ประเด็นหารือจากสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557

ประชุม:ประเด็นหารือจากสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557

เป้าหมายของการจัดการความรู้: เพื่อให้มีบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ทุกระดับ

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการนำ KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน:เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ รวมถึงมีแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงาน และเกิดการเรียนรู้แนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป

QA-IQA

การดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบสหกิจศึกษาและการบูรณาการการเรียนกับการทำงาน

“การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning : WIL)เป็นกรณีหนึ่งของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ที่ช่วยให้นักศึกษามีโอกาสในการประยุกต์ความรู้ ทักษะการทำงาน และทักษะเฉพาะที่สัมพันธ์กับวิชาชีพ ได้รู้จักชีวิตการทำงานที่แท้จริงก่อนสำเร็จการศึกษา
รวบรวมโดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น (2547) “สหกิจศึกษา : รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ”,หน้า 23.

Work- integrated Learning (WiL) คือ การจัดการศึกษาแบบผสมกลมกลืนระหว่างประสบการณ์ทำงานทางวิชาชีพนอกห้องเรียนกับการเรียนในห้องเรียน ทั้งในรูปแบบการศึกษาวิจัย การฝึกงาน การทำงานเพื่อสังคม การทำงานในสถานประกอบการหรือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

อาจารย์วิรัช  กาฬภักดี ที่ปรึกษาศูนย์สหกิจศึกษาและประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (2560) “การจัดการเชิงบูรณาการกับการทำงาน : WiL”เอกสารประกอบการบรรยาย

 

KM2560-AS-2 ด้านบริการวิชาการ ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

ด้านบริการวิชาการ

ประเด็น การบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : (ครั้งที่ 3)

วันที่ 7 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมประเสริฐเสวนา

ลำดับที่ อาจารย์ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 อาจารย์สุกัญญา หนองกาวี      นำองค์ความรู้และทักษะความเชี่ยวชาญมาพัฒนาหลักสูตรสำหรับบริการวิชาการ โดยเน้นเนื้อหาสาระที่สอดคล้องและตรงตามความต้องการของชุมชน คือ โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน หลักสูตรการใช้โปรแกรมสำนักงาน Microsoft Office สำหรับพนักงานบริษัท ตาตง นครสวรรค์ จำกัด
2 อาจารย์วิรัช กาฬภักดี ขั้นตอนในการบูรณาการบริการวิชาการ การเรียนการสอน

1 กำหนดรายวิชาที่จะบูรณาการ

2 กำหนดรูปแบบการบูรณาการ

3 จัดทำ มคอ 3

4 จัดการเรียนการสอน

5.ประเมินผล

6 จัดทำ มคอ 5

 3 อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง      การให้บริการวิชาการต้องกำหนดเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจน มีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีการติดตามการดำเนินงานเพื่อให้ทราบผลว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไว้ และจะต้องมีการทบทวนผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการในปีต่อไป และเมื่อสิ้นสุดการให้บริการทางวิชาการแล้วต้องมีการสรุปเพื่อนำประเด็นสำคัญมาบูรณาการกับการเรียน ซึ่งต้องสอดรับกับ มอค. 3 ที่ได้กำหนดไว้ และต้องสรุปใน มคอ. 5 เมื่อมีการวัดผลด้วยเพื่อประเมินว่าเป็นไปตาม learning Outcome หรือไม่ เพื่อปรับปรุงต่อไป
4 อาจารย์เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ
    การบูรณาการแบบให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 1 พิจารณารายวิชาที่สอดคล้องกับองค์ความรู้จากการบริการวิชาการ/วิชาชีพ

ขั้นตอนที่ 2 ระบุกิจกรรมการบูรณาการใน มคอ.3 หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

ขั้นตอนที่ 3 จัดให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ/วิชาชีพกับชุมชน เช่น การเป็นผู้ช่วยวิทยากร การดาเนินงานอื่นๆ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 4 ให้นักศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้เพื่ออภิปรายปรากฏการณ์พร้อมทั้งค้นพบองค์ความรู้หรือ เทคนิคของการบริการวิชาการ/วิชาชีพด้วยการปฏิบัติจริง

