KM-AS-4 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 4)

วันที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      กำหนดช่วงเวลาในการให้บริการวิชาการ โดยการประชุมร่วมกับหน่วยงานผู้รับบริการวิชาการ และนำมาวางแผนการให้บริการวิชาการตามเวลาที่กำหนด
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี   การทำกิจกรรมก่อนมีการเรียนการสอน

-แล้วรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการบูรณาการบริการวิชาการรวมถึงสร้างความแตกต่างเกี่ยวกับรูปแบบการบูรณาการและการวัดประเมินแก่ผู้เรียน

3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      การให้บริการทางวิชาการโดยเฉพาะระดับสถาบันฯ นอกจากการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงแล้ว ต้องคำนึงถึงเกณฑ์ต่างๆ ที่สถาบันอุดมฯ ต้องรับผิดชอบด้วยนอกจากการบริการทางวิชาการแบบให้เปล่าแล้วการบริการวิชาการที่เป็นแบบพาณิชก็ต้องทำ เพราะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพทางวิชาการที่เข้มแข็งของมหาวิทยาลัยฯ ด้วย
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
     วิธีการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนสามารถทำได้หลากหลายวิธีโดยสรุปดังนี้

1. การนำนักศึกษาร่วมออกพื้นที่ให้บริการวิชาการกับอาจารย์เพื่อให้ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง

2. การนำข้อมูลความรู้ได้รับจากการบริการวิชาการ เป็น กรณีศึกษาให้กับนักศึกษาได้เรียนในชั้นเรียน

3. การนปำประเด็นปัญหาจากการบริการวิชาการมาถ่ายทอดใน ชั้นเรียนเพื่อให้นักศึกษาเกิดการแลกเปลี่ยนใน ชั้นเรียน

4. การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงาน

5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง      เสนอการเขียนแผนธุรกิจอย่างง่ายให้กับชุมชนเพราะการทำธุรกิจขนาดเล็กชุมชนยังไม่มีระบบแผนที่รัดกุม

 

6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ     แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ โดยมีระบบและกลไกการบริการวิชาการแก่สังคมและสามารถดำเนินการตามระบบที่กำหนดมีการวางแผนทางขั้นตอนและหลักเกณฑ์ของการให้บริการวิชาการ
7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน    นำองค์ความรู้ที่ได้จาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟัง เพื่อให้นักศึกษา ร่วมคิดวางแผน ตัดสินใจร่วมทั้งหาวิธีแก้ปัญหา
8 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว      มีการกำหนดหลักสูตรที่จะออกบริการวิชาการโดยมีการตกลงร่วมกันของนักศึกษาและอาจารย์ตามหลักสูตรว่าในการบริการวิชาการและให้กับรายวิชาทั้ง 2 รายวิชาที่เราต้องออกบูรณาการจึงได้สรุปเมนูหลักสูตรการถ่ายภาพอย่างมืออาชีพและมีทักษะสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
9 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  สำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือชุมชน เพื่อนำองค์ความรู้ที่มามากำหนดโครงการเพื่อบูรณาการกับรายวิชาที่กำหนด
10 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี        การพัฒนาและบูรณาการงานวิชาการในการศึกษาวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยี ที่สามารถ สร้างสรรค์องค์ความรู้ ความรู้และภูมิปัญญาไทย ที่ก่อให้เกิดประโยชน์และตอบสนองความต้องการของ ท้องถิ่น เนินการศึกษาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อสร้างรากฐานให้เกิดความมั่นคงของชุมชน และประเทศ
11 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ วิธีการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนสามารถทำได้หลากหลายวิธี

1.การบูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion Instruction )

การจัดการเรียนการสอนตาม รูปแบบนี้ผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่นๆเข้าในการเรียนการสอนของตน เป็นการสอนตามแผนการสอนและประเมินผลโดยผู้สอนคนเดียว วิธีนี้ถึงแม้ว่าผู้เรียนจะเรียนจากผู้สอนคนเดียวแต่ก็สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆได้

2.การบูรณาการแบบข้ามวิชา ( Transdisciplinary Instruction )

การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้สอนที่สอนวิชาต่างๆร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือกำหนดหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหาเดียวกัน  จัดทำแผนการสอนร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนเป็นคณะ ( Team ) โดยดำเนินการสอนผู้เรียนกลุ่มเดียวกันมอบหมายงาน / โครงงานให้ผู้เรียนเรียนทำร่วมกัน  ผู้สอนทุกวิชากำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนร่วมกัน การเรียนการสอนแบบบูรณาการ   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย

12 อาจารย์รุจิตร ตายอด การบูรณาการแบบขนาน

การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ นี้  ผู้สอนตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  ต่างคนต่างสอน แต่ต้องวางแผนเพื่อสอนร่วมกัน  โดยมุ่งสอนหัวเรื่อง /  ความคิดรวบยอด /  ปัญหาเดียวกัน ระบุสิ่งที่ทำร่วมกันและตัดสินใจร่วมกันว่าจะสอนหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหานั้นๆอย่างไร ในวิชาของแต่ละคนใครควรสอนก่อนหลังงานหรือการบ้านที่มอบหมายให้ผู้เรียนทำจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละวิชา แต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง/ ความคิดรวบยอด

13 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การบูรณาการแบบขนาน ( Parallel Instruction )

การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ นี้  ผู้สอนตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  ต่างคนต่างสอน แต่ต้องวางแผนเพื่อสอนร่วมกัน  โดยมุ่งสอนหัวเรื่อง /  ความคิดรวบยอด /  ปัญหาเดียวกัน ระบุสิ่งที่ทำร่วมกันและตัดสินใจร่วมกันว่าจะสอนหัวเรื่อง / ความคิดรวบยอด / ปัญหานั้นๆอย่างไร ในวิชาของแต่ละคนใครควรสอนก่อนหลังงานหรือการบ้านที่มอบหมายให้ผู้เรียนทำจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละวิชา แต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง/ ความคิดรวบยอด / ปัญหาร่วมกัน การสอนแต่ละวิชาจะเสริมซึ่งกันและกันทำให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้

14 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด

 

      พรบ.คอมพิวเตอร์ให้แก่ชุมชนแล้วทำสื่อ Power Point ให้ประชาชนได้ศึกษามาใช้สอนในวิชาที่สอนด้วยเป็นการสอนเสริมเพิ่มเติมความรู้

 

 

 

 

สรุปประเด็น

  1. การให้บริการทางวิชาการโดยเฉพาะระดับสถาบันฯ นอกจากการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงแล้ว ต้องคำนึงถึงเกณฑ์ต่างๆ ที่สถาบันอุดมฯ ต้องรับผิดชอบด้วยนอกจากการบริการทางวิชาการแบบให้เปล่าแล้วการบริการวิชาการที่เป็นแบบพาณิชก็ต้องทำ เพราะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพทางวิชาการที่เข้มแข็งของมหาวิทยาลัยฯ ด้วย
  2. กำหนดช่วงเวลาในการให้บริการวิชาการ โดยการประชุมร่วมกับหน่วยงานผู้รับบริการวิชาการ และนำมาวางแผนการให้บริการวิชาการตามเวลาที่กำหนด

KM2560-AS-2 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 3)

วันที่ 7 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      นำองค์ความรู้และทักษะความเชี่ยวชาญมาพัฒนาหลักสูตรสำหรับบริการวิชาการ โดยเน้นเนื้อหาสาระที่สอดคล้องและตรงตามความต้องการของชุมชน คือ โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน หลักสูตรการใช้โปรแกรมสำนักงาน Microsoft Office สำหรับพนักงานบริษัท ตาตง นครสวรรค์ จำกัด
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี ขั้นตอนในการบูรณาการบริการวิชาการ การเรียนการสอน

1 กำหนดรายวิชาที่จะบูรณาการ

2 กำหนดรูปแบบการบูรณาการ

3 จัดทำ มคอ 3

4 จัดการเรียนการสอน

5.ประเมินผล

6 จัดทำ มคอ 5

 3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      การให้บริการวิชาการต้องกำหนดเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจน มีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีการติดตามการดำเนินงานเพื่อให้ทราบผลว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไว้ และจะต้องมีการทบทวนผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการในปีต่อไป และเมื่อสิ้นสุดการให้บริการทางวิชาการแล้วต้องมีการสรุปเพื่อนำประเด็นสำคัญมาบูรณาการกับการเรียน ซึ่งต้องสอดรับกับ มอค. 3 ที่ได้กำหนดไว้ และต้องสรุปใน มคอ. 5 เมื่อมีการวัดผลด้วยเพื่อประเมินว่าเป็นไปตาม learning Outcome หรือไม่ เพื่อปรับปรุงต่อไป
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
    การบูรณาการแบบให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 1 พิจารณารายวิชาที่สอดคล้องกับองค์ความรู้จากการบริการวิชาการ/วิชาชีพ

ขั้นตอนที่ 2 ระบุกิจกรรมการบูรณาการใน มคอ.3 หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

ขั้นตอนที่ 3 จัดให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ/วิชาชีพกับชุมชน เช่น การเป็นผู้ช่วยวิทยากร การดาเนินงานอื่นๆ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 4 ให้นักศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้เพื่ออภิปรายปรากฏการณ์พร้อมทั้งค้นพบองค์ความรู้หรือ เทคนิคของการบริการวิชาการ/วิชาชีพด้วยการปฏิบัติจริง

ขั้นตอนที่ 5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้

5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง     นอกจากธุรกิจที่อยู่ได้ลองเข้าไปศึกษาเพื่อหาแนวทางธุรกิจใหม่ที่ ที่อาจจะเกี่ยวกับธุรกิจเก่าและเข้ากันได้กับชุมชน
6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ      การจัดทำโครงการบริหารจัดการโครงการ มรการบูรณาการ่วมกับเนื้อหาของรายวิชาตามวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดของโครงการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      ผู้สอนควรพัฒนาองค์ความรู้ โดยการสังเคราะห์องค์ความรู้พิจารณารายวิชาที่สอดคล้องกับองค์ความรู้ ระบุกิจกรรมในแผนการสอน การประเมินผล ดำเนินการเรียนการสอนวัดผลประเมินผล
8 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว         จากการวิเคราะห์รายวิชาเหมาะสมกับการบูรณาการบริการวิชาการสอนเพิ่มเติมนั้นว่ามีการถ่ายทอดวิชาที่เหมาะสมอีก 1 รายวิชาได้แก่วิชาการพูดเพื่อจูงใจและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับชุมชนดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเป็นงานบริการวิชาการที่เหมาะสมแก่ชุมชนและสังคมเพื่อเป็นการถ่ายทอดการสื่อสารเช่นการถ่ายภาพ PR สินค้าหรือ Profile ของตนเอง
9 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสะอาด  – นำองค์ความรู้ที่มาจัดกลุ่มตามรายวิชา เพื่อบูรณาการในการจัดโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับรายวิชา
 10 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      เสริมสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งของชุมชนในท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้และ เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการศึกษา ส่งเสริม สืบสาน โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริและสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม
11 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ( Learning Integration )

1.       การบูรณาการภายในวิชา(Intradisciplinary Instruction

2.        การบูรณาการระหว่างวิช(InterdisciplinaryInstruction)

12 อาจารย์รุจิตร ตายอด การบูรณาการแบบสอดแทรกการจัดการเรียนการสอนตาม รูปแบบนี้ผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่นๆเข้าในการเรียนการสอนของตน
13 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การบูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion Instruction )

1. การจัดการเรียนการสอนตาม รูปแบบนี้ผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่นๆเข้าในการเรียนการสอนของตน เป็นการสอนตามแผนการสอนและประเมินผลโดยผู้สอนคนเดียว วิธีนี้ถึงแม้ว่าผู้เรียนจะเรียนจากผู้สอนคนเดียวแต่ก็สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆได้

14 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด

 

        ไปบริการวิชาการ ยกระดับเว็บไซต์ผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้ตัวแทนชุมชนที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อบรมโดยจัดทำคู่มือสอนให้ด้วย

 

 

 

สรุปประเด็น

  1. บุคลการทุกคนควรมีส่วนร่วมในการออกให้บริการวิชาการทั้งระดับคณะวิชาหรือสถาบันฯ เพราะเป็นการแสดงออกถึงศักยภาพด้านวิชาการในศาสตร์วิชาการนั้นๆ และสำคัญคือการนำทฤษฏีไปใช้ปฏิบัติจริงเกิดผลลัพธ์จริง เจอสถานการณ์จริง และทุกครั้งต้องมีการวัดและประเมินผล KPI ในเชิงสถิติเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมจากการดำเนินงาน
  2. ความรู้พื้นฐานสมาชิกในชุมชนก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการที่จะเข้าไปให้ความรู้ทางวิชาการ เพราะถ้าชุมชนมีความเชื่อที่แตกต่าง ปิดกั้นไม่เปิดรับสิ่งต่างๆ การให้ความรู้ความเข้าใจก็จะไม่เกิดการยอดรับและไม่ปฏิบัติตามในที่สุด ก็ทำให้เสียเวลาและงบประมาณ ดังนั้น การให้ความเข้าใจว่ามีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญ

KM2560-AS-2 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 2)

วันที่ 8 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมวิทยากรได้เก็บข้อมูลความต้องการในการรับบริการวิชาการและหารือร่วมกับหน่วยงานที่ขอรับบริการวิชาการเพื่อพัฒนาหลักสูตร โดยหน่วยงานมีความประสงค์ให้พนักงานมีทักษะการใช้โปรแกรมสำนักงานขั้นสูง เพื่อตอบสนองการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และรองรับการทำงานในอนาคตที่จะเริ่มเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยีและนวัตกรรม
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี     แนวทางในการเลือกรูปแบบการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนต้องมีการ พัฒนาส่วนของเนื้อหารายวิชาเป็นระยะเวลาและ บูรณาการการบริการวิชาการ
 3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      การให้บริการมีหลากหลายรูปแบบ แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับชุมชนกลุ่มเป้าหมาย เช่น การบรรยายให้ความรู้ การฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การจัดศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ การส่งเสริมให้เป็นแหล่งศึกษาดูงาน การเป็นศูนย์พัฒนาฝีมือหรือศูนย์ทดสอบต่างๆ และต้องนำความรู้นั้นมาบูรณาการกับการเรียนให้เหมาะสม ซึ่งการบูรณาการกับการเรียนก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าบูรณาการแล้วผลที่จะเกิดคืออะไร สำคัญที่สุดคือผู้สอนในรายวิชานั้นๆ ต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดี
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
     การบูรณาการแบบนาความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

ขั้นตอนดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ความรู้จากการบริการวิชาการ/วิชาชีพ

ขั้นตอนที่ 2 พิจารณารายวิชาที่สอดคล้องกับองค์ความรู้จากการบริการวิชาการ/วิชาชีพ

ขั้นตอนที่ 3 ระบุกิจกรรมการบูรณาการใน มคอ.3 หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

ขั้นตอนที่ 4 การถ่ายทอด/ปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้

5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง        ภาษาธุรกิจชุมชนมีบางธุรกิจที่ควรส่งเสริมตอบควรเข้าไปให้คำแนะนำ
6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ      มีระบบการบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์ประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนชนและสังคม
7 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  เสนอองค์ความรู้ที่มีในแต่ละด้าน ว่ามีองค์ความรู้ในศาสตร์ใด  เพื่อนำองค์ความรู้มาจัดการบริการวิชาการ
8 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      ก่อนออกบริการวิชาการผู้สอนต้องย้อนกลับมาดูองค์ความรู้ที่จะถ่ายทอดก่อน ว่ามีความรู้เพียงพอหรือไม่ จากนั้นต้องรู้ความต้องการของชุมชนที่จะบริการวิชาการ
9 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว      การวิเคราะห์วิชาการที่เหมาะสมกับการบริการวิชาการได้แก่รายวิชาการถ่ายทอดเพื่อสื่อสารเนื้อหาจากสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันทุกคนจึงคิดว่ามีความน่าสนใจ

 

 10 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      สร้างสรรค์และพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาไทย ให้สอดคล้องกับความ ต้องการในการพัฒนาประเทศ เสริมสร้างการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา  คุณภาพบัณฑิตและคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มมูลค่า ให้กับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีท้องถิ่น
11 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ การบูรณาการแบบนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
12 อาจารย์รุจิตร ตายอด การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ( Learning Integration )

1.       การบูรณาการภายในวิชา(Intradisciplinary Instruction ) เป็นการบูรณาการที่เกิด ขึ้น ภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน  วิชาที่ใช้หลักการบูรณาการภายในวิชาเดียวกันมากที่สุด  คือวิชาภาษา  หรือกระบวนการทางภาษาซึ่งประกอบด้วยการฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกันหลายแบบนอกจากวิชาภาษาแล้วยังมีวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ก็ใช้หลักการเชื่อมโยงภายในวิชาได้

