ประเด็นความรู้ด้านการเรียนการสอน” …………………………………………………………………………………………………………..

ด้านอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของรายวิชา แนวปฏิบัติที่ดี อาจารย์ผู้สอนต้องเขียน มคอ.3 รายละเอียดแผนการเรียนรู้ และแจ้งให้ผู้เรียนทราบก่อนเริ่มทำการเรียนการสอน เพื่อเป็นการทำให้ผู้เรียนรู้ว่าจะต้องเรียนอะไร เรียนเพื่ออะไร เรียนทำไม และต้องปฏิบัติตนอย่างไรในขณะที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนนอกจากพิจารณาเขียน มคอ3 แล้วอาจารย์ผู้สอนต้องพิจารณาว่าแผนการเรียนรู้ (มคอ.3) ที่เขียนนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ของหลักสูตรและรายวิชา แผนการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลสอดคล้องกันหรือไม่ ซึ่งต้องอาจพิจารณาปรับปรุงข้อสอบ  วิธีการสอน และการวัดประเมินผล

ปัจจัยที่เกื้อหนุนการจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จนั้น  อาจารย์ผู้สอนต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการสอน  ต่อผู้เรียน  และต้องมีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาแต่ละคนว่า ไม่ใช่เป็นการลำเอียง หรือการจับผิดผู้เรียน นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนต้องสร้างแรงจูงใจในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน และสร้างแรงจูงใจในการเห็นความสำคัญของการทวนสอบ ว่าไม่ใช่ภาระงานที่หนัก และต้องให้ความร่วมมือในกิจกรรม

 

ด้านเทคนิคในการสอน

อาจารย์ผู้สอนควรเน้นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง  เน้นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้สัมพันธ์กับคนอื่น อาจารย์ผู้สินต้องสร้างบรรยากาศที่ปลุกเร้าแรงจูงใจและเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนการสอนต้องเน้นทักษะการสื่อสารได้แก่ การฟัง  การพูด  การอ่าน และการเรียน ใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิตจริง ต้องจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน ซึ่งพบว่าเทคนิคและวิธีสอนที่จะส่งเสริมการวิจัยได้แก่ การสอนแบใช้ปัญหาเป็นฐาน

ด้านการวัดและประเมินผล

–  ต้องวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  จุดประสงค์คือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การประเมิน และทวนสอบผลการเรียนได้ด้วยตนเอง

– เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลผู้เรียนควรมีลักษณะที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ทักษะทางปัญญา ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดเชิงระบบ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ทักษะ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

ด้านหลักสูตร

          ต้องมีหลักสูตรที่ดี เป็นไปตามความต้องการของตลาดในบริบทปัจจุบัน  จึงควรมีการศึกษา วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชาว่าเนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ซึ่งผู้เรียนควรได้รับนั้นมีความทันสมันต่อโลกยุคปัจจุบันหรือไม่ อาจต้องพิจารณาปรับเพิ่ม-ลดในบางหัวข้อเพื่อใหเหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา และบริบทของสังคม และวัฒนธรรม

 

ด้านตัวผู้เรียน

  1. ความพร้อมของผู้เรียนทั้งด้าน คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะด้านสังคม และทักษะด้านเทคโนโลยี เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริม สนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จเนื่องจากเป็นการเรียนในระดับผู้ใหญ่ เป็นผู้ที่มีงานทำแล้ว อาศัยประสบการณ์ในการเชื่อมโยงองค์ความรู้เก่ากับใหม่เข้าด้วยกัน และนำสู่การปฏิบัติ แต่หากตัวผู้เรียนมีประสบการณ์ที่ขัดกับองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งขององค์ความรู้
  2. ทักษะด้านอารมณ์ของผู้เรียนอาจก่อปัญหาในการจัดการเรียนการสอน การยอมรับในตัวผู้สอนเมื่อเกิดการขัดแย้งของความรู้เก่า กับความรู้ใหม่ ดังนั้นผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติเพื่อเป็นการพิสูจน์ทฤษฎีว่าจริงหรือไม่
  3. การคัดเลือกผู้เรียนเข้าสู่ระบบการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ควรต้องมีคุณสมบัติที่เป็นไปตามธรรมชาติของหลักสูตรอย่างแท้จริง เช่นสาขาหลักสูตรและการสอน ก็ควรเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจึงจะเหมาะสม ผู้เรียนสามารถจะมองเห็นประโยชน์ของการศึกษาในกหลักสูตรอย่างถ่องแท้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์จริงไม่ใช่เพื่อการเพิ่มคุณวุฒิเท่านั้น

 

ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญที่สุดในการสนับสนุนสิ่งเรียนรู้  ต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนการสอน  ห้องปฏิบัติการ  เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ควรมีความทันสมัย อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ นอกจากนี้วัสดุ อุปกรณ์บางประเภท หรือเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องมีจำนวนเพียงพอต่อการให้บริการ

 

แนวทางปฏิบัติที่ดี

  1. ก่อนการจัดทำแผนการเรียนรู้อาจารย์ผู้สอนควรวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของสาระที่เป็นองค์ความรู้ว่าควรปรับเพิ่ม-ลด ให้สอดคล้องกับความรู้ในปัจจุบันนั้นๆ

2.อาจารย์ผู้สอนต้องจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3) ก่อนล่วงหน้าการสอนอย่างน้อย 1 สัปดาห์

  1. ในสัปดาห์แรกของการสอนควรมีการปฐมนิเทศ ชี้แจง รายละเอียดการเรียนการสอน การแจ้งภาระงาน ชิ้นงาน กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลที่ชัดเจนร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษาให้ชัดเจน
  2. การวัดประเมินผลนักศึกษาต้องครอบคลุมทักษะ5 ด้านตามกรอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนตรวจสอบผลการเรียนรู้ของตนเองได้

5. ก่อนการสอบวัดผลและการประเมิน ข้อสอบ หรือเครื่องมือการประเมินควรส่งให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรร่วมพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรหรือรายวิชาหรือไม่

การจัดทำฐานข้อมูลอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2558

การดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคลังข้อมูลอุดมศึกษา ที่ http://www.data.mua.go.th

  1. นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำลงใน Excel
    2
  2. ทำการแปลงข้อมูลจากไฟล์ Excel ให้เป็นไฟล์ .csv
    1
  3. นำไฟล์อัพขึ้นระบบที่ data.mua.go.th
    2
  4. ทำการตรวจสอบข้อมูลหน้าเว็บว่าข้อมูลครบ 100 % หรือไม่
    4
  5. เมื่อครบ 100 % ทุกข้อมูลแล้วจึงนำไปเผยแพร่บน data.mua.go.th

การจัดทำฐานข้อมูลอุดมศึกษา ของ ม.เจ้าพระยา ปีการศึกษา 2558

การประสานงานกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อมูลตามรูปแบบที่   สกอ.กำหนด

14237480_1806236429657065_8296572300868239071_n 14264992_1806236412990400_9211420168430773090_n

รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆที่ได้รับมอบหมาย

1.ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา

1

 

 

ข้อมูลบุคลากร

2

ข้อมูลนักศึกษา

3ดาว์นโหลดข้อกำหนดต่างๆจากเว็บไซต์ของ สกอ. http://www.data.mua.go.thและประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ สกอ. กำหนด

คำนิยามผู้สำเร็จการศึกษา

1

คำนิยามบุคลากร

2

คำนิยามภาวะการมีงานทำของบัณฑิต

3

คำนิยามของนักศึกษา

4

การจัดทำฐานข้อมูลอุดมศึกษา ของ ม.เจ้าพระยา ปีการศึกษา 2558

 

ผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาเข้าร่วมการประชุมชี้แจง “การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2558” (ภาคเหนือ)  เมื่อวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2558 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องฟอรั่มบอลรูม โรงแรมเดอะพาราดิโช เจเคดีไซน์ จังหวัดนครสวรรค์   ซึ่งในครั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดประชุมเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลรายบุคคลด้านนักศึกษา บุคลากร หลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษา และข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิตได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการส่งข้อมูลคลังข้อมูลอุดมศึกษา มีหน่วยงานที่พัฒนาระบบคือ กลุ่มสารนิเทศ สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่ามีข้อมูลที่ สกอ. นำไปเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป หลายระบบ ดังนี้

1. ระบบการวางแผนเพื่อการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
– ประโยชน์ต่อที่นักเรียน คือ สืบค้นหลักสูตรที่รับรองรับทราบแล้ว และค่าเล่าเรียน
และยังเปิดดูเนื้อหาในเล่มหลักสูตร และใช้เปรียบเทียบกันได้ ว่าหลักสูตรใดสอนอะไร
– หน่วยงาน กยศ. และกรอ. ใช้เป็นฐานข้อมูลการอนุมัติเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และเพดานกู้ยืม
หากหลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรู้รับทราบจากคณะกรรมการ ทางกองทุนกู้ยืมก็ถือว่ายังไม่ผ่าน จะต้องรอก่อน
และ สกอ.ถือว่าฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลหลักสูตรที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว
– ข้างในมีรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับเงินกู้ยืม และหลักสูตรมากกว่า 10 รายงาน
http://www.gotouni.mua.go.th

gotouni

2. ระบบนำส่งข้อมูลเข้าคลังข้อมูลอุดมศึกษา
ที่หน้าแรก แม้ไม่ login ก็สามารถเห็นสถิติการส่งข้อมูลของแต่ละสถาบันแล้ว
สถาบันใดส่งข้อมูลครบ 100% ก็จะได้เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงตามลำดับ
เข้าไปดูได้ครับว่าสถาบันใดได้เหรียญรางวัลในความสมบูรณ์
สถาบันใดไม่ได้เหรียญ และสถาบันใดไม่ได้ส่งข้อมูล
http://www.data3.mua.go.th/00