ขั้นตอนที่ 5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้

5 อาจารย์ทิพย์สุดา คงเมือง     นอกจากธุรกิจที่อยู่ได้ลองเข้าไปศึกษาเพื่อหาแนวทางธุรกิจใหม่ที่ ที่อาจจะเกี่ยวกับธุรกิจเก่าและเข้ากันได้กับชุมชน
6 อาจารย์อภิญญา โกราหะนะ      การจัดทำโครงการบริหารจัดการโครงการ มรการบูรณาการ่วมกับเนื้อหาของรายวิชาตามวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดของโครงการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
7 อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน      ผู้สอนควรพัฒนาองค์ความรู้ โดยการสังเคราะห์องค์ความรู้พิจารณารายวิชาที่สอดคล้องกับองค์ความรู้ ระบุกิจกรรมในแผนการสอน การประเมินผล ดำเนินการเรียนการสอนวัดผลประเมินผล
8 อาจารย์วิภารัตน์ แสนแก้ว         จากการวิเคราะห์รายวิชาเหมาะสมกับการบูรณาการบริการวิชาการสอนเพิ่มเติมนั้นว่ามีการถ่ายทอดวิชาที่เหมาะสมอีก 1 รายวิชาได้แก่วิชาการพูดเพื่อจูงใจและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับชุมชนดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเป็นงานบริการวิชาการที่เหมาะสมแก่ชุมชนและสังคมเพื่อเป็นการถ่ายทอดการสื่อสารเช่นการถ่ายภาพ PR สินค้าหรือ Profile ของตนเอง
9 อาจารย์ฉัตรชัย ทศสะอาด  – นำองค์ความรู้ที่มาจัดกลุ่มตามรายวิชา เพื่อบูรณาการในการจัดโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับรายวิชา
 10 อาจารย์เยาวเรศ กาฬภักดี      เสริมสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งของชุมชนในท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้และ เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการศึกษา ส่งเสริม สืบสาน โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริและสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม
11 อาจารย์อุทัยวรรณ แก้วตะคุ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ( Learning Integration )

1.       การบูรณาการภายในวิชา(Intradisciplinary Instruction

2.        การบูรณาการระหว่างวิช(InterdisciplinaryInstruction)

12 อาจารย์รุจิตร ตายอด การบูรณาการแบบสอดแทรกการจัดการเรียนการสอนตาม รูปแบบนี้ผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่นๆเข้าในการเรียนการสอนของตน
13 อาจารย์ศศิภา ตรงต่อมิตร การบูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion Instruction )

1. การจัดการเรียนการสอนตาม รูปแบบนี้ผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่นๆเข้าในการเรียนการสอนของตน เป็นการสอนตามแผนการสอนและประเมินผลโดยผู้สอนคนเดียว วิธีนี้ถึงแม้ว่าผู้เรียนจะเรียนจากผู้สอนคนเดียวแต่ก็สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆได้

14 อาจารย์อรวรรณ สุขสอาด

 

        ไปบริการวิชาการ ยกระดับเว็บไซต์ผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้ตัวแทนชุมชนที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อบรมโดยจัดทำคู่มือสอนให้ด้วย

 

 

 

สรุปประเด็น

  1. บุคลการทุกคนควรมีส่วนร่วมในการออกให้บริการวิชาการทั้งระดับคณะวิชาหรือสถาบันฯ เพราะเป็นการแสดงออกถึงศักยภาพด้านวิชาการในศาสตร์วิชาการนั้นๆ และสำคัญคือการนำทฤษฏีไปใช้ปฏิบัติจริงเกิดผลลัพธ์จริง เจอสถานการณ์จริง และทุกครั้งต้องมีการวัดและประเมินผล KPI ในเชิงสถิติเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมจากการดำเนินงาน
  2. ความรู้พื้นฐานสมาชิกในชุมชนก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการที่จะเข้าไปให้ความรู้ทางวิชาการ เพราะถ้าชุมชนมีความเชื่อที่แตกต่าง ปิดกั้นไม่เปิดรับสิ่งต่างๆ การให้ความรู้ความเข้าใจก็จะไม่เกิดการยอดรับและไม่ปฏิบัติตามในที่สุด ก็ทำให้เสียเวลาและงบประมาณ ดังนั้น การให้ความเข้าใจว่ามีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญ