การพัฒนาและปรับปรุงระบบ CPU-e-Learning ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

tcu-logo-w-190
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ ได้นำระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (E-Learning) ที่พัฒนาโดย สกอ. ที่ชื่อว่า TCU E-Learning มาติดตั้งและใช้งานสำหรับบริหารรายวิชาภายในมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา และให้บริการรายวิชาการเรียนการสอนแบบออนไลน์สำหรับอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ซึ่งในระบบดังกล่าวที่มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาใช้งานอยู่ ทาง สกอ. ไม่ได้มีการ Update เป็นเวลานาน และมีบางเมนู บางฟังก์ชัน ไม่สามารถใช้งานได้  ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับระบบ E-learning ให้มีประสิทธิภาพ และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ  ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ จึงได้ดำเนินการจัดหาและติดตั้งระบบ E-Learning แบบ open source ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์ Software ที่ชื่อว่า Moodle มาติดตั้ง ทดสอบและใช้งาน ทดสอบควบคู่ไปกับระบบ TCU – E-Learning และนำไปทดแทนและใช้งานจริงในปีการศึกษา 2559 ที่จะถึงนี้

Moodle คืออะ ไร ?

Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment
คือ ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือน เรียนในห้องเรียน หรือเรียกว่า
LMS (Learning Management S ystem) หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน CMS(Course Management System ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต สำหรับสถาบันการศึกษา หรือครู ใช้เพื่อเตรียมแหล่งข้อมูล กิจกรรม และเผยแพร่แบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต Moodle สามารถนำไปใช้ได้ ทั้งองค์กรระดับ มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ โปรแกรมชุดนี้เป็น Open Source ภายใต้ข้อตกลงของ gnu.org (General Public License) สามารถ download ได้ฟรีจาก
http://moodle.org ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamasสถาบันการศึกษาใดต้องการนำไปใช้ จัดระบบการเรียนการสอน จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ( Admin) ที่ความสามารถในการติดตั้ง โดยที่ต้องมี Web Server ที่บริการภาษา php และ mysql

moodle1
ความสามารถของ moodle

       1. เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประเภทฟรีแวร์ ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก

       2. สามารถเป็นได้ทั้ง CMS (Course Management System) และ LMS (Learning Management System) ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหา ของผู้สอน พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา และบันทึกกิจกรรมของนักเรียน

       3. สามารถสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ หรือเผยแพร่เอกสารที่ทำไว้ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย

       4. มีระบบติดต่อสื่อสาร ระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และผู้สอน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งคำถามไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อน เข้าเรียน ก็ได้

       5. มีระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบ ให้คะแนนที่หลากหลาย ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel

       6. สำรองข้อมูลเป็น . zip แฟ้มเดียว ในอนาคตสามารถนำไปกู้คืน ลงไปในเครื่องใดก็ได้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ Moodle

•  องค์ประกอบของ moodle ที่สถาบันการศึกษาควรมี

       1. มี Web Browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งโดยครูผู้สอนและนักเรียน

       2. มี Web Server ที่ให้บริการ php และ mysql

       3. มี ผู้ติดตั้ง ผู้ดูแล และบำรุงรักษา ควรทำโดยนักคอมพิวเตอร์ ที่ที่มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการเขียนเว็บ

       4. มี ครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้น moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล หรือครูที่ไม่มีไฟ

       5. มี การเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ( LAN)

       ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Moodle

       1. ผู้ดูแลระบบ (Admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนด สิทธ์การเป็นครูผู้สอน

       2. ผู้สอน ( Teacher) : เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสาร

       3. ผู้เรียน ( Student) : เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน

       4. ผู้เยี่ยมชม ( Guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และจำกัดสิทธ์ ในการทำกิจกรรม

อ้างอิง : http://banlat.ac.th/web/home/computer/cai/cai/moodle.htm

•  การเตรียมความพร้อมสำหรับการนำ Moodle มาใช้ในการจัดการ E-learning

อ้างอิง : http://www.arnut.com/books/moodle.html

moodlearnut

  • การใช้งาน Moodle สำหรับผู้ดูแลระบบ (Admin)
    • การติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์สำเร็จรูปด้วย XAMPP
      • การจำลองเครื่องพีซีเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย XAMPP
      • โปรแกรมย่อยที่ได้หลังการติดตั้ง XAMMP
      • โปรแกรมที่ทำงานแนวเดียวกับ XAMMP
      • โปรแกรม XAMMP เหมาะสำหรับใคร ?
      • การติดตั้งโปรแกรม XAMMP
      • การ Start และ Stop โปรแกรม XAMPP
      • การทดสอบเรียกใช้งาน XAMPP
      • รู้จักห้องเก็บข้อมูลต่างๆ ของโปรแกรม XAMPP
      • การสร้างห้องเก็บเว็บไซต์ที่สร้างด้วย Moodle
      • ทดสอบเรียกใช้งานห้องเก็บ Moolde
      • การทดสอบเรียกใช้งานเว็บไซต์รูปแบบต่างๆ
      • การเรียกใช้งาน phpMyAdmin
      • การเพิ่มแอคเคาน์ผู้ใช้งานและการทำ User Authentication ใน MySQL
      • การสร้างฐานข้อมูลใหม่ (Create Database)
    • การติดตั้ง Moodle
      • แนวทางในการติดตั้ง Moodle
      • การออกแบบเครือข่ายสำหรับติดตั้งระบบ Moodle ในหน่วยงาน
      • การสร้างศูนย์ e-Learning สำหรับหน่วยงานขนาดเล็ก
      • ขั้นตอนการติดตั้ง Moodle บนเว็บเซิร์ฟเวอร์จำลอง (XAMPP)
      • การทำหลังการติดตั้ง Moodle
    • การปรับแต่ง Moodle
      • การล็อกอินเข้าสู่ระบบหลังเว็บ (Back-end)
      • รายการเมนูของผู้ดูและระบบ
      • การตั้งค่าโซนเวลาท้องถิ่น (Time Zone)
      • การตั้งภาษาที่ใช้ในเว็บไซต์ (Language)
      • การตั้งค่าหน้าโฮมเพจ (Front Page)
      • รู้จักบล็อค (Blocks)
      • ประเภทของบล็อค
      • การเปิดใช้งานบล็อคสำเร็จรูป
      • การตั้งค่าให้บล็อคแสดงผลบนหน้าโฮมเพจ
      • การแสดงบล็อคแบบอิสระ
      • การสร้างเมนูรายการ (Navigation)
    • การจัดการสมาชิก
      • ผู้ใช้งานในระบบ Moodle
      • การเพิ่ม ลด และเปลี่ยนผู้สอน
      • การเพิ่ม ลด และเปลี่ยนผู้เรียน
      • การนำเข้าสมาชิกจำนวนมากๆ
      • การกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล (Permission)
      • การกำหนดสิทธิการเข้าใช้งานระบบของสมาชิก
      • การกำหนดสิทธินโยบายผู้ใช้งาน
      • การเปิดหน้าลงทะเบียนสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
    • การจัดการหลักสูตรที่เปิดสอน
      • การเพิ่มหมวดหลักสูตร (categories)
      • การกำหนดค่าในการสมัครเข้าเรียนของสมาชิก (Enrolments)
      • การกำหนดค่าเริ่มต้นของหลักสูตรทั้งหมด (Course default settings)
      • การกำหนดคำขอสร้างรายวิชาของสมาชิก (Course request)
      • การกำหนดค่าในการสำรองข้อมูล (Backups)
    • การเปลี่ยนแปลงรูปแบบฉากหลังเว็บ (Themes)
      • รู้จักธีม (Themes)
      • การเปลี่ยนแปลงฉากหลังเว็บไซต์ที่มีในระบบ (Default Themes)
      • การเปลี่ยนแปลงฉากหลังเว็บไซต์ภายนอกระบบ
      • การตั้งค่ารูปแบบฉากหลังเว็บไซต์ (Theme settings)
      • การเปลี่ยนรูปโลโก้และรูปภาพในฉากหลัง
    • การเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ (Module)
      • รู้จักโปรแกรมอิสระ (Module)
      • โมดูลระบบ (System Module)
      • เว็บไซต์ดาวน์โหลดโมดูล
      • ขั้นตอนในการติดตั้งโมดูล
      • การยกเลิกการติดตั้งโมดูล
    • การตั้งค่าทางเครือข่ายและความปลอดภัยข้อมูล
      • การตั้งค่าเกี่ยวกับความปลอดภัย (Security)
      • การตั้งค่าด้านเซิร์ฟเวอร์ (Server)
      • การตั้งค่าด้านเครือข่าย (Networking)
      • การตรวจสอบบันทึกการใช้งานเว็บไซต์ (Log file)
      • การตรวจสอบบันทึกการใช้งานเว็บไซต์ชั่วโมงที่ผ่านมา (Live logs)
      • การแสดงภาพรวมของการความปลอดภัย (Security overview)
      • การตั้งค่าลบคำต้องห้าม (Spam cleaner)
    • การสำรองและกู้คืนข้อมูล (Backup and Restore)
      • แนวทางในการสำรองข้อมูล
      • การสำรองข้อมูลโดยใช้โมดูลสำรองข้อมูลในโปรแกรม Moodle (for Admin)
      • การสำรองโดยการคัดลอกข้อมูลโดยตรง (for Admin)
      • การสำรองฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม phpMyAdmin (for Admin)
      • การสำรองข้อมูลรายวิชาที่สอน (for Teacher)
      • การสำรองข้อมูลหลักสูตรทั้งหมด (for Teacher)
      • การกู้คืนข้อมูลรายวิชา
  • การใช้งาน Moodle สำหรับผู้สอน (Teacher)
    • การจัดการเนื้อหารายวิชา
      • การออกแบบหลักสูตรและเขียนแผ่นเรื่องราว (Storyboard)
      • การล็อกอินเข้าระบบในฐานะผู้สอน (Teacher Login)
      • ส่วนประกอบหน้าต่างรายวิชา
      • การเพิ่มกรอบบล็อคในหน้าต่างรายวิชา
      • ขั้นตอนการเพิ่มบล็อคสำเร็จรูป
      • ขั้นตอนการเพิ่มบล็อคแบบอิสระ
      • การปรับตั้งค่ารายวิชา (Settings)
      • การเพิ่มเนื้อหาบทเรียนแบบต่างๆ
      • การเพิ่มแหล่งข้อมูลแบบต่างๆ
      • ประเภทแหล่งข้อมูลใน Moodle
      • เพิ่มแหล่งข้อมูลแรกสำหรับอธิบายรายละเอียดรายวิชา
      • การกำหนดหัวข้อการสอนแต่ละครั้ง
      • การเพิ่มแหล่งข้อมูลหน้าตัวหนังสือธรรมดา (Text)
      • การเพิ่มแหล่งข้อมูลหน้าเว็บเพจ (Web page)
      • การแทรกไฟล์มัลติมีเดียใน Moodle
      • ประโยชย์ของมัลติมีเดีย
      • ไฟล์มัลติมีเดียที่นิยมใช้งานบนเว็บไซต์
      • ไฟล์มัลติมีเดียที่สามารถนำไปใช้ใน Moodle
      • รูปแบบการแทรกไฟล์เสียงและวีดีโอ
      • รูปแบบการแทรกไฟล์ Flash
      • การเปิดใช้ Multimedia Plugins ใน Moodle
      • ตัวอย่างการใส่ไฟล์เสียงและไฟล์วีดีโอ (Sound & Video)
      • ตัวอย่างการใส่ไฟล์เฟลช (Flash)
      • การเพิ่มแหล่งข้อมูลแบบลาเบล (Label)
      • การเพิ่มไฟล์หรือเว็บไซต์ (File or Web site)
      • การเพิ่มแหล่งข้อมูลไดเร็กทอรี (Directory)
      • การเพิ่มผู้เรียนเข้าเรียนรายวิชา
      • การสร้างกลุ่มผู้เรียน (Create Group)