3. ระบบข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
ในครั้งนี้ทาง กลุ่มสารนิเทศ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ได้พัฒนาระบบการจัดส่งข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา  และภาวะการมีงานทำของบัณฑิต มาอีก 1 ช่องทาง ที่เว็บไซต์  http://www.employ.mua.go.th
employ

4. สารสนเทศอุดมศึกษา
เมื่อสถาบันการศึกษาส่งข้อมูลเข้าระบบในข้อ 2 ครบถ้วนแล้ว
ก็จะนำไปจัดทำสารสนเทศเพื่อรายงานสู่สาธารณะต่อไป
อาทิ จำนวนบุคลากร จำนวนนักศึกษาใหม่ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา เป็นต้น
ทำให้นักศึกษา หรือสถาบัน หรือองค์กร นำข้อมูลไปวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ต่อไปได้
http://www.info.mua.go.th/information/

info

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานสหกิจศึกษา

ทางศูนย์สหกิจศึกษาได้จัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการดำเนินงานสหกิจศึกษา เพื่อมีแนวทางในการดำเนินงานสหกิจศึกษามีแนวทางการดำเนินงานดังนี้

  •  เตรียมความพ้อมทักษะทางวิชาชีพให้นักศึกษา
  • มุ่งเสริมทักษะตามโครงงานที่นักศึกษาได้รับ
  • เสริมทักษะด้านอื่นที่จำเป็นแก่นักศึกษา
  • 1343113412

คู่มือการดำเนินการสอบ

คู่มือดำเนินการสอบ

การสอบถือเป็นมาตรการสำคัญที่มหาวิทยาลัยใช้รักษามาตรฐานคุณภาพการศึกษาและเป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดความรู้อันเป็นผลการศึกษาของนักศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือการมีแบบทดสอบที่มีคุณภาพตามหลักวิชาการและการดำเนินการสอบที่มีความยุติธรรมคู่มือการสอบกำหนดรูปแบบการจัดสอบตลอดจนแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการสอบ ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่จะทำให้การดำเนินการสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพตามจุดประสงค์ของมหาวิทยาลัย

การจัดสอบ

การสอบถือเป็นเครื่องมือในการรักษามาตรฐานการศึกษาเพื่อการวัดความรู้ของนักศึกษาที่จะสำเร็จ คือผ่านการศึกษาในรายวิชานั้น ดังนั้นคุณภาพของบัณฑิตจึงขึ้นกับคุณภาพของข้อสอบและการจัดการสอบที่มีความยุติธรรม กำหนดขั้นตอนที่รอบครอบรัดกุม มีวิธีการสอบที่น่าเชื่อถือเพียงพอที่จะแยกคนรู้และคนไม่รู้ออกจากกัน

การเตรียมการสอบ

ฝ่ายวิชาการเตรียมบุคลากร เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่างๆ โดยเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบอันประกอบด้วย ผู้อำนวยการสนามสอบ กรรมการกองกลาง กรรมการควบคุมการสอบ กรรมการระเบียบวินัย นักศึกษา และกำหนดวันเวลาในการปฏิบัติหน้าที่พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้ทราบรายละเอียดข้อกำหนดต่างๆ

การดำเนินการสอบ

  1. ฝ่ายวิชาการจัดการให้มีการปฐมนิเทศกรรมการคุมสอบ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในส่วนต่างๆ ให้ทราบบทบาทหน้าที่ ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติก่อนวันสอบ
  2. หัวหน้าศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและประเมินผลส่งมอบกุญแจห้องเก็บข้อสอบและกุญแจตู้เก็บข้อสอบต่อผู้อำนวยการสนามสอบ หัวหน้ากรรมการกองกลางจัดข้อสอบแยกตามห้องสอบ จัดเตรียมบัญชีการรับส่งข้อสอบให้เสร็จสิ้นก่อนถึงเวลาสอบ 50 นาที
  3. กรรมการกองกลางส่งมอบข้อสอบต่อหัวหน้ากรรมการคุมสอบ กรรมการคุมสอบแต่ละห้อง ซึ่งจะต้องตรวจสอบความถูกต้อง ลงชื่อในบัญชีรับข้อสอบ และนำไปสู่ห้องสอบทันที
  4. หัวหน้าห้องสอบและเจ้าหน้าที่คุมสอบดำเนินการสอบ
  5. ผู้อำนวยการสนามสอบ กรรมการระเบียบวินัยนักศึกษาตรวจสอบความเรียบร้อยของการดำเนินการสอบ ผู้อำนวยการสนามสอบเก็บสถิติผู้เข้าสอบและผู้ขาดสอบแต่ละวิชา แต่ละห้องสอบ
  6. หัวหน้าห้องสอบนำข้อสอบที่สอบแล้ว และกระดาษคำตอบส่งกองกลางลงนามส่งข้อสอบ
  7. กองกลางตรวจความถูกต้องเรียบร้อย เก็บเข้าตู้ข้อสอบ
  8. ผู้อำนวยการสนามสอบส่งมอบแบบทดสอบและกระดาษคำตอบรวมทั้ง อุปกรณ์การจัดสอบให้ ศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและประเมินผล

ข้อมูลทั่วไปสำหรับการจัดสอบ

การสอบเป็นขั้นตอนสำคัญของการวัดผลการศึกษาอันเป็นหน้าที่ของครู อาจารย์ที่จะดำเนินการวัดผลการเรียนของนักศึกษาแต่ละคนอันจะเป็นเครื่องสะท้อนถึงผลการสอนด้วย การสอนจึงเป็นเครื่องมือแยกคนรู้ออกจากคนไม่รู้ ให้คนรู้สอบได้และให้คนไม่รู้สอบตก ดังนั้นครูอาจารย์ทุกท่านจึงต้องทำความตกลงกันเพื่อแบ่งหน้าที่กันทดสอบความรู้ของนักศึกษา บุคคลที่มีหน้าที่ในการดำเนินการสอบก็คือครูอาจารย์ทุกคน

  1. บุคลากร

ในการสอบแต่ละครั้งมหาวิทยาลัยจะแต่งตั้งบุคลากรตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้

1.1    ผู้อำนวยการสนามสอบ

1.2    กรรมการกองกลาง

1.3    กรรมการคุมสอบ

1.4    กรรมการระเบียบวินัยนักศึกษา

  1. จำนวนห้องสอบ

2.1    ห้องสอบขนาด 60 – 80 ตารางเมตร จัดที่นั่งสอบไม่เกิน 40 ที่นั่ง

2.2    ห้องสอบขนาด 81– 132 ตารางเมตร จัดที่นั่งสอบไม่เกิน 60 ที่นั่ง

2.3    ห้องสอบขนาดเกินกว่า 132 ตารางเมตร จัดที่นั่งสอบตามส่วน 1 ต่อ 2 ตารางเมตร

  1. อัตรากำลัง

3.1    ผู้อำนวยการสนามสอบ สนามสอบละ 1 คน

3.2    กองกลาง สนามสอบที่ใช้ห้องสอบประมาณ 10 ห้อง จะมีเจ้าหน้าที่กองกลาง 5 คน (รวม เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ 1 คน) และ เจ้าหน้าที่กองกลางจะเพิ่มขึ้น 1 คน เมื่อจำนวนห้องสอบเพิ่มขึ้น 5 ห้อง เช่น สนามสอบที่ใช้ห้องสอบสูงสุด 15 ห้อง จะมีเจ้าหน้าที่กองกลาง 6 คน สนามสอบที่ใช้ห้องสอบสูงสุด 26 ห้อง จะมีเจ้าหน้าที่กองกลาง 8 คน เป็นต้น

3.3    กรรมการคุมสอบ ห้องสอบ 1 ห้อง ใช้กรรมการคุมสอบ 2 คน เป็นหัวหน้าห้องสอบ 1 คน และเป็นเจ้าหน้าที่คุมสอบ 1 คน

–    ห้องสอบที่มีที่นั่งสอบไม่เกิน 60 ที่นั่ง ใช้กรรมการคุมสอบ 2 คน เป็นหัวหน้าห้องสอบ
1 คน และเป็นเจ้าหน้าที่คุมสอบ 1 คน

–    จัดที่นั่งสอบเกินกว่า 60 ที่นั่ง ให้เพิ่มเจ้าหน้าที่ 1 คน ต่อผู้ข้าสอบ 20 คน

