แผนการจัดการความรู้ (Knowledge Management:KM) คณะบริหารและการจัดการ ปีการศึกษา 2561

แผนการจัดการความรู้ (Knowledge Management:KM)
คณะบริหารและการจัดการ ปีการศึกษา 2561
(มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)


คำสั่ง “แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบริหารและการจัดการ ปีการศึกษา 2561”

คำสั่ง “แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบริหารและการจัดการ ปีการศึกษา 2561”

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM 2561

 

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 1: วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 เวลา 15.15 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารและการจัดการ)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. ดร. กฤษณะ ดาราเรือง การติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้สอน กับ นักศึกษา นอกชั้นเรียน ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแบบเป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ เช่น e-Learning, social media ต่าง ๆ เช่น Facebook, line
2. อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ หอมเจริญ วิธีการสอนมีหลายวิธี เราต้องเลือกวิธีที่เหมาะกับผู้เรียน ซึ่งวิธีวิธีสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน   ( Co – operative Leaning ) ก็เป็นการเรียนที่ต้องรับผิดชอบ ร่วมกัน คือ การให้สมาชิกทุกคนใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานกลุ่ม   มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน ถ้าสมาชิกในกลุ่มไม่เข้าใจ เพื่อนในกลุ่มจะช่วยกันอธิบายจุดมุ่งหมายอยู่ที่การทำงานให้ สำเร็จ ทุกคนมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
3. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การเรียนปัจจุบันผู้เรียนถ้าสังเกต จะเห็นว่า เด็กสมาธิสั้น ดังนั้นการให้นักศึกษาต้องฟังนานๆ ในเรื่องเดิมๆ  เด็กจะเบื่อ และสุดท้ายก็ไม่สนใจ ดังนั้น ในการเรียน 1 วิชา/ครั้ง ควรต้องมีเทคนิคการสอนที่หลายหลาย มีการยกกรณีศึกษาและให้เด็กมีส่วนร่วมก็จะทำให้เด็กสนใจมาขึ้น
4. อาจารย์จิตนัย คณะบุตร การกำหนดกลุ่มเป้าหมายก็สำคัญ เนื้อหาในการสอนโดยดูกลุ่มนักศึกษาที่เรียนเนื้อหาแนวทางการสอนให้ตรงกับผู้เรียนโดยดูจาก อายุ กลุ่มสาขา และชั้นปีจากนั้นใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับกลุ่มดังกล่าว เช่น เกมส์ หรือสื่อที่สันสมัยทำให้เด็กตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาก็จะช่วยให้เด็กตั้งใจเรียนมากขึ้น เพราะ5.ปัจจุบันเด็กไม่ชอบจดหรือจำ แต่จะสนใจสิ่งที่แ6.ปลกใหม่ ไม่น่าเบื่อมากว่า
5. อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี ปัจจุบันกลุ่มผู้เรียนไม่สนใจในการเรียน และก็หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น และคุยกัน  และเมื่อก่อนเน้นสอนในตำรา จึงได้ปรับปรุงกระบวกการสอนโดยเน้นให้นักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริง  มีการส่งเสริมให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
6. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน คิดว่าผู้สอนต้องรู้ภูมิหลัง ความเป็นมาของนักศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับใด ปวช. ปวส.หรือมัธยมศึกษาตอนปราย มีความสามารถในระดับไหน มีความต้องการอะไรไม่ต้องการอะไร สนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ
7. อาจารย์วิรัช กาฬภักดี การวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อนำมาจัดทำแผนการสอนและการประเมินผลตามศักยภาพของผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
8. อาจารย์มัจรี สุพรรณ ใช้ Social Network ในการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษานอกเวลาเรียนในห้องเรียน โดยการใช้ Google Drive
9. อาจารย์ ดร. ดไนยา ตั้งอุทัยสุข การเรียนสำคัญคือต้องรู้จักผู้เรียน เทคนิคการสอนมีหลายวิธี แต่ไม่เหมาะกับทุกคน บางคนสมาธิสั้นการที่จะตั้งคำถามในสิ่งที่ผ่านไปนานๆ เขาไม่สามารถทำได้ แต่ควรหาเครื่องมืออื่นแทน เช่น การกำหนดสถานการณ์ และให้เขามีส่วนร่วมก็จะทำให้เขาสนใจมากว่า
10. อาจารย์ชมานนท์ นาถาบำรุง การมีส่วนร่วมของผู้เรียนสำคัญ  ไม่ว่าจะรูปแบบใดถ้าเขามีส่วนร่วมจะทำให้เขาจำได้และเรียนรู้ที่จะคิดต่อยอด ตรงกันข้างถ้าเขาเป็นฝ่ายรับอย่างเดียวจะทำให้เขาไม่จำและเบื่อในที่สุด

 สรุปประเด็น :

  1. การเรียนการสอนสามารถทำได้หลายช่องทาง ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น สามารถสื่อสารในสื่อ Online ได้ เช่น e-Learning, social media ต่าง ๆ เช่น Facebook, line
  2. วิธี/เทคนิคการสอนมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นต้องเลือกให้เหมาะกับผู้เรียน
  3. การวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อนำมาจัดทำแผนการสอนและการประเมินผลตามศักยภาพของผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  4. การมีส่วนร่วมของผู้เรียนสำคัญ หากการสอนแล้วกำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เช่น การคิดโจทย์ การแก้ปัญหา ฯลฯ จะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะหาคำตอบนั้นๆ

 

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน การกำหนดทิศทางการดำเนินงานวิจัย มีส่วนสำคัญในการทำให้หลักสูตร มีเป้าหมายในการดำเนินงานวิจัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์การวิจัยระดับชาติและความต้องการของชุมชน
2. อาจารย์วิรัช กาฬภักดี การเขียนบทความวิจัยสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องให้งานวิจัยนั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์แต่อาจเลือกนำลการวิจัยที่ดำเนินการบรรลุผลในบางวัตถุประสงค์มาเขียนเป็นบทความวิจัยเพื่อการเผยแพร่ได้
3. อาจารย์มัจรี สุพรรณ ชื่อบทความสำคัญ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของวลี ที่ต้องมีคำนามและคำเชื่อม
4. อาจารย์ ดร. ดไนยา ตั้งอุทัยสุข การเขียนบทความวิจัย เป็นการเขียนเอกสารทางวิชาการคล้ายกับการเขียนรายงานวิจัย แต่จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด ต้องศึกษารูปแบบให้ดี เพราะเท่าที่จำได้จะมีการจำกัดจำนวนหน้าด้วย
5. อาจารย์ชมานนท์ นาถาบำรุง บทความวิจัยหรือบทความวิชาการต้องคำนึงถึงความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์มากว่ารายงานวิจัย
6. อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี ต้องมีความเป็นมาตรฐานมากกว่ารายงานวิจัย เพราะบทความวิจัยจะต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาสาระ และรูปแบบการจัดพิมพ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสารนั้นๆ
7. อาจารย์วิรัช กาฬภักดี ประเภทของวารสารมีหลายแบบ เช่น วารสารทางวิชาการเฉพาะทาง เป็นวารสารที่มีจุดเน้นของลักษณะที่มีจุดเน้นของลักษณะบทความต่างกัน บางฉบับก็จะเน้นบทความที่เป็นการวิเคราะห์เชิงทฤษฎี เวลาจะส่งบทความต้องศึกษาให้ดี
8. อาจารย์มัจรี สุพรรณ แต่ถ้าเป็นวารสารแนวปริทัศน์ (Review) อันนี้เน้นการพิมพ์บทความแนวบุรณาการ หรือการสังเคราะห์งานวิจัย แต่ทั้งนี้ก็ต้องตามจุดเน้นอของวารสารนั้นๆ
9. อาจารย์จิตนัย คณะบุตร วารสารต้องมีคุณภาพ  ต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และที่สำคัญต้องมีคุณธรรมด้วย
10. ดร. กฤษณะ ดาราเรือง การวางแผนการตีพิมพ์ โดยจัดทำ Time line ในการดำเนินงานเพื่อวางแผนการตีพิมพ์ตามระยะเวลาที่ต้องการ
11. อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ หอมเจริญ เสนอให้มีการทบทวนปรับปรุงระบบและกลไกการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้อาจารย์เขียนบทความวิจัย/วิชาการเพิ่มมากขึ้นก่อนเป็นลำดับแรก เพราะเชื่อว่า หากมีระบบและกลไกที่ดีน่าจะช่วยให้อาจารย์มีความสะดวกในการดำเนินงานเพราะการตีพิมพ์วารสารวิชาการบางเล่มต้องเสียเงินค่าสมัครสมาชิก และชำระค่าตีพิมพ์ที่ราคาสูงเป็นอย่างมาก   โดยงานวิจัยกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการให้ทุนสนับสนุนเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย/ บทความวิจัย กับจำนวนที่เรียกเก็บ โดยที่ ไม่ต้องมีส่วนต่างที่ อาจารย์เป็นผู้ออกเอง

 

12. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง ชื่อเรื่อง (title) จะไม่เหมือนกับหัวข้อ (Topic) ต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะชื่อเรื่องเป็นชื่อของบทความ รายงานวิจัย งานวิจัย หรืองานเขียนอื่นๆ แต่หัวข้อเป็นการตอบคำถามว่างานนี้เกี่ยวข้องกับอะไร

สรุปประเด็น :

  1. การกำหนดทิศทางการดำเนินงานวิจัย มีส่วนสำคัญในการทำให้หลักสูตร มีเป้าหมายในการดำเนินงานวิจัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  2. ชื่อเรื่อง (title) จะไม่เหมือนกับหัวข้อ (Topic) ต้องศึกษาให้ดี
  3. ชื่อบทความทำหน้าที่สรุปใจความสำคัญของบทความ ไม่จำเป็นต้องตั้งให้ยาว แต่ต้องระบุตัวแปร ทฤษฎี หรือสิ่งที่ต้องกาศึกษา ใช้คำที่เอื้อต่อการทำดัชนีสืบค้น และผู้เขียนบทความควรระบุชื่อผู้เขียนตามลำดับความสำคัญและหน่วยงานที่สังกัด พร้อมให้ข้อมูลอื่นๆ ด้วย

 

(ภาพ)

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 1: วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 เวลา 15.15 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารและการจัดการ)

 

 

 

 

 

 

 

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 2: วันที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 13.30 – 14.45 น. ณ ห้อง 223)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน อาจารย์ต้องมีเทคนิคการสอนที่ทันสมัยปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันสมัยทันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะศาสตร์ทางด้านบัญชีที่อ้างอิงจากมาตรฐานการบัญชี IAS และ IFRS
2. อาจารย์วิรัข กาฬภักดี การส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนด้วยการกระทำ เพราะการได้ลงมือทำจริง จะทำให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย
3. ดร. กฤษณะ ดาราเรือง สร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่าน social media ต่าง ๆ เช่น Facebook, line เพื่อส่งข้อมูลแก่นักศึกษา รวมถึง Crip ที่มีประโยชน์เกี่ยวกับด้านความต้องการของสถานประกอบการ หรือทักษะสำคัญในยุคปัจจุบัน
4. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง ปัจจุบันการสอนต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะใช้เทคนิคใดๆ ต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม หรือบางครั้งควรเริ่มที่ตัวผู้เรียน เช่น ให้เขาเป็นผู้สร้างสถานการณ์ เป็นต้น
5. อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ หอมเจริญ วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming ) เป็นการระดมสมอให้มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย ช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือก สำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือก ที่ดีที่สุด ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทาง
6. อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี ก่อนการทำการเรียนการสอน เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพให้อธิบายผลการเรียนที่ต้องการที่ระบุใน มคอ.3 ให้นักศึกษาทราบก่อน
7. การประเมินผลระหว่างเรียน เพื่อประเมินความเข้าใจของนักศึกษาทีมีต่อการเรียนการสอนของอาจารย์ ซึ่งเป็นการแก้ไข ความไม่เข้าใจในวิธีต่างๆที่ทำการสอนหรือกิจกรรมต่างๆที่จัดทำ ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยการทำกิจรรมระหว่างเรียน โดยการนำปัญหาต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการสอนอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในกระบวนการต่างๆของการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น
8. อาจารย์อรวรรณ เกิดจันทร์ การชี้แจงและสร้างความเข้าใจระหว่าง ผู้สอน กับ นักศึกษา แนวทางการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และภายนอกห้องเรียนในรูปแบบต่าง ๆ จากสื่อต่างๆ เช่น Facebook, line
9. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช ผู้สอนต้องมีเทคนิคการสอนที่ทันสมัยปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันสมัยทันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน
10. อาจารย์ชุติมา พราหมนันท์ การจัดการเรียนการสอนแบบบรรยาย เน้นการสอนโดยใช้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้โดยตรงโดยมุ่งให้นักศึกษาศึกษาโดยวิธีค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น ลงมือปฏิบัติมากขึ้น เน้นให้เกิดการคิดการแก้ปัญหาต่าง ๆ

