การจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ด้วยรหัสสี

 

CallNo

เป้าหมายของการจัดการความรู้ :  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงขั้นตอนการจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ด้วยรหัสสีก่อนออกให้บริการ จัดทำตารางรหัสสี ขั้นตอนการปฏิบัติ  ง่ายต่อการจัดเก็บ และจัดเรียงหนังสือขึ้นบนชั้น

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน : เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้แนวปฏิบัติงานที่ดีการจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดด้วยรหัสสี  ตารางรหัสสี ทำให้ลดข้อผิดพลาดการจัดเก็บ การค้นหาตัวเล่ม และการจัดเรียงหนังสือที่ให้บริการ

ความเป็นมา

การจัดหมวดหมู่หนังสือสำหรับห้องสมุด นอกจากการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LC: Library of Congress Classification) โดยแบ่งเป็น 20 หมวดใหญ่ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ A-Z ยกเว้น IQWXY ผสมกับตัวเลขอารบิค ตั้งแต่เลข 1-9999 และอาจเพิ่มจุดทศนิยมกับตัวเลข 20 หมวด ได้แก่ A= ความรู้ทั่วไป  (General Works)  B  =  ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา  (Philosophy  Psychology, Religion)                        C =  ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary Sciences of History)  D = ประวัติศาสตร์ทั่วไป และประวัติศาสตร์โลกเก่า  (History : General and Old  World) E-F = ประวัติศาสตร์ : อเมริกา  (History : America) G    =   ภูมิศาสตร์ โบราณคดี  นันทนาการ  (Geography, Antropology, Recreation) H  = สังคมศาสตร์  (Social Sciences) J=  รัฐศาสตร์  (Political Science) K =  กฎหมาย  (Law)  L  = การศึกษา (Education)  M = ดนตรี (Music and Books on Music) N = ศิลปกรรม (Fine Arts)

P =  ภาษาและวรรณคดี  (Philology and  Literatures) Q =  วิทยาศาสตร์  (Science) R =  แพทยศาสตร์  (Medicine) S =  เกษตรศาสตร์ (Agriculture) T = เทคโนโลยี  (Technology)

U = ยุทธศาสตร์ (Military Science) V = นาวิกศาสตร์ (Naval Science) Z = บรรณานุกรม และบรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library Science) รวมถึง Juv หนังสือนวนิยาย รส. เรื่องสั้น งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ ซึ่งใช้เลขเรียกตามที่ห้องสมุดกำหนด เมื่อวิเคราะห์เลขหมู่และจัดไว้เป็นหมวดต่างๆแล้ว เราก็จะไปสู่ขั้นตอนของการติดแถบสีเลย เพื่อกำหนดที่อยู่ให้หนังสือหมวดหมู่เดียวได้อยู่ด้วยกัน และสามารถให้นักศึกษา หรือผู้รับบริการ หาได้ง่ายและง่ายต่อการจัดเก็บ

ตัวอย่างตารางสีหมวดหมู่หนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

1

2

3

4

5

 

วิธีการพิมพ์รหัสหมวดหมู่ด้วยรหัสสี

1.จัดพิมพ์หมวดหมู่ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ตั้งค่าระยะความกว้างและสูงให้พอเหมาะกับสติ๊กเกอร์ในแต่ละดวงให้ตรง

2.นำหนังสือที่ผ่านการวิเคราะห์หมวดหมู่เรียบร้อยมาพิมพ์สติกเกอร์ติดสันหนังสือแยกประเภทหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการกำหนดสีหมวดหมู่

3.นำตารางสีหมวดหมู่มาพิมพ์สติกเกอร์ติดแถบหนังสือ (เลขเรียกหนังสือ Call No.)

วิธีติดแถบสี

1.ใช้เครื่องวัดทาบที่มุมล่างด้านซ้ายของหนังสือ ใช้ดินสอขีดทำรอยเบาๆ

2.ติดแถบสีใต้เส้นที่ทำรอยขีดไว้ ให้ติดแถบสีโดยกะระยะพาดจากปกหน้าอ้อมไปถึงปกหนังในระยะที่เท่าๆกัน เพื่อความสวยงาม(ส่วนด้านบนเส้นเพื่อไว้สำหรับการทำแบบครบขั้นตอนในภายหลังเพิ่มเติมได้)

KM2560-AS-1 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 1)

วันที่ 18 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่

อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      การบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม สิ่งที่สำคัญคือการคัดเลือกชุมชนกลุ่มเป้าหมายในการให้บริการ และการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องและตรงตามความต้องการของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาตนเองต่อไปได้ โดยบูรณาการองค์ความรู้จากศาสตร์ในทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการให้บริการวิชาการตามเชี่ยวชาญ
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี      รูปแบบการบูรณาการการบริการที่เคยไปได้แก่การนำเอาข้อมูลการบริการวิชาการมาเขียนกรณีศึกษาการนำเอกสารประกอบการบริการว่ามีความเป็นมาเป็นไปอย่างไรเอกสารประกอบการสอนและการนำนักศึกษาไปมีการไปร่วมในการบริการวิชาการ
 3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      การให้บริการวิชาการแก่สังคม สำคัญคือต้องยึดชุมชนเป็นหลัก  ชุมชนต้องมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือ จึงจะเกิดการพัฒนาพึ่งต้นเองได้ และมหาวิทยาลัยฯ ต้องเข้าไปให้บริการที่ตรงกับที่ ชุมชนต้องการจึงจะทำให้เกิดการพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้ มิใช้เป็นความต้องการของมหาวิทยาลัยฯ ฝ่ายเดียว ต้องมีการ สำรวจชุมชนเพื่อดูความต้องการและจากนั้นนำมาวิเคราะห์ว่ามหาวิทยาลัยฯ เรามีบุคลการหรือสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เหล่านั้น หรือไม่ และจัดให้เหมาะสมแต่ทั้งนี้ก็ต้องให้เป็นไปตามแผนยุทธ์ศาสตร์ที่กำหนด
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ      อาจารย์ต้องกำหนดวัตถุประสงค์หลัก วัตถุประสงค์รอง และทาความเข้าใจกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน วัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้การบริการวิชาการมีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอน โดยให้ผู้สอนนาความรู้จากประสบการณ์จริงมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน วัตถุประสงค์รอง เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ไปให้บริการทางวิชาการ

ตัวอย่างรูปแบบกิจกรรม

1) กำหนดให้นักศึกษาในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการวิชาการ เป็นวิทยากรผู้ช่วย ตอบปัญหา และ ช่วยฝึกปฏิบัติ หรือร่วมจัดนิทรรศการ

2) สอดแทรกความต้องการแก้ปัญหาของผู้เข้ารับบริการวิชาการในขณะจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้น นักศึกษา

3) ปรับลาดับหัวข้อการสอนของรายวิชาทั้งในส่วนภาคทฤษฎี/ภาคปฏิบัติ รวมทั้งการมอบหมายให้ นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเตรียมให้บริการวิชาการ ให้มีความสอดคล้องกับงานที่มอบหมายในรายวิชา

 5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง      สาขาการจัดการเสนอรายวิชาการจัดการธุรกิจขนาดย่อยบูรณาการกับการบริการวิชาการร่วมกับการวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ      กำหนดกลุ่มเป้าหมายของโครงการบริการวิชาการ เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตรเพื่อต้องนำมาบูรณาการกับรายวิชา
7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนรู้ถือว่ามีประโยชน์ ในด้านการพัฒนาการเรียนการสอน เพราะถือว่าได้ออกไปเรียนรู้ชุมชนจริงรู้ความต้องการของชุมชน
8 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว          เป็นการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเพื่อ อาจารย์วิภารัตน์ประเด็นความรู้ซึ่งเป็นการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และ เนื้อหาแนวทางการส่งเสริมบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนเพื่อการเรียนการสอน
9 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จากผู้เรียนและรายวิชา  เพื่อให้สอดคล้อง

–  กำหนดกลุ่มชุมชน หรือพื้นที่ในการให้บริการวิชาการ

 10 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีสำนึกความเป็นไทยและมีความ รักความผูกพันในท้องถิ่น การพัฒนาระบบการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่างๆ และหลักสูตรแนวใหม่ที่ มีการบูรณาการศาสตร์สากลและภูมิปัญญาไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
11 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ      การกำหนดวัตถุประสงค์และทำความเข้าใจกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล
12 อาจารย์รุจิตรา ตายอด      การกำหนดวัตถุประสงค์และทำความเข้าใจกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับชุมชนและสังคม
13 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร       การกำหนดวัตถุประสงค์และทำความเข้าใจกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน
14 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด

 

        ไปบริการวิชาการ เรื่องการขายของออนไลน์ในเพจFacebookโดยจัดทำคู่มือการสร้างเพจขายของในFacebookแล้วสอนปฏิบัติ จึงนำคู่มือมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อสอดแทรกรายวิชาให้นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มเติม

 

 

สรุปประเด็น

  1. การให้บริการวิชาการแก่สังคม สำคัญคือต้องยึดชุมชนเป็นหลัก ชุมชนต้องมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือ จึงจะเกิดการพัฒนาพึ่งต้นเองได้ และมหาวิทยาลัยฯ ต้องเข้าไปให้บริการที่ตรงกับที่ ชุมชนต้องการจึงจะทำให้เกิดการพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้ มิใช้เป็นความต้องการของมหาวิทยาลัยฯ ฝ่ายเดียว ต้องมีการ สำรวจชุมชนเพื่อดูความต้องการและจากนั้นนำมาวิเคราะห์ว่ามหาวิทยาลัยฯ เรามีบุคลการหรือสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เหล่านั้น หรือไม่ และจัดให้เหมาะสมแต่ทั้งนี้ก็ต้องให้เป็นไปตามแผนยุทธ์ศาสตร์ที่กำหนด
  2. อาจารย์ต้องกำหนดวัตถุประสงค์หลัก วัตถุประสงค์รอง และทาความเข้าใจกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน วัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้การบริการวิชาการมีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอน โดยให้ผู้สอนนาความรู้จากประสบการณ์จริงมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน วัตถุประสงค์รอง เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ไปให้บริการทางวิชาการ

ขั้นตอนการขั้นการขอใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

เป้าหมายของการจัดการความรู้  : เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงขั้นตอนการขอใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน  : เพื่อให้ผู้ใช้สามารถขอใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้องตามขั้นตอนสะดวกและรวดเร็ว

20814864_1373017956079914_1263683305_n

การนำเสนอแผนการพัฒนา ปรับปรุงงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ประชุม: – การนำเสนอแผนการพัฒนา ปรับปรุงงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (ฝ่ายวิชาการ)

ประจำปีการศึกษา 2559
– แจ้งลำดับการนำเสนอแผนการพัฒนา ปรับปรุงงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559

เป้าหมายของการจัดการความรู้: เพื่อให้มีบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ทุกระดับ

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน:เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ รวมถึงมีแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงาน และเกิดการเรียนรู้แนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป

16900206_1350242488352470_1737245645_n    วาระการประชุม 05-01-60