3.4    กรรมการระเบียบวินัยนักศึกษา ประกอบด้วยหัวหน้า 1 คน และกรรมการอาคาร 1 คน

หน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติงานของบุคลากร

 ผู้อำนวยการสนามสอบ

หน้าที่ของผู้อำนวยการสนามสอบ

  1. อำนวยการเตรียมสนามสอบ
  2. รับและเก็บรักษาแบบทดสอบขณะดำเนินการสอบ
  3. จัดให้มีการปฐมนิเทศกรรมการคุมสอบ และเจ้าหน้าที่ดำเนินการสอบ
  4. 4. อำนวยการสอบให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
  5. จัดมอบแบบทดสอบที่สอบแล้วและกระดาษคำตอบกับคืนศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและ          การประเมินผล
  6. รายงานผลการดำเนินการสอบให้อธิการบดีทราบภายหลังการสอบเสร็จสิ้น

ขั้นตอนการปฏิบัติงานผู้อำนวยการสนามสอบ

  1. ผู้อำนวยการสนามสอบจะวางแผนการจัดสอบ และตรวจความพร้อมของการดำเนินการสอบในแต่ละวัน
  2. จัดให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักศึกษาทราบสถานที่สอบ วันและเวลาที่มีการสอบ
  3. ตรวจสอบว่ากรรมการกองกลาง กรรมการคุมสอบ เจ้าหน้าที่อื่นๆ และสภาพการสอบพร้อมที่จะดำเนินการหรือไม่
  4. ขณะที่ดำเนินการสอบ ผู้อำนวยการสนามสอบจะต้องวินิจฉัยสั่งการในกรณีที่มีปัญหา และดูแลการสอบให้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพพิจารณาตัดสินอนุญาตให้ผู้เข้าสอบที่มีหลักฐานไม่สมบรูณ์เข้าสอบ ในกรณีที่มีการทุจริตการสอบ ผู้อำนวยการสนามสอบ      มีอำนาจสอบสวนและเสนอข้อตัดสินตามระเบียบการสอบ
  5. เมื่อการสอบเสร็จสิ้นลง ผู้อำนวยการสถานสอบจะมอบแบบทดสอบและกระดาษคำตอบกลับคืนศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและการประเมินผล พร้อมแจ้งผลการดำเนินการสอบ ได้แก่ สภาพการสอบ ปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดจนข้อเสนอแนะในการจัดสอบครั้งต่อไป รายงานผู้เข้าสอบที่ทำการทุจริต กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิด

จัดให้มีห้องกองกลางซึ่งตั้งอยู่ในจุดซึ่งเป็นศูนย์กลางของสนามสอบ ต้องกว้างขวางพอที่จะใช้เป็นที่ประสานงานการสอบ เมื่อได้รับบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบหมายเลขห้องสอบ และระเบียบมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาว่าด้วยการสอบ จากสำนักงานทะเบียนและวัดผลแล้ว ก็จะต้องมอบหมายให้มีการติดรายชื่อผู้เข้าสอบหน้าห้องสอบ โดยต้องติดรายชื่อผู้เข้าสอบให้ตรงตามห้องสอบที่กำหนดไว้ และติดระเบียบว่าด้วยการสอบฯ ไว้หน้าห้องสอบทุกห้อง เพื่อเป็นการเตือนย้ำให้ผู้เข้าสอบปฏิบัติตามจัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับผู้เข้าสอบที่ป่วยอย่างปัจจุบันทันด่วน จัดให้มีการเก็บแบบทดสอบให้มิดชิดปลอดภัย

กรรมการกองกลาง

หน้าที่ของกรรมการกองกลาง

  1. ทำการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้เข้าสอบทราบวันและเวลาสอบ และห้องสอบ
  2. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าสอบทราบก่อนเข้าสอบว่าต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นอะไรบ้าง
  3. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าสอบ
  4. พิจารณาคำร้องขอเข้าสอบของผู้เข้าสอบที่มีหลักฐานการเข้าสอบไม่ครบถ้วน
  5. จัดซองข้อสอบ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ การสอบมอบให้แก่กรรมการคุมสอบและรับคืนเมื่อการสอบเสร็จสิ้นเก็บแบบทดสอบที่สอบแล้ว และกระดาษคำตอบบรรจุหีบห่อ เพื่อส่งคืนศูนย์พัฒนาแบบทดสอบและการประเมินผล
  6. เป็นศูนย์อำนวยการสอบ
  7. บันทึกการมาปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร

ขั้นตอนการปฏิบัติงานของกรรมการกองกลาง

  1. ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการจัดสอบ
  2. แจกคู่มือการจัดสอบให้กรรมการคุมสอบทุกคนศึกษาหน้าที่และบทบาทของตัวเอง
  3. ให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประกาศให้ผู้เข้าสอบทราบว่า วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการสอบมีดินสอดำเบอร์ 2 หรือชนิด 2B ปากกา ยางลบ กบ หรือมีดเหลาดินสอ เท่านั้น ผู้เข้าสอบทุกคนต้องเตรียมให้พร้อม และประกาศให้ผู้เข้าสอบทราบว่าถ้าไม่มีบัตรประจำตัวนักศึกษาจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องสอบ ดังนั้นถ้าใครไม่มีบัตรประจำตัวนักศึกษาให้รีบมาติดต่อยื่นคำร้อง ขอมีบัตรเข้าห้องสอบที่กองกลาง
  4. จัดซองแบบทดสอบและบัญชีผู้เข้าสอบเป็นห้องๆมอบซองแบบทดสอบให้หัวหน้าห้องสอบ โดยให้เซ็นชื่อรับเป็นหลักฐาน
  5. ให้สัญญาณลงมือสอบเมื่อถึงเวลา
  6. ให้สัญญาณหมดเวลาสอบเมื่อถึงเวลา
  7. ตรวจนับจำนวนแบบทดสอบ ที่หน้าห้องสอบนำมาคืนว่าครบตามจำนวนที่เขียนไว้บนซองหรือไม่ ถ้าครบให้ใช้กระดาษกาวปิดซอง ตรวจนับจำนวนกระดาษคำตอบว่าครบตามที่เซ็นชื่อเข้าสอบหรือไม่ ถ้าครบก็ใช้กระดาษกาวปิดซอง ทั้งนี้ให้นำใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบใส่ไว้ในซองกระดาษคำตอบด้วย และเซ็นชื่อกำกับ แล้วให้หัวหน้าห้องสอบเซ็นชื่อส่งข้อสอบ

กรรมการคุมสอบ

หน้าที่ของกรรมการคุมสอบ

  1. ดำเนินการสอบ และควบคุมห้องสอบให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาว่าด้วยการสอบ อย่างเคร่งครัด
  2. รักษาความลับของแบบทดสอบ ไม่ให้บุคคลอื่นดูแบบทดสอบนอกจากผู้เข้าสอบ
  3. รักษาแบบทดสอบและกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบไม่ให้สูญหาย

ขั้นตอนการปฏิบัติงานของกรรมการคุมสอบ

  1. มาถึงที่คุมสอบก่อนเวลาอย่างน้อย 45 นาที
  2. เข้ารับการปฐมนิเทศจากผู้อำนวยการสนามสอบ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตามวัน เวลาที่ผู้อำนวยการสนามสอบกำหนด
  3. หัวหน้าห้องสอบลงนามรับซองบรรจุแบบทดสอบและกระดาษคำตอบ กรรมการคุมสอบกำหนดเลขที่นั่งสอบตามรายชื่อผู้เข้าสอบ โดยเรียงจากรหัสประจำตัวน้อยไปหามาก

หัวหน้าห้องสอบตรวจความเรียบร้อย เชิญผู้เข้าห้องสอบเข้าห้องสอบได้ (ก่อนเวลาสอบ 15 นาที) กรรมการคุมสอบต้องยืนที่ประตูห้องเพื่อช่วยแนะนำให้ผู้เข้าสอบหาที่นั่งได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว และคอยตรวจดูมิให้ผู้เข้าสอบนำเอกสาร ตำรา ฯลฯ เข้าห้องสอบ ผู้เข้าสอบที่ไม่มีบัตรประจำตัวนักศึกษา ห้ามเข้าห้องสอบอย่างเด็ดขาด นอกจากผู้ที่มีบัตรเข้าสอบ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องบัตรประจำตัวนักศึกษาให้ไปติดต่อที่สำนักงานทะเบียนและวัดผล

  1. หัวหน้าห้องสอบเปิดซองแบบทดสอบต่อเจ้าหน้าที่คุมสอบและผู้เข้าสอบตรวจนับจำนวนแบบทดสอบว่าครบถ้วนตามที่เขียนไว้หน้าซองหรือไม่

1.  กรรมการคุมสอบแจกกระดาษคำตอบแก่ผู้เข้าสอบ

2.  ขณะที่กรรมการคุมสอบแจกกระดาษคำตอบ หัวหน้าห้องสอบกำชับว่า “ห้ามขีดเขียนอะไรลงบนกระดาษคำ                ตอบก่อนที่จะมีการชี้แจง”

3.  เจ้าหน้าที่คุมสอบแจกแบบทดสอบแก่ผู้เข้าสอบโดยแจกคว่ำหน้าลง แจกเฉพาะผู้ที่มาสอบ หัวหน้าห้องสอบ
กำชับว่า “ห้ามแกะลวดเย็บกระดาษทางขวาของแบบทดสอบก่อนสัญญาณลงมือสอบให้ฟังคำชี้แจงก่อน”                   หัวหน้าห้องสอบคอยระวังอย่าให้ผู้เข้าสอบฝ่าฝืนคำสั่งอย่างเด็ดขาด แล้วหัวหน้าห้องสอบชี้แจงราย                             ละเอียดเกี่ยวกับ การสอบ ดังนี้