 

สรุปประเด็น :

  1. การส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนด้วยการกระทำ เพราะการได้ลงมือทำจริง จะทำให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย
  2. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเข้าใจสถานการณ์ จึงจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจในหลักการต่างๆ ได้
  3. สร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่าน social media ต่าง ๆ เช่น Facebook, line เพื่อส่งข้อมูลแก่นักศึกษา รวมถึง Crip ที่มีประโยชน์เกี่ยวกับด้านความต้องการของสถานประกอบการ หรือทักษะสำคัญในยุคปัจจุบัน

 

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี การพิจารณาวารสารที่จะตีพิมพ์  ควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์
2. อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ หอมเจริญ ให้พิจารณาความเชี่ยวชาญของตนเองเป็นอันดับแรกว่ามีความรอบรู้ลึกซึ้งในด้านกำหนดประเด็นของ บทความวิชาการ Theme การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมากพอ และต้องอาศัยเวลาและโอกาสในการอ่านเพื่อกลั่นกรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ความรู้ที่เกิดจากการอ่าน มีทัศนะของผู้เขียนบนฐานข้อเท็จจริงทางวิชาการ
3. อาจารย์วิรัช กาฬภักดี งานวิจัยที่มีขอบเขตการวิจัยที่หลากหลายและกว้างขวาง สามารถนำมาแยกเขียนเป็นบทความวิจัยได้หลายบทความ
4. อาจารย์จารุวรรณ กมลสินธุ์ ในงานวิจัย 1 เล่ม สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการตีพิมพ์ได้ 2 เรื่อง คือ 1 การ Review Content กับ 2 ผลของการวิจัยในวัตถุประสงค์หลัก
5. อาจารย์เรวดี วงษ์วัฒนะ การเลือกวารสาร ควรพิจารณาจุดเน้นของเอกสารนั้นๆว่า  มีเนื้อหาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอกาสในการตีพิมพ์
6. ดร. กฤษณะ ดาราเรือง ในงานวิจัย 1 เล่ม สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการตีพิมพ์ได้ 2 เรื่อง คือ 1 การ Review Content กับ 2 ผลของการวิจัยในวัตถุประสงค์หลัก
7. อาจารย์ปิยะวดี หาดแก้ว ต้องมีการวางแผนการเขียนการวิจัยและบทความวิชาการที่สร้างผลทางสังคมจึงจะสามารถตีพิมพ์ในกลุ่มวารสาร (TCI)
8. อาจารย์ชมปณัสกาญน์ ศุภวงศ์ธนาการนต์ การสร้างเครือข่ายนักวิจัยระหว่างสาขาวิชา เพื่อการบูรณาการผลงานวิจัยหรือบทความวิชาการข้ามศาสตร์ และการให้ข้อคิดข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์
9. ดร. สิทธิพร เขาอุ่น การปรับประเภทหรือกลุ่มวารสาร การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking การเป็นที่ยอมรับ ความต่อเนื่อง จำนวนปีที่ตีพิมพ์ รูปแบบการตีพิมพ์ เช่น แบบอิเล็กทอรนิกส์ หรือตัวเล่ม
10. อาจารย์ณัฎฐาพร มีโชติ การศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) ในการพิจารณาคุณภาพบทความที่ครอบคลุมสาขาวิชาหรือกลุ่มสาขาวิชาตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รวมถึงกระบวนการคัดกรองบทความวิจัยที่มีคุณภาพ

สรุปประเด็น :

  1. การพิจารณาวารสารที่จะตีพิมพ์สิ่งที่ควรพิจารณา คือ จุดเน้นของวารสารว่าวารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด ก็จะทำให้รู้แนวทางและมีโอกาสในการตีพิมพ์มากขึ้น
  2. งานวิจัยที่มีขอบเขตการวิจัยที่หลากหลายและกว้างขวาง สามารถนำมาแยกเขียนเป็นบทความวิจัยได้หลายบทความ แต่ต้องมีประเด็นที่แตกต่าง
  3. ในงานวิจัย 1 เล่ม สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการตีพิมพ์ได้ 2 เรื่อง คือ 1 การ Review Content กับ 2 ผลของการวิจัยในวัตถุประสงค์หลัก

 

(ภาพ)

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 2: วันที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 13.30 – 14.45 น. ณ ห้อง 223)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 3: วันที่ 28 สิงหาคม 2561 เวลา 15.10 – 16.30 น. ณ ห้อง 222)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง ปรับวิธีการสอน โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หรือใช้กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ และมีใช้วัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง โดยคำนึงถึงการเรียนรู้ ของผู้เรียนทั้งความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะ
2. ดร.กฤษณะ ดาราเรือง การเปลี่ยนบทบาทจากผู้บรรยาย เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้า หรือใช้กระบวนการวิจัย ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ และมีใช้วัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง โดยค่านึงถึงการเรียนรู้ ของผู้เรียนทั้งความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะ
3. อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ หอมเจริญ วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice ) ให้ผู้เรียน โดยการให้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นการสอนที่มุ่งให้เกิดการผสมผสานระหว่าง  ทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ เป็นการฝึกฝนความรู้ความเข้าใจจากทฤษฎีที่เรียนมาโดยเน้นการฝึกทักษะ

 

4. อาจารย์ชมานนท์ นาถาบำรุง กำหนดเป้าหมายในการเรียนการสอนให้ตรงกับพันธกิจโดยแบ่งหัวข้อเป็น

1.  การกำหนดเนื้อหารายวิชาให้ชัดเจน

2.  การฝึกทักษะทางความคิด การวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาการทำงานร่วมกับผู้อื่น

5. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน สร้างแรงจูงใจ อาจารย์ต้องมีความกระตือรือร้นตื่นตัวตลอดเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีทางเลือกเช่น มีแบบฝึกหัดหลายข้อให้นักศึกษาเลือกทำโดยอาจารย์อาจกำหนดจำนวนข้อให้ ตั้งเป้าหมายโดยบอกให้นักศึกษาว่าในการเรียนการาอรอาจารย์ต้องการอะไร คาดหวังให้นักศึกษาสามารพนำไปใช้ประโยชน์ได้
6. อาจารย์วิรัช กาฬภักดี การส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
7. อาจารย์จุรีรัตน์ เกตุแก้ว การเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้า หรือใช้กระบวนการวิเคราะห์ ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยคำนึงถึงการเรียนรู้ ของผู้เรียนทั้งความรู้ ทักษะ ที่สามารถใช้ได้จริงในการเรียน และการทำงานในชีวิตประจำวัน
8. อาจารย์ ดร. ดไนยา ตั้งอุทัยสุข การพัฒนาเทคนิคการสอนที่ทันสมัยสอดคล้องกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ต้องอธิบายผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ที่แสดงออกและวัดได้ และกำหนดวิธีการสอน โดยระบุใน มคอ.3 เพื่อผู้สอนจะได้มีแนวทางการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. อาจารย์มัจจรี สุพรรณ ปรับจากการเรียนแบบบรรยายเป็นแบบ Project Base
10. อาจารย์จักรพันธ์ จันทร์เขียว ต้องใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอน เพราะปัจจุบันพฤติกรรมและความสนใจของผู้เรียนเปลี่ยนไป เขาไม่ชอบการจดบันทึก หรือให้ทำอะไรที่เดิมๆ เช่น การบรรยายหน้าชั้นเรียน ดังนั้น รูปแบบหรือเทคนิคการสอนต้องให้ตอบสนองความสนใจของผู้เรียน จึงจะทำให้เขาเกิดความสนใจ และอยากที่จะเรียนรู้

 

สรุปประเด็น :

  1. การพัฒนาเทคนิคการสอนที่ทันสมัยสอดคล้องกับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ต้องอธิบายผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ที่แสดงออกและวัดได้ และกำหนดวิธีการสอน โดยระบุใน มคอ.3 เพื่อผู้สอนจะได้มีแนวทางการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ต้องใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอน เพราะปัจจุบันพฤติกรรมและความสนใจของผู้เรียนเปลี่ยนไป เขาไม่ชอบการจดบันทึก หรือให้ทำอะไรที่เดิมๆ เช่น การบรรยายหน้าชั้นเรียน ดังนั้น รูปแบบหรือเทคนิคการสอนต้องให้ตอบสนองความสนใจของผู้เรียน จึงจะทำให้เขาเกิดความสนใจ และอยากที่จะเรียนรู้
  3. การส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น

 ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. ดร.กฤษณะ ดาราเรือง Introduction ต้องบรรยายให้เห็นพัฒนาการของผลงานวิจัยก่อนหน้านี้ และนำเข้าสู่ปัญหาวิจัย
2. อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ หอมเจริญ นอกจากการเขียน บทความในประเด็นที่เรามีความชำนาญมากที่สุด  มีความเชี่ยวชาญที่สุดและเข้าใจอย่างลึกซึ้งในทางทฤษฏี ตลอดจนทุกประเด็นเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำ   การวิเคราะห์ การพิจารณาจาก  Impact Factor   คือ การยอมรับอ้างอิงของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ  การเลือกวารสารอ้างอิงต้องพิจารณาจากผลการกำหนดอันดับของ Impact Fator ของวารสารนั้นประกอบด้วย(Impact Factor หรือ Journal Impact Factor หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ย ที่บทความของวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิง ในแต่ละปี)

 

3. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน การพัฒนาตนเองทางการการพัฒนาผลงานวิจัยควรเริ่มตั้งแต่การเลือกปัญหาการวิจัย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตั้งข้อสมมุติฐานการวิจัย การหาแนวทางการแก้ไขปัญหา การออกแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิจัย และที่มสำคัญการเผยแพร่ผลการวิจัย
4. อาจารย์วิรัช กาฬภักดี บทความวิจัยจะต้องมีประเด็นหรือแนวคิดทางวิชาการที่ชัดเจน
5. อาจารย์จุรีรัตน์ เกตุแก้ว การเลือกวารสารควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์
6. อาจารย์อรวรรณ เกิดจันทร์ การเลือกวารสาร ควรพิจารณาจุดเน้นของเอกสารนั้นๆว่า  มีเนื้อหาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอกาสในการตีพิมพ์
7. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย และผลการวิจัยต้องสรุปให้มีความกะทัดรัดและสั้น
8. อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี ผลงายวิจัยควรผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ เนื่องจากวารสารบางฉบับอาจกำหนดหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์
9. อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง ควรทำความเข้าใจในกฎระเบียบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการอย่างละเอียดถี่ถ้วน และห้ามส่งบทความวิชาการเรื่องเดียวกันลงในวารสารหลายฉบับ
10. อาจารย์จักรพันธ์ จันทร์เขียว การสร้างระบบกรค้นคือการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Cited reference searching) ระหว่างเครือข่ายระหว่างสาขา และคณะจะมีการจัดทำดัชนีในเขตข้อมูลรายการอ้างอิง (Cited reference field)

สรุปประเด็น :

  1. ควรทำความเข้าใจในกฎระเบียบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการอย่างละเอียดถี่ถ้วน และห้ามส่งบทความวิชาการเรื่องเดียวกันลงในวารสารหลายฉบับ
  2. การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย และผลการวิจัยต้องสรุปให้มีความกะทัดรัดและสั้น
  3. บทความวิจัยจะต้องมีประเด็นหรือแนวคิดทางวิชาการที่ชัดเจน
  4. การเลือกวารสารควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์

 

(ภาพ)

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 3: วันที่ 28 สิงหาคม 2561 เวลา 15.10 – 16.30 น. ณ ห้อง 222)

 

 

 

 

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 4: วันที่ 19 กันยายน 2561 เวลา 13.30 – 14.45 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารฯ)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์มัจจรี สุพรรณ ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ Internet โดยผู้สอนต้องหาแหลางการสืบค้นให้กับนักศึกษาทราบแหล่งเรียนรู้
2. ดร. กฤษณะ ดาราเรือง การจัดการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญกับนักศึกษา โดย ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายเทคโนโลยี Internet ในเรื่องที่สอดคล้องกับเนื้อหาบาทเรียน โดยอาจารย์ต้องสามารถให้ความรู้ในด้านแหล่งสืบค้น และเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียนแก่นักศึกษา
3. อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ หอมเจริญ วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ( Simulation )