13 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ( Learning Integration )

1.       การบูรณาการภายในวิช(Intradisciplinary Instruction) เป็นการบูรณาการที่เกิด ขึ้น ภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน  วิชาที่ใช้หลัก

การบูรณาการภายในวิชาเดียวกันมากที่สุด  คือวิชาภาษา  หรือกระบวนการทางภาษาซึ่งประกอบด้วยการฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกันหลายแบบนอกจากวิชาภาษาแล้วยังมีวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ก็ใช้หลักการเชื่อมโยงภายในวิชาได้

2.       การบูรณาการระหว่างวิชา( Interdisciplinary Instruction )  เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่างๆตั้งแต่  2  สาขาวิชาขึ้นไปภายใต้หัวเรื่อง    (Theme )  เดียวกัน  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชาต่างๆมากกว่า  1  วิชาขึ้นไป  เพื่อการแก้ปัญหาหรือการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่างๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด

14 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด

 

      บริการวิชาการเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยไปให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ไปไกลและ ทันสมัยมีเทคนิคอะไรบางสามรถนำมาปรับให้กับชุมชนได้โดยทำแบบแผ่นพับแจกพร้อมทั้งอธิบายให้ ความรู้โดยนำมาใช้ในเรียนการสอนในโปรแกรม Microsoft word.

 

 

สรุปประเด็น

  1. แนวทางในการเลือกรูปแบบการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนต้องมีการ พัฒนาส่วนของเนื้อหารายวิชาเป็นระยะเวลาและ บูรณาการการบริการวิชาการ
  2. การให้บริการมีหลากหลายรูปแบบ แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับชุมชนกลุ่มเป้าหมาย เช่น การบรรยายให้ความรู้ การฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การจัดศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ การส่งเสริมให้เป็นแหล่งศึกษาดูงาน การเป็นศูนย์พัฒนาฝีมือหรือศูนย์ทดสอบต่างๆ และต้องนำความรู้นั้นมาบูรณาการกับการเรียนให้เหมาะสม ซึ่งการบูรณาการกับการเรียนก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าบูรณาการแล้วผลที่จะเกิดคืออะไร สำคัญที่สุดคือผู้สอนในรายวิชานั้นๆ ต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดี

KM2560-AS-1 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 1)

วันที่ 18 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่

อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      การบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม สิ่งที่สำคัญคือการคัดเลือกชุมชนกลุ่มเป้าหมายในการให้บริการ และการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องและตรงตามความต้องการของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาตนเองต่อไปได้ โดยบูรณาการองค์ความรู้จากศาสตร์ในทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการให้บริการวิชาการตามเชี่ยวชาญ
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี      รูปแบบการบูรณาการการบริการที่เคยไปได้แก่การนำเอาข้อมูลการบริการวิชาการมาเขียนกรณีศึกษาการนำเอกสารประกอบการบริการว่ามีความเป็นมาเป็นไปอย่างไรเอกสารประกอบการสอนและการนำนักศึกษาไปมีการไปร่วมในการบริการวิชาการ
 3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      การให้บริการวิชาการแก่สังคม สำคัญคือต้องยึดชุมชนเป็นหลัก  ชุมชนต้องมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือ จึงจะเกิดการพัฒนาพึ่งต้นเองได้ และมหาวิทยาลัยฯ ต้องเข้าไปให้บริการที่ตรงกับที่ ชุมชนต้องการจึงจะทำให้เกิดการพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้ มิใช้เป็นความต้องการของมหาวิทยาลัยฯ ฝ่ายเดียว ต้องมีการ สำรวจชุมชนเพื่อดูความต้องการและจากนั้นนำมาวิเคราะห์ว่ามหาวิทยาลัยฯ เรามีบุคลการหรือสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เหล่านั้น หรือไม่ และจัดให้เหมาะสมแต่ทั้งนี้ก็ต้องให้เป็นไปตามแผนยุทธ์ศาสตร์ที่กำหนด
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ      อาจารย์ต้องกำหนดวัตถุประสงค์หลัก วัตถุประสงค์รอง และทาความเข้าใจกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน วัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้การบริการวิชาการมีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอน โดยให้ผู้สอนนาความรู้จากประสบการณ์จริงมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน วัตถุประสงค์รอง เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ไปให้บริการทางวิชาการ