  • โปรดวางบัตรประจำตัวนักศึกษาไว้บนโต๊ะ
  • อุปกรณ์ที่ใช้สอบ คือ ดินสอสีดำเบอร์ 2 หรือดินสอ 2B ขึ้นไป ยางลบ กบ หรือมีดเหลาดินสอ ปากกา และสิ่งที่ระบุอนุญาตไว้ที่หน้าซองข้อสอบเท่านั้น
  • พลิกแบบทดสอบขึ้นเซ็นชื่อและเขียนรหัสประจำตัวผู้เข้าสอบในช่องที่เว้นไว้หน้าแบบทดสอบ
  • ให้ผู้เข้าสอบกรอกข้อความบนกระดาษคำตอบ กรณีที่มีข้อสอบปรนัยโดยใช้ดินสอดำ โดยดูตัวอย่างใบประหน้าแบบทดสอบ ระวังอย่าให้กระดาษคำตอบยับหรือมีรอยฉีกขาด
  • การทำข้อสอบอัตนัย ให้เขียนตอบด้วยปากกา และควรเขียนชื่อพร้อมรหัสประจำตัวนักศึกษา ชื่อวิชา ไว้บนกระดาษคำตอบทุกแผ่น
  • โปรดพลิกแบบทดสอบขึ้น ต่อไปนี้จะอ่านคำชี้แจงบนใบประหน้าแบบทดสอบโดยอ่านอย่างรวดเร็ว ขอให้ผู้เข้าสอบอ่านในใจพร้อมกัน
  • เมื่ออ่านคำชี้แจงจบแล้ว ให้ถามว่าใครมีปัญหาเกี่ยวกับวิธีทำข้อสอบให้ยกมือขึ้นแล้วถามได้ เมื่อลงมือสอบแล้วจะไม่ตอบปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น
  • ถ้าไม่มีปัญหาให้แกะลวดเย็บแบบทดสอบออกแล้วนับจำนวนหน้าว่ามีครบตามจำนวนที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้ามีหน้าใดหายไปหรือส่วนใดพิมพ์ไม่ชัดเจนให้แจ้งเจ้าหน้าที่คุมสอบทันที (ในกรณีที่แบบทดสอบไม่สมบูรณ์ให้เปลี่ยนแบบทดสอบของผู้ที่ขาดสอบ ถ้าไม่มีผู้ขาดสอบให้ใช้แบบทดสอบสำรองที่ให้ไว้ในซองถ้าไม่พอให้ติดต่อกองกลาง)
  • จะไม่มีการแก้ไขข้อสอบใดๆ ทั้งสิ้น ให้ถือว่าข้อสอบทุกข้อถูกต้องแล้ว
  • ห้ามออกจากห้องสอบก่อนได้รับอนุญาต ถ้าทำเสร็จก่อนเวลาให้ยกมือขึ้นกรรมการคุมสอบจะไปตรวจแบบทดสอบว่าถูกต้องครบถ้วนก่อนจึงจะได้รับอนุญาตให้ออกจากห้องสอบได้
  • หัวหน้าห้องสอบประกาศอนุญาตให้นักศึกษาลงมือทำข้อสอบ หลังจากนั้นกรรมการคุมสอบจะยืนควบคุมการทำข้อสอบของนักศึกษาโดยสงบ (ต้องมีคนยืนคุมอย่างน้อย 1 คน)
  • หัวหน้าห้องสอบประกาศอนุญาตให้นักศึกษาลงมือทำข้อสอบและหัวหน้าห้องสอบเขียนเวลาลงบนกระดานหน้าห้องสอบดังนี้

เริ่มสอบเวลา……..น. หมดเวลา………น.

  1. ขณะที่หัวหน้าห้องสอบชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ กรรมการคุมสอบจะต้องดูพฤติกรรมของผู้เข้าสอบอย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้ผู้เข้าสอบเปิดแบบทดสอบอ่านหรือตอบก่อนเวลา เมื่อผู้เข้าสอบลงมือทำข้อสอบในระยะเวลาแรกๆ ต้องเดินตรวจดูว่าผู้เข้าสอบแต่ละคนเขียนเลขประจำตัวสอบถูกต้องถูกวิธีและทำเครื่องหมายตอบถูกวิธีหรือไม่ ถ้าพบผู้ที่ทำไม่ถูกต้องให้แก้ไขให้ถูกต้อง
  2. กรรมการคุมสอบให้ผู้เข้าสอบเซ็นชื่อในบัญชีผู้เข้าสอบตามรหัสประจำตัวผู้ขาดสอบให้เขียนว่า “ขาดสอบ” ตรวจดูบัตรประจำตัวนักศึกษา และผู้เข้าสอบว่าเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่ใช่คนเดียวกันให้รีบแจ้งกองกลางทันที ดูลายเซ็นในบัตรและลายเซ็นในบัญชีผู้เข้าสอบเหมือนกันหรือไม่ ถ้าไม่เหมือนกันให้เซ็นใหม่
  3. กรรมการคุมสอบยืนควบคุมการสอบอย่างเคร่งครัด สงบ สอดส่องพฤติกรรมของผู้สอบให้ทั่วถึง กรณีเมื่อย หรือต้องไปเข้าห้องน้ำให้มีกรรมการท่านอื่นยืนควบคุมแทน
  4. ห้ามผู้มาสอบเข้าสอบหลังจากเริ่มสอบแล้ว 30 นาที และไม่ให้ผู้เข้าสอบออกจากห้องสอบภายใน 45 นาทีแรกนับตั้งแต่เริ่มลงมือสอบ ถ้าเป็นกรณีสุดวิสัยให้กรรมการคุมสอบควบคุมอย่างใกล้ชิด
  5. บันทึกจำนวนผู้เข้าสอบ จำนวนผู้ขาดสอบ รหัสประจำตัวผู้ขาดสอบสภาพของการสอบ ผู้เข้าสอบทุจริตในการสอบในบัญชีผู้เข้าสอบ และบนกระดาษคำตอบ
  6. หากมีการทุจริตการสอบในระหว่างนี้ให้หัวหน้าห้องสอบนำแบบบันทึกการทุจริตเล่าเหตุการณ์และลงชื่อ หัวหน้าห้องสอบกากบาทในกระดาษคำตอบแล้วเขียนว่า “ทุจริตการสอบโดย……..”ให้ผู้เข้าสอบเซ็นชื่อ กรรมการคุมสอบทั้งสองคนเซ็นชื่อกำกับ พร้อมรวบรวมหลักฐานส่งมอบต่อผู้อำนวยการสอบทันที
  1. หัวหน้าห้องสอบแจ้งให้ผู้เข้าสอบทราบเมื่อเหลือเวลา 10 นาที และ 5 นาที ตามลำดับ
  2. เมื่อหมดเวลาสอบให้หัวหน้าห้องสอบสั่ง “หยุดทำข้อสอบ วางดินสอ และปิดแบบทดสอบ”ห้ามออกจากห้องสอบจนกว่ากรรมการจะได้ตรวจแบบทดสอบว่าถูกต้องครบถ้วนก่อน จึงจะออกไปได้ กรรมการคุมสอบจะตรวจนับ แบบทดสอบจากผู้เข้าสอบตามลำดับรหัสประจำตัว แล้วเก็บแบบทดสอบและกระดาษคำตอบเรียงตามลำดับจากน้อยไปมากตามบัญชีผู้เข้าสอบ แยก แบบทดสอบไว้คนละซอง กระดาษคำตอบอัตนัยให้เก็บในซองกระดาษคำตอบอัตนัย ใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบให้ใส่ไว้ในซองกระดาษคำตอบปรนัย กระดาษคำตอบของนักศึกษาที่ขาดสอบ ให้เก็บคืนใส่ในซองกระดาษคำตอบโดยไม่ต้องขีดเขียนข้อความใดๆ ลงไปทั้งสิ้น ระวังอย่าให้กระดาษคำตอบยับหรือมีรอยฉีกขาด เพราะต้องตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
  1. กรรมการคุมสอบ ตรวจนับจำนวนแบบทดสอบ จำนวนกระดาษคำตอบที่เรียงไว้ว่าถูกต้อง ครบถ้วนแล้วเซ็นชื่อในบัญชีผู้เข้าสอบ บนซองแบบทดสอบ และบนซองกระดาษคำตอบ (ถ้ามีนักศึกษาไม่ทำคำตอบอัตนัย ให้เขียนรหัสประจำตัวนักศึกษาแจ้งไว้ข้างหน้ากระดาษคำตอบอัตนัย)
  2. หัวหน้าห้องสอบนำซองแบบทดสอบ ซองกระดาษคำตอบ บัญชีผู้เข้าสอบ ซองกระดาษทดสอบ กาว คืนกองกลางพร้อมกับเซ็นชื่อส่งแบบทดสอบ
  3. แบบทดสอบเป็นเอกสารลับของทางมหาวิทยาลัย สำหรับผู้เข้าสอบเท่านั้นกรรมการคุมสอบไม่มีสิทธิ์จะอ่านหรือคัดลอกแบบทดสอบ นอกจากกรณีเกิดปัญหาและจำเป็นต้องอ่านให้หัวหน้าห้องสอบเป็นผู้อ่าน
  4. กรรมการคุมสอบต้องไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการรบกวนสมาธิผู้เข้าสอบ เช่น คุยกัน เคาะ เขย่า ฯลฯ โปรดอย่าทำกิจกรรมอื่นระหว่างปฏิบัติหน้าที่ควบคุมห้องสอบ
  5. ในกรณีผู้เข้าสอบขออนุญาตออกนอกห้องสอบในกรณีที่จำเป็น เช่น เข้าห้องน้ำ ฯลฯ ให้กรรมการคุมสอบติดตามดูและเพื่อป้องกันการทุจริตอย่างใกล้ชิด ในกรณีผู้เข้าสอบเจ็บป่วยกะทันหันให้นำส่งห้องพยาบาลแล้วให้เจ้าหน้าที่พยาบาลทำหน้าที่เป็นกรรมการคุมสอบ ถ้าสามารถคุมสอบต่อได้ แต่ต้องนำกระดาษคำตอบแบบทดสอบมารวมไว้เหมือนสอบอยู่ในห้องสอบนั้น ในกรณีเช่นนี้ระวังการทุจริตอย่างใกล้ชิด