      • การนำผู้เรียนเข้ากลุ่ม
    • การใช้งานโมดูลชุดกิจกรรม
      • การเพิ่มโมดูลกิจกรรมกระดานเสวนา (Webboard)
        • การตั้งกระทู้ใหม่ (Post)
        • การตอบกระทู้ (Reply)
        • การค้นหาข้อมูลในกระดานเสวนา (Search)
      • การเพิ่มโมดูลกิจกรรมการบ้าน
        • การอัพโหลดไฟล์ขั้นสูง
        • การดูการบ้านที่ส่ง
      • การเพิ่มโมดูลกิจกรรมห้องสนทนา (Chat)
        • การสนทนาออนไลน์
      • การเพิ่มโมดูลกิจกรรมอภิธานคำศัพท์ (Glossary)
        • การเพิ่มคำศัพท์ใหม่
        • การค้นหาคำศัพท์
      • การเพิ่มโมดูลกิจกรรมแผนที่ความคิด (Mind Map)
    • การสร้างแบบทดสอบแบบต่างๆ
      • การเพิ่มกิจกรรมแบบทดสอบ
      • การเลือกประเภทแบบทดสอบ
      • การสร้างคำถาม แบบปรนัย (Multiple Choice question)
      • การจัดการคำถามผ่านทางไอคอนจัดการคำถาม
      • การสร้างคำถาม แบบอัตนัย (Short Answer question)
      • การสร้างคำถาม แบบจับคู่ (Matching question)
      • การสร้างคำถาม แบบถูก/ผิด (True/False question)
      • การสร้างคำถาม แบบเติ่มคำตอบด้วยตัวเลขหรือช่วง (Numerical question)
      • การสร้างคำถาม แบบคำนวณ (Calculated question)
      • การสร้างคำถาม แบบคำอธิบาย (Description question)
      • การสร้างคำถาม แบบเรียงความ (Essay question)
      • การสร้างคำถาม จับคู่จากอัตนัย (Random Short-Answer Matching question)
      • การสร้างคำถาม แบบฝังตัว Embedded answers (Cloze question)
        • โครงสร้างคำถามแบบฝังตัว
        • รูปแบบคำถามแบบฝังตัว Embedded answers (Cloze)
        • ขั้นตอนการสร้างคำถามแบบฝังตัว Embedded answers (Cloze)
      • การนำเข้าคำถามจากไฟล์ภายนอก
        • รูปแบบไฟล์ที่สามารถนำเข้าคำถามได้ (Importing new questions)
        • รูปแบบคำถามปรนัยแบบ Aiken (Multiple Choice)
        • รูปแบบคำถามปรนัยแบบ GIFT (Multiple Choice)
        • รูปแบบคำถามเติมคำแบบ GIFT (Short Answer)
        • รูปแบบคำถามถูก-ผิดแบบ GIFT (True-False)
        • รูปแบบคำถามจับคู่แบบ GIFT (Matching)
        • รูปแบบคำถามคำนวณแบบ GIFT (Numerical)
        • ขั้นตอนการนำเข้าคำถามปรนัย แบบ Aiken
        • ขั้นตอนการนำเข้าคำถามปรนัย แบบ GIFT
      • การดึงคำถามจากคลังคำถามมาประเมินผลผู้เรียน
    • การประเมินผลผู้เรียน
      • การตั้งค่าและการกำหนดช่วงคะแนน (GPA)
      • การแสดงคะแนนทั้งหมด
      • การตรวจการบ้าน
      • การดูผลการทำแบบทดสอบของผู้เรียน
      • การดูรายงานสรุปข้อมูลของผู้เรียน
  • การใช้งาน Moodle สำหรับผู้เรียน
    • การใช้งาน Moodle สำหรับผู้เรียน
    • การสมัครสมาชิกใหม่ (Create new account)
    • การล็อกอินเข้าใช้งานระบบ (Login)
    • การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว (Edit profile)
    • การขอรหัสผ่านใหม่ (Forgot password)
    • การเข้าเรียนรายวิชา
    • การส่งการบ้าน
    • การทำแบบทดสอบ