ตัวอย่างรูปแบบกิจกรรม

1) กำหนดให้นักศึกษาในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการวิชาการ เป็นวิทยากรผู้ช่วย ตอบปัญหา และ ช่วยฝึกปฏิบัติ หรือร่วมจัดนิทรรศการ

2) สอดแทรกความต้องการแก้ปัญหาของผู้เข้ารับบริการวิชาการในขณะจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้น นักศึกษา

3) ปรับลาดับหัวข้อการสอนของรายวิชาทั้งในส่วนภาคทฤษฎี/ภาคปฏิบัติ รวมทั้งการมอบหมายให้ นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเตรียมให้บริการวิชาการ ให้มีความสอดคล้องกับงานที่มอบหมายในรายวิชา

 5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง      สาขาการจัดการเสนอรายวิชาการจัดการธุรกิจขนาดย่อยบูรณาการกับการบริการวิชาการร่วมกับการวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ      กำหนดกลุ่มเป้าหมายของโครงการบริการวิชาการ เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตรเพื่อต้องนำมาบูรณาการกับรายวิชา
7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนรู้ถือว่ามีประโยชน์ ในด้านการพัฒนาการเรียนการสอน เพราะถือว่าได้ออกไปเรียนรู้ชุมชนจริงรู้ความต้องการของชุมชน
8 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว          เป็นการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเพื่อ อาจารย์วิภารัตน์ประเด็นความรู้ซึ่งเป็นการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และ เนื้อหาแนวทางการส่งเสริมบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนเพื่อการเรียนการสอน
9 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสอาด –  กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จากผู้เรียนและรายวิชา  เพื่อให้สอดคล้อง

–  กำหนดกลุ่มชุมชน หรือพื้นที่ในการให้บริการวิชาการ

 10 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีสำนึกความเป็นไทยและมีความ รักความผูกพันในท้องถิ่น การพัฒนาระบบการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่างๆ และหลักสูตรแนวใหม่ที่ มีการบูรณาการศาสตร์สากลและภูมิปัญญาไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
11 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ      การกำหนดวัตถุประสงค์และทำความเข้าใจกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล
12 อาจารย์รุจิตรา ตายอด      การกำหนดวัตถุประสงค์และทำความเข้าใจกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับชุมชนและสังคม
13 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร       การกำหนดวัตถุประสงค์และทำความเข้าใจกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน
14 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด

 

        ไปบริการวิชาการ เรื่องการขายของออนไลน์ในเพจFacebookโดยจัดทำคู่มือการสร้างเพจขายของในFacebookแล้วสอนปฏิบัติ จึงนำคู่มือมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อสอดแทรกรายวิชาให้นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มเติม

 

 

สรุปประเด็น

  1. การให้บริการวิชาการแก่สังคม สำคัญคือต้องยึดชุมชนเป็นหลัก ชุมชนต้องมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือ จึงจะเกิดการพัฒนาพึ่งต้นเองได้ และมหาวิทยาลัยฯ ต้องเข้าไปให้บริการที่ตรงกับที่ ชุมชนต้องการจึงจะทำให้เกิดการพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้ มิใช้เป็นความต้องการของมหาวิทยาลัยฯ ฝ่ายเดียว ต้องมีการ สำรวจชุมชนเพื่อดูความต้องการและจากนั้นนำมาวิเคราะห์ว่ามหาวิทยาลัยฯ เรามีบุคลการหรือสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เหล่านั้น หรือไม่ และจัดให้เหมาะสมแต่ทั้งนี้ก็ต้องให้เป็นไปตามแผนยุทธ์ศาสตร์ที่กำหนด
  2. อาจารย์ต้องกำหนดวัตถุประสงค์หลัก วัตถุประสงค์รอง และทาความเข้าใจกับการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน วัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้การบริการวิชาการมีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอน โดยให้ผู้สอนนาความรู้จากประสบการณ์จริงมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน วัตถุประสงค์รอง เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ไปให้บริการทางวิชาการ