การจัดการความรู้สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ปีการศึกษา 2559 ได้ดำเนินการจัดการความรู้ จำนวน 3 เรื่อง ประกอบด้วย

เรื่องที่ 1 การจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดด้วยรหัสสี

เรื่องที่ 2 การเก็บและจัดชั้นวารสารตามศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI

เรื่องที่ 3 “การเย็บรวมเล่มวารสารวิชาการ (วารสารฉบับย้อนหลัง)ที่ออกให้บริการ”

 

แบบรายงานผลการดำเนินงาน เรื่อง การจัดการความรู้ KM ประจำปีการศึกษา 2559

ระหว่างเดือน สิงหาคม 2559 – พฤษภาคม 2560

หน่วยงาน สำนักวิทยบริการ

สังกัดฝ่ายวิชาการ

ประเด็นความรู้

(เรื่อง)

เป้าหมายของการจัดการความรู้ มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ระบุจำนวนครั้งที่ ≥10ครั้ง)

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากdการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน
1.การจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดด้วยรหัสสี

2.การเก็บและจัดชั้นวารสารตามศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI

3.การเย็บรวมเล่มวารสารวิชาการ(วารสารฉบับย้อนหลัง) ที่ออกให้บริการ

1.เพื่อพัฒนาฐานความรู้ สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยและส่วนงานในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนา

2.เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สามารถนำมาในงานพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

-มีการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2559 ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2559 เพื่อร่วมกันพิจารณาดำเนินการ1.ประชุมการจัดทำแผนการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2559

2.ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดการความรู้ หัวข้อ/ประเด็นความรู้ และเป้าหมายของการจัดการความรู้

3.จัดทำแผนการจัดการความรู้ของห้องสมุด ปีการศึกษา 2559 ที่สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยและส่วนงานห้องสมุดโดยการเน้นด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริหารจัดการ

4.มีการกำหนดการจัดโครงการที่สอดคล้องกับแผนการจัดการความรู้ใน 3 ฐาน ดังนี้ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านการวิจัย 3) ด้านการบริหารจัดการ ส่วนงานสรุปการจัดการทั้ง 3 โครงการและสามารถดำเนินการได้ตามพันธกิจของส่วนงาน ซึ่งประกอบด้วย (1) ด้านการจัดการเรียนการสอน (2) ด้านการวิจัย และ (3) ด้านการบริหารจัดการ และมีการดำเนินการครบถ้วนตามแผนการจัดการความรู้ (ตามเอกสารแนบ)

1.ด้านการจัดการเรียนการสอน โดยมีการถอดบทเรียนจากผู้นำเสนอวิธีการจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดปรับใหม่โดยใช้รหัสสี โดยมีการจัดส่งให้กับคณะทำงานเป็นแนวปฏิบัติที่ดี

2.ด้านการวิจัย ได้มีการสรุปประเด็นแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการความรู้ในเรื่องการเก็บและจัดชั้นวารสารตามศูนย์ดัชนีการอ้าวอิงวารสารไทย TCI เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การให้บริการที่มีคุณภาพ

3.ด้านการบริหารจัดการ ได้มีการสรุปประเด็น การใช้งานวารสารวิชาการ ควรมีการจัดเก็บที่ถาวรด้วยการเย็บรวมเล่มตามวิธีการจัดเก็บที่คงทนถาวรและใช้งานได้สะดวก

เอกสารแนบท้ายแบบรายงาน

การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กิจกรรมการจัดการความรู้

ลำดับ กิจกรรมการจัดการความรู้ ระยะเวลา
1. การบ่งชี้ความรู้  
  1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ (KM) สิงหาคม 2559
  1.2 ประชุมระดมความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ของสำนักวิทยบริการ ครอบคลุมประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กร          สู่ระบบบริหารจัดการที่ดี  
2. การสร้างและแสวงหาความรู้

2.1 ค้นคว้าและศึกษาความรู้เพิ่มเติมจาก เวทีแลกเปลี่ยนความรู้           การเล่าประสบการณ์ และกิจกรรมต่าง ๆ

 

ตุลาคม 2559

3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

3.1 กำหนดหมวดหมู่ให้องค์ความรู้ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นองค์ความรู้ในเรื่อง 1) การจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดด้วยรหัสสี

