นชื่อกำกับ แล้วให้หัวหน้าห้องสอบเซ็นชื่อส่งข้อสอบ

กรรมการคุมสอบ

หน้าที่ของกรรมการคุมสอบ

  1. ดำเนินการสอบ และควบคุมห้องสอบให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาว่าด้วยการสอบ อย่างเคร่งครัด
  2. รักษาความลับของแบบทดสอบ ไม่ให้บุคคลอื่นดูแบบทดสอบนอกจากผู้เข้าสอบ
  3. รักษาแบบทดสอบและกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบไม่ให้สูญหาย

ขั้นตอนการปฏิบัติงานของกรรมการคุมสอบ

  1. มาถึงที่คุมสอบก่อนเวลาอย่างน้อย 45 นาที
  2. เข้ารับการปฐมนิเทศจากผู้อำนวยการสนามสอบ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตามวัน เวลาที่ผู้อำนวยการสนามสอบกำหนด
  3. หัวหน้าห้องสอบลงนามรับซองบรรจุแบบทดสอบและกระดาษคำตอบ กรรมการคุมสอบกำหนดเลขที่นั่งสอบตามรายชื่อผู้เข้าสอบ โดยเรียงจากรหัสประจำตัวน้อยไปหามาก หัวหน้าห้องสอบตรวจความเรียบร้อย เชิญผู้เข้าห้องสอบเข้าห้องสอบได้ (ก่อนเวลาสอบ 15 นาที) กรรมการ  คุมสอบต้องยืนที่ประตูห้องเพื่อช่วยแนะนำให้ผู้เข้าสอบหาที่นั่งได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว และคอยตรวจดูมิให้  ผู้เข้าสอบนำเอกสาร ตำรา ฯลฯ เข้าห้องสอบ ผู้เข้าสอบที่ไม่มีบัตรประจำตัวนักศึกษา ห้ามเข้าห้องสอบอย่าง เด็ดขาด นอกจากผู้ที่มีบัตรเข้าสอบ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องบัตรประจำตัวนักศึกษาให้ไปติดต่อที่สำนักงานทะเบียน และวัดผล
  1. หัวหน้าห้องสอบเปิดซองแบบทดสอบต่อเจ้าหน้าที่คุมสอบและผู้เข้าสอบตรวจนับจำนวนแบบทดสอบว่าครบถ้วนตามที่เขียนไว้หน้าซองหรือไม่
  2. กรรมการคุมสอบแจกกระดาษคำตอบแก่ผู้เข้าสอบ
  3. ขณะที่กรรมการคุมสอบแจกกระดาษคำตอบ หัวหน้าห้องสอบกำชับว่า “ห้ามขีดเขียนอะไรลงบนกระดาษคำตอบก่อนที่จะมีการชี้แจง”
  4. เจ้าหน้าที่คุมสอบแจกแบบทดสอบแก่ผู้เข้าสอบโดยแจกคว่ำหน้าลง แจกเฉพาะผู้ที่มาสอบ หัวหน้าห้องสอบกำชับว่า “ห้ามแกะลวดเย็บกระดาษทางขวาของแบบทดสอบก่อนสัญญาณลงมือสอบให้ฟังคำชี้แจงก่อน” หัวหน้าห้องสอบคอยระวังอย่าให้ผู้เข้าสอบฝ่าฝืนคำสั่งอย่างเด็ดขาด แล้วหัวหน้าห้องสอบชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับ การสอบ ดังนี้
