KM-AS-8 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 8)

วันที่ 28 เดือน มกราคม พ.ศ.2561 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      ก่อนการดำเนินการให้บริการวิชาการ ผู้ฝึกอบรมจะต้องทำแบบทดสอบก่อนฝึกอบรมเพื่อเป็นข้อมูลในการวัดผลประเมินผลความสำเร็จของการให้บริการวิชาการ
  อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      เมื่อเลือกชุมชนใดแล้ว ควรตั้งใจที่จะทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ในระหว่างปีควรมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะมีอะไรอีกหรือไม่ที่สอดรับในการพัฒนาต่อยอด ก็ควรนำมาพิจารณาต่อยอด และหากสามารถพัฒนาจนเป็นงานวิจัยได้ก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์เพื่อต่อยอดในการพัฒนาต่อไปในอนาคตได้
2 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
    กระบวนการติดตามและประเมินผลการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน ก่อนเริ่มดำเนินโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการต้องกำหนดเป้าหมายของการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนก่อน ว่าต้องการให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้หรือได้รับประโยชน์อะไรจาก การบริการวิชาการ ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลการดาเนินงาน เช่น กรณีการบูรณาการกับการทำโครงงานก็จะใช้ตัวโครงงาน ระยะเวลาที่แล้วเสร็จ เป็นเกณฑ์การประเมิน รวมถึงการใช้แบบประเมินที่มหาวิทยาลัยกำหนดในการ ประเมินผลสำเร็จการดำเนินงานด้วย
3 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง      นำมาปรับใช้ประยุกต์ใช้ซึ่งก็สามารถนำมาใช้ได้ดีนักศึกษาร่วมกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับการวิเคราะห์

 

4 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ      กำหนดกลุ่มนักศึกษาและเนื้อหาที่จะที่จะนำมาบูรณาการกับรายวิชาการบริกสนวิชาการ บริการวิเคราะห์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
5 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      ผู้สอนสามรถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการมาต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และพัฒนาการเรียนการสอนได้หลากหลายน่าสนใจ
6 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว       ให้นักศึกษาวิเคราะห์และคิดเทคนิควิธีการใช้ของนักศึกษาที่จะใช้เทคนิคในการสอนอย่างไรเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดการสอนและความเข้าใจบริการผลสำเร็จและมีความน่าสนใจให้กับชุมชนที่ได้รับบริการ
7 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  นำปัญหาที่ได้รับจากชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมายมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดและแนวทางแก้ไข จากองค์ความรู้ที่มีในรายวิชา
 8 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      ใช้โครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการ เป็นฐานในการบูรณาการการบริการวิชาการกับการ เรียนการสอน
9 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ การติดตาม กำกับ ประเมินผล ทบทวน

1.       กำหนดวาระต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มตนเองพร้อมระบุเดือนที่จะนำเข้าในวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยโดยจัดทำทั้งปีงบประมาณ

2.       บรรจุเป็นวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยตามเวลาที่กำหนด

3.       กำหนดแนวทางการบันทึกรายงานการประชุม พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบการติดตามเอกสารน่าเข้าตามแผนที่กำหนดก่อนประชุมอย่างน้อยสองสัปดาห์

4.       กำหนดให้มีการเก็บรวบรวมรายงานการประชุมที่เป็นระบบทั้งในฐานข้อมูลและในแฟ้มเอกสารที่ง่ายต่อการสืบค้น

กำหนดการขอเอกสารเพื่อน่าไปใช้อ้างอิงโดยออกเป็น เอกสารคัดสำเนาโดยหน้าแรกบรรทัดแรกของหัวกระดาษพิมพ์ว่าเอกสารคัดสำเนาจากนั้นเป็นรายงานบันทึกการประชุมที่ระบุครั้งที่ วัน เดือน ปี และผู้เข้าร่วมประชุม เนื้อหาถัดไปเป็นเนื้อหาที่ผู้ขอใช้เอกสารต้องการใช้อ้างอิงตามบันทึกผลการประชุมโดยต้องมีลายเซ็นของผู้บันทึกรายงานการประชุม ผู้ตรวจทาน และผู้รับรองรายงานการประชุม เอกสารคัดสำเนาจึงจะเป็นเอกสารที่สมบูรณ์สามารถนำไปใช้อ้างอิงหลักฐานได้