 

[PSD] Text Effect

ผลที่ได้รับ

12

ขั้นตอนที่ 1:

เปิด Photoshop CS6 แล้วคลิก File->Open และเลือกรุปภาพพื้นหลังตามความชอบ

1

ขั้นตอนที่ 2:

ใส่ Rounded Rectangle Tool กับสี #ead89f และทำสี่เหลี่ยม (ขนาดตามความต้องการ)

2

ขั้นตอนที่ 3:

คลิกขวาใน Layer สี่เหลี่ยมเลือก Blending Options

3.1

ขั้นตอนที่ 4: 

เพิ่ม Dropshadow ตามรุปนี้

4

เพิ่ม Bevel & Emboss ตามรุปนี้

5 

เพิ่ม Counter ตามรุปนี้

6

เพิ่ม Gradient Overlay ตามรุปนี้

7

ขั้นตอนที่ 5:

คลีกขวาใน Layer สี่เหลี่ยม และเลือก Duplicate layer เพื่อทำเป็น 2 สี่เหลี่ยม และใส่ข้อความในสี่เหลี่ยม

8 

ขั้นตอนที่ 6: การเพิ่มรุปหัวใจ

9 10

เลือกสี #f6273a ให้รุปหัวใจ

11

ตัวที่เลือกก็ทำเหมือนกัน เราจะได้ผลนี้

12

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008

ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจาก Windows Server 2003 โดยเวอร์ชั่น 2008 ได้เพิ่มความสามารถหลายส่วนด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นด้าน Security, การบริการจัดการเซิร์ฟเวอร์ที่จุดศูนย์รวมจุดเดียว (Server Manager)

ความต้องการของระบบ
– CPU ขั้นต่ำ 1 GHz (x86 processor) หรือ 1.4 GHz (x64 Processor)
– RAM ขั้นต่ำ 1 GB http://elearning.cpu.ac.th/cpukm/wp-content/uploads/2016/08/Windows-Server-2008.pdf
– HDD ขั้นต่ำ 10 GB (แนะนำควรเป็น 40 GB)
– DVD-ROM Drive
– Super VGA ความละเอียด 800×600 pixel

สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการติดตั้ง Windows Server 2008
1. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hostname ในระบบวิโดวส์เรียกว่า Computer Name ) ทั้งนี้การตั้งชื่อเครื่องควรตั้งเป็นชื่อบริการหลักที่ต้องการใช้งาน อาทิ เช่น
– กรณีต้องการใช้ทำเครื่องอินทราเน็ตใช้งานในองค์กรให้ตั้งเป็น intranet
– กรณีต้องการใช้ทำเครื่องบริการเว็บไซต์ให้ตั้งเป็น www
– กรณีทำเป็นเครื่องบริการเนมเซิร์ฟเวอร์ให้ตั้งเป็น ns1, ns2
– กรณีตั้งเป็นเครื่องบริการเมล์ก็ตั้งเป็น mail, webmail
– กรณีทำเป็นพร็อกซี้ให้ตั้งเป็น proxy
– กรณีทำเป็นเครื่องบริการศูนย์เรียนรู้ให้ตั้งเป็น e-learning

2. รายละเอียดของ IP Address
สำหรับรายละเอียดของไอพีแอดเดรส กรณีตั้งเป็นโฮสต์บริการในโลกอินเทอร์เน็ตผู้อ่าน ต้องมีชุดของ IP Address จริง ทำการระบุในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้ง ตัวอย่างรายละเอียดหมาย
เลขของพีแอดเดรส อาทิเช่น
IP Address : 203.159.231.35
Subnet mask : 255.255.255.192
Gateway : 203.159.231.1
Name Server : 203.159.231.35, 203.159.231.36 < DNS ของศูนย์บริการที่ใช้งานอยู่