 

 

test-method-handbook

 

การงดใช้เกณฑ์ข้อ 12 (การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ) ของ ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ในองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน มาเป็นเงื่อนไขในการตัดสินว่าหลักสูตร “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” การกากับมาตรฐาน

โดยเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 มุ่งเน้นเป้าหมายการจัดการศึกษาที่ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของนักศึกษาตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งเป็นการประกันคุณภาพบัณฑิตแต่ละระดับคุณวุฒิ และสื่อสารให้สังคม ชุมชน รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศเข้าใจได้ตรงกันและเชื่อมั่นถึงผลการเรียนรู้ที่บัณฑิตได้รับการพัฒนา ว่ามีมาตรฐานที่สามารถเทียบเคียงกันได้กับสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยได้กำหนดตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานของหลักสูตรไว้ 12 ข้อ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดเพิ่มเติมได้

เนื่องจากขณะนี้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานของหลักสูตรดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้สะท้อนเจตนารมณ์ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติยิ่งขึ้น ประกอบกับคู่มือการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 ก็ได้กำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติไว้แล้วในตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ขององค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ซึ่งผลการดำเนินงานต้องเป็นไปตามตัวบ่งชี้ที่ 1-5 และอย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี

 

ดังนั้นคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2558 จึงมีมติเห็นชอบให้งดใช้เกณฑ์ข้อ 12 (การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ) ของตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ใน องค์ประกอบที่ 1 การกากับมาตรฐาน มาเป็นเงื่อนไขในการตัดสินว่าหลักสูตร “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” การกำกับมาตรฐาน

ประเด็นหารือจากสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557

ประเด็นหารือจากสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557

ประเด็นคำถามและข้อเสนอแนะ คำชี้แจง / การตอบข้อหารือจาก สกอ.
1. จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร

1.1 อาจารย์ประจำหลักสูตรพหุวิทยาการ ถ้าเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรโทและเอกแล้ว จะคิดเทียบเท่าการเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรพหุวิทยาการไปแล้วหรือไม่ หรือจะสามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรพหุวิทยาการในระดับปริญญาตรีอีกหลักสูตรได้

(อาจารย์ 1 คน อาจเป็น

(1) อาจารย์ประจำหลักสูตร ป.ตรี + หลักสูตรพหุวิทยาการ ป.โท หรือ

(2) ป.ตรี + หลักสูตรพหุวิทยาการ ป.ตรี หรือ

(3) ป.โท + ป.เอก+ หลักสูตรพหุวิทยาการ ป.โทโดยพิจารณาคุณสมบัติว่าเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรอีกหลักสูตร) ใช่หรือไม่

 

1. กรณีอาจารย์ประจำหลักสูตร 1 คน อาจเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาตรีและหลักสูตรพหุวิทยาการระดับปริญญาโทได้หรือไม่

ตอบ :ไม่ได้

2. กรณีอาจารย์ประจำหลักสูตร 1 คน อาจเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาตรีและหลักสูตรพหุวิทยาการระดับปริญญาตรีได้หรือไม่

ตอบ : ได้

3. กรณีอาจารย์ประจำหลักสูตร 1 คน อาจเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตรระดับปริญญาเอก และหลักสูตรพหุวิทยาการระดับปริญญาโทได้หรือไม่

ตอบ :ไม่ได้

เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีหนังสือที่ ศธ 0506/ว569 ลงวันที่ 18 เมษายน 2549 เรื่อง การกำหนดจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548 ได้กำหนดแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรไว้ ดังนี้

1. อาจารย์ประจำหลักสูตรในระดับปริญญาตรีหรือในระดับบัณฑิตศึกษา นอกเหนือจากที่ได้กำหนดเรื่องจำนวนและคุณวุฒิอาจารย์ประจำหลักสูตรไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548 แล้ว ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาได้กำหนดให้อาจารย์ผู้ใดเป็นอาจารย์ประจำในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งแล้ว สถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้อาจารย์ประจำผู้นั้นเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) ได้อีก1 หลักสูตร โดยต้องเป็นหลักสูตรที่ตรงหรือสัมพันธ์กับหลักสูตรที่ได้ประจำอยู่แล้ว

2.สำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา นอกเหนือจากการที่ได้กำหนดเรื่องจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตรไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548 แล้ว ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาได้กำหนดให้อาจารย์ประจำผู้ใดเป็น

อาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอกหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งแล้ว สถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้อาจารย์ประจำผู้นั้นเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรในระดับปริญญาเอกหรือปริญญาโทในสาขาวิชาเดียวกันได้อีก 1 หลักสูตร

มติของคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 10/2557 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 เกี่ยวกับการพิจารณาหลักสูตรสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) ดังนี้

1. การพิจารณาหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาเป็นหลักสูตรสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) หรือไม่นั้น เป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัย โดยการจัดรายวิชาในโครงสร้างหลักสูตรต้องสะท้อนความเป็นหลักสูตรสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) โดยแยกเป็นศาสตร์แต่ละศาสตร์อย่างชัดเจน

 

ประเด็นคำถามและข้อเสนอแนะ คำชี้แจง / การตอบข้อหารือจาก สกอ.
2. กรณีที่หลักสูตรสหสาขาวิชามีอาจารย์ประจำหลักสูตรซ้ำกับหลักสูตรอื่นให้พิจารณาตามหลักการดังนี้

2.1 อาจารย์ประจำหลักสูตรของหลักสูตรสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) ไม่สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรซ้ำกับหลักสูตรสหสาขาวิชาอื่น (Interdisciplinary)

2.2 อาจารย์ประจำหลักสูตรของหลักสูตรที่เป็นศาสตร์เดียว (Disciplinary) สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรซ้ำ

กับหลักสูตรสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) ได้อีก 1 หลักสูตรเท่านั้น โดยต้องเป็นหลักสูตรที่ตรงหรือสัมพันธ์กับหลักสูตรที่ได้ประจำอยู่แล้ว

2.3 อาจารย์ประจำหลักสูตรในระดับปริญญาโทซ้ำกับปริญญาเอกในสาขาวิชาเดียวกัน ไม่สามารถเป็นอาจารย์ประจำ

หลักสูตรซ้ำกับหลักสูตรสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) ได้อีก

1.2 สกอ. กำหนดให้มีอาจารย์ประจำแขนงวิชา แขนงละ 3 คน (แขนงหมายถึง 30+credits) ทปอ. และ ทอมก. เสนอขอเป็นแขนงละอย่างน้อย 2 คน ตอบ :ไม่ได้ เนื่องจากมติของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 11/2256 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2556กำหนดให้ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ให้ครบทุกแขนงวิชา / กลุ่มวิชาของหลักสูตร โดยมีคุณวุฒิครอบคลุมแขนงวิชา / กลุ่มวิชา ที่เปิดสอนและสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548 ของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีหนังสือที่ ศธ0506(4)/ว254 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2557 แจ้งแนวปฏิบัติในการพิจารณาหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่มีแขนง / กลุ่มวิชาของสถาบันอุดมศึกษา ตามข้อ 16 ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548ไปยังสถานศึกษาทุกแห่งแล้ว
1.3 กรณีอาจารย์ลาเรียน / ลาออก ถ้ามีการเตรียมการแต่ไม่สามารถหาอาจารย์มาทดแทนได้ทัน จะยอมรับได้หรือไม่ ถ้ามีเอกสารการดำเนินการ เช่น อยู่ระหว่างการบรรจุหรือการกำหนดอาจารย์ประจำมาแทนชั่วคราว

ทปอ. และ ทอมก. เสนอว่า ควรยอมรับเพราะในลักษณะนี้ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่มีการบริหารจัดการแล้ว

ตอบ :ยอมรับได้ หากมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างดำเนินการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรมาทดแทน ทั้งนี้ ไม่ควรใช้เวลานานกว่า 3 เดือน
2. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร

ทปอ. และ ทอมก. เสนอให้พิจารณาความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพและความเป็นที่ยอมรับนอกเหนือจากตำแหน่งทางวิชาการด้วย

 

ตอบ :ได้ โดย สกอ. จะพิจารณาบริบทของความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพประกอบกับตำแหน่งทางวิชาการ

 

 

 

 

 

 

ประเด็นคำถามและข้อเสนอแนะ คำชี้แจง / การตอบข้อหารือจาก สกอ.
3. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ข้อสังเกต คือ

– ไม่มีการระบุคุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบระดับปริญญาตรี

– ขอให้นิยามคุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้บริหารหลักสูตรให้ชัดเจนว่าแตกต่างกันอย่างไร

 

1. กรณีคุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบระดับปริญญาตรี

ตอบ :คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรระดับปริญญาตรี ระบุไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2552ว่า อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร สาหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรไม่ได้ระบุอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไว้ ให้อาจารย์ประจำหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือ

เทียบเท่าในสาขาวิชาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ อย่างน้อย 2 คนเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยให้ระบุคุณวุฒิ สาขาวิชา และปีที่สำเร็จ พร้อมทั้งเลขประจำตัวประชาชน ถ้าจัดการเรียนการสอนมากกว่า 1 แห่ง ให้แสดงอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรแต่ละแห่ง ซึ่งต้องเป็นอาจารย์คนละชุดกัน และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548 ข้อ 7.4 ระบุว่าอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ให้มีภาระหน้าที่ในการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การติดตามประเมินผลหลักสูตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

 

2. ขอให้นิยาม “คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร” และ “ผู้บริหารหลักสูตร” ให้ชัดเจนว่าแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ :คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557ได้กำหนดนิยามของอาจารย์ประจำหลักสูตรไว้ ดังนี้

“อาจารย์ประจำหลักสูตร” หมายถึงอาจารย์ประจำเต็มเวลาที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน โดยวางแผน ติดตาม ทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร และปฏิบัติงานประจำหลักสูตรนั้นตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนไม่น้อยกว่า 5 คน และทุกคนเป็นอาจารย์ประจำเกินกว่า 1 หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ ยกเว้น อาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาโทและเอกในสาขาวิชาเดียวกันได้ หรือเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรในหลักสูตรพหุวิทยาการได้อีก 1 หลักสูตร โดยต้องเป็นหลักสูตรที่ตรงหรือสัมพันธ์กับหลักสูตรที่ได้ประจำอยู่แล้ว (ตามมติคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 2/2549 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549) ทั้งนี้ อาจารย์แต่ละท่านจะเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มากที่สุดเพียง 2 หลักสูตร หากมีการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตร ขอให้นำเสนอโดยดำเนินการเช่นเดียวกับการนำเสนอหลักสูตรปรับปรุงเล็กน้อย โดยนำเสนอต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ และเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบตาม แบบฟอร์ม สมอ.08 ภายใน 30 วัน สำหรับนิยามของ “ผู้บริหารหลักสูตร” สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังมิได้ให้คำนิยามไว้ ซึ้งหลักสูตรสามารถกำหนดเองได้

 

 

 

 

ประเด็นคำถามและข้อเสนอแนะ คำชี้แจง / การตอบข้อหารือจาก สกอ.
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

ควรแยกคุณสมบัติผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกออกจากอาจารย์ประจำ สำหรับรายละเอียด qualification ของผู้ทรงคุณวุฒิ จะพิจารณาเสนออีกครั้ง(สามารถนับคุณวุฒิดร.กิตติมศักดิ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิได้)

ตอบ : คุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจะต้องมีคุณสมบัติตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้ง เช่น ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หรือผู้สอน เป็นต้น

ทั้งนี้ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2548 ข้อ 9.1.4 และข้อ 9.2.4 กำหนดไว้ว่า

อาจารย์ผู้สอน (สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโท) ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา

อาจารย์ผู้สอน (สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาเอก) ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและการทาวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548ข้อ 7.6ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ หมายถึง บุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เปิดสอนเป็นอย่างดี ซึ่งอาจเป็นบุคลากรที่ไม่อยู่ในสายวิชาการหรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน โดยไม่ต้องพิจารณาด้านคุณวุฒิและตำแหน่งวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักต้องเป็นบุคลากรประจำในสถาบันเท่านั้น ส่วนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม อาจเป็นบุคลากรประจำในสถาบันหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในสาขาวิชานั้น ๆ เป็นที่ยอมรับในระดับหน่วยงาน หรือระดับกระทรวงหรือวงการวิชาชีพด้านนั้น ๆ เทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 9 ขึ้นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด

ในกรณีหลักสูตรปริญญาเอกไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ หรืออาจารย์ผู้สอน ที่ได้รับคุณวุฒิปริญญาเอก หรือไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการตั้งแต่รองศาสตราจารย์ขึ้นไปในสาสขาวิชาที่เปิดสอน สถาบันอุดมศึกษาอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแทนเป็นกรณีๆไป โดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา และต้องแจ้งคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้รับทราบการแต่งตั้งนั้นด้วย

ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์และศาสตราจารย์พิเศษ ให้ประเมินผลงานทางวิชาการให้เทียบเคียงได้กับผลงานของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาหรือตำแหน่งที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่เทียบเคียงและยอมรับให้เทียบเท่ากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา

 

 

 

 

ประเด็นคำถามและข้อเสนอแนะ คำชี้แจง / การตอบข้อหารือจาก สกอ.
5. คุณสมบัติของผู้สอบวิทยานิพนธ์

ให้แยกคุณสมบัติผู้ทรงคุณวุฒิออกจากคณาจารย์ประจำเหมือนข้อ 4 โดยถ้าทำงานในฐานะผู้สอนอาจไม่ต้องมีผลงานวิจัย ถ้าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คุมวิทยานิพนธ์ควรมีผลงานวิจัยด้วย ข้อสังเกต

– กรณีจ้างอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการถ้าไม่จ่ายเงินค่าจ้างสามารถนับได้หรือไม่ ควรต้องมีสัญญาจ้าง 9 เดือนจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อป้องกันกรณีเอาชื่อใครมาใส่ก็ได้และเจ้าตัวไม่ทราบ / ไม่ได้มาทางานจริง

 

1. กรณีจ้างอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการถ้าไม่จ่ายเงินค่าจ้างสามารถนับได้หรือไม่

ตอบ :ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จะไม่สามารถนาอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการถ้าไม่จ่ายเงินค่าจ้างมานับได้

เนื่องจากประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2548ได้กำหนดคุณสมบัติอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ (สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโทและเอก) ไว้ว่า ต้องประกอบด้วยอาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน อาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกดังกล่าวต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา

จากนิยาม “คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์” ตามประกาศฯ ดังกล่าว หากสถาบันอุดมศึกษาไม่มีสัญญาจ้างอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการ อาจตีความได้ว่าเป็น “ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก”

2. ควรต้องมีสัญญาจ้าง 9 เดือนจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อป้องกันกรณีเอาชื่อใครมาใส่ก็ได้และเจ้าตัวไม่ทราบ / ไม่ได้มาทางานจริง

ตอบ : สถาบันอุดมศึกษาควรดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการที่ดี

6. การประเมินระดับหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI และ Scopus ต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร

 

เกณฑ์การประเมินของตัวบ่งชี้ที่ 4.2 “จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI และ Scopus ต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร” ดังนั้น อาจารย์ประจำหลักสูตรจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การพิจารณาผลงานทางวิชาการที่ได้รับการอ้างอิงของอาจารย์ประจำหลักสูตรจะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการทำวิจัย และการมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์และได้รับการอ้างอิงซ้ำ แสดงถึงการนำไปใช้ประโยชน์และการสร้างงานวิจัยใหม่ๆ ให้มีความก้าวหน้า การประเมินตัวบ่งชี้นี้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดหลักสูตรระดับปริญญาเอก ซึ่งถือเป็นหลักสูตรสูงสุดของสถาบันการศึกษา เป็นหลักสูตรที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ การพิจารณาผลงานที่เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ หรือ Review Article ของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอก จึงให้พิจารณาผลงานที่ตีพิมพ์ 5 ปีย้อนหลังตามปีปฏิทิน ซึ้งนับรวมปีที่ประเมิน และได้รับการอ้างอิงภายใน 5 ปีดังกล่าวเช่นเดียวกันเพื่อแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องและการพัฒนางานวิจัยอย่างสม่ำเสมอและเป็นปัจจุบัน
7. การรับรองวารสารทางวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. / ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา

 

การรับรองวารสารทางวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. / ระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับเผยแพร่ผลงงานทางวิชาการ พ.ศ.2556 นั้น เนื่องจากประกาศ ก.พ.อ. / ระเบียบ กกอ. ดังกล่าวระบุไว้ว่า วารสารทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณายอมรับนั้นให้จัดทำเป็นประกาศให้ทราบ

 

 