วิธีสอนที่จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ใน ชั้นเรียน โดยพยายามทำให้เหมือจริงที่สุด มีการกำหนดกติกาหรือเงื่อนไข แล้วแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มให้ เข้าไปเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ๆ ด้วยกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการเผชิญกับปัญหา จะต้องมีการตัดสินใจและใช้ไหวพริบ

4. ดร.สิทธิพร เขาอุ่น มอบหมายงานให้นักศึกษาทำระหว่างศึกษา ควรมอบหมายงานในลักษณะ โครงงาน หรือ วิจัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ไปบูรณาการกับการทำงานจริง สามารถเกิดองค์ความรู้ใหม่ และแก้ไขปัญหาได้จริง
5. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน อาจารย์อาจจะต้องสังเกตพฤติกรรมนักศึกษา หากเห็นว่าคนไหนกำลังประสบปัญหาหรือไม่สบายใจ ควรสอบถามและให้กำลังใจ สามารถนำกิจกรรมบางอย่างมาช่วยก็ได้
6. อาจารย์วิรัช กาฬภักดี การตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
7. อาจารย์จุรีรัตน์ เกตุแก้ว อาจารย์ต้องสามารถให้ความรู้ในด้านแหล่งสืบค้นข้อมูลที่ถูกต้อง และเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียนแก่นักศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญแก่นักศึกษา สามารถส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายเทคโนโลยี Internet  ในเรื่องที่สอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียน ส่งผลให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง โดยการใช้วิธีในการสอนในลักษณะนี้ อาจารย์ผู้สอนจะต้องมีความรู้ที่เพียงพอสามารถให้ข้อมูลต่างๆแก่นักศึกษาได้อย่างเป็นปัจจุบันที่สุด
8. อาจารย์จิตนัย คณะบุตร จัดการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญกับนักศึกษา โดยส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายเทคโนโลยี Internet ในเรื่องที่สอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียน โดยอาจารย์ต้องสามารถให้ความรู้ในด้านแหล่งสืบค้น และเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียนแก่นักศึกษา
9. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ Internet โดยผู้สอนต้องหาแหลางการสืบค้นให้กับนักศึกษาทราบแหล่งเรียนรู้
10. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การสอนอีกรูปแบบคือการให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มในการคิดแก้โจทย์ปัญหาและสรุปเป็นหลักการของกลุ่ม ซึ่งผู้สอนอาจจะมอบโจทย์ให้กับผู้เรียน ซึ่งหลักสำคัญคือการคือให้ครอบคลุมทักษะต่างๆ ทั้ง 5 ด้าน และบางวิชาที่เป็นการคำนวณควรเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียนด้วย

 สรุปประเด็น :

  1. ควรมีการตรวจเช็ค ว่าผู้เรียนมีการตอบสนองหรือไม่ โดยสังเกตพฤติกรรมการแสดงออก เช่น ท่าทาง สีหน้า ฯลฯ
  2. การสอนอีกรูปแบบคือการให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มในการคิดแก้โจทย์ปัญหาและสรุปเป็นหลักการของกลุ่ม ซึ่งผู้สอนอาจจะมอบโจทย์ให้กับผู้เรียน ซึ่งหลักสำคัญคือการคือให้ครอบคลุมทักษะต่างๆ ทั้ง 5 ด้าน และบางวิชาที่เป็นการคำนวณควรเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียนด้วย
  3. การจัดการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญกับนักศึกษา โดย ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายเทคโนโลยี Internet ในเรื่องที่สอดคล้องกับเนื้อหาบาทเรียน โดยอาจารย์ต้องสามารถให้ความรู้ในด้านแหล่งสืบค้น และเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียนแก่นักศึกษา

 

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์จิตนัย คณะบุตร งานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณาการตีพิมพ์ จะต้องมีเรื่องที่เป็นประโยชน์และมี  Impact  สูง  เพราะฉะนั้นผู้ทำจะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงาน
2. ดร.กฤษณะ ดาราเรือง งานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญเพราะฉะนั้นอาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงาน
3. อาจารย์ณัฎฐ์ธนินทร์ หอมเจริญ บทความวิจัยที่จะเผยแพร่ควรเป็นประเด็นที่เป็นเรื่องที่น่าสนใจ(Hot  Issue)    ต้องเป็นบทความวิจัยที่ใหม่  ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใด ซึ่งแหล่งเผยแพร่บทความวิจัยหลายแห่งจะระบุไว้ว่าในการเสนอต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่จะต้องไม่เคยอยู่ หรือ อยู่ในระหว่างรอการนำเสนอเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในที่อื่น        ดังนั้น บทความวิจัยเรืองเดียวกันจะทำได้เพียงครั้งเดียว ไม่สมารถลงซ้ำและถือเป็นจรรยาบรรณสำคัญของนักวิจัยหรือนักวิชาการที่ควรยึดปฏิบัติโดยเคร่งครัด

 

4. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช วิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง จะเป็นวิจัยที่ได้รับการยอมรับในเวทีต่าง ๆ เพราะวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์มีความสำคัญ การทำวิจัยผู้วิจัยจะต้องศึกษาข้อมูล ให้ดี เลือกประชากรกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องตามหลักการ
5. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน บทความวิจัยจะต้องมีความทันสมัย และวิเคราะห์เป็นไปตามแนวคิดและทฤษฎีที่เหมาะสมและชัดเจน
6. อาจารย์จุรีรัตน์ เกตุแก้ว วารสารแต่ละเล่ม (กองวารสาร) มีรอบการตีพิมพ์ที่ต่างกัน เช่น 4 เล่มต่อปี 3 เล่มต่อปี หรือ 2 เล่มต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในกระบวนการพิจารณา
7. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง ส่วนประกอบของบทความวิจัยที่สำคัญอีกประการคือ วิธีการ (Methods) ซึ่งเป็นการเสนอสาระของวิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ลักษณะของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง การนิยามตัวแปร เครื่องมือวิจัยและคุณภาพเครื่องมือ วิธีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
8. ดร.สิทธิพร เขาอุ่น ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Results) อันนี้ต้องเสนอเนื้อหาบรรยายแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย ซึ่งต้องมีการบรรยายสาระประกอบด้วย

สรุปประเด็น :

  1. งานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญเพราะฉะนั้นอาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงาน
  2. ส่วนประกอบของบทความวิจัยที่สำคัญอีกประการคือ วิธีการ (Methods) ซึ่งเป็นการเสนอสาระของวิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ลักษณะของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง การนิยามตัวแปร เครื่องมือวิจัยและคุณภาพเครื่องมือ วิธีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
  3. วิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง จะเป็นวิจัยที่ได้รับการยอมรับในเวทีต่าง ๆ เพราะวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์มีความสำคัญ การทำวิจัยผู้วิจัยจะต้องศึกษาข้อมูล ให้ดี เลือกประชากรกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องตามหลักการ

 

 

 (ภาพ)

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 4: วันที่ 19 กันยายน 2561 เวลา 13.30 – 14.45 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารฯ)

 

 

 

 

 

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 5: วันที่ 12 ตุลาคม 2561 เวลา 14.30 – 15.35 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารฯ)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์มัจรี สุพรรณ กิจกรรมและแบ่งกลุ่มตามลักษณะของนักนักศึกษาในการเรียนให้เหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษามากที่สุด
2. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน ในการจัดการเรียนการสอนจะเห็นได้ว่านักศึกษาแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ทำให้การแสดงผลของการเรียนรู้ของแต่ละคน ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน อาจารย์จึงต้องจัดสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนในลักษณะที่ทำให้นักศึกษาสามารถช่วยกันระดมความคิดเห็นโดยภาพรวมเป็นกลุ่มๆและสามารถสรุปออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ส่งผลให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ในการคิดวิเคราะห์และการทำงานร่วมกันที่ถูกวิธี และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษาในการเรียนภายในห้องเรียน และเป็นประโยชน์แก่อาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนให้ศึกษาให้เกิดทักษะองค์ความรู้ที่ถูกวิธี
3. อาจารย์วิรัช กาฬภัดี ในการจัดการเรียนการสอนจะเห็นได้ว่านักศึกษาแต่ละ คนมีความแตกต่างกัน ทำให้การแสดงผลของการเรียนรู้ ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน อาจารย์จึงต้องจัดสภาพแวดล้อม และกิจกรรมในการเรียนให้เหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษามากที่สุด
4. อาจารย์จารุวรรณ กมลสินธุ์ วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )

วิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดย มีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การ กระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง

5. อาจารย์ ดร.ดไนยา ตั้งอุทัยสุข การจัดการสอนแบบลงปฏิบัติ เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม/ทีม มากขึ้น เพื่อสร้างทักษะให้นักศึกษาเกิดความเป็นผู้นำ-ผู้ตามในเวลาเดียวกัน แชร์ประสบการณ์หรือความรู้ซึ่งกันและกัน เกิดกระบวนการคิดร่วมกัน ลงมือปฏิบัติด้วยกัน แก้ปัญหาร่วมกัน จะทำให้เกิดการวิเคราะห์ต่าง ๆ มากขึ้น
6. อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี การสอนนักศึกษาที่เรียนด้านบัญชี ควรเน้นให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดหลายๆ ข้อ โดยลักษณะของแบบฝึกหัดต้องมีระดับความยากง่าย มีกำไร มีขาดทุน ให้นักศึกษาได้เห็นข้อแตกต่าง เน้นการสอนที่ต้องให้นักศึกษาสามรถวิเคราะห์ นำเสนอ และรายงานผลของข้อมูลได้
7. อาจารย์จักรพันธ์ จันทร์เขียว การใช้สื่อการสอน ที่หลากหลายและทันสมัย เพื่อเร้าความสนใจ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
8. อาจารย์ชุติมา พราหมนันท์ กิจกรรมและแบ่งกลุ่มตามลักษณะของนักนักศึกษาในการเรียนให้เหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษามากที่สุด
9. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง Problem Solving เป็นเทคนิคเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหา กรณีนี้ผู้สอนควรกำหนดปัญหาหรือสถานการณ์หรืออาจนำเอาปัญหามาเป็นหน่วยการเรียนรู้ก็ได้ หรืออาจให้ผู้เรียนนำเสนอปัญหาหรือสถานการณ์ที่เขาสนใจก็ได้
10. อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี การสอนโดยการกำหนดปัญหาผู้เรียนต้องตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหานั้นและสรุปสาเหตุของปัญหาโดยกำหนดเป็นสมมติฐานด้วย

 

สรุปประเด็น :

  1. การจัดการสอนแบบลงปฏิบัติ เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม/ทีม มากขึ้น เพื่อสร้างทักษะให้นักศึกษาเกิดความเป็นผู้นำ-ผู้ตามในเวลาเดียวกัน แชร์ประสบการณ์หรือความรู้ซึ่งกันและกัน เกิดกระบวนการคิดร่วมกัน ลงมือปฏิบัติด้วยกัน แก้ปัญหาร่วมกัน จะทำให้เกิดการวิเคราะห์ต่าง ๆ มากขึ้น
  2. Problem Solving เป็นเทคนิคเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหา กรณีนี้ผู้สอนควรกำหนดปัญหาหรือสถานการณ์หรืออาจนำเอาปัญหามาเป็นหน่วยการเรียนรู้ก็ได้ หรืออาจให้ผู้เรียนนำเสนอปัญหาหรือสถานการณ์ที่เขาสนใจก็ได้
  3. ปรับรูปแบบให้มีการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายและทันสมัย เพื่อเร้าความสนใจ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น

 