  • โปรดวางบัตรประจำตัวนักศึกษาไว้บนโต๊ะ
  • อุปกรณ์ที่ใช้สอบ คือ ดินสอสีดำเบอร์ 2 หรือดินสอ 2B ขึ้นไป ยางลบ กบ หรือมีดเหลาดินสอ ปากกา และสิ่งที่ระบุอนุญาตไว้ที่หน้าซองข้อสอบเท่านั้น
  • พลิกแบบทดสอบขึ้นเซ็นชื่อและเขียนรหัสประจำตัวผู้เข้าสอบในช่องที่เว้นไว้หน้าแบบทดสอบ
  • ให้ผู้เข้าสอบกรอกข้อความบนกระดาษคำตอบ กรณีที่มีข้อสอบปรนัยโดยใช้ดินสอดำ โดยดูตัวอย่างใบประหน้าแบบทดสอบ ระวังอย่าให้กระดาษคำตอบยับหรือมีรอยฉีกขาด
  • การทำข้อสอบอัตนัย ให้เขียนตอบด้วยปากกา และควรเขียนชื่อพร้อมรหัสประจำตัวนักศึกษา ชื่อวิชา ไว้บนกระดาษคำตอบทุกแผ่น
  • โปรดพลิกแบบทดสอบขึ้น ต่อไปนี้จะอ่านคำชี้แจงบนใบประหน้าแบบทดสอบโดยอ่านอย่างรวดเร็ว ขอให้ผู้เข้าสอบอ่านในใจพร้อมกัน
  • เมื่ออ่านคำชี้แจงจบแล้ว ให้ถามว่าใครมีปัญหาเกี่ยวกับวิธีทำข้อสอบให้ยกมือขึ้นแล้วถามได้ เมื่อลงมือสอบแล้วจะไม่ตอบปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น
  • ถ้าไม่มีปัญหาให้แกะลวดเย็บแบบทดสอบออกแล้วนับจำนวนหน้าว่ามีครบตามจำนวนที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้ามีหน้าใดหายไปหรือส่วนใดพิมพ์ไม่ชัดเจนให้แจ้งเจ้าหน้าที่คุมสอบทันที (ในกรณีที่แบบทดสอบไม่สมบูรณ์ให้เปลี่ยนแบบทดสอบของผู้ที่ขาดสอบ ถ้าไม่มีผู้ขาดสอบให้ใช้แบบทดสอบสำรองที่ให้ไว้ในซองถ้าไม่พอให้ติดต่อกองกลาง)
  • จะไม่มีการแก้ไขข้อสอบใดๆ ทั้งสิ้น ให้ถือว่าข้อสอบทุกข้อถูกต้องแล้ว
  • ห้ามออกจากห้องสอบก่อนได้รับอนุญาต ถ้าทำเสร็จก่อนเวลาให้ยกมือขึ้นกรรมการคุมสอบจะไปตรวจแบบทดสอบว่าถูกต้องครบถ้วนก่อนจึงจะได้รับอนุญาตให้ออกจากห้องสอบได้
  • หัวหน้าห้องสอบประกาศอนุญาตให้นักศึกษาลงมือทำข้อสอบ หลังจากนั้นกรรมการคุมสอบจะยืนควบคุมการทำข้อสอบของนักศึกษาโดยสงบ (ต้องมีคนยืนคุมอย่างน้อย 1 คน)
  • หัวหน้าห้องสอบประกาศอนุญาตให้นักศึกษาลงมือทำข้อสอบและหัวหน้าห้องสอบเขียนเวลาลงบนกระดานหน้าห้องสอบดังนี้