10 อาจารย์รุจิตรา ตายอด       กำหนดการขอเอกสารเพื่อนำไปใช้อ้างอิงโดยออกเป็น เอกสารคัดสำเนาโดยหน้าแรกบรรทัดแรกของหัวกระดาษพิมพ์ว่าเอกสารคัดสำเนาจากนั้นเป็นรายงานบันทึกการประชุมที่ระบุครั้งที่ วัน เดือน ปี และผู้เข้าร่วมประชุม เนื้อหาถัดไปเป็นเนื้อหาที่ผู้ขอใช้เอกสารต้องการใช้อ้างอิงตามบันทึกผลการประชุมโดยต้องมีลายเซ็นของผู้บันทึกรายงานการประชุม ผู้ตรวจทาน และผู้รับรอง      รายงานการประชุม เอกสารคัดสำเนาจึงจะเป็นเอกสารที่สมบูรณ์สามารถนำไปใช้อ้างอิงหลักฐานได้
11 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร      การติดตาม กำกับ ประเมินผล ทบทวน

1. กำหนดวาระต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกำกับติดตามการดำเนินงานของกลุ่มตนเองพร้อมระบุเดือนที่จะนำเข้าในวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยโดยจัดทำทั้งปีงบประมาณ

2. บรรจุเป็นวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยตามเวลาที่กำหนด

3.กำหนดแนวทางการบันทึกรายงานการประชุม พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบการติดตามเอกสารนำเข้าตามแผนที่กำหนดก่อนประชุมอย่างน้อยสองสัปดาห์

4.กำหนดให้มีการเก็บรวบรวมรายงานการประชุมที่เป็นระบบทั้งในฐานข้อมูลและในแฟ้มเอกสารที่ง่ายต่อการสืบค้น

5.กำหนดการขอเอกสารเพื่อน่าไปใช้อ้างอิงโดยออกเป็น เอกสารคัดสำเนาโดยหน้าแรกบรรทัดแรกของหัวกระดาษพิมพ์ว่าเอกสารคัดสำเนาจากนั้นเป็นรายงานบันทึกการประชุมที่ระบุครั้งที่ วัน เดือน ปี และผู้เข้าร่วมประชุม เนื้อหาถัดไปเป็นเนื้อหาที่ผู้ขอใช้เอกสารต้องการใช้อ้างอิงตามบันทึกผลการประชุมโดยต้องมีลายเซ็นของผู้บันทึกรายงานการประชุม ผู้ตรวจทาน และผู้รับรองรายงานการประชุม เอกสารคัดสำเนาจึงจะเป็นเอกสารที่สมบูรณ์สามารถนำไปใช้อ้างอิงหลักฐานได้ต่างๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด

12 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด        การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่ไปวิชาการให้ความรู้ต่างๆที่ได้บริการวิชาการแนะนำหรือให้ความรู้แก่ชุมชนแล้วนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับกับการบูรณาการการเรียนการสอน

 

 

 

 

สรุปประเด็น

  1. เมื่อเลือกชุมชนใดแล้ว ควรตั้งใจที่จะทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ในระหว่างปีควรมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะมีอะไรอีกหรือไม่ที่สอดรับในการพัฒนาต่อยอด ก็ควรนำมาพิจารณาต่อยอด และหากสามารถพัฒนาจนเป็นงานวิจัยได้ก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์เพื่อต่อยอดในการพัฒนาต่อไปในอนาคตได้
  2. ก่อนการดำเนินการให้บริการวิชาการ ผู้ฝึกอบรมจะต้องทำแบบทดสอบก่อนฝึกอบรมเพื่อเป็นข้อมูลในการวัดผลประเมินผลความสำเร็จของการให้บริการวิชาการ
  3. การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่ไปวิชาการให้ความรู้ต่างๆที่ได้บริการวิชาการแนะนำหรือให้ความรู้แก่ชุมชนแล้วนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับกับการบูรณาการการเรียนการสอน