การจัดเก็บวารสารวิชาการของห้องสมุดจำแนกการอ้างอิงตามศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย : TCI

Journal Keep

 

เป้าหมายของการจัดการความรู้ :  เนื่องจากห้องสมุดมีวารสารวิชาการจำนวน 406 ชื่อเรื่องออกให้บริการ ซึ่งมีปริมาณค่อนข้างมาก ดำเนินการจัดเก็บโดยจำแนกตามวารสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลี วารสารด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และวารสารทั่วไป โดยในแต่ละกลุ่มจำแนกตามวารสารที่เข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย: Thai-Journal Citation Index Centre) เป็น TCI กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3สามารถตรวจสอบรายชื่อวารสารที่ผ่านการประเมินแต่ละกลุ่มที่เว็บไซต์ http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/2558/Announced/News.html

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน : เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้แนวปฏิบัติงานที่ดีการจัดเก็บวารสารภายในห้องสมุดด้วยการแบ่งกลุ่มวารสารรายด้าน การแบ่งกลุ่มวารสารจำแนกตามฐานข้อมูล TCI (ศูนย์การอ้างอิงวารสารไทย) การจัดเรียงวารสารฉบับปัจจุบันที่ออกให้บริการในห้องสมุด ตลอดจนผู้รับบริการสามารถค้นวารสารที่มีคุณภาพมาตรฐานวารสารวิชาการของไทย TCI

TCI Logo

TCI

ความเป็นมา

วารสารวิชาการของประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลทั้งในด้านการบริหารจัดการ ลักษณะรูปเล่ม และการนำไปใช้อ้างอิง แม้กระทั่งวารสารบางรายการที่ถูกอ้างอิงมากในวารสารนานาชาติ ยังคงถูกอ้างอิงน้อยในกลุ่มวารสารไทย เช่น Southeast Asian J Trop Med & Public Health เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า วารสารไทยมีค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิงค่อนข้างต่ำ และมีวารสารเพียง 15 ชื่อเรื่องที่มีค่า Journal Impact Factors อย่างต่อเนื่อง โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการ ครั้งที่ 3 ขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2551 ณ ห้องบอลรูม เอ โรงแรมมารวย การ์เด้นท์ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานสภาพของวารสารไทยในปัจจุบันและสร้างความตระหนักต่อความสำคัญของคุณภาพวารสารที่มีต่อการพัฒนาด้านวิชาการของประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นเวทีให้บรรณาธิการวารสาร และผู้เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.ดาวน์โหลดรายชื่อวารสารไทยตามกลุ่มการจัดลำดับของ TCI http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/2558/Announced/News.html

นำมาจัดเก็บและแยกกลุ่ม แยกสาขาวิชา

2.ตรวจสอบรายชื่อวารสารที่มีในห้องสมุดและรหัสการจัดเก็บ ว่าวารสารที่มีให้บริการอยู่ในกลุ่ม TCI กลุ่มไหน

3.ลงทะเบียนวารสารที่มีให้บริการในห้องสมุด พร้อมให้รหัสการจัดเก็บวารสารและกลุ่มวารสารตาม TCI

4.นำวารสารขึ้นชั้นออกให้บริการ

ขั้นตอนการขอใช้ User เข้า Internet มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

เป้าหมายของการจัดการความรู้  : เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงขั้นตอนการขอใช้ User เข้า Internet มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน  : เพื่อให้ผู้ใช้สามารถขอใช้ User เข้า Internet มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาได้ถูกต้องตามขั้นตอนสะดวกและรวดเร็ว

20793215_1373018002746576_471447549_n

การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาศึกษาทั่วไปที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม(ค่านิยมหลัก 12 ประการ) ครั้งที่ 7

เป้าหมายของการจัดความรู้ :  เพื่อพัฒนาผู้เรียนในรายวิชาศึกษาทั่วไปให้มีความรอบรู้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และซื่อสัตย์สุจริต มีทักษะด้านการเรียนรู้ ทักษะด้านวิชาชีพ ทักษะด้านชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อสารและเทคโนโลยี และมีความตระหนักเกี่ยวกับความเป็นไปของโลก โดยการจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษา เข้าใจธรรมชาติตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน  :

1) การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนทำให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อสังคม เคารพในความแตกต่างทางความคิด และสามารถดำรงชีวิตอย่างดีงาม

2) ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล

3) ผู้เรียนสามารถเป็นผู้ที่มีโลกทัศน์กว้างไกล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในบริบทของท้องถิ่น ของประเทศ และของโลก

4) ส่งเสริม ผู้เรียนมีความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม และความงดงามตามธรรมชาติ

5) พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านภาษาและสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนได้อย่างเหมาะสม

6) ผู้เรียนสามารถนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน ในหน้าที่การงาน ชีวิตครอบครัว และกิจกรรมทางสังคมได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น อันเนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

IMG_3840[1]

KM2560-AS-2 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 2)