เป็นการทั่วไป และแจ้งให้ ก.พ.อ / กกอ. ทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ออกประกาศ / ระเบียบ และมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศ ก.พ.อ. / ระเบียบ กกอ. นี้มีผลบังคับใช้ หากพ้นระยะดังกล่าว ก.พ.อ. / กกอ. จะไม่รับรองวารสารดังกล่าวดังนั้น กรณีที่วารสารทางวิชาการที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลฯ แต่ได้รับการยอมรับจากสภาสถาบันอุดมศึกษาแล้ว ก.พ.อ. / กกอ. จะรับรองวารสารดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศ ก.พ.อ. / ระเบียบ กกอ. นี้มีผลบังคับใช้เท่านั้นทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้วารสารดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นไปให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติต่อไป

 

8. การคำนวณค่าคะแนนของตัวบ่งชี้ที่ 1.4

จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำกรณีที่มีกลุ่มสาขาวิชามากกว่า 2 กลุ่มจะคิดค่าคะแนนอย่างไร

การคำนวณคะแนน “จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ” ซึ่งเป็นการประเมินระดับคณะ หากคณะใดมีจานวนกลุ่มสาขาวิชาตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป การคำนวณคะแนนที่ได้ในระดับคณะ ให้คำนวณจากค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการประเมินของกลุ่มสาขาวิชาในคณะ
9. การประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 4.3

ผลที่เกิดกับอาจารย์ ในประเด็นความพึงพอใจของอาจารย์ต่อการบริหารหลักสูตร

ความพึงพอใจของอาจารย์ต่อการบริหารหลักสูตร หมายถึง ความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อการบริหารจัดการหลักสูตร การได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่อาจารย์ประจำหลักสูตร รวมทั้งการได้รับการพัฒนาความรู้เพื่อทำหน้าที่อาจารย์ประจำหลักสูตร ซึ่งไม่ได้หมายรวมถึงอาจารย์ผู้สอนของหลักสูตรดังกล่าว
10. การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรและกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ในกรณีที่มีการจัดการเรียนการสอนบางหลักสูตรในหลายพื้นที่

 

กรณีหลักสูตรเดียวกันแต่เปิดสอนในวิทยาเขตมากกว่า 1 วิทยาเขต และมีอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกพื้นที่ที่เปิดสอน มหาวิทยาลัยจะต้องจัดทำรายงานและประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตรให้ครอบคลุมข้อมูลผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าวทุกพื้นที่ที่เปิดสอนหลักสูตรนั้นๆ โดยมหาวิทยาลัยจัดทำรายงานและประเมินผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรหนึ่งฉบับที่ครอบคลุมผลการจัดการเรียนการสอนทุกพื้นที่ และจัดส่งรายงานการประเมินตนเองดังกล่าวผ่านระบบ CHE QA Online เพื่อการเผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป
11. การส่งรายงานผลการประเมินคุณภาพผ่านระบบ CHE QA ONLINE

 

คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 มีมติเห็นชอบให้สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน ผ่านระบบ CHE QA ONLINE ภายใน 120 วันนับจากวันสิ้นปีการศึกษาตามที่ระบุในประกาศคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษาในการนาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถาบันอุดมศึกษาได้ในปีการศึกษาถัดไป
12. สถาบันอุดมศึกษาที่มีความประสงค์จะนำแนวทางการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานในระดับสากล อาทิ AACSB, NASPAA, EQUIS, TEDQual, EdPEx, TQAมาใช้ในการประกันคุณภาพภายใน คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2558 และครั้งที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 มีมติเห็นชอบระบบรับรองคุณภาพของสากล ได้แก่ AACSB, NASPAA, EQUIS, TEDQualแล้ว และให้

สถาบันอุดมศึกษาที่มีความประสงค์จะนำระบบสากลดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพภายใน ดำเนินการดังนี้

 

ประเด็นคำถามและข้อเสนอแนะ คำชี้แจง / การตอบข้อหารือจาก สกอ.
 

 

1. หลักสูตรที่ได้รับการรับรองตามระบบสากล AACSB แล้วสถาบันสามารถดำเนินการประกันคุณภาพและรายงานผลการดำเนินงานตามระบบ AACSB และเผยแพร่ผลการรับรองตามระบบสากลนั้นให้สาธารณชนรับทราบ และสามารถขึ้นทะเบียนหลักสูตรดังกล่าวตามระยะเวลาที่ได้รับการรับรองโดยบันทึกในฐานข้อมูลหลักสูตรเพื่อการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ (Thai Qualifications Register : TQR) และให้สถาบันจัดส่งเฉพาะข้อมูลพื้นฐาน (Common Data Set) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและเผยแพร่ผลการรับรองตามระบบสากลนั้นๆ ให้สาธารณชนรับทราบ ส่วนระบบการติดตามประเมินผลให้ดำเนินการตามระบบสากลที่ได้รับการรับรองนั้นๆ ซึ่งจะมีระยะเวลาที่เข้าติดตามประเมินการดำเนินงานกำกับไว้

2. กรณีที่สถาบันอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อขอรับรองคุณภาพตามระบบสากลที่ ค.ป.ภ. ให้ความเห็นชอบแล้ว ซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองตามระบบสากลดังกล่าว ให้สถาบันดำเนินการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรตามระบบดังกล่าวและรายงานผลการประเมินผ่านระบบ CHE QAONLINEซึ่งในระหว่างดำเนินการสถาบันอาจจะต้องรอสำหรับการขึ้นทะเบียนหลักสูตร ซึ่งหากสถาบันไม่ประสงค์ที่จะรอการขึ้นทะเบียนหลักสูตร ก็สามารถดำเนินการประเมินตามระบบของ สกอ. ควบคู่ไปด้วย

* กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาจะเลือกใช้ระบบอื่นใดๆ ต้องแจ้งให้ สกอ. ทราบ หากไม่แจ้งให้ถือว่าสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ เลือกใช้ระบบประกันคุณภาพภายในที่ สกอ. พัฒนาขึ้น

** หากสถาบันอุดมศึกษาจะเสนอระบบประกันคุณภาพอื่นๆ จะต้องมีเกณฑ์และมาตรฐานที่ไม่ต่ำกว่าระบบประกันคุณภาพภายในที่ สกอ. กำหนด พร้อมทั้งเสนอให้คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ

13. สถาบันอุดมศึกษาที่มีความประสงค์จะนำระบบประกันคุณภาพ CUPT QA มาใช้ในการประกันคุณภาพภายใน

 

คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 มีมติดังนี้

1. เห็นชอบระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA ตามที่ ทปอ. เสนอ โดยขอให้สถาบันอุดมศึกษาที่ประสงค์จะใช้ระบบ CUPT QA นาเสนอระบบฯ ดังกล่าวต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและนาเสนอคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาต่อไป

2. การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรตามระบบ CUPT QA ขอให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามระบบ CUPT QA ระดับหลักสูตร และรายงานผลการดำเนินงานทั้งระบบที่ประกอบด้วย การกำกับมาตรฐาน (องค์ประกอบที่ 1) ของ สกอ. และตัวบ่งชี้ตามระบบ CUPT QA ระดับหลักสูตรทั้ง 15 ตัวบ่งชี้ ทุกปีการศึกษา โดยรายงานในรูปแบบ PDF ผ่านระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (CHE QA Online) และจัดส่งข้อมูลพื้นฐาน (Common Data Set) ให้ สกอ. ทุกปีการศึกษา

 

 

 

3. หากหลักสูตรใดประสงค์จะเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 (Thai Qualifications Register : TQR) องค์ประกอบของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร จะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน โดยเกินกว่ากึ่งหนึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน และอย่างน้อยหนึ่งคนต้องมีคุณวุฒิตรงกับสาขาที่ขอรับการประเมิน ทั้งนี้ คณะกรรมการทุกคนต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนผู้ประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร ตามระบบ CUPT QA และผลการประเมินตนเองระดับหลักสูตรต้องอยู่ในระดับดีติดต่อกันสองปี

4. การฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อทำหน้าที่ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามระบบ CUPT QA ขอให้ดำเนินการจัดอบรมโดยมีเนื้อหาและวิธีการ (Content and Training Methodology) เทียบได้กับระบบของ AUN QA ก่อนขึ้นทะเบียนผู้ประเมินของ ทปอ. ทั้งนี้ ให้ ทปอ. แจ้งโครงการจัดฝึกอบรมและรายชื่อผู้ผ่านการอบรมให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อการเผยแพร่ต่อไป

5. ขอให้ ทปอ. ดำเนินการในฐานะผู้บริหารจัดการระบบ CUPT QA และให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามระบบฯ ดังกล่าวกับ ค.ป.ภ. อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดจะร่วมสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของ ทปอ. เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

ทปอ. ควรเร่งพัฒนาผู้ประเมินคุณภาพตามเกณฑ์การประเมินของระบบ CUPT QA ทุกระดับ เพื่อมาตรฐานคุณภาพของผู้ประเมิน