2) การเก็บและจัดชั้นวารสารตามศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI

3) การเย็บรวมเล่มวารสารวิชาการ(วารสารฉบับย้อนหลัง) ที่ออกให้บริการ

 

พฤศจิกายน 2559-กุมภาพันธ์ 2560

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้  
  4.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ ประชุมและติดตามผลเดือนละ 1 ครั้ง
5. การเข้าถึงความรู้  
  5.1 ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ผ่านเว็บไซต์

http://cpu.ac.th

– Facebook

-บล๊อกการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย

พฤศจิกายน 2559-กุมภาพันธ์ 2560
6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้  
  6.1 จัดประชุม/อบรมการจัดการความรู้ให้กับบุคลากรภายในสำนักฯ ธันวาคม 2559 , เมษายน 2560
  6.2 จัดประชุม/ติดตามผลการจัดดำเนินการ  
  6.3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  
7. การเรียนรู้  
  7.1 วิเคราะห์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีจากแหล่งต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมที่ได้จากการจัดการความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่          สำนักวิทยบริการ นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน สิงหาคม 2559- พฤษภาคม 2560
  7.2 ขยายผลการปรับใช้ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์  
  7.3 สรุปผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ในประเด็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของหน่วยงาน

การจัดเก็บวารสารวิชาการของห้องสมุดจำแนกการอ้างอิงตามศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย : TCI

Journal Keep

 

เป้าหมายของการจัดการความรู้ :  เนื่องจากห้องสมุดมีวารสารวิชาการจำนวน 406 ชื่อเรื่องออกให้บริการ ซึ่งมีปริมาณค่อนข้างมาก ดำเนินการจัดเก็บโดยจำแนกตามวารสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลี วารสารด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และวารสารทั่วไป โดยในแต่ละกลุ่มจำแนกตามวารสารที่เข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย: Thai-Journal Citation Index Centre) เป็น TCI กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3สามารถตรวจสอบรายชื่อวารสารที่ผ่านการประเมินแต่ละกลุ่มที่เว็บไซต์ http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/2558/Announced/News.html

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน : เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้แนวปฏิบัติงานที่ดีการจัดเก็บวารสารภายในห้องสมุดด้วยการแบ่งกลุ่มวารสารรายด้าน การแบ่งกลุ่มวารสารจำแนกตามฐานข้อมูล TCI (ศูนย์การอ้างอิงวารสารไทย) การจัดเรียงวารสารฉบับปัจจุบันที่ออกให้บริการในห้องสมุด ตลอดจนผู้รับบริการสามารถค้นวารสารที่มีคุณภาพมาตรฐานวารสารวิชาการของไทย TCI

TCI Logo

TCI

ความเป็นมา

วารสารวิชาการของประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลทั้งในด้านการบริหารจัดการ ลักษณะรูปเล่ม และการนำไปใช้อ้างอิง แม้กระทั่งวารสารบางรายการที่ถูกอ้างอิงมากในวารสารนานาชาติ ยังคงถูกอ้างอิงน้อยในกลุ่มวารสารไทย เช่น Southeast Asian J Trop Med & Public Health เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า วารสารไทยมีค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิงค่อนข้างต่ำ และมีวารสารเพียง 15 ชื่อเรื่องที่มีค่า Journal Impact Factors อย่างต่อเนื่อง โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการ ครั้งที่ 3 ขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2551 ณ ห้องบอลรูม เอ โรงแรมมารวย การ์เด้นท์ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานสภาพของวารสารไทยในปัจจุบันและสร้างความตระหนักต่อความสำคัญของคุณภาพวารสารที่มีต่อการพัฒนาด้านวิชาการของประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นเวทีให้บรรณาธิการวารสาร และผู้เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.ดาวน์โหลดรายชื่อวารสารไทยตามกลุ่มการจัดลำดับของ TCI http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/2558/Announced/News.html

นำมาจัดเก็บและแยกกลุ่ม แยกสาขาวิชา

2.ตรวจสอบรายชื่อวารสารที่มีในห้องสมุดและรหัสการจัดเก็บ ว่าวารสารที่มีให้บริการอยู่ในกลุ่ม TCI กลุ่มไหน