          เริ่มสอบเวลา……..น. หมดเวลา………น.

  1. ขณะที่หัวหน้าห้องสอบชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ กรรมการคุมสอบจะต้องดูพฤติกรรมของผู้เข้าสอบอย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้ผู้เข้าสอบเปิดแบบทดสอบอ่านหรือตอบก่อนเวลา เมื่อผู้เข้าสอบลงมือทำข้อสอบในระยะเวลาแรกๆ ต้องเดินตรวจดูว่าผู้เข้าสอบแต่ละคนเขียนเลขประจำตัวสอบถูกต้องถูกวิธีและทำเครื่องหมายตอบถูกวิธีหรือไม่ ถ้าพบผู้ที่ทำไม่ถูกต้องให้แก้ไขให้ถูกต้อง
  2. กรรมการคุมสอบให้ผู้เข้าสอบเซ็นชื่อในบัญชีผู้เข้าสอบตามรหัสประจำตัวผู้ขาดสอบให้เขียนว่า “ขาดสอบ” ตรวจดูบัตรประจำตัวนักศึกษา และผู้เข้าสอบว่าเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่ใช่คนเดียวกันให้รีบแจ้งกองกลางทันที ดูลายเซ็นในบัตรและลายเซ็นในบัญชีผู้เข้าสอบเหมือนกันหรือไม่ ถ้าไม่เหมือนกันให้เซ็นใหม่
  3. กรรมการคุมสอบยืนควบคุมการสอบอย่างเคร่งครัด สงบ สอดส่องพฤติกรรมของผู้สอบให้ทั่วถึง กรณีเมื่อย หรือต้องไปเข้าห้องน้ำให้มีกรรมการท่านอื่นยืนควบคุมแทน
  4. ห้ามผู้มาสอบเข้าสอบหลังจากเริ่มสอบแล้ว 30 นาที และไม่ให้ผู้เข้าสอบออกจากห้องสอบภายใน 45 นาทีแรกนับตั้งแต่เริ่มลงมือสอบ ถ้าเป็นกรณีสุดวิสัยให้กรรมการคุมสอบควบคุมอย่างใกล้ชิด
  5. บันทึกจำนวนผู้เข้าสอบ จำนวนผู้ขาดสอบ รหัสประจำตัวผู้ขาดสอบสภาพของการสอบ ผู้เข้าสอบทุจริตในการสอบในบัญชีผู้เข้าสอบ และบนกระดาษคำตอบ
  6. หากมีการทุจริตการสอบในระหว่างนี้ให้หัวหน้าห้องสอบนำแบบบันทึกการทุจริตเล่าเหตุการณ์และลงชื่อ หัวหน้าห้องสอบกากบาทในกระดาษคำตอบแล้วเขียนว่า “ทุจริตการสอบโดย……..” ให้ผู้เข้าสอบเซ็นชื่อ กรรมการคุมสอบทั้งสองคนเซ็นชื่อกำกับ พร้อมรวบรวมหลักฐานส่งมอบต่อผู้อำนวยการสอบทันที
  1. หัวหน้าห้องสอบแจ้งให้ผู้เข้าสอบทราบเมื่อเหลือเวลา 10 นาที และ 5 นาที ตามลำดับ
  2. เมื่อหมดเวลาสอบให้หัวหน้าห้องสอบสั่ง “หยุดทำข้อสอบ วางดินสอ และปิดแบบทดสอบ” ห้ามออกจากห้องสอบจนกว่ากรรมการจะได้ตรวจแบบทดสอบว่าถูกต้องครบถ้วนก่อน จึงจะออกไปได้ กรรมการคุมสอบจะตรวจนับ แบบทดสอบจากผู้เข้าสอบตามลำดับรหัสประจำตัว แล้วเก็บแบบทดสอบและกระดาษคำตอบเรียงตามลำดับจากน้อยไปมากตามบัญชีผู้เข้าสอบ แยก แบบทดสอบไว้คนละซอง กระดาษคำตอบอัตนัยให้เก็บในซองกระดาษคำตอบอัตนัย ใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบให้ใส่ไว้ในซองกระดาษคำตอบปรนัย กระดาษคำตอบของนักศึกษาที่ขาดสอบ ให้เก็บคืนใส่ในซองกระดาษคำตอบโดยไม่ต้องขีดเขียนข้อความใดๆ ลงไปทั้งสิ้น ระวังอย่าให้กระดาษคำตอบยับหรือมีรอยฉีกขาด เพราะต้องตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
  1. กรรมการคุมสอบ ตรวจนับจำนวนแบบทดสอบ จำนวนกระดาษคำตอบที่เรียงไว้ว่าถูกต้อง ครบถ้วนแล้วเซ็นชื่อในบัญชีผู้เข้าสอบ บนซองแบบทดสอบ และบนซองกระดาษคำตอบ (ถ้ามีนักศึกษาไม่ทำคำตอบอัตนัย ให้เขียนรหัสประจำตัวนักศึกษาแจ้งไว้ข้างหน้ากระดาษคำตอบอัตนัย)
  2. หัวหน้าห้องสอบนำซองแบบทดสอบ ซองกระดาษคำตอบ บัญชีผู้เข้าสอบ ซองกระดาษทดสอบ กาว คืนกองกลางพร้อมกับเซ็นชื่อส่งแบบทดสอบ
  3. แบบทดสอบเป็นเอกสารลับของทางมหาวิทยาลัย สำหรับผู้เข้าสอบเท่านั้นกรรมการคุมสอบไม่มีสิทธิ์จะอ่านหรือคัดลอกแบบทดสอบ นอกจากกรณีเกิดปัญหาและจำเป็นต้องอ่านให้หัวหน้าห้องสอบเป็นผู้อ่าน
  4. กรรมการคุมสอบต้องไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการรบกวนสมาธิผู้เข้าสอบ เช่น คุยกัน เคาะ เขย่า ฯลฯ โปรดอย่าทำกิจกรรมอื่นระหว่างปฏิบัติหน้าที่ควบคุมห้องสอบ
  5. ในกรณีผู้เข้าสอบขออนุญาตออกนอกห้องสอบในกรณีที่จำเป็น เช่น เข้าห้องน้ำ ฯลฯ ให้กรรมการคุมสอบติดตามดูและเพื่อป้องกันการทุจริตอย่างใกล้ชิด ในกรณีผู้เข้าสอบเจ็บป่วยกะทันหันให้นำส่งห้องพยาบาลแล้วให้เจ้าหน้าที่พยาบาลทำหน้าที่เป็นกรรมการคุมสอบ ถ้าสามารถคุมสอบต่อได้ แต่ต้องนำกระดาษคำตอบแบบทดสอบมารวมไว้เหมือนสอบอยู่ในห้องสอบนั้น ในกรณีเช่นนี้ระวังการทุจริตอย่างใกล้ชิด

Action Examination