14. สถาบันอุดมศึกษาที่มีความประสงค์ที่จะนำหลักเกณฑ์การรับรองหลักสูตรของสภาการพยาบาล และสภาเทคนิคการแพทย์ มาใช้ในการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 มีมติเห็นชอบแนวทางการรับรองหลักสูตรของสภาวิชาชีพของสภาการพยาบาลและสภาเทคนิคการแพทย์แล้ว หากสถาบันอุดมศึกษามีความประสงค์จะนำแนวทางการรับรองหลักสูตรดังกล่าวมาใช้แทนระบบประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรที่ได้รับการรับรองแล้วโดยสภาการพยาบาลและสภาเทคนิคการแพทย์ ขอให้เสนอสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบและแจ้ง สกอ. เพื่อเสนอ ค.ป.ภ. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

กรณีการนำแนวทางการรับรองหลักสูตรของสภาวิชาชีพอื่นๆ มาใช้ ขอให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการเทียบเคียงระบบประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรของสภาวิชาชีพต่างๆ โดยผ่านความเห็นชอบของสภาสถาบันก่อนเสนอให้ ค.ป.ภ. ภายในระดับอุดมศึกษาพิจารณาโดยให้พิจารณาการเทียบเคียงระบบการประเมินของสภาวิชาชีพนั้นๆ กับระบบประกันคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

15. แนวปฏิบัติในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรและการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพ

 

คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2558 มีมติเห็นชอบดังนี้

1. กรณีหลักสูตรที่เปิดดำเนินการมาแล้วเป็นระยะเวลาครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการจัดการศึกษาของหลักสูตรนั้น มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในอยู่ในระดับดีขึ้นไปสองปีติดต่อกัน (โดยปีแรกประเมินตนเองและปีที่สองประเมินโดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และมีองค์ประกอบตามที่ ค.ป.ภ. กาหนด) สมควรให้ขึ้นทะเบียนหลักสูตรดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

 

 

2. กรณีหลักสูตรที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรอยู่ในระดับดีขึ้นไป และเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานคุณวุฒิสาขา / สาขาวิชาแล้ว (หลักสูตรที่มี มคอ.1) แจ้งความประสงค์ขอให้ สกอ. จัดทีมประเมินที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิตามที่ ค.ป.ภ. กำหนด ดำเนินการประเมินคุณภาพ หากมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีขึ้นไป สมควรให้ขึ้นทะเบียนหลักสูตรดังกล่าว เพื่อเผยแพร่เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
16. การเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

 

คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 มีมติเห็นชอบแนวทางการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2557 ดังนี้

1. สำหรับหลักสูตรที่มี มคอ.1 แล้ว สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรที่เป็นไปตาม มคอ.1 และดำเนินการจัดการเรียนการเรียนการสอนมาอย่างน้อยครึ่งระยะเวลาของหลักสูตร มีผลการประกันคุณภาพภายในอยู่ในระดับดีขึ้นไป และแจ้งความประสงค์มายัง สกอ. ภายในเดือนกรกฎาคม 2558 เพื่อให้ สกอ. จัดทีมคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ไปประเมินคุณภาพหลักสูตรแล้วได้ผลการประเมินคุณภาพภายในระดับดีขึ้นไป สมควรให้ขึ้นทะเบียนหลักสูตรดังกล่าว เพื่อเผยแพร่เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติซึ่งบันทึกในฐานข้อมูลหลักสูตรเพื่อการเผยแพร่ (Thai Qualification Register : TQR)

2. สำหรับหลักสูตรที่ยังไม่มี มคอ.1สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรมาอย่างน้อยครึ่งระยะเวลาของหลักสูตร และมีผลการประกันคุณภาพตนเองอยู่ในระดับดีขึ้นไปสองปีติดต่อกัน (ปีการศึกษา 2557 และ 2558) และในปีการศึกษา 2558 มีผลการประกันคุณภาพภายในโดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร ตามที่ ค.ป.ภ.กำหนด อยู่ในระดับดีขึ้นไป สมควรให้ขึ้นทะเบียนหลักสูตรดังกล่าว เพื่อเผยแพร่เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติซึ่งบันทึกในฐานข้อมูลหลักสูตรเพื่อการเผยแพร่ (Thai Qualification Register : TQR) ในปีการศึกษา 2559  สำหรับหลักสูตรที่ได้รับการรับรองตามระบบที่ ค.ป.ภ. ให้การรับรองแล้ว สามารถขึ้นทะเบียนหลักสูตรดังกล่าวตามระยะเวลาที่ได้รับการรับรองโดยบันทึกในฐานข้อมูลหลักสูตรเพื่อการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ (Thai Qualifications Register : TQR) โดยระยะเวลาการรับรองให้เป็นไปตามรอบระยะเวลาของระบบที่ ค.ป.ภ. ให้การรับรองนั้นกำหนดทั้งนี้ ให้ส่งเฉพาะข้อมูลพื้นฐานผ่านระบบ CHE QA Online ทุกปี

 

17. การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตนเองระดับหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการเป็นประจำทุกปี

 

มหาวิทยาลัยสามารถพิจารณาแต่งตั้งผู้ประเมินคุณภาพหลักสูตรได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้ประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเองหรือที่จัดโดยสถาบันอุดมศึกษาอื่นได้ ทั้งนี้ การพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพควรคำนึงถึงประโยชน์จากการประเมินเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของหลักสูตรเป็นสำคัญ หากมหาวิทยาลัยมีความประสงค์จะเผยแพร่หลักสูตรว่ามีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

 

 

 

 

ในการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน โดยเกินกว่ากึ่งหนึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันและอย่างน้อยหนึ่งคนต้องมีคุณวุฒิตรงกับสาขาวิชาที่ขอรับการประเมิน โดยประธานกรรมการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกสถาบัน และคณะกรรมการทุกคนต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนผู้ประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
18. แนวทางการประเมินคุณภาพภายในสำหรับสถาบันพระบรมราชชนก ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่นอกสังกัดของ สกอ.

– เนื่องจากสถาบันพระบรมราชชนกมีการจัดการเรียนการสอนเพียงหนึ่งคณะ คือ คณะพยาบาลศาสตร์ ดังนั้น การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในปีการศึกษา 2557 ของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จึงให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน 2 ระดับ คือ ระดับหลักสูตร และระดับสถาบัน

– ขอปรับเปลี่ยนเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรบางราย ตัวบ่งชี้ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของวิทยาลัยพยาบาล

– เนื่องจากสถาบันพระบรมราชชนกไม่มีระบบตำแหน่งทางวิชาการ จึงขอไม่รับการประเมินใน ตัวบ่งชี้ ระดับหลักสูตร คือ ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 คุณภาพอาจารย์ (ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ) และ ตัวบ่งชี้ระดับคณะ/สถาบัน คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะ/สถาบันที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 มีความเห็นว่า ตามกฎกระทรวงฯ แล้ว สถาบันพระบรมราชชนกไม่จำเป็นต้องเสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาเกณฑ์ดังกล่าว เพราะให้เป็นอำนาจของต้นสังกัด คือกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาไม่ขัดข้องที่สถาบันพระบรมราชชนกจะขอปรับเปลี่ยนเกณฑ์มาตรฐานบางตัวบ่งชี้เพื่อให้สอดคล้องตามเกณฑ์ของสถาบันพระบรมราชชนก จึงมีมติเห็นชอบดังนี้

1. การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2557 ของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ให้ประเมิน 2 ระดับ คือ ระดับหลักสูตร และระดับสถาบัน

2. กรณีวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกมีการจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สามารถใช้ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร เช่นเดียวกับหลักสูตรระดับปริญญาตรี โดยปรับเปลี่ยนเกณฑ์มาตรฐานในเฉพาะบางรายตัวบ่งชี้ได้ตามความเหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของแต่ละหลักสูตร

3. สถาบันพระบรมราชชนก สามารถปรับเปลี่ยนตัวบ่งชี้ที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของสถาบันได้โดยไม่ประเมินตัวบ่งชี้ดังกล่าวหรือใช้ ตัวบ่งชี้ที่เทียบเคียงได้

 

19. การพิจารณาตัดสินผลการประเมินตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพในระดับหลักสูตร ที่เน้นกระบวนการ

 

คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2558 มีมติเห็นชอบให้กำหนดคำอธิบายสำหรับการพิจารณาตัดสินผลการประเมินตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพในระดับหลักสูตร ที่เน้นกระบวนการ (การประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 3.1, 3.2, 4.1, 5.1, 5.2, 5.3 และ 6.1)เพื่อให้ผู้ประเมินนาไปใช้ในการตัดสินผลการประเมินให้เป็นมาตรฐานเดียวกันดังนี้

 

 

ตัวบ่งชี้กระบวนการ (3.1, 3.2, 4.1, 5.1, 5.2, 5.3 และ 6.1) หลักสูตรควรกำหนดผลลัพธ์ที่แสดงคุณภาพที่ต้องการจากกระบวนการที่หลักสูตรออกแบบ โดยอธิบายวิธีการดำเนินงานที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ มีการทบทวน/ประเมิน/ศึกษา ผลการดำเนินงานที่เทียบกับผลลัพธ์ที่กำหนด หากหลักสูตรไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ให้อธิบายว่ามีการปรับปรุงวิธีการทางานอย่างไร เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ (หมายเหตุ: ให้พิจารณาผลการดำเนินงานในภาพรวมไม่ควรพิจารณาแต่ละประเด็นย่อย)