3.ลงทะเบียนวารสารที่มีให้บริการในห้องสมุด พร้อมให้รหัสการจัดเก็บวารสารและกลุ่มวารสารตาม TCI

4.นำวารสารขึ้นชั้นออกให้บริการ

การจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ด้วยรหัสสี

 

CallNo

เป้าหมายของการจัดการความรู้ :  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงขั้นตอนการจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ด้วยรหัสสีก่อนออกให้บริการ จัดทำตารางรหัสสี ขั้นตอนการปฏิบัติ  ง่ายต่อการจัดเก็บ และจัดเรียงหนังสือขึ้นบนชั้น

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน : เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้แนวปฏิบัติงานที่ดีการจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดด้วยรหัสสี  ตารางรหัสสี ทำให้ลดข้อผิดพลาดการจัดเก็บ การค้นหาตัวเล่ม และการจัดเรียงหนังสือที่ให้บริการ

ความเป็นมา

การจัดหมวดหมู่หนังสือสำหรับห้องสมุด นอกจากการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LC: Library of Congress Classification) โดยแบ่งเป็น 20 หมวดใหญ่ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ A-Z ยกเว้น IQWXY ผสมกับตัวเลขอารบิค ตั้งแต่เลข 1-9999 และอาจเพิ่มจุดทศนิยมกับตัวเลข 20 หมวด ได้แก่ A= ความรู้ทั่วไป  (General Works)  B  =  ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา  (Philosophy  Psychology, Religion)                        C =  ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary Sciences of History)  D = ประวัติศาสตร์ทั่วไป และประวัติศาสตร์โลกเก่า  (History : General and Old  World) E-F = ประวัติศาสตร์ : อเมริกา  (History : America) G    =   ภูมิศาสตร์ โบราณคดี  นันทนาการ  (Geography, Antropology, Recreation) H  = สังคมศาสตร์  (Social Sciences) J=  รัฐศาสตร์  (Political Science) K =  กฎหมาย  (Law)  L  = การศึกษา (Education)  M = ดนตรี (Music and Books on Music) N = ศิลปกรรม (Fine Arts)

P =  ภาษาและวรรณคดี  (Philology and  Literatures) Q =  วิทยาศาสตร์  (Science) R =  แพทยศาสตร์  (Medicine) S =  เกษตรศาสตร์ (Agriculture) T = เทคโนโลยี  (Technology)

U = ยุทธศาสตร์ (Military Science) V = นาวิกศาสตร์ (Naval Science) Z = บรรณานุกรม และบรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library Science) รวมถึง Juv หนังสือนวนิยาย รส. เรื่องสั้น งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ ซึ่งใช้เลขเรียกตามที่ห้องสมุดกำหนด เมื่อวิเคราะห์เลขหมู่และจัดไว้เป็นหมวดต่างๆแล้ว เราก็จะไปสู่ขั้นตอนของการติดแถบสีเลย เพื่อกำหนดที่อยู่ให้หนังสือหมวดหมู่เดียวได้อยู่ด้วยกัน และสามารถให้นักศึกษา หรือผู้รับบริการ หาได้ง่ายและง่ายต่อการจัดเก็บ

ตัวอย่างตารางสีหมวดหมู่หนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

1

2

3

4

5

 

วิธีการพิมพ์รหัสหมวดหมู่ด้วยรหัสสี

1.จัดพิมพ์หมวดหมู่ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ตั้งค่าระยะความกว้างและสูงให้พอเหมาะกับสติ๊กเกอร์ในแต่ละดวงให้ตรง

2.นำหนังสือที่ผ่านการวิเคราะห์หมวดหมู่เรียบร้อยมาพิมพ์สติกเกอร์ติดสันหนังสือแยกประเภทหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการกำหนดสีหมวดหมู่

3.นำตารางสีหมวดหมู่มาพิมพ์สติกเกอร์ติดแถบหนังสือ (เลขเรียกหนังสือ Call No.)

วิธีติดแถบสี

1.ใช้เครื่องวัดทาบที่มุมล่างด้านซ้ายของหนังสือ ใช้ดินสอขีดทำรอยเบาๆ

2.ติดแถบสีใต้เส้นที่ทำรอยขีดไว้ ให้ติดแถบสีโดยกะระยะพาดจากปกหน้าอ้อมไปถึงปกหนังในระยะที่เท่าๆกัน เพื่อความสวยงาม(ส่วนด้านบนเส้นเพื่อไว้สำหรับการทำแบบครบขั้นตอนในภายหลังเพิ่มเติมได้)

การเย็บรวมเล่มวารสารวิชาการ (ฉบับย้อนหลัง) ที่ออกให้บริการ”

Journal Keep Logo

เป้าหมายของการจัดการความรู้ :  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงขั้นตอนการจัดเก็บวารสารวิชาการฉบับย้อนหลังที่ออกให้บริการภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ระบบการจัดเก็บ การค้นหา และจัดเรียงวารสารย้อนหลังเพื่อการออกให้บริการ

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน : เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้แนวปฏิบัติงานที่ดีในการกระบวนและวิธีการเย็บรวมเล่ม ค้นหารายชื่อวารสารฉบับย้อนหลังที่มีให้บริการด้วยโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้ทราบปริมาณวารสารวิชาการฉบับย้อนหลังในการออกให้บริการ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

วารสารที่ให้บริการในห้องสมุด เมื่อมีจำนวนมากขึ้น ห้องสมุดจะมีวิธีการบริหารจัดการด้วยการเย็บเล่มวารสารเหล่านี้ และนำแยกออกมาให้บริการเป็นวารสารฉบับเย็บเล่ม หรือวารสารล่วงเวลา โดยแยกออกจากชั้นวารสารฉบับปัจจุบัน โดยมีขั้นตอนคือ นำวารสารฉบับปลีกที่มีเนื้อหาทางวิชาการและเป็นชื่อที่เคยเย็บเล่มแล้ว นำมาเย็บเอง (ไม่ได้ส่งโรงพิมพ์แต่ทำการเย็บรวมเล่มเอง เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ อีกทั้งป้องกันการสูญหายเนื่องจากวารสารบางชื่อมีขนาดบางมาก) โดยวิธีการเย็บเล่ม ดังนี้

ขั้นตอนการเย็บรวมเล่มวารสารวิชาการฉบับย้อนหลัง

Keep_J3

1.รวบรวมวารสารที่มีรายชื่อที่เคยเย็บเล่มแล้ว มีผู้ใช้มาก

2.เรียงตามรายชื่อ ปีที่ ฉบับที่ พ.ศ. ความหนาไม่เกิน 3 ซม.

Keep_J4

Keep_J1

3.เขียนรายการวารสารแต่ละเล่ม เช่น ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เพื่อเตรียมพิมพ์ติดข้างสันตัวเล่ม

Keep_J6

4.นำตัวเล่มวารสารมาเจาะรู 3 รู ตรงกลาง ซ้าย ขวา แล้วเย็บด้วยด้ายให้เป็นเล่มเดี่ยวกัน

5.กำหนดสีที่สันของวารสารแต่ละชื่อเพื่อความแตกต่าง

6.นำตัวเล่มขึ้นชั้นบริการ

Keep_J2

7.จัดทำบัญชีรายชื่อวารสารและรหัสการจัดเก็บติดที่บนชั้นวางวารสารฉบับย้อนหลัง

 

KM สำนักวิทยบริการ

7

สำนักวิทยบริการ ได้ดำเนินการจัดทำการจัดการความรู้ในส่วนงานห้องสมุด  3 ประเด็นคือ หัวข้อที่ 1 การจัดการทรัพยากร ได้แก่ คู่มือปฏิบัติงานการจัดเก็บหนังสือภายในห้องสมุดด้วยรหัสสี , คู่มือการเก็บและจัดชั้นวารสารตามศูนย์ดังชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI, คู่มือการเย็บเล่มวารสารทางวิชาการ หัวข้อที่  2 การบริการทรัพยากร หัวข้อที่ 3 การบริหารจัดการ หัวข้อที่ 4 การศึุกษาดูงาน สามารถเข้าดูรายละเอียดคู่มือดังกล่าวได้ที่เว็บเพจการจัดการความรู้ ของสำนักวิทยบริการ http://library.cpu.ac.th/1_KM