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์ชุติมา พราหมนันท์ งานวิจัยที่จะได้รับหารพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญ เพราะฉนั้นอาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงานของตนเอง
2. อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี ผลงานที่ตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าวารสารอยู่ใน TCI ฐานไหนซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง Website
3. อาจารย์จักรพันธ์ จันทร์เขียว ในการจัดการเรียนการสอนจะเห็นได้ว่านักศึกษาแต่ละ คนมีความแตกต่างกัน ทำให้การแสดงผลของการเรียนรู้ ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน อาจารย์จึงต้องจัดสภาพแวดล้อม และกิจกรรมในการเรียนให้เหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษามากที่สุด
4. ดร.กฤษณะ ดาราเรือง สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับนักศึกษาในการกำหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือ หัวข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับหลักสูตรและการปฏิบัติงาน เพื่อให้นักศึกษาประเมินสถานการณ์หากต้องปฏิบัติงานจริง
5. อาจารย์วิรัช กาฬภักดี วรรณกรรมที่นำมาใช้ต้องสัมพันธ์กับงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ ไม่ควรเขียนทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้วิจัยอ่านมา
6. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ สำคัญอีกประการคือการใช้ภาษา  ภาษาต้องจบประโยค เลี่ยงภาษาที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ควรหลีกเลี่ยงภาษาพูด ภาษาที่ฟุ่มเฟือย ไม่กระชับ เป็นต้น
7. อาจารย์จารุวรรณ กมลสินธุ์ ภาษาที่ใช้บางครั้งพบว่าเป็นประโยคที่ซับซ้อนควรใช้คำเชื่อมที่เหมาะสม ส่วนใหญ่ใจความสำคัญมีเพียงประโยคเดียวส่วนใหญ่เป็นส่วนขยายเสียมากกว่า
8. อาจารย์ ดร.ดไนยา ตั้งอุทัยสุข หนึ่งหน้าควรมีเพียงย่อหน้าเดียว แต่ถ้าสำคัญและกลัวว่าจะทำให้ผู้อ่านจับประเด็นไม่ได้ หากข้อความยาวเกินไป ก็อาจเพิ่มได้แต่ต้องดูให้เหมาะสม

 

สรุปประเด็น :

  1. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับนักศึกษาในการกำหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือ หัวข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับหลักสูตรและการปฏิบัติงาน เพื่อให้นักศึกษาประเมินสถานการณ์หากต้องปฏิบัติงานจริง
  2. การเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ สำคัญอีกประการคือการใช้ภาษา ภาษาต้องจบประโยค เลี่ยงภาษาที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ควรหลีกเลี่ยงภาษาพูด ภาษาที่ฟุ่มเฟือย ไม่กระชับ เป็นต้น
  3. วรรณกรรมที่นำมาใช้ต้องสัมพันธ์กับงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ ไม่ควรเขียนทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้วิจัยอ่านมา

 

 

    (ภาพ)

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

 

#อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก >>> แลกเปลี่ยน-KM-61

 

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 6: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.30 – 16.35 น. ณ ห้อง 222)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์มัจจรี สุพรรณ การจัดการเรียนการสอนหากอาจารย์ออกแบบกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายจะสามารถสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี อาจารย์ผู้สอนควรเลือกกรณีศึกษาที่เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีหรือเนื้อหาวิชาอย่างชัดเจน
3. ดร. กฤษณะ ดาราเรือง การใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายจะเป็นการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ
4. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน การนำเสนองานหน้าชั้นเรียนควรส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ควรใช้สื่อที่ทันสมัย เช่น YouTube
5. อาจารย์ชมานนท์ นาถาบำรุง การทำกิจกรรมกลุ่มควรกำหนดบทบาทให้นักศึกษาอย่างชัดเจน
6. อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง e-Learning/ digital media เป็นสื่อที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และนำข้อมูลมาทบทวน ได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียน
7. อาจารย์อรวรรณ เกิดจันทร การประเมินผลระหว่างเรียนให้กำหนดโจทย์ที่ชัดเจน และเกิดการกระจายการวัดและประเมินผล
8. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การประเมินผลการทำงานกลุ่มก็ใช้ได้ เพราะจะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วม แต่ทั้งนี้ต้องสรุปประเด็น หรือกำหนดประเด็นบางอย่างในการแสดงความเห็นและหาข้อยุติร่วมกัน

 

 

9. อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี เน้นการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ก็จะเป็นการฝึกทักษะทางปัญญาให้กับผู้เรียนด้วย อาจสร้างเป็นสถานการณ์ก็ได้
10. อาจารย์จิตนัย คณะบุตร การมอบหมายให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล และนำมาอภิปรายในชั้นเรียน และสอดแทรกให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการใช้สื่อด้วยก็จะเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารให้กับผู้เรียนได้ด้วย

 

สรุปประเด็น :

  1. การประเมินผลการทำงานกลุ่มก็ใช้ได้ เพราะจะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วม แต่ทั้งนี้ต้องสรุปประเด็น หรือกำหนดประเด็นบางอย่างในการแสดงความเห็นและหาข้อยุติร่วมกัน
  2. การมอบหมายให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล และนำมาอภิปรายในชั้นเรียน และสอดแทรกให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการใช้สื่อด้วยก็จะเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารให้กับผู้เรียนได้ด้วย
  3. การนำเสนองานหน้าชั้นเรียนควรส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ควรใช้สื่อที่ทันสมัย

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน บทนำ และวัตถุประสงค์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้อ่านเห็นว่ารายงานที่กำลังจะอ่านต่อไปมีคุณค่าสมควรแก่การอ่าน ในบทนำจึงควรบอกว่าปัญหานี้มีความสำคัญอย่างไรจึงต้องทำการวิจัย มีข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง

 

2. อาจารย์ชมานนท์ นาถาบำรุง ลักษณะที่ดีของบทความวิจัยอธิบายถึงปัญหาอย่างชัดเจน บอกเจตนาและเหตุผลของการวิจัย กล่าวถึงรากฐานทางทฤษฎีของงานวิจัย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

3. อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับรองการนำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์ หมายถึง หน่วยงานหรือ องค์กร หรือชุมชนภายนอกสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีการนำงานวิจัยหรืองาน สร้างสรรค์ของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาไปใช้ ก่อให้เกิดประโยชน์

 

4. อาจารย์อรวรรณ เกิดจันทร ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น ไม่นำผลงานในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารมากกว่า 1 ฉบับ

 

5. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล และแสดงหลักฐานของการค้นคว้า

 

6. อาจารย์มัจจรี สุพรรณ การละเมิดลิขสิทธิ์ในกรณีที่การเผยแพร่งานครั้งแรกนั้นมีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่ การเผยแพร่ซ้ำ ใน บางบริบทอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้

 

7. อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี การวิจัยเชิงคุณภาพถือว่า กรอบแนวคิดไม่ใช่สิ่งที่จะยึดตายตัว แต่เป็นเพียงแนวทาง สำหรับหาคำตอบในการวิจัย โดยสามารถยืดหยุ่นหรือปรับได้เมื่อมีหลักฐานหรือข้อมูลที่ชี้ว่าควรปรับปรุง
8. ดร. กฤษณะ ดาราเรือง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม

 

สรุปประเด็น :

  1. ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงานวิชาการ ผู้วิจัยต้องไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น ไม่นำผลงานในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารมากกว่า 1 ฉบับ
  2. การอ้างอิงบุคคลต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล และแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
  3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับรองการนำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์ หมายถึง หน่วยงานหรือ องค์กร หรือชุมชนภายนอกสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีการนำงานวิจัยหรืองาน สร้างสรรค์ของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาไปใช้ ก่อให้เกิดประโยชน์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ภาพ)

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 6: วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.30 – 16.35 น. ณ ห้อง 222)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 7: วันที่ 28 ธันวาคม 2561 เวลา 14.30 – 15.35 น. ณ ห้อง 224)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์ชุติมา พราหมนันท์ หากอาจารย์เข้าใจและสังเกต การเรียนรู้ของนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนใน อาจารย์จะได้ทราบถึงหลักเกณฑ์ในการสอนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยการจัดให้มีทั้งแนวทฤษฎีและแนวปฏิบัติควบคู่ไปกับกิจกรรมต่างๆภายในห้องเรียน และส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้ว่าผลการออกแบบกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายจะสามารถเสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้กรณีศึกษาต่างๆด้วยตนเอง และเกิดความเข้าใจในหลายด้านๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี การเลือกกรณีศึกษาประกอบการเรียนการสอน ควรพิจารณากรณีศึกษาที่เป็นปัจจุบันที่สุด และสอดคล้องกับสาระสำคัญของเนื้อหาวิชา โดยให้นักศึกษาร่วมกันมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และอภิปรายอย่างมีเหตุผล และในการสรุปสาระสำคัญของกรณีศึกษา อาจารย์ผู้สอนควรชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีหรือเนื้อหาวิชาอย่างชัดเจน เพื่อส่งผลให้นักศึกษาสามารถเข้าใจได้โดยง่ายและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
3. อาจารย์จักรพันธ์ จันทร์เขียว ปัจจุบันแหล่งความรู้มีมากขึ้น  ด้วยเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น และเข้าถึงได้ง่ายทั้งในรูปแบบเอกสาร วารสาร หนังสือ และบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างๆ โดยประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้เกิดการต่อยอดไปสู่ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งอาจารย์ต้องเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษา และสามารถชี้แนะแหล่งเรียนรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่นักศึกษา เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอน
4. ดร.กฤษณะ ดาราเรือง การจัดการเรียนการสอน โดยการส่งเสริมให้นักศึกษามีหลายวิธี โดยเริ่มจากการอธิบายและใช้สื่อเทคโนยีต่างๆเป็นตัวช่วยให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจทักษะด้านเทคโนโลยี และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงจากสถานการณ์จริง โดยการให้นักศึกษาลงพื้นที่จริงในการสำรวจ การคิด การวิเคราะห์ ลักษณะต่างๆ ของนักท่องเที่ยว และนำมาสรุปผลที่ในการนำเสนอรายงานในลักษณะเป็น YouTube การตัดต่อเป็น Crip VDO แทนการนำเสนอในลักษณะรายงานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากที่สุดจากสถานการณ์จริงที่นักศึกษาจะต้องพึงรู้ในปัจจุบัน
5. อาจารย์วิรัช กาฬภักดี การทำกิจกรรมกลุ่ม ในการแบ่งการทำงาน โดยกำหนดให้นักศึกษาแต่ละคนมีบทบาทในการดำเนินงานที่ชัดเจนและเหมาะสม และจะต้องมีการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างทั่วถึง โดยอาจารย์มีหน้าที่กำกับและติดตามผล ส่งผลให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้น และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบต่อชิ้นงานของตนเอง
6. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง วิธีการสอนมีหลักสำคัญข้อแรกคือต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการสอน เราต้องการจุดมุ่งหมายในวิชาที่เราสอนหรือตามที่เราสอนอย่างไร เราจะต้องเลือกวิธีการเพื่อให้ได้ตามนั้น เช่น ถ้าเราต้องการให้ผู้เรียนได้ความรู้ ทฤษฎีเป็นหลัก วิธีการที่น่าจะเหมาะสมก็คือการบรรยาย แต่ถ้าเราต้องการให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ได้ การบรรยายจะไม่สามารถทำให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ได้ เราต้องการใช้อภิปรายถกเถียงกันในหมู่เรียนเป็นหลักจึงจะทำให้ผู้เรียนคิดได้
7. อาจารย์จารุวรรณ กมลสินธุ์ การใช้ e-Learning/ digital media ให้นักศึกษาไปเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ ทบทวนหลังจากที่ได้เรียนมา และนำมาแลกเปลี่ยนความรู้กันในชั้นเรียนทำให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียน ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการค้นคว้าและหาข้อมูลที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ใหม่และเป็นปัจจุบันมากขึ้น
8. อาจารย์ ดร.ดไนยา ตั้งอุทัยสุข ความเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่สอน ถ้าเป็นเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเป็นทางทฤษฎี หลักการก็อาจจะใช้การบรรยายได้ ถ้าเป็นเนื้อหาที่ยังเป็นปัญหาข้อถกเถียง คำอภิปรายก็อาจจะใช้การอภิปราย ถ้าต้องฝึกฝนก็ควรฝึกปฏิบัติ

 

สรุปประเด็น :

การจัดการเรียนการสอน โดยการส่งเสริมให้นักศึกษามีหลายวิธี โดยเริ่มจากการอธิบายและใช้        สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ปัจจุบัน เช่น การใช้ Google classroom เป็นตัวช่วยให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจทักษะด้านเทคโนโลยี และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงจากสถานการณ์จริง โดยการให้นักศึกษาลงพื้นที่จริงในการสำรวจ การคิด การวิเคราะห์ ลักษณะต่างๆ ของนักท่องเที่ยว และนำมาสรุปผลที่ในการนำเสนอรายงานในลักษณะเป็น YouTube การตัดต่อเป็น Clip VDO แทนการนำเสนอในลักษณะรายงานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากที่สุดจากสถานการณ์จริงที่นักศึกษาจะต้องพึงรู้ในปัจจุบัน

 

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์ชุติมา พราหมนันท์ ทบทวนตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ระเบียบวิธีวิจัย การเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรมตามระบบที่วารสารกำหนด หรือให้ผู้อื่นทั้งในและนอกสาขาอ่านเพื่อตรวจสอบเนื้อหาและภาษาที่ใช้ในงานวิจัยก่อนส่งรายงานการวิจัย
2. อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี ส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ และมีการติดตามผลจากบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไข บรรณาธิการของวารสารจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรรีบดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ (reviewer) ของวารสาร และส่งตามเวลาที่วารสารกำหนด
3. อาจารย์จักรพันธ์ จันทร์เขียว ในการเผยแพร่ครั้งที่สอง หากใช้สื่อเดียวกับครั้งแรกเช่นเป็นบทความทั้งคู่ ให้พยายามสื่อด้วย การทวนความ   ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์และการลอก เลียนโดยมิชอบ
4. ดร.กฤษณะ ดาราเรือง การวางแผนการตีพิมพ์ โดยจัดทำ Time line ในการดำเนินงานเพื่อวางแผนการตีพิมพ์ตามระยะเวลาที่ต้องการ
5. อาจารย์วิรัช กาฬภักดี ในงานวิจัย 1 เล่ม สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการตีพิมพ์ได้ 2 เรื่อง คือ 1 ผลกการประเมินตามวัตถุประสงค์หลัก และ 2.การ Review Content
6. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การเลือกวารสารจากระบบ TCI Online  จะมีกลุ่มของบทความที่จะนำเสนอควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด และเปิดรับในช่วงใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์
7. อาจารย์จารุวรรณ กมลสินธุ์ วารสารแต่ละเล่ม (กองวารสาร) มีรอบการตีพิมพ์ที่ต่างกัน เช่น 4 เล่มต่อปี 3 เล่มต่อปี หรือ 2 เล่มต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในกระบวนการพิจารณา
8. อาจารย์ ดร.ดไนยา ตั้งอุทัยสุข งานวิจัยที่จะได้รับหารพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญและสาย IT จะเน้นไปทางองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย

 

สรุปประเด็น :

  1. ส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ และมีการติดตามผลจากบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไข บรรณาธิการของวารสารจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรรีบดำเนินการแก้ไขตาม
  2. ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ (reviewer) ของวารสาร และส่งตามเวลาที่วารสารกำหนดการเลือกวารสารจากระบบ TCI Online จะมีกลุ่มของบทความที่จะนำเสนอควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด และเปิดรับในช่วงใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ภาพ)

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 7: วันที่ 28 ธันวาคม 2561 เวลา 14.30 – 15.35 น. ณ ห้อง 224)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 8: วันที่ 25 มกราคม 2562 เวลา 15.15 – 16.55 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารฯ)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริง และดูผลการปฏิบัติของตนเอง
2. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
3. อาจารย์มัจรี สุพรรณ มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน เครื่องเชิดชูเกียรติการลงโทษ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
4. อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี การเร้าความสนใจผู้เรียนในเรื่องที่จะสอนก่อนลงมือทำการสอนเสมอ
5. อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดค้นหาสาเหตุ เหตุผล ความเป็นไปของสิ่งที่เรียน มีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผลการเรียนการสอน
6. อาจารย์ชมปณัสกาญน์ ศุภวงศ์ธนากานต์ สร้างความสัมพันธ์ของเนื้อหาและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง
7. อาจารย์ปิยะวดี หาดแก้ว ประเมินผลตลอดเวลา โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เป็นต้น เพื่อประเมินว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์

สรุปประเด็น :

  1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ง่าย ๆ เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
  2. ควรต้องมีการประเมินผลตลอดเวลา โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เป็นต้น เพื่อประเมินว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช กองวารสารบางแห่งจะพิจารณาว่าผลงานผ่านคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ ดังนั้น อาจารย์ควรนำผลงานผ่านการพิจารณารับรองการวิจัยในมนุษย์
2. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน การมีเครือข่าย หรือคณาจารย์ที่รู้จักต่างสถาบัน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นช่องทางในการตีพิมพ์ที่ง่ายมากยิ่งขึ้น
3. อาจารย์มัจรี สุพรรณ การตรวจสอผลงานที่ตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าวารสารอยู่ใน TCI ฐานใดซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง Website ของ TCI
4. อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี คำชี้แจงของกองบรรณาธิการวารสารเป็นสิ่งสำคัญ อาจารย์ที่จะส่งผลงานตีพิมพ์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนตามแบบฟอร์มอย่างเคร่งครัด
5. อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี เมื่อบทความของอาจารย์เขียนเสร็จแล้วลองนำไปให้เพื่อนอาจารย์อ่านและสอบถามความเข้าใจในบทความที่จัดทำขึ้น
6. อาจารย์ชมปณัสกาญน์ ศุภวงศ์ธนากานต์ การแก้ไขบทความตามข้อแนะนำของผู้ทรงจากกองวารสาร หากประเด็นไหนไม่เห็น และมั่นใจว่าถูกต้องแล้วด้วยสามารถทำคำชี้แจงได้
7. อาจารย์ปิยะวดี หาดแก้ว การส่งผลงานอาจารย์เมื่อส่งครั้งแรกแล้วโดน reject อย่างเพิ่งไปท้อ ให้พยายามปรับปรุงแก้ไข และหาที่ส่งใหม่ต่อไป
8. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช การนำงานวิจัยมาเขียนเป็นบทความวิจัย  สิ่งสำคัญคือต้องสรุปประเด็นให้กระชับ ตรงประเด็น ครบถ้วน ไม่ใช้ภาษาฟุ่มเฟือยแต่ต้องไม่ลืม Topic ที่สำคัญที่เป็นสิ่งที่ค้นพบจากงานวิจัยนั้นๆ

 

สรุปประเด็น :

  1. การตรวจสอผลงานที่ตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าวารสารอยู่ใน TCI ฐานใดซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง Website ของ TCI
  2. การนำงานวิจัยมาเขียนเป็นบทความวิจัย สิ่งสำคัญคือต้องสรุปประเด็นให้กระชับ ตรงประเด็น ครบถ้วน ไม่ใช้ภาษาฟุ่มเฟือยแต่ต้องไม่ลืม Topic ที่สำคัญที่เป็นสิ่งที่ค้นพบจากงานวิจัยนั้นๆ

(ภาพ)

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 8: วันที่ 25 มกราคม 2562 เวลา 15.15 – 16.55 น. ณ ห้องประชุมคณะบริหารฯ)

 

 

 

 

 ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 9: วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 16.15 – 16.55 น. ณ ห้อง 223)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์ณัฎฐาพร มีโชติ อาจารย์อาจเสริมแรงบวก โดยวิธีการพูดทางบวก และควรสอนแบบเน้นการมีส่วนร่วม ให้นักศึกษาดูแลซึ่งกันและกัน ให้คนเก่งสอนคนไม่เก่ง ให้พี่สอนน้อง
2. อาจารย์เรวดี วงศ์วัฒนะ การสอนทุกครั้งเมื่อสอบจบบทอาจารย์ผู้สอนควรมีการทดสอบ เพื่อประเมินผลการเรียนของนักศึกษา และประเมินการสอนของอาจารย์เองว่าสามารถสอนให้นักศึกษาเข้าใจหรือไม่
3. อาจารย์ชุติมา พราหมนันท์ หลังสอบกลางภาคอาจารย์ควรรีบตรวจข้อสอบ เพื่อพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา หากพบว่านักศึกษาคนไหนมีผลการเรียนตก สอบไม่ผ่าน จะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา เช่นนัดพูดคุยหาสาเหตุเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา และอาจะมีการสอนเสริมให้กับนักศึกษาที่มีผลการเรียนตกต่ำ
4. อาจารย์ชมานนท์ นาถาบำรุง เพิ่มชองทางการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอาทิ LINE Facebook Google Classroom เพื่อให้นักศึกษาสามารถสอบถามปัญหาข้อสงสัยต่าง ๆ นอกห้องเรียนได้
5. ดร. เชาวฤทธิ์ จงเกตกรณ์ การทำงานกลุ่ม กิจกรรมกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาแต่ละคนมีบทบาทในการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างทั่วถึงสามารถทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น และรู้หน้าที่คามรับผิดชอบของตนเอง

 

6. ดร.กฤษณะ ดาราเรือง การสรุปสาระสำคัญของเนื้อหาที่สอนไปแต่ละครั้งมีความสำคัญถ้าเราอยากรู้ว่าผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่สอนเราสามารถให้นักศึกษาสรุปสาระสำคัญให้ฟังได้ และเนื้อหาส่วนที่ขาดหายไป ผู้สอนควรเติมเต็มให้นักศึกษา
7. อาจารย์อรวรรณ เกิดจันทร์ การวัดและประเมินผลการเรียนต้องประเมินให้ครบตามผลการเรียนรู้ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาตรี TQF 5 ด้าน
8. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การสอนทุกครั้งต้องยึดตามที่เขียนไว้ใน มคอ. 3 เป็นสำคัญ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้ควรต้องมีการบันทึกหลังการสอนทุกครั้ง เพื่อนำไปสรุปไว้ใน มคอ. 5 ในการปรับปรุงรูปแบบการสอนหรือหากมีข้อสังเกตอื่นๆ

 สรุปประเด็น :

  1. หลังสอบกลางภาคอาจารย์ควรรีบตรวจข้อสอบ เพื่อพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา หากพบว่านักศึกษาคนไหนมีผลการเรียนตก สอบไม่ผ่าน จะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา เช่นนัดพูดคุยหาสาเหตุเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา และอาจะมีการสอนเสริมให้กับนักศึกษาที่มีผลการเรียนตกต่ำ
  2. การสอนทุกครั้งต้องยึดตามที่เขียนไว้ใน มคอ. 3 เป็นสำคัญ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้ควรต้องมีการบันทึกหลังการสอนทุกครั้ง เพื่อนำไปสรุปไว้ใน มคอ. 5 ในการปรับปรุงรูปแบบการสอนหรือหากมีข้อสังเกตอื่นๆ

 

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์ณัฎฐาพร มีโชติ ในการเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัย เพื่อนำมาตีพิมพ์ในวารสาร ส่วนการเลือกวารสารควรพิจารณาจุดเน้นของวารสารว่า วารสารนั้น ๆ เน้นสาระสำคัญของงานด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอการในการตีพิมพ์
2. อาจารย์เรวดี วงศ์วัฒนะ วารสารแต่ละเล่ม (กองวารสาร) มีรอบการตีพิมพ์ที่ต่างกัน เช่น 4 เล่มต่อปี 3 เล่มต่อปี หรือ 2 เล่มต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในกระบวนการพิจารณา
3. อาจารย์ชุติมา พราหมนันท์ งานวิจัยที่จะได้รับหารพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญเพราะฉนั้นอาจารย์ต้องให้คว่สำคัญกับคุณภาพของผลงาน
4. อาจารย์ชมานนท์ นาถาบำรุง กองวารสารบางแห่งจะพิจารณาว่าผลงานผ่านคณะกรรมการวิจัยในมนุษญ์ ดังนั้น อาจารย์ควรนำผลงานผ่านการพิจารณารับรองการวิจัยในมนุษย์
5. ดร. เชาวฤทธิ์ จงเกตกรณ์ การมีเครือข่ายในสถาบันต่างๆ จะเป็นช่องทางนการตีพิมพ์ที่ง่ยขึ้น
6. ดร.กฤษณะ ดาราเรือง ผลงานที่ตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าวารสารอยู่ใน TCI ฐานไหนซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง Website
7. อาจารย์อรวรรณ เกิดจันทร์ อาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนตามแบบฟอร์มของกองวารสารซึ่งจะมีคำชี้แจง
8. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัย เมื่อเขียนตามแบบ/หัวข้อที่กำหนดแล้ว ควรให้ผู้อื่นช่วยตรวจสอบอีกครั้งจะดี เพื่อเป็นการทวนสอบอีกครั้งก็จะทำให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเราเป็นผู้เขียนเองบางครั้งจะไม่พบข้อผิดพลาดของตนเอง

   สรุปประเด็น :

  1. อาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนตามแบบฟอร์มของกองวารสารซึ่งจะมีคำชี้แจง
  2. การเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัย เมื่อเขียนตามแบบ/หัวข้อที่กำหนดแล้ว ควรให้ผู้อื่นช่วยตรวจสอบอีกครั้งจะดี เพื่อเป็นการทวนสอบอีกครั้งก็จะทำให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเราเป็นผู้เขียนเองบางครั้งจะไม่พบข้อผิดพลาดของตนเอง

 

 

 

 ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 10: วันที่ 5 มีนาคม 2562 เวลา 16.15 – 16.55 น. ณ ห้อง 224)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์จารุวรรณ กมลสินธุ์ การจัดการเรียนการสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อย โดยเน้นให้นักศึกษามีโอกาสและเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องในเรื่องหนึ่ง
2. อาจารย์จุรีรัตน์ เกตุแก้ว การจัดการเรียนการสอนแบบสาธิต วิธีนี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ โดยให้นักศึกษาออกมาเป็นผู้แสดงหรือเป็นผู้กระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมกับการบอกหรืออธิบายให้เข้าใจ เช่น การสอนทำบัญชีครัวเรือน
3. อาจารย์เรวดี วงษ์วัฒนะ การสอนโดยการมอบหมายงานให้นักศึกษาเป็นระดับความรู้และนำผลงานที่ผลิตมาวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นหรือผลที่ได้เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ก่อนการทำงานจริงในสถานประกอบการ
4. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน การสอนแบบจำลองสถานการณ์ ก็จะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในรูปแบบดังกล่าวควรให้มีความหลากหลายและให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน ก็จะเกิดการเรียนรู้
5. อาจารย์สุพจน์ วาศ์ดี การจัดการเรียนการสอนแบบสมมติ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ต้องกำหนดหัวข้อเรื่องหรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้คล้ายกับความจริง
6. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกม การจัดการเยนการสอนแบบนี้เป็นวิธีน่าสนใจเพราะทำให้ดูสนุกสนาน ผู้เรียนไม่เบื่อ

 

 

7. อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี การสอนโดยการกำหนดแผนงานให้นักศึกษาผลิตผลงานตามลำดับและแก้ปัญหาตามระดับความยากง่าย เพื่อฝึกประสบการณ์ในการกำหนดในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้
8. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง การทวนสอบมีความสำคัญ เพื่อเป็นการดูว่าเทคนิคการสอนที่สอนในแต่ละครั้งนั้น ตอบวัตถุประสงค์ของเนื้อหารายวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนหรือไม่ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น

 

สรุปประเด็น :

  1. การสอนแบบจำลองสถานการณ์ ก็จะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในรูปแบบดังกล่าวควรให้มีความหลากหลายและให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน ก็จะเกิดการเรียนรู้
  2. การทวนสอบมีความสำคัญ เพื่อเป็นการดูว่าเทคนิคการสอนที่สอนในแต่ละครั้งนั้น ตอบวัตถุประสงค์ของเนื้อหารายวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนหรือไม่ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น

 

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์เรวดี วงษ์วัฒนะ การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการทำผลงานวิจัยและบทความวิชาการที่มีคุณภาพ และมีประโยชน์ ผู้วิจัยเองควรศึกษาพัฒนาวิธีการด้วยตนเอง เพื่อพัฒนางานวิจัยไปสู่การได้รับรางวัล ควรบริหารเวลาให้ดี
2. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน แนวทางการพัฒนาผลงานวิจัยควรเริ่มตั้งแต่การเลือกปัญหาการวิจัย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตั้งข้อสมมุติฐานการวิจัย การหาแนวทางการแก้ไขปัญหา การออกแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิจัย และที่มสำคัญการเผยแพร่ผลการวิจัย
3. อาจารย์สุพจน์ วาศ์ดี การทำงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง จะเป็นวิจัยที่ได้รับการยอมรับในเวทีต่าง ๆ เพราะวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์มีความสำคัญ การทำวิจัยผู้วิจัยจะต้องศึกษาข้อมูล ให้ดี เลือกประชากรกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องตามหลักการ
4. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช สิ่งสำคัญคือการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาจาแหล่งข้อมูลต่าง ๆเช่น เอกสาร ตำรา หนังสือ บทความ วารสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะทำการวิจัย รวมทั้งข่าวสารที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันหลายๆ เล่ม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการรวบรวมประมวลผลข้อมูลที่เป็นเนื้อหาสาระในการทำวิจัย แล้วนำเนื้อหาที่ได้จากการประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็นแนวทางของผู้วิจัย

 

 

5. อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี การเลือกวารสาร ควรพิจารณาจุดเน้นของเอกสารนั้นๆว่า  มีเนื้อหาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในด้านใด ซึ่งจะทำให้มีโอกาสในการตีพิมพ์
6. อาจารย์เรวดี วงษ์วัฒนะ วารสารแต่ละเล่ม (กองวารสาร) มีรอบการตีพิมพ์ที่ต่างกัน เช่น 4 เล่มต่อปี 3 เล่มต่อปี หรือ 2 เล่มต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในกระบวนการพิจารณา
7. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน งานวิจัยที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญเพราะฉะนั้นอาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงาน
8. อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง บทความวิจัย ควรต้องเขียนเมื่อทำงานวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และนำมาเขียนสรุปให้ครอบคลุมหัวข้อที่กำหนด เพราะถ้ายังทำงานวิจัยเรื่องนั้นๆ ไม่เสร็จการจำนำมาเขียนเป็นบทความไม่ควร เว้นแต่สามารถสรุปประเด็นที่ยังดำเนินไม่เสร็จได้

 

สรุปประเด็น :

การเขียนบทความวิจัย ควรต้องเขียนเมื่อทำงานวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และนำมาเขียนสรุปให้ครอบคลุมหัวข้อที่กำหนด เพราะถ้ายังทำงานวิจัยเรื่องนั้นๆ ไม่เสร็จการจำนำมาเขียนเป็นบทความไม่ควร เว้นแต่สามารถสรุปประเด็นที่ยังดำเนินไม่เสร็จได้ สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงคุณภาพของงานเป็นสำคัญ

 

 

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 11: วันที่ 6 เมษายน 2562 เวลา 15.20 – 16.50 น. ณ ห้อง 222)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์ณัฎฐาพร มีโชติ การจัดการเรียนการสอนหากอาจารย์เข้าใจการเรียนรู้ของนักศึกษาซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทตามแบบแผนการเรียนรู้ คือ (1) เรียนรู้จากการ ดูหรือมองเห็น (2) เรียนรู้จากการฟังหรือ ได้ยิน (3) เรียนรู้ จากการอ่านหรือเขียน และ (4) เรียนรู้จากการสัมผัสหรือเคลื่อนไหวร่างกาย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการออกแบบกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายจะสามารถสร้างการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการเรียนที่ไม่น่าเบื่อ นักศึกษามีส่วนร่วมในการสอน
2. อาจารย์ชุติมา พราหมนันท์ การเสือกกรณีศึกษาประกอบการเรียนการสอน ควรพิจารณากรณีศึกษาที่เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับสาระสำคัญของเนื้อหาวิชา โดยให้นักศึกษาร่วมกันมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และอภิปรายอย่างมีเหตุผล และในการสรุปสาระสำคัญของกรณีศึกษา อาจารย์ผู้สอนควรชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีหรือเนื้อหาวิชาอย่างชัดเจน
3. อาจารย์ชมานนท์ นาถาบำรุง ปัจจุบันแหล่งความรู้มีมากขึ้น และเข้าถึงได้ง่ายทั้งในรูปแบบเอกสาร วารสาร หนังสือ และบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายจะเป็นการต่อยอดไปสู่ความรู้ใหม่ๆ อาจารย์ต้องสามารถชี้แนะแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา และมีการเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษา
4. อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี การสอนโดยส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดทักษะด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจ เช่น การนำเสนอรายงานในลักษณะเป็น YouTube การตัดต่อเป็น Crip VDO แทนการนำเสนอในลักษณะรายงานหน้าชั้นเรียน สามารถสร้างความน่าสนใจ ความสนุกในการเรียนการสอน
5. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน การทำกิจกรรมกลุ่ม โดยกำหนดให้นักศึกษาแต่ละคนมีบทบาทในการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยมีผู้สอนคอยเป็นโค้ช/ พี่เลี้ยง สามารถทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น และรู้หน้าที่คามรับผิดชอบของตนเอง มีการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างทั่วถึง
6. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช การใช้ e-Learning/ digital media ให้นักศึกษาไปเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ ทบทวนหลังจากที่ได้เรียน และนำมาพูดคุยกันในชั้นเรียนทำให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียน
7. อาจารย์จุรีรัตน์ เกตุแก้ว การประเมินผลระหว่างเรียนเพื่อประเมินความเข้าใจของนักศึกษา และ แก้ไข ความไม่เข้าใจ หรือ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เช่น การให้ทำกิจกรรม/โจทย์ระหว่างเรียน หรือ การให้ทำกิจกรรมโดยไม่มีคะแนน

 

 

สรุปประเด็น :

รูปแบบ/เทคนิคการสอน มีความหลากหลาย ซึ่งอีกรูปแบบที่น่าสนใจ คือ การทำกิจกรรมกลุ่ม โดยกำหนดให้นักศึกษาแต่ละคนมีบทบาทในการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยมีผู้สอนคอยเป็นโค้ช/ พี่เลี้ยง สามารถทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น และรู้หน้าที่คามรับผิดชอบของตนเอง มีการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างทั่วถึง

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์ณัฎฐาพร มีโชติ ทั้งนี้กองวารสารบางแห่งจะพิจารณาว่าผลงานผ่านคณะกรรมการวิจัยในมนุษญ์ ดังนั้น อาจารย์ควรนำผลงานผ่านการพิจารณารับรองการวิจัยในมนุษย์
2. อาจารย์ชุติมา พราหมนันท์ สิ่งที่อยากฝากคือการมีเครือข่ายในสถาบันต่างๆ จะเป็นช่องทางนการตีพิมพ์ที่ง่ยขึ้น

 

3. อาจารย์ชมานนท์ นาถาบำรุง ทั้งนี้ผลงานที่ตีพิมพ์ควรพิจารณาว่าวารสารอยู่ใน TCI ฐานไหนซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทาง Website

 

4. อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี อีกประการคือ อาจารย์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนตามแบบฟอร์มของกองวารสารซึ่งจะมีคำชี้แจง

 

5. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน สิ่งสำคัญด้านการตั้งสมมติฐาน โดยศึกษาตัวอย่างงานวิจัยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเรื่องที่จะทำวิจัย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ สมมติฐานในการวิจัย เป็นข้อความหรือคำตอบสรุปผลการวิจัยที่ผู้วิจัยคาดการณ์หรือคาดเดาไว้ล่วงหน้า ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขึ้นโดยใช้หลักเหตุผลที่น่าจะเป็นให้มากที่สุด อาจจะอาศัยหลักฐานความรู้เดิมที่มีมาก่อนหรือรากฐานของทฤษฎี ผลการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น
6. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำความรู้ในเรื่องการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาต่อมาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการหาคำตอบ ที่จะนำไปสู่การตอบคำถามของวัตถุประสงค์ของการวิจัย

 

 

7. อาจารย์จุรีรัตน์ เกตุแก้ว โดยศึกษาจากตัวอย่างงานวิจัยที่มีลักษณะคล้ายกับเรื่องที่จะทำการวิจัยทั้งนี้อาจเป็นเพราะ การสรุผลการวิจัย เป็นการระบุคำตอบปัญหาของการวิจัย หรือสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ภายในขอบเขตของข้อมูลของการวิจัย เป็นไปตามผลการวิเคราะห์ข้อมูล และมีการเสนอแนะเกี่ยวกับการน า

ผลการวิจัยไปใช้และการท าวิจัยต่อไป

8. ดร. สิทธิพร เขาอุ่น วารสารแต่ละเล่ม (กองวารสาร) มีรอบการตีพิมพ์ที่ต่างกัน เช่น 4 เล่มต่อปี 3 เล่มต่อปี หรือ 2 เล่มต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในกระบวนการพิจารณา
9. อาจารย์จารุวรรณ กมลสินธ็ งานวิจัยที่จะได้รับหารพิจารณาตีพิมพ์ เรื่อง คุณภาพ และความเป็นประโยชน์ของงานจะเป็นประเด็นสำคัญและสาย IT จะเน้นไปทางองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย

 

สรุปประเด็น :

การวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำความรู้ในเรื่องการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาต่อมาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการหาคำตอบ ที่จะนำไปสู่การตอบคำถามของวัตถุประสงค์ของการวิจัย

 

 

ประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

คณะบริหารและการจัดการ

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2561 (มิถุนายน 2561 – พฤษภาคม 2562)

(ครั้งที่ 12: วันที่ 24 พฤษภาคม 2562 เวลา 15.20 – 16.50 น. ณ ห้องประชุมคณะฯ)

———————————————

ประเด็น :  ด้านวิชาการ (เทคนิคการสอน)

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน การจัดทำแผนการสอนโดยอธิบายผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนรายละเอียดวิธีการสอน และการวัดประประเมินผลที่ชัดเจนในแต่ละสัปดาห์
2. อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง สร้างช่องทางให้นักศึกษาได้รับรู้ถึงความต้องการทักษะของนักศึกษาจากสถานประกอบการ
3. อาจารย์จุรีรัตน์ เกตุแก้ว การสร้างความเข้าใจก่อนนักศึกษาออก Wil และปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
4. อาจารย์มัจจรี สุพรรณ กรณีศึกษาเป็นสิ่งที่ให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์ เพื่อการเตรียมตัวในการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
5. ดร.กฤษณะ ดาราเรือง การให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตั้งประเด็นที่จะเรียนรู้เป็นสิ่งที่จะทำให้นักศึกษาได้เรียนและให้นักศึกษาประเมินสถานการณ์ได้จริงหากต้องปฏิบัติงานจริง
6. อาจารย์จักรพันธ์ จันทร์เขียว การให้ความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ ด้านการค้นคว้า การเรียบเรียงข้อมูล ข้อค้นพบ ความคิดเห็น การให้เหตุผล โต้แย้ง สามารถทำให้นักศึกษามีความพร้อมที่จะนำไปใช้เชื่อมโยงกับการทำงาน
7. อาจารย์เรวดี วงษ์วัฒนะ กำหนดให้นักศึกษาใช้แผนผังความคิดในการนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการให้นักศึกษารู้จักคิด และอาจารย์สามารถประเมินความรู้และความคิดใหม่ของนักศึกษา ได้อย่างดี
8. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติโดยใช้ทฤษฎีนำ เพื่อนำหลักการปฏิบัติไปใช้บูรณาการกับการทำงาน
9. อาจารย์ปิยะวดี หาดแก้ว การกำหนดกิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มเพื่อให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนรวมชั้นเรียน
10. อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี การฝีกให้นักศึกษาเรียนรู้การสืบค้นข้อมูลผ่านสารสนเทศที่หลากหลายในการหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา

 

สรุปประเด็น :

  1. การฝีกให้นักศึกษาเรียนรู้การสืบค้นข้อมูลผ่านสารสนเทศที่หลากหลายในการหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
  2. กำหนดให้นักศึกษาใช้แผนผังความคิดในการนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการให้นักศึกษารู้จักคิด และอาจารย์สามารถประเมินความรู้และความคิดใหม่ของนักศึกษา ได้อย่างดี
  3. สร้างช่องทางให้นักศึกษาได้รับรู้ถึงความต้องการทักษะของนักศึกษาจากสถานประกอบการ

 

ประเด็น :  ด้านวิจัย

บุคลากร ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. ดร.กฤษณะ ดาราเรือง ต้องมีระบบพี่เลี้ยงให้กับอาจารย์ที่ยังไม่มีประสบการณ์ หรือควรทำเป็นแบบฉบับเพื่อให้อาจารย์น้องใหม่ได้เรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนของตนเอง
2. อาจารย์จักรพันธ์ จันทร์เขียว คำชี้แจงของกองบรรณาธิการวารสารเป็นสิ่งสำคัญ อาจารย์ที่จะส่งผลงานตีพิมพ์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนตามแบบฟอร์มอย่างเคร่งครัด
3. อาจารย์เรวดี วงษ์วัฒนะ การแก้ไขบทความตามข้อแนะนำของผู้ทรงจากกองวารสาร หากประเด็นไหนไม่เห็น และมั่นใจว่าถูกต้องแล้วด้วยสามารถทำคำชี้แจงได้
4. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น ไม่นำผลงานในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารมากกว่า 1 ฉบับ
5. อาจารย์จักรพันธ์ จันทร์เขียว ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล และแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
6. อาจารย์เรวดี วงษ์วัฒนะ การละเมิดลิขสิทธิ์ในกรณีที่การเผยแพร่งานครั้งแรกนั้นมีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่ การเผยแพร่ซ้ำ ใน บางบริบทอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้
7. อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช การวิจัยเชิงคุณภาพถือว่า กรอบแนวคิดไม่ใช่สิ่งที่จะยึดตายตัว แต่เป็นเพียงแนวทาง สำหรับหาคำตอบในการวิจัย โดยสามารถยืดหยุ่นหรือปรับได้เมื่อมีหลักฐานหรือข้อมูลที่ชี้ว่าควรปรับปรุง
8. อาจารย์ปิยะวดี หาดแก้ว การนำเสนอบทความวิจัยในที่ ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม

 

 

9. อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี ทบทวนตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ระเบียบวิธีวิจัย การเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรมตามระบบที่วารสารกำหนด หรือให้ผู้อื่นทั้งในและนอกสาขาอ่านเพื่อตรวจสอบเนื้อหาและภาษาที่ใช้ในงานวิจัยก่อนส่งรายงานการวิจัย
10. อาจารย์จักรพันธ์ จันทร์เขียว ส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ และมีการติดตามผลจากบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไข บรรณาธิการของวารสารจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรรีบดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ (reviewer) ของวารสาร และส่งตามเวลาที่วารสารกำหนด
11. อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี ในการเผยแพร่ครั้งที่สอง หากใช้สื่อเดียวกับครั้งแรกเช่นเป็นบทความทั้งคู่ ให้พยายามสื่อด้วย การทวนความ   ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์และการลอก เลียนโดยมิชอบ
12. อาจารย์อรวรรณ เกตุแก้ว ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความจำเป็น ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลงานวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว

 

สรุปประเด็น :

  1. ควรต้องมีระบบพี่เลี้ยงให้กับอาจารย์ที่ยังไม่มีประสบการณ์ หรือควรทำเป็นแบบฉบับเพื่อให้อาจารย์น้องใหม่ได้เรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนของตนเอง
  2. การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ และมีการติดตามผลจากบรรณาธิการของวารสารเป็นระยะๆ ถ้ามีการแก้ไข บรรณาธิการของวารสารจะส่งต้นฉบับกลับมา ผู้เขียนควรรีบดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ (reviewer) ของวารสาร และส่งตามเวลาที่วารสารกำหนด

*********************************************

การพัฒนาและปรับปรุงระบบ CPU-e-Learning ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

tcu-logo-w-190
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ ได้นำระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (E-Learning) ที่พัฒนาโดย สกอ. ที่ชื่อว่า TCU E-Learning มาติดตั้งและใช้งานสำหรับบริหารรายวิชาภายในมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา และให้บริการรายวิชาการเรียนการสอนแบบออนไลน์สำหรับอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ซึ่งในระบบดังกล่าวที่มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาใช้งานอยู่ ทาง สกอ. ไม่ได้มีการ Update เป็นเวลานาน และมีบางเมนู บางฟังก์ชัน ไม่สามารถใช้งานได้  ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับระบบ E-learning ให้มีประสิทธิภาพ และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ  ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ จึงได้ดำเนินการจัดหาและติดตั้งระบบ E-Learning แบบ open source ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์ Software ที่ชื่อว่า Moodle มาติดตั้ง ทดสอบและใช้งาน ทดสอบควบคู่ไปกับระบบ TCU – E-Learning และนำไปทดแทนและใช้งานจริงในปีการศึกษา 2559 ที่จะถึงนี้

Moodle คืออะ ไร ?

Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment
คือ ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือน เรียนในห้องเรียน หรือเรียกว่า
LMS (Learning Management S ystem) หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน CMS(Course Management System ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต สำหรับสถาบันการศึกษา หรือครู ใช้เพื่อเตรียมแหล่งข้อมูล กิจกรรม และเผยแพร่แบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต Moodle สามารถนำไปใช้ได้ ทั้งองค์กรระดับ มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ โปรแกรมชุดนี้เป็น Open Source ภายใต้ข้อตกลงของ gnu.org (General Public License) สามารถ download ได้ฟรีจาก
http://moodle.org ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamasสถาบันการศึกษาใดต้องการนำไปใช้ จัดระบบการเรียนการสอน จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ( Admin) ที่ความสามารถในการติดตั้ง โดยที่ต้องมี Web Server ที่บริการภาษา php และ mysql

moodle1
ความสามารถของ moodle

       1. เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประเภทฟรีแวร์ ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก

       2. สามารถเป็นได้ทั้ง CMS (Course Management System) และ LMS (Learning Management System) ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหา ของผู้สอน พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา และบันทึกกิจกรรมของนักเรียน

       3. สามารถสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ หรือเผยแพร่เอกสารที่ทำไว้ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย

       4. มีระบบติดต่อสื่อสาร ระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และผู้สอน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งคำถามไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อน เข้าเรียน ก็ได้

       5. มีระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบ ให้คะแนนที่หลากหลาย ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel

       6. สำรองข้อมูลเป็น . zip แฟ้มเดียว ในอนาคตสามารถนำไปกู้คืน ลงไปในเครื่องใดก็ได้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ Moodle

•  องค์ประกอบของ moodle ที่สถาบันการศึกษาควรมี

       1. มี Web Browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งโดยครูผู้สอนและนักเรียน

       2. มี Web Server ที่ให้บริการ php และ mysql

       3. มี ผู้ติดตั้ง ผู้ดูแล และบำรุงรักษา ควรทำโดยนักคอมพิวเตอร์ ที่ที่มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการเขียนเว็บ

       4. มี ครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้น moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล หรือครูที่ไม่มีไฟ

       5. มี การเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ( LAN)

       ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Moodle

       1. ผู้ดูแลระบบ (Admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนด สิทธ์การเป็นครูผู้สอน

       2. ผู้สอน ( Teacher) : เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสาร

       3. ผู้เรียน ( Student) : เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน

       4. ผู้เยี่ยมชม ( Guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และจำกัดสิทธ์ ในการทำกิจกรรม

อ้างอิง : http://banlat.ac.th/web/home/computer/cai/cai/moodle.htm

•  การเตรียมความพร้อมสำหรับการนำ Moodle มาใช้ในการจัดการ E-learning

อ้างอิง : http://www.arnut.com/books/moodle.html

moodlearnut

  • การใช้งาน Moodle สำหรับผู้ดูแลระบบ (Admin)
    • การติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์สำเร็จรูปด้วย XAMPP
      • การจำลองเครื่องพีซีเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย XAMPP
      • โปรแกรมย่อยที่ได้หลังการติดตั้ง XAMMP
      • โปรแกรมที่ทำงานแนวเดียวกับ XAMMP
      • โปรแกรม XAMMP เหมาะสำหรับใคร ?
      • การติดตั้งโปรแกรม XAMMP
      • การ Start และ Stop โปรแกรม XAMPP
      • การทดสอบเรียกใช้งาน XAMPP
      • รู้จักห้องเก็บข้อมูลต่างๆ ของโปรแกรม XAMPP
      • การสร้างห้องเก็บเว็บไซต์ที่สร้างด้วย Moodle
      • ทดสอบเรียกใช้งานห้องเก็บ Moolde
      • การทดสอบเรียกใช้งานเว็บไซต์รูปแบบต่างๆ
      • การเรียกใช้งาน phpMyAdmin
      • การเพิ่มแอคเคาน์ผู้ใช้งานและการทำ User Authentication ใน MySQL
      • การสร้างฐานข้อมูลใหม่ (Create Database)
    • การติดตั้ง Moodle
      • แนวทางในการติดตั้ง Moodle
      • การออกแบบเครือข่ายสำหรับติดตั้งระบบ Moodle ในหน่วยงาน
      • การสร้างศูนย์ e-Learning สำหรับหน่วยงานขนาดเล็ก
      • ขั้นตอนการติดตั้ง Moodle บนเว็บเซิร์ฟเวอร์จำลอง (XAMPP)
      • การทำหลังการติดตั้ง Moodle
    • การปรับแต่ง Moodle
      • การล็อกอินเข้าสู่ระบบหลังเว็บ (Back-end)
      • รายการเมนูของผู้ดูและระบบ
      • การตั้งค่าโซนเวลาท้องถิ่น (Time Zone)
      • การตั้งภาษาที่ใช้ในเว็บไซต์ (Language)
      • การตั้งค่าหน้าโฮมเพจ (Front Page)
      • รู้จักบล็อค (Blocks)
      • ประเภทของบล็อค
      • การเปิดใช้งานบล็อคสำเร็จรูป
      • การตั้งค่าให้บล็อคแสดงผลบนหน้าโฮมเพจ
      • การแสดงบล็อคแบบอิสระ
      • การสร้างเมนูรายการ (Navigation)
    • การจัดการสมาชิก
      • ผู้ใช้งานในระบบ Moodle
      • การเพิ่ม ลด และเปลี่ยนผู้สอน
      • การเพิ่ม ลด และเปลี่ยนผู้เรียน
      • การนำเข้าสมาชิกจำนวนมากๆ
      • การกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล (Permission)
      • การกำหนดสิทธิการเข้าใช้งานระบบของสมาชิก
      • การกำหนดสิทธินโยบายผู้ใช้งาน
      • การเปิดหน้าลงทะเบียนสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
    • การจัดการหลักสูตรที่เปิดสอน
      • การเพิ่มหมวดหลักสูตร (categories)
      • การกำหนดค่าในการสมัครเข้าเรียนของสมาชิก (Enrolments)
      • การกำหนดค่าเริ่มต้นของหลักสูตรทั้งหมด (Course default settings)
      • การกำหนดคำขอสร้างรายวิชาของสมาชิก (Course request)
      • การกำหนดค่าในการสำรองข้อมูล (Backups)
    • การเปลี่ยนแปลงรูปแบบฉากหลังเว็บ (Themes)
      • รู้จักธีม (Themes)
      • การเปลี่ยนแปลงฉากหลังเว็บไซต์ที่มีในระบบ (Default Themes)
      • การเปลี่ยนแปลงฉากหลังเว็บไซต์ภายนอกระบบ
      • การตั้งค่ารูปแบบฉากหลังเว็บไซต์ (Theme settings)
      • การเปลี่ยนรูปโลโก้และรูปภาพในฉากหลัง
    • การเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ (Module)
      • รู้จักโปรแกรมอิสระ (Module)
      • โมดูลระบบ (System Module)
      • เว็บไซต์ดาวน์โหลดโมดูล
      • ขั้นตอนในการติดตั้งโมดูล
      • การยกเลิกการติดตั้งโมดูล
    • การตั้งค่าทางเครือข่ายและความปลอดภัยข้อมูล
      • การตั้งค่าเกี่ยวกับความปลอดภัย (Security)
      • การตั้งค่าด้านเซิร์ฟเวอร์ (Server)
      • การตั้งค่าด้านเครือข่าย (Networking)
      • การตรวจสอบบันทึกการใช้งานเว็บไซต์ (Log file)
      • การตรวจสอบบันทึกการใช้งานเว็บไซต์ชั่วโมงที่ผ่านมา (Live logs)
      • การแสดงภาพรวมของการความปลอดภัย (Security overview)
      • การตั้งค่าลบคำต้องห้าม (Spam cleaner)
    • การสำรองและกู้คืนข้อมูล (Backup and Restore)
      • แนวทางในการสำรองข้อมูล
      • การสำรองข้อมูลโดยใช้โมดูลสำรองข้อมูลในโปรแกรม Moodle (for Admin)
      • การสำรองโดยการคัดลอกข้อมูลโดยตรง (for Admin)
      • การสำรองฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม phpMyAdmin (for Admin)
      • การสำรองข้อมูลรายวิชาที่สอน (for Teacher)
      • การสำรองข้อมูลหลักสูตรทั้งหมด (for Teacher)
      • การกู้คืนข้อมูลรายวิชา
  • การใช้งาน Moodle สำหรับผู้สอน (Teacher)
    • การจัดการเนื้อหารายวิชา
      • การออกแบบหลักสูตรและเขียนแผ่นเรื่องราว (Storyboard)
      • การล็อกอินเข้าระบบในฐานะผู้สอน (Teacher Login)
      • ส่วนประกอบหน้าต่างรายวิชา
      • การเพิ่มกรอบบล็อคในหน้าต่างรายวิชา
      • ขั้นตอนการเพิ่มบล็อคสำเร็จรูป
      • ขั้นตอนการเพิ่มบล็อคแบบอิสระ
      • การปรับตั้งค่ารายวิชา (Settings)
      • การเพิ่มเนื้อหาบทเรียนแบบต่างๆ
      • การเพิ่มแหล่งข้อมูลแบบต่างๆ
      • ประเภทแหล่งข้อมูลใน Moodle
      • เพิ่มแหล่งข้อมูลแรกสำหรับอธิบายรายละเอียดรายวิชา
      • การกำหนดหัวข้อการสอนแต่ละครั้ง
      • การเพิ่มแหล่งข้อมูลหน้าตัวหนังสือธรรมดา (Text)
      • การเพิ่มแหล่งข้อมูลหน้าเว็บเพจ (Web page)
      • การแทรกไฟล์มัลติมีเดียใน Moodle
      • ประโยชย์ของมัลติมีเดีย
      • ไฟล์มัลติมีเดียที่นิยมใช้งานบนเว็บไซต์
      • ไฟล์มัลติมีเดียที่สามารถนำไปใช้ใน Moodle
      • รูปแบบการแทรกไฟล์เสียงและวีดีโอ
      • รูปแบบการแทรกไฟล์ Flash
      • การเปิดใช้ Multimedia Plugins ใน Moodle
      • ตัวอย่างการใส่ไฟล์เสียงและไฟล์วีดีโอ (Sound & Video)
      • ตัวอย่างการใส่ไฟล์เฟลช (Flash)
      • การเพิ่มแหล่งข้อมูลแบบลาเบล (Label)
      • การเพิ่มไฟล์หรือเว็บไซต์ (File or Web site)
      • การเพิ่มแหล่งข้อมูลไดเร็กทอรี (Directory)
      • การเพิ่มผู้เรียนเข้าเรียนรายวิชา
      • การสร้างกลุ่มผู้เรียน (Create Group)
      • การนำผู้เรียนเข้ากลุ่ม
    • การใช้งานโมดูลชุดกิจกรรม
      • การเพิ่มโมดูลกิจกรรมกระดานเสวนา (Webboard)
        • การตั้งกระทู้ใหม่ (Post)
        • การตอบกระทู้ (Reply)
        • การค้นหาข้อมูลในกระดานเสวนา (Search)
      • การเพิ่มโมดูลกิจกรรมการบ้าน
        • การอัพโหลดไฟล์ขั้นสูง
        • การดูการบ้านที่ส่ง
      • การเพิ่มโมดูลกิจกรรมห้องสนทนา (Chat)
        • การสนทนาออนไลน์
      • การเพิ่มโมดูลกิจกรรมอภิธานคำศัพท์ (Glossary)
        • การเพิ่มคำศัพท์ใหม่
        • การค้นหาคำศัพท์
      • การเพิ่มโมดูลกิจกรรมแผนที่ความคิด (Mind Map)
    • การสร้างแบบทดสอบแบบต่างๆ
      • การเพิ่มกิจกรรมแบบทดสอบ
      • การเลือกประเภทแบบทดสอบ
      • การสร้างคำถาม แบบปรนัย (Multiple Choice question)
      • การจัดการคำถามผ่านทางไอคอนจัดการคำถาม
      • การสร้างคำถาม แบบอัตนัย (Short Answer question)
      • การสร้างคำถาม แบบจับคู่ (Matching question)
      • การสร้างคำถาม แบบถูก/ผิด (True/False question)
      • การสร้างคำถาม แบบเติ่มคำตอบด้วยตัวเลขหรือช่วง (Numerical question)
      • การสร้างคำถาม แบบคำนวณ (Calculated question)
      • การสร้างคำถาม แบบคำอธิบาย (Description question)
      • การสร้างคำถาม แบบเรียงความ (Essay question)
      • การสร้างคำถาม จับคู่จากอัตนัย (Random Short-Answer Matching question)
      • การสร้างคำถาม แบบฝังตัว Embedded answers (Cloze question)
        • โครงสร้างคำถามแบบฝังตัว
        • รูปแบบคำถามแบบฝังตัว Embedded answers (Cloze)
        • ขั้นตอนการสร้างคำถามแบบฝังตัว Embedded answers (Cloze)
      • การนำเข้าคำถามจากไฟล์ภายนอก
        • รูปแบบไฟล์ที่สามารถนำเข้าคำถามได้ (Importing new questions)
        • รูปแบบคำถามปรนัยแบบ Aiken (Multiple Choice)
        • รูปแบบคำถามปรนัยแบบ GIFT (Multiple Choice)
        • รูปแบบคำถามเติมคำแบบ GIFT (Short Answer)
        • รูปแบบคำถามถูก-ผิดแบบ GIFT (True-False)
        • รูปแบบคำถามจับคู่แบบ GIFT (Matching)
        • รูปแบบคำถามคำนวณแบบ GIFT (Numerical)
        • ขั้นตอนการนำเข้าคำถามปรนัย แบบ Aiken
        • ขั้นตอนการนำเข้าคำถามปรนัย แบบ GIFT
      • การดึงคำถามจากคลังคำถามมาประเมินผลผู้เรียน
    • การประเมินผลผู้เรียน
      • การตั้งค่าและการกำหนดช่วงคะแนน (GPA)
      • การแสดงคะแนนทั้งหมด
      • การตรวจการบ้าน
      • การดูผลการทำแบบทดสอบของผู้เรียน
      • การดูรายงานสรุปข้อมูลของผู้เรียน
  • การใช้งาน Moodle สำหรับผู้เรียน
    • การใช้งาน Moodle สำหรับผู้เรียน
    • การสมัครสมาชิกใหม่ (Create new account)
    • การล็อกอินเข้าใช้งานระบบ (Login)
    • การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว (Edit profile)
    • การขอรหัสผ่านใหม่ (Forgot password)
    • การเข้าเรียนรายวิชา
    • การส่งการบ้าน
    • การทำแบบทดสอบ

 

การจัดทำฐานข้อมูลอุดมศึกษา ของ ม.เจ้าพระยา ปีการศึกษา 2558

 

ผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาเข้าร่วมการประชุมชี้แจง “การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2558” (ภาคเหนือ)  เมื่อวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2558 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องฟอรั่มบอลรูม โรงแรมเดอะพาราดิโช เจเคดีไซน์ จังหวัดนครสวรรค์   ซึ่งในครั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดประชุมเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลรายบุคคลด้านนักศึกษา บุคลากร หลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษา และข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิตได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการส่งข้อมูลคลังข้อมูลอุดมศึกษา มีหน่วยงานที่พัฒนาระบบคือ กลุ่มสารนิเทศ สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พบว่ามีข้อมูลที่ สกอ. นำไปเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป หลายระบบ ดังนี้

1. ระบบการวางแผนเพื่อการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
– ประโยชน์ต่อที่นักเรียน คือ สืบค้นหลักสูตรที่รับรองรับทราบแล้ว และค่าเล่าเรียน
และยังเปิดดูเนื้อหาในเล่มหลักสูตร และใช้เปรียบเทียบกันได้ ว่าหลักสูตรใดสอนอะไร
– หน่วยงาน กยศ. และกรอ. ใช้เป็นฐานข้อมูลการอนุมัติเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และเพดานกู้ยืม
หากหลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรู้รับทราบจากคณะกรรมการ ทางกองทุนกู้ยืมก็ถือว่ายังไม่ผ่าน จะต้องรอก่อน
และ สกอ.ถือว่าฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลหลักสูตรที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว
– ข้างในมีรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับเงินกู้ยืม และหลักสูตรมากกว่า 10 รายงาน
http://www.gotouni.mua.go.th

gotouni

2. ระบบนำส่งข้อมูลเข้าคลังข้อมูลอุดมศึกษา
ที่หน้าแรก แม้ไม่ login ก็สามารถเห็นสถิติการส่งข้อมูลของแต่ละสถาบันแล้ว
สถาบันใดส่งข้อมูลครบ 100% ก็จะได้เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงตามลำดับ
เข้าไปดูได้ครับว่าสถาบันใดได้เหรียญรางวัลในความสมบูรณ์
สถาบันใดไม่ได้เหรียญ และสถาบันใดไม่ได้ส่งข้อมูล
http://www.data3.mua.go.th/00

3. ระบบข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
ในครั้งนี้ทาง กลุ่มสารนิเทศ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ได้พัฒนาระบบการจัดส่งข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา  และภาวะการมีงานทำของบัณฑิต มาอีก 1 ช่องทาง ที่เว็บไซต์  http://www.employ.mua.go.th
employ

4. สารสนเทศอุดมศึกษา
เมื่อสถาบันการศึกษาส่งข้อมูลเข้าระบบในข้อ 2 ครบถ้วนแล้ว
ก็จะนำไปจัดทำสารสนเทศเพื่อรายงานสู่สาธารณะต่อไป
อาทิ จำนวนบุคลากร จำนวนนักศึกษาใหม่ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา เป็นต้น
ทำให้นักศึกษา หรือสถาบัน หรือองค์กร นำข้อมูลไปวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ต่อไปได้
http://www.info.mua.go.th/information/

info