วันที่ 8 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมวิทยากรได้เก็บข้อมูลความต้องการในการรับบริการวิชาการและหารือร่วมกับหน่วยงานที่ขอรับบริการวิชาการเพื่อพัฒนาหลักสูตร โดยหน่วยงานมีความประสงค์ให้พนักงานมีทักษะการใช้โปรแกรมสำนักงานขั้นสูง เพื่อตอบสนองการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และรองรับการทำงานในอนาคตที่จะเริ่มเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยีและนวัตกรรม
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี     แนวทางในการเลือกรูปแบบการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนต้องมีการ พัฒนาส่วนของเนื้อหารายวิชาเป็นระยะเวลาและ บูรณาการการบริการวิชาการ
 3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      การให้บริการมีหลากหลายรูปแบบ แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับชุมชนกลุ่มเป้าหมาย เช่น การบรรยายให้ความรู้ การฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การจัดศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ การส่งเสริมให้เป็นแหล่งศึกษาดูงาน การเป็นศูนย์พัฒนาฝีมือหรือศูนย์ทดสอบต่างๆ และต้องนำความรู้นั้นมาบูรณาการกับการเรียนให้เหมาะสม ซึ่งการบูรณาการกับการเรียนก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าบูรณาการแล้วผลที่จะเกิดคืออะไร สำคัญที่สุดคือผู้สอนในรายวิชานั้นๆ ต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดี
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
     การบูรณาการแบบนาความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

ขั้นตอนดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ความรู้จากการบริการวิชาการ/วิชาชีพ

ขั้นตอนที่ 2 พิจารณารายวิชาที่สอดคล้องกับองค์ความรู้จากการบริการวิชาการ/วิชาชีพ

ขั้นตอนที่ 3 ระบุกิจกรรมการบูรณาการใน มคอ.3 หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

ขั้นตอนที่ 4 การถ่ายทอด/ปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้

5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง        ภาษาธุรกิจชุมชนมีบางธุรกิจที่ควรส่งเสริมตอบควรเข้าไปให้คำแนะนำ
6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ      มีระบบการบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์ประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนชนและสังคม
7 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  เสนอองค์ความรู้ที่มีในแต่ละด้าน ว่ามีองค์ความรู้ในศาสตร์ใด  เพื่อนำองค์ความรู้มาจัดการบริการวิชาการ
8 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      ก่อนออกบริการวิชาการผู้สอนต้องย้อนกลับมาดูองค์ความรู้ที่จะถ่ายทอดก่อน ว่ามีความรู้เพียงพอหรือไม่ จากนั้นต้องรู้ความต้องการของชุมชนที่จะบริการวิชาการ
9 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว      การวิเคราะห์วิชาการที่เหมาะสมกับการบริการวิชาการได้แก่รายวิชาการถ่ายทอดเพื่อสื่อสารเนื้อหาจากสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันทุกคนจึงคิดว่ามีความน่าสนใจ

 

 10 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      สร้างสรรค์และพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาไทย ให้สอดคล้องกับความ ต้องการในการพัฒนาประเทศ เสริมสร้างการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา  คุณภาพบัณฑิตและคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มมูลค่า ให้กับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีท้องถิ่น
11 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ การบูรณาการแบบนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
12 อาจารย์รุจิตร ตายอด การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ( Learning Integration )

1.       การบูรณาการภายในวิชา(Intradisciplinary Instruction ) เป็นการบูรณาการที่เกิด ขึ้น ภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน  วิชาที่ใช้หลักการบูรณาการภายในวิชาเดียวกันมากที่สุด  คือวิชาภาษา  หรือกระบวนการทางภาษาซึ่งประกอบด้วยการฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกันหลายแบบนอกจากวิชาภาษาแล้วยังมีวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ก็ใช้หลักการเชื่อมโยงภายในวิชาได้

13 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ( Learning Integration )

1.       การบูรณาการภายในวิช(Intradisciplinary Instruction) เป็นการบูรณาการที่เกิด ขึ้น ภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน  วิชาที่ใช้หลัก

การบูรณาการภายในวิชาเดียวกันมากที่สุด  คือวิชาภาษา  หรือกระบวนการทางภาษาซึ่งประกอบด้วยการฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกันหลายแบบนอกจากวิชาภาษาแล้วยังมีวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ก็ใช้หลักการเชื่อมโยงภายในวิชาได้

2.       การบูรณาการระหว่างวิชา( Interdisciplinary Instruction )  เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่างๆตั้งแต่  2  สาขาวิชาขึ้นไปภายใต้หัวเรื่อง    (Theme )  เดียวกัน  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชาต่างๆมากกว่า  1  วิชาขึ้นไป  เพื่อการแก้ปัญหาหรือการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่างๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด

14 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด

 

      บริการวิชาการเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยไปให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ไปไกลและ ทันสมัยมีเทคนิคอะไรบางสามรถนำมาปรับให้กับชุมชนได้โดยทำแบบแผ่นพับแจกพร้อมทั้งอธิบายให้ ความรู้โดยนำมาใช้ในเรียนการสอนในโปรแกรม Microsoft word.

 

 

สรุปประเด็น

  1. แนวทางในการเลือกรูปแบบการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนต้องมีการ พัฒนาส่วนของเนื้อหารายวิชาเป็นระยะเวลาและ บูรณาการการบริการวิชาการ
  2. การให้บริการมีหลากหลายรูปแบบ แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับชุมชนกลุ่มเป้าหมาย เช่น การบรรยายให้ความรู้ การฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การจัดศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ การส่งเสริมให้เป็นแหล่งศึกษาดูงาน การเป็นศูนย์พัฒนาฝีมือหรือศูนย์ทดสอบต่างๆ และต้องนำความรู้นั้นมาบูรณาการกับการเรียนให้เหมาะสม ซึ่งการบูรณาการกับการเรียนก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าบูรณาการแล้วผลที่จะเกิดคืออะไร สำคัญที่สุดคือผู้สอนในรายวิชานั้นๆ ต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดี