KM-AS-7 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 7)

วันที่ 4 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      ติดตั้งโปรแกรมและตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้พร้อมในการให้บริการวิชาการ
 

2

อาจารย์วิรัช กาฬภักดี    การนำผลการบูรณะการบูรณาการวิชาการกับการเรียนการสอนไปใช้ประโยชน์คือนำไปใช้ประเมินรูปแบบในการคิดการบูรณาการในครั้งต่อไปและการนำไปเผยแพร่แก่ผู้ ผู้ที่สนใจ
3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง ระยะเวลาในการลงพื้นที่ต้องมีการกำหนดให้เหมาะสม สอดคล้องกับช่วงเวลาของชุมชนที่จะสามารถเข้าร่วมและดำเนินการต่อได้ ประกอบกับในด้านรอบเวลาของมหาวิทยาลัยฯ ก็ต้องให้สอดคล้อง และต้องเผื่อเวลาในการติดตามผลด้วย
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
       โดยใช้การวิเคราะห์รายวิชาที่มีการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปีเป็นฐานในการคิดกิจกรรมเสริมให้กับนักศึกษา เพราะสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติและลงมือทาจริง ดังนั้นจึงสามารถให้นักศึกษาลงพื้นที่ทางานร่วมกับชุมชนเกือบทุกวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ดังนั้น จึงได้นามาเป็นหลักคิดว่ามีรายวิชาใดบ้างที่จะให้นักศึกษาลงพื้นที่ให้บริการแก่ชุมชน โดยจะมอบหมายงานให้นักศึกษา ค้นหานวัตกรรมเกี่ยวกับทางด้านคอมพิวเตอร์ที่สามารถไปให้บริการวิชาการแก่ชุมชนได้ เพื่อนาเสนอในชั้นเรียน จากนั้นนาไปถ่ายทอดให้กับชุมชน ซึ่งทาให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากนั้นนักศึกษาได้นาเสนอสรุปความรู้ที่ได้ จากการบริการวิชาการแก่เพื่อนนักศึกษาด้วยกันในชั้นเรียน

 

5 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ     การวางแผนการบริการวิชาการ ต้องการวางแผนให้ครอบคลุมตลอดระยะเวลาตลอดภาคเรียนการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในโครงการ
6 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน ถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา สู่ตลาดแรงงานได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงๆมากเท่าไหร่ก็จะทำให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตได้
7 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว        เพื่อเป็นการฝึกฝนและทบทวนองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาที่นักศึกษาลงพื้นที่เเละดำเนินกิจกรรมในการบริการวิชาการโดยมีอาจารย์เป็นผู้นำผู้ดูแลและผู้คอยช่วยเหลือโดยให้นักศึกษาออกแบบสื่อต่างๆเช่น PowerPoint ที่ใช้ถ่ายทอดสดหรือการแสดงตัวอย่างในการสอน
8 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  กำหนดระยะเวลาในการจัดทำโครงการเพื่อให้ เพื่อให้การบริการวิชาการชัดเจนและต่อเนื่องหลายครั้ง อย่างมีประสิทธิภาพ
 9 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี การนำเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ตามความถนัดหรือตามศาสตร์หรือความเชี่ยวชาญ ของแต่ละหน่วยงาน ไปบริการวิชาการอย่างมีคุณภาพ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่ชุมชน และสังคม
10 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ การวิเคราะห์รายวิชาที่มีการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปีเป็นฐานในการคิดกิจกรรมเสริมให้กับนักศึกษา
11 อาจารย์รุจิตรา ตายอด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีอยู่หลายลักษณะและหลายระดับโดยที่ครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยการเรียน ช่วยเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น  โดยการเตรียมด้านเนื้อหา  วัสดุอุปกรณ์  สื่อการเรียนต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน การเรียนการสอนที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางนี้ มีความต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัดกับแนวโน้มในปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง

12 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student- Centred Approach )

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีอยู่หลายลักษณะและหลายระดับโดยที่ครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยการเรียน ช่วยเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น  โดยการเตรียมด้านเนื้อหา  วัสดุอุปกรณ์  สื่อการเรียนต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน การเรียนการสอนที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางนี้ มีความต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัดกับแนวโน้มในปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งจะมีคำศัพท์บัญญัติไว้หลายคำ เช่น Learner Autonomy, Self-directed Learner  และ   Learner Independence  แต่สำหรับการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ มุ่งที่ผู้เรียนเป็นกลุ่มมากกว่าเป็นรายบุคคล การบูรณาการภายในวิชา (Intradisciplinary Instruction ) เป็นการบูรณาการที่เกิด ขึ้น ภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน  วิชาที่ใช้หลัก การบูรณาการภายในวิชาเดียวกันมากที่สุด  คือวิชาภาษา  หรือกระบวนการทางภาษาซึ่งประกอบด้วยการฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกันหลายแบบนอกจากวิชาภาษาแล้วยังมีวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ก็ใช้หลักการเชื่อมโยงภายในวิชาได้

1.การบูรณาการระหว่างวิชา( Interdisciplinary Instruction )  เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่างๆตั้งแต่  2  สาขาวิชาขึ้นไปภายใต้หัวเรื่อง    (Theme )  เดียวกัน  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชาต่างๆมากกว่า  1  วิชาขึ้นไป  เพื่อการแก้ปัญหาหรือการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่างๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด

13 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด       บริการวิชาการ เรื่อง การขายใน App Line โดยได้ไปสอนในชุมชนให้ทราบวิธีการขายของออนไลน์และได้ทำเป็นคู่มือแจกประชาชนเพื่อให้ได้ศึกษา แล้วจึงนำมาทำคู่มือปรับใช้สอนกับนักศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

 

สรุปประเด็น

  1. ระยะเวลาในการลงพื้นที่ต้องมีการกำหนดให้เหมาะสม สอดคล้องกับช่วงเวลาของชุมชนที่จะสามารถเข้าร่วมและดำเนินการต่อได้ ประกอบกับในด้านรอบเวลาของมหาวิทยาลัยฯ ก็ต้องให้สอดคล้อง และต้องเผื่อเวลาในการติดตามผลด้วย
  2. การนำผลการบูรณะการบูรณาการวิชาการกับการเรียนการสอนไปใช้ประโยชน์คือนำไปใช้ประเมินรูปแบบในการคิดการบูรณาการในครั้งต่อไปและการนำไปเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