KM-AS-5 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 5)

วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      ทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้ขอรับบริการวิชาการเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับองค์ความรู้พื้นฐานและนำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ใหม่
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี       ผลที่ได้รับจาการบูรณาการบริการวิชาการคือนักศึกษาจะได้ประโยชน์แต่ละรูปแบบต่างกันแต่รูปแบบที่ให้นักศึกษาได้ทักษะมากที่สุดคือการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการเพราะนักศึกษาจะได้ลงพื้นที่จริงและลงมือปฏิบัติจริง
 3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การให้บริการทางวิชาการที่บางครั้งเป็นปัญหา มองว่าส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ผู้นำไม่เข้าใจหรือไม่ได้ให้ความสนในที่จะพัฒนาอย่างแท้จริง กระบวนการต่างๆ จึงไม่เกิดการทำซ้ำจนเกิดเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามที่ต้องการ
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
ในการวางแผนและการจัดระบบการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน ก่อนจะจัดทาโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการต้องทาการวิเคราะห์รายวิชาที่จะทาการเรียนการสอนในปีการศึกษานั้น ๆ ก่อน ว่ามีรายวิชาใดบ้างที่สามารถนามาบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคมได้ เมื่อได้รายวิชาที่จะบูรณาการแล้ว ลาดับต่อมาคือการวางแผนการจัดกิจกรรมการบริการวิชาการ โดยต้องวางแผนกิจกรรมให้ครอบคลุมตามงบประมาณ ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมการบริการวิชาการกับกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกันในช่วงเวลาการดำเนินงาน

 

5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง      ให้สาขาวิชาบัญชีช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนรับการเงินเพื่อจะช่วยถ่ายทอดต่อชุมชน
6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ     การจัดโครงการการบริการวิชาการ ต้องนำนักศึกษาออกพื้นที่ให้บริการวิชาการ เพื่อให้ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงกับชุมชนโดยสำรวจความต้องการของชุมชนนั้นๆเพื่อนำมาศึกษาข้อมูลในการพัฒนาต่อยอด
7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน    การบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอน มุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
8 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  กำหนดรูปแบบในโครงการ แนวทางในการให้บริการ ให้ตรงกับองค์ความรู้และรายวิชาศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาหรือการให้บริการ จากรายวิชาตามองค์ความรู้ที่มี
9 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี การสร้างศักยภาพและมาตรฐานคุณภาพทางวิชาการและบริการสังคม
10 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student- Centred Approach )

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีอยู่หลายลักษณะและหลายระดับโดยที่ครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยการเรียน ช่วยเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น  โดยการเตรียมด้านเนื้อหา  วัสดุอุปกรณ์  สื่อการเรียนต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน การเรียนการสอนที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางนี้ มีความต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัดกับแนวโน้มในปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งจะมีคำศัพท์บัญญัติไว้หลายคำ เช่น Learner Autonomy, Self-directed Learner  และ   Learner Independence  แต่สำหรับการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ มุ่งที่ผู้เรียนเป็นกลุ่มมากกว่าเป็นรายบุคคล

11 อาจารย์รุจิตรา ตายอด การบูรณาการแบบสหวิทยาการ
12 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การบูรณาการแบบสหวิทยาการ
13 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด          การออกแบบโปรเตอร์เพื่อนำมาโพสขายของโดย โปรแกรม โดยสอนปฏิบัติและจัดทำเป็นคู่มือวิธีการสร้างโปสเตอร์ให้นักศึกษาจึงนำคู่มือมาปรับใช้ในการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาได้ศึกษาคู่มือการสร้างโปสเตอร์เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างโปสเตอร์

 

 

 

สรุปประเด็น

  1. ในการวางแผนและการจัดระบบการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน ก่อนจะจัดทำโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการต้องทำการวิเคราะห์รายวิชาที่จะทำการเรียนการสอนในปีการศึกษานั้น ๆ ก่อน ว่ามีรายวิชาใดบ้างที่สามารถนามาบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคมได้ เมื่อได้รายวิชาที่จะบูรณาการแล้ว ลำดับต่อมาคือการวางแผนการจัดกิจกรรมการบริการวิชาการ โดยต้องวางแผนกิจกรรมให้ครอบคลุมตามงบประมาณ ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมการบริการวิชาการกับกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกันในช่วงเวลาการดำเนินงาน
  2. ผลที่ได้รับจาการบูรณาการบริการวิชาการคือนักศึกษาจะได้ประโยชน์แต่ละรูปแบบต่างกันแต่รูปแบบที่ให้นักศึกษาได้ทักษะมากที่สุดคือการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการเพราะนักศึกษาจะได้ลงพื้นที่จริงและลงมือปฏิบัติจริง