KM-AS-6 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 6)

วันที่ 26 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      จัดทำหัวข้อและเนื้อหาการฝึกอบรมการใช้โปรแกรม MS-Office โดยกำหนดหัวข้อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง และสร้างแบบทดสอบเพื่อประเมินผลก่อน-หลังการฝึกอบรม
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี ข้อที่ควรระวังในการบูรณาการการเรียนการสอน

-นักศึกษาทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมบูรณาการ

-อาจารย์ต้องวิเคราะห์เนื้อหากับกิจกรรมการบูรณาการให้เหมาะสม

-ต้องมีวิธีการกระตุ้นติดตามและควบคุม

-ต้องมีเครื่องมือวัดผลที่สามารถวัดการบูรณาได้อย่างชัดเจน

 3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      ความรู้พื้นฐานสมาชิกในชุมชนก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการที่จะเข้าไปให้ความรู้ทางวิชาการ เพราะถ้าชุมชนมีความเชื่อที่แตกต่าง ปิดกั้นไม่เปิดรับสิ่งต่างๆ การให้ความรู้ความเข้าใจก็จะไม่เกิดการยอดรับและไม่ปฏิบัติตามในที่สุด ก็ทำให้เสียเวลาและงบประมาณ ดังนั้น การให้ความเข้าใจว่ามีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญ
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
      กรณีการจัดโครงการที่มีระยะเวลาดาเนินงานเพียง 1-2 วัน เช่น การจัดประชุมวิชาการ จะมีการวางแผนงาน อย่างไรเพื่อให้บูรณาการกับการเรียนการสอนได้

สาหรับกิจกรรมที่จัดเพียง 1-2 วัน นั้น ในการเขียนแผนปฏิบัติงานหรือกิจกรรมการดาเนินงาน ต้องมีการเขียน แผนงานที่มากกว่าการจัดกิจกรรมเพียง 1-2 วัน เช่น ก่อนจัดประชุมวิชาการ อาจจะมีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาออก พื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการประชุมวิชาการและนามาเสนอในชั้นเรียน จากนั้น จึงมีกิจกรรมต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงวันที่จัดประชุมวิชาการซึ่งแม้จะมีการจัด 1-2 วัน ก็ถือว่ามีการบูรณาการกับการเรียน การสอนเรียบร้อยแล้ว หรืออาจนาความรู้ที่ได้การประชุมวิชาการ เป็นหัวข้อในการเรียนการสอนแก่นักศึกษา โดย มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้แล้วนามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน หรือหากไม่สามารถบูรณาการกับการ เรียนการสอนได้อาจนาไปบูรณาการกับการวิจัยแทน เช่น การนานักศึกษาเข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษ การร่วม นาเสนอผลงาน เป็นต้น

5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง ลงมือช่วยกันสอนเพื่อเขียนแผนธุรกิจกับธุรกิจเดิมที่มีอยู่ กับว่าบางท่านสามารถเขียนได้และเข้าใจแต่บางท่านยังไม่ค่อย เข้าใจจึงเสนอให้ลงทะเบียนแผนตัวย่างและข้าวชุมชนเพื่อส่งอีกครั้ง คำวิเศษณ์มีการเขียนแผนธุรกิจขนาดย่อยอีกครั้งซ้ำทำให้เห็นรูปร่างการทำธุรกิจขนาดย่อมมากขึ้นเราเสนอให้ปรับใช้กับธุรกิจของชุมชนรวมท่าช่วยกันวางแผนทรัพยากรบุคคลเข้าไปด้วย

 

6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ       ศึกษาข้อมูลของชุมชนและสังคมที่ต้องการให้บริการวิชาการและนำมาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับรายวิชา เป็นเทคนิคที่ดี ที่ทำให้การ

ดำเนินการโครงการบริการวิชาการ เป็นเทคนิคที่ดีที่ทำให้บูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนประสบการณ์

7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน       ทำให้ผู้เรียนเกิดการสังเคราะห์องค์ความรู้และสามารถแก้ไขปัญหา

เฉพาะหน้าได้

8 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว      นำหลักสูตรที่จัดทำขึ้นไปประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนโรงเรียนต่างๆเพื่อสำรวจความต้องการบริการวิชาการในหลักสูตรดังกล่าวว่ามีโรงเรียนไหนชุมชนใดต้องการรับบริการวิชาการในหลักสูตรหรือไม่
9 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  นำปัญหาที่ได้รับจากกลุ่มเป้าหมายมาให้ผู้เรียนได้ศึกษาใน รายวิชาที่กำหนด เพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ไขตามรายวิชาที่เรียน
 10 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      ส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรพัฒนาศักยภาพและคุณภาพตนเอง ให้เป็นที่ยอมรับของ ชุมชนและสังคม ในการบริการวิชาการ
11 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ      การบูรณาการแบบนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
12 อาจารย์รุจิตรา ตายอด การบูรณาการแบบข้ามวิชา

การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้สอนที่สอนวิชาต่างๆร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือกำหนดหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหาเดียวกัน  จัดทำแผนการสอนร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนเป็นคณะ ผู้สอนทุกวิชากำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนร่วมกัน การเรียนการสอนแบบบูรณาการ   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย

13 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การบูรณาการแบบข้ามวิชา ( Transdisciplinary Instruction )

การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้สอนที่สอนวิชาต่างๆร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือกำหนดหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหาเดียวกัน  จัดทำแผนการสอนร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนเป็นคณะ ( Team ) โดยดำเนินการสอนผู้เรียนกลุ่มเดียวกันมอบหมายงาน / โครงงานให้ผู้เรียนเรียนทำร่วมกัน  ผู้สอนทุกวิชากำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนร่วมกัน การเรียนการสอนแบบบูรณาการ   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย

14 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด       เรื่องการนำความรู้ไปใช้ในการบริการวิชาการมาใช้ในกรเรียนการสอนในรายวิชาตนเองทำการสอน เพื่อเป็นการบูรณาการให้สามารถประยุกต์ใช้ได้มากที่สุด

 

 

สรุปประเด็น

  1. นักศึกษาทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมบูรณาการ
  2. อาจารย์ต้องวิเคราะห์เนื้อหากับกิจกรรมการบูรณาการให้เหมาะสม
  3. ต้องมีวิธีการกระตุ้นติดตามและควบคุม
  4. ต้องมีเครื่องมือวัดผลที่สามารถวัดการบูรณาได้อย่างชัดเจน
  5. ความรู้พื้นฐานสมาชิกในชุมชนก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการที่จะเข้าไปให้ความรู้ทางวิชาการ เพราะถ้าชุมชนมีความเชื่อที่แตกต่าง ปิดกั้นไม่เปิดรับสิ่งต่างๆ การให้ความรู้ความเข้าใจก็จะไม่เกิดการยอดรับและไม่ปฏิบัติตามในที่สุด ก็ทำให้เสียเวลาและงบประมาณ ดังนั้น การให้ความเข้าใจว่ามีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ภายในสำนักงานมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

เป้าหมายของการจัดการความรู้  : เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงวิธีการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน  : เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ภายในสำนักงานได้อย่างถูกต้อง

3