KM-AS-4 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 4)

วันที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      กำหนดช่วงเวลาในการให้บริการวิชาการ โดยการประชุมร่วมกับหน่วยงานผู้รับบริการวิชาการ และนำมาวางแผนการให้บริการวิชาการตามเวลาที่กำหนด
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี   การทำกิจกรรมก่อนมีการเรียนการสอน

-แล้วรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการบูรณาการบริการวิชาการรวมถึงสร้างความแตกต่างเกี่ยวกับรูปแบบการบูรณาการและการวัดประเมินแก่ผู้เรียน

3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      การให้บริการทางวิชาการโดยเฉพาะระดับสถาบันฯ นอกจากการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงแล้ว ต้องคำนึงถึงเกณฑ์ต่างๆ ที่สถาบันอุดมฯ ต้องรับผิดชอบด้วยนอกจากการบริการทางวิชาการแบบให้เปล่าแล้วการบริการวิชาการที่เป็นแบบพาณิชก็ต้องทำ เพราะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพทางวิชาการที่เข้มแข็งของมหาวิทยาลัยฯ ด้วย
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
     วิธีการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนสามารถทำได้หลากหลายวิธีโดยสรุปดังนี้

1. การนำนักศึกษาร่วมออกพื้นที่ให้บริการวิชาการกับอาจารย์เพื่อให้ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง

2. การนำข้อมูลความรู้ได้รับจากการบริการวิชาการ เป็น กรณีศึกษาให้กับนักศึกษาได้เรียนในชั้นเรียน

3. การนปำประเด็นปัญหาจากการบริการวิชาการมาถ่ายทอดใน ชั้นเรียนเพื่อให้นักศึกษาเกิดการแลกเปลี่ยนใน ชั้นเรียน

4. การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงาน

5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง      เสนอการเขียนแผนธุรกิจอย่างง่ายให้กับชุมชนเพราะการทำธุรกิจขนาดเล็กชุมชนยังไม่มีระบบแผนที่รัดกุม

 

6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ     แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ โดยมีระบบและกลไกการบริการวิชาการแก่สังคมและสามารถดำเนินการตามระบบที่กำหนดมีการวางแผนทางขั้นตอนและหลักเกณฑ์ของการให้บริการวิชาการ
7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน    นำองค์ความรู้ที่ได้จาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟัง เพื่อให้นักศึกษา ร่วมคิดวางแผน ตัดสินใจร่วมทั้งหาวิธีแก้ปัญหา
8 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว      มีการกำหนดหลักสูตรที่จะออกบริการวิชาการโดยมีการตกลงร่วมกันของนักศึกษาและอาจารย์ตามหลักสูตรว่าในการบริการวิชาการและให้กับรายวิชาทั้ง 2 รายวิชาที่เราต้องออกบูรณาการจึงได้สรุปเมนูหลักสูตรการถ่ายภาพอย่างมืออาชีพและมีทักษะสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
9 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  สำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือชุมชน เพื่อนำองค์ความรู้ที่มามากำหนดโครงการเพื่อบูรณาการกับรายวิชาที่กำหนด
10 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี        การพัฒนาและบูรณาการงานวิชาการในการศึกษาวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยี ที่สามารถ สร้างสรรค์องค์ความรู้ ความรู้และภูมิปัญญาไทย ที่ก่อให้เกิดประโยชน์และตอบสนองความต้องการของ ท้องถิ่น เนินการศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อสร้างรากฐานให้เกิดความมั่นคงของชุมชน และประเทศ
11 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ วิธีการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนสามารถทำได้หลากหลายวิธี

1.การบูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion Instruction )

การจัดการเรียนการสอนตาม รูปแบบนี้ผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่นๆเข้าในการเรียนการสอนของตน เป็นการสอนตามแผนการสอนและประเมินผลโดยผู้สอนคนเดียว วิธีนี้ถึงแม้ว่าผู้เรียนจะเรียนจากผู้สอนคนเดียวแต่ก็สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆได้

2.การบูรณาการแบบข้ามวิชา ( Transdisciplinary Instruction )

การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้สอนที่สอนวิชาต่างๆร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือกำหนดหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหาเดียวกัน  จัดทำแผนการสอนร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนเป็นคณะ ( Team ) โดยดำเนินการสอนผู้เรียนกลุ่มเดียวกันมอบหมายงาน / โครงงานให้ผู้เรียนเรียนทำร่วมกัน  ผู้สอนทุกวิชากำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนร่วมกัน การเรียนการสอนแบบบูรณาการ   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย

12 อาจารย์รุจิตร ตายอด การบูรณาการแบบขนาน

การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ นี้  ผู้สอนตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  ต่างคนต่างสอน แต่ต้องวางแผนเพื่อสอนร่วมกัน  โดยมุ่งสอนหัวเรื่อง /  ความคิดรวบยอด /  ปัญหาเดียวกัน ระบุสิ่งที่ทำร่วมกันและตัดสินใจร่วมกันว่าจะสอนหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหานั้นๆอย่างไร ในวิชาของแต่ละคนใครควรสอนก่อนหลังงานหรือการบ้านที่มอบหมายให้ผู้เรียนทำจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละวิชา แต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง/ ความคิดรวบยอด

13 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การบูรณาการแบบขนาน ( Parallel Instruction )

การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ นี้  ผู้สอนตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  ต่างคนต่างสอน แต่ต้องวางแผนเพื่อสอนร่วมกัน  โดยมุ่งสอนหัวเรื่อง /  ความคิดรวบยอด /  ปัญหาเดียวกัน ระบุสิ่งที่ทำร่วมกันและตัดสินใจร่วมกันว่าจะสอนหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหานั้นๆอย่างไร ในวิชาของแต่ละคนใครควรสอนก่อนหลังงานหรือการบ้านที่มอบหมายให้ผู้เรียนทำจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละวิชา แต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง/ ความคิดรวบยอด / ปัญหาร่วมกัน การสอนแต่ละวิชาจะเสริมซึ่งกันและกันทำให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้

14 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด

 

      พรบ.คอมพิวเตอร์ให้แก่ชุมชนแล้วทำสื่อ Power Point ให้ประชาชนได้ศึกษามาใช้สอนในวิชาที่สอนด้วยเป็นการสอนเสริมเพิ่มเติมความรู้

 

 

 

 

สรุปประเด็น

  1. การให้บริการทางวิชาการโดยเฉพาะระดับสถาบันฯ นอกจากการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงแล้ว ต้องคำนึงถึงเกณฑ์ต่างๆ ที่สถาบันอุดมฯ ต้องรับผิดชอบด้วยนอกจากการบริการทางวิชาการแบบให้เปล่าแล้วการบริการวิชาการที่เป็นแบบพาณิชก็ต้องทำ เพราะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพทางวิชาการที่เข้มแข็งของมหาวิทยาลัยฯ ด้วย
  2. กำหนดช่วงเวลาในการให้บริการวิชาการ โดยการประชุมร่วมกับหน่วยงานผู้รับบริการวิชาการ และนำมาวางแผนการให้บริการวิชาการตามเวลาที่กำหนด