บัญชีควรเตรียมตัวอย่างไร เมื่อเข้าสู่ AEC

บัญชีควรเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องเข้าสู่ AEC

นักบัญชีเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอีกอาชีพหนึ่ง เหตุผลที่ทำให้คนส่วนหนึ่งเลือกอาชีพนี้ คือ ความมั่นคงในการทำงาน และผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการทำงาน นักบัญชีส่วนใหญ่เรียนจบมาจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในสาขาการตลาด การบัญชี หรือการเงิน และเป็นที่รับรู้กันว่า ลักษณะของงานบัญชีจะเกี่ยวข้องกับการจัดการตัวเลข ผลกำไร รายรับรายจ่ายเป็นหลัก ผู้ที่จะทำงานด้านนี้ได้ ต้องมีความรู้ความสามารถมาเป็นอย่างดี

งานบัญชีมีความเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจแทบทุกขั้นตอน และจะมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อมีการเปิดสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เนื่องจากอาชีพนักบัญชีเป็นอาชีพอิสระ โดยผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะเคลื่อนย้ายไปทำงานที่ใดก็ได้ในประเทศสมาชิกอาเซียน แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์บางอย่างที่ได้ตกลงกันไว้ เช่น ต้องผ่านการทดสอบของประเทศนั้น ๆ ก่อน จึงจะสามารถเข้าไปทำงานได้ และต้องมั่นใจว่าตนเองมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นนักบัญชีคุณภาพของอาเซียน

ทักษะด้านภาษาอังกฤษ

เป็นที่ทราบกันดีว่า หากคุณพูดภาษาใดไม่ได้เลย คุณควรพูดภาษาอังกฤษให้ได้ เพราะภาษานี้เป็นสิ่งจำเป็นในการติดต่อสื่อสาร และการทำธุรกิจ หากคุณสามารถพูดภาษาที่ 3 ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มอาเซียนได้ จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองมากยิ่งขึ้น ผู้ที่ต้องการทำงาน หรือเรียนในด้านนี้ ควรมีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว การทำงานบัญชีในอาเซียนคงจะมีอุปสรรคอยู่ไม่น้อย และอาจจะเสียเปรียบคู่แข่งขันคนอื่น ๆ ในหลายประเทศที่ต้องการตำแหน่งงานบัญชีเหมือนกับคุณ

ความรู้ความสามารถด้านบัญชี

นักบัญชีจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในงานของตนเองอย่างเต็มที่ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถเป็นสิ่งที่ต้องมาพร้อม ๆ กัน หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็อาจจะนำมาซึ่งอุปสรรคในการทำงานของนักบัญชีได้ ดังนั้น ก่อนที่การเปิด AEC จะมาถึง นักบัญชีต้องหมั่นเพิ่มพูนความรู้ให้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น การจัดการเอกสารการบัญชี การเงิน การบันทึกรายรับรายจ่าย ภาษีอากร เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในงานที่ตนเองต้องทำเป็นอย่างดี เพราะสิ่งเหล่านั้นล้วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจใน AEC แทบทั้งสิ้น

 

มีความเข้าใจด้านการทำธุรกิจ

การมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานบัญชีเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ นักบัญชีต้องมีความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจบ้าง โดยใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง หรือกำลังดำเนินการอยู่ การให้ความใส่ใจในเรื่องเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดเข้าใจในงานได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้คนทำงานเข้าใจความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย การเพิ่มความรู้สามารถทำได้โดยการติดตามข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ แล้วนำมาคิดวิเคราะห์ ไปพร้อม ๆ กับการสังเกตความเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้นใน AEC

สนใจความรู้ด้านอื่น

นักบัญชีควรมีความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานบัญชีโดยตรง แต่ถ้าหากรู้แล้วจะทำให้เกิดประโยชน์ในการทำงานมากขึ้น เช่น การเงินการลงทุน การบริหารจัดการ การวางแผนทางการตลาด การวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ หากนักบัญชีมีความรู้เหล่านี้เพิ่มเติม ก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้เป็นคนทำงานที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และทำให้เป็นที่ต้องการตัวของนายจ้างทั้งในและต่างประเทศ ความรู้ความสามารถทัดเทียมกับนักบัญชีชาติอื่น

การที่นักบัญชียังคงเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีการเปิด AEC เพราะอาชีพนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจอย่างแยกไม่ออก นักธุรกิจที่ต้องการขยายการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน ก็มักจะมองหานักบัญชีฝีมือดี และไว้ใจได้ติดตามไปทำธุรกิจด้วยทุกครั้ง

 

การศึกษาในทศวรรษที่ 21

 

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง “ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น

บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษา

ของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21

หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิต

ในโลกแห่งศตวรรษที่ 21      ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4Cซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
  • 4 C (Critical Thinking – การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่

        แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร และคุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่คืออย่างไร

นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการปฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือเซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป  ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  (Changing Education Paradigms)โดย เซอร์เคน โรบินสัน 

กรอบแนวคิดข้างต้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ในประเทศไทยและท่านที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันได้แก่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช

ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้

สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้

ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจ

ในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)

ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ

 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี

           ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

             ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
3R คือ Reading (อ่านออก), (W) Ratting (เขียนได้), และ (A) Rithemetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่
Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21  ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต

ภาพ กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Framework) (http://www.qlf.or.th/)

กรอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์สำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นที่ยอมรับในการสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Model of 21st Century Outcomes and Support Systems) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน (Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (Core Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้าน รวมทั้ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและการเยนการสอน การพัฒนาครู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง

แก้ไข

                        

ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21 การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน

มาตรฐานศตวรรษที่ 21

–  มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ

–  สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21

–  เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน

–  การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงานและ ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย

–  การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้

การประเมินด้านทักษะในศตวรรษที่ 21

–  รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง การทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงพร้อมกับการประเมินผลในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ

–  เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน

–  การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล ความชำนาญนักเรียนซึ่งเป็นการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21

–  ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต

–  ช่วยให้มาตรการการประเมินประสิทธิภาพระบบการศึกษาในระดับที่สูงประเมินถึงสมรรถนะของนักเรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21

หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21

–  สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่  21

–  มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้

–  ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน  และทักษะการคิดขั้นสูง

–  สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

 

 

การพัฒนามืออาชีพในศตวรรษที่ 21

–  ครูมีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือและกลยุทธ์การเรียนการสอนไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนของพวกเขา

–  การเรียนการสอนมที่มุ่งเน้นการทำโครงงาน

–  แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจริงสามารถเพิ่มการแก้ปัญหาการคิดเชิงวิพากษ์และอื่น ๆ ทักษะในศตวรรษที่ 21

–  ช่วยให้มืออาชีพในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูที่ 21 ว่ารูปแบบชนิดของการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีที่สุดส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน

–  การพัฒนา ความสามารถในการระบุตัวตนของนักเรียนโดยครูมีรูปแบบการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียน

–  ช่วยให้ครูพัฒนาความสามารถในการใช้กลยุทธ์ต่างๆ (เช่นการประเมินผลการเรียนการสอน) ถึงนักเรียนที่มีความหลากหลายและสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความแตกต่างการเรียนการสอนและการเรียนรู้

–  รองรับการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะของนักเรียนศตวรรษที่ 21

–  ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนของผู้ปฏิบัติงานโดยการหันหน้าเข้าหากันการสื่อสารเสมือนและผสม

–  ใช้รูปแบบความเป็นอันหนึ่งหันเดียวกันและความยั่งยืนของการพัฒนาวิชาชีพ

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

–  สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21

–  สนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนมืออาชีพที่ช่วยให้การศึกษาเพื่อการทำงานร่วมกันแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติในชั้นเรียน

–  ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง (เช่น ปฏิบัติจริงหรือผ่านการทำงานที่ใช้ตามโครงการหรืออื่น ๆ )

–  เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ  รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล

–  สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์

การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21 อาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน  ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถการใช้ชีวิต การทำงาน ดำรงชีพอยู่ได้กับภาวะเศรษฐกิจในสังคมโลกปัจจุบัน

แก้ไข ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21 การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน

มาตรฐานศตวรรษที่ 21

–  มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ

–  สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21

–  เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน

–  การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้

เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงานและ ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย

–  การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้

การประเมินด้านทักษะในศตวรรษที่ 21

–  รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง การทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงพร้อมกับการประเมินผลในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ

–  เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน

–  การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล ความชำนาญนักเรียนซึ่งเป็นการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21

–  ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต

–  ช่วยให้มาตรการการประเมินประสิทธิภาพระบบการศึกษาในระดับที่สูงประเมินถึงสมรรถนะของนักเรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21

หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21

–  สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่  21

–  มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้

–  ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน  และทักษะการคิดขั้นสูง

–  สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

การพัฒนามืออาชีพในศตวรรษที่ 21

–  ครูมีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือและกลยุทธ์การเรียนการสอนไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนของพวกเขา

–  การเรียนการสอนมที่มุ่งเน้นการทำโครงงาน

–  แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจริงสามารถเพิ่มการแก้ปัญหาการคิดเชิงวิพากษ์และอื่น ๆ ทักษะในศตวรรษที่ 21

–  ช่วยให้มืออาชีพในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูที่ 21 ว่ารูปแบบชนิดของการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีที่สุดส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน

–  การพัฒนา ความสามารถในการระบุตัวตนของนักเรียนโดยครูมีรูปแบบการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียน

–  ช่วยให้ครูพัฒนาความสามารถในการใช้กลยุทธ์ต่างๆ (เช่นการประเมินผลการเรียนการสอน) ถึงนักเรียนที่มีความหลากหลายและสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความแตกต่างการเรียนการสอนและการเรียนรู้

–  รองรับการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะของนักเรียนศตวรรษที่ 21

–  ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนของผู้ปฏิบัติงานโดยการหันหน้าเข้าหากันการสื่อสารเสมือนและผสม

–  ใช้รูปแบบความเป็นอันหนึ่งหันเดียวกันและความยั่งยืนของการพัฒนาวิชาชีพ

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

–  สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21

–  สนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนมืออาชีพที่ช่วยให้การศึกษาเพื่อการทำงานร่วมกันแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติในชั้นเรียน

–  ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง (เช่น ปฏิบัติจริงหรือผ่านการทำงานที่ใช้ตามโครงการหรืออื่น ๆ )

–  เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ  รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล

–  สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์

การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21 อาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน  ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถการใช้ชีวิต การทำงาน ดำรงชีพอยู่ได้กับภาวะเศรษฐกิจในสังคมโลกปัจจุบัน

ขอขอบคุณขัอมูลจาก  www.route21.org.com

 

การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา  รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น  โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐาน (project -based curriculum) เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ และคำถามเกี่ยวกับอนาคตเชิงวัฒนธรรม สังคม และสากล

ภาพของโรงเรียนจะเปลี่ยนจากการเป็นสิ่งก่อสร้างเป็นภาพของการเป็นศูนย์รวมประสาท (nerve centers) ที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู นักเรียนและชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ และนำความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติและให้เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น (create a culture of inquiry)

ในศตวรรษที่ 21 การให้การศึกษาตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom´s Taxonomy of Learning) จะเปลี่ยนไป เน้นทักษะการเรียนรู้ขั้นที่สูงขึ้น (higher order learning skills) โดยเฉพาะทักษะการประเมินค่า (evaluating skills) จะถูกแทนที่โดยทักษะการนำเอาความรู้ใหม่ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ (ability to use new knowledge in a creative way)  ในอดีตที่ผ่านมา นักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆ เพื่อรับเกรด และเพื่อให้จบการศึกษา แต่ในปัจจุบันจะพบปรากฏการณ์ใหม่ที่แตกต่างไป เช่น การเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง (life in the real world) เน้นการศึกษาตลอดชีวิต (lifelong learning) ด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น (flexible in how we teach) มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความเป็นคนเจ้าความคิดเจ้าปัญญา (resourceful) ที่ยังคงแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาออกไป

ลักษณะของหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 จะเป็นหลักสูตรที่เน้นคุณลักษณะเชิงวิพากษ์ (critical attributes) เชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary) ยึดโครงงานเป็นฐาน (project-based) และขับเคลื่อนด้วยการวิจัย (research-driven) เชื่อมโยงท้องถิ่นชุมชนเข้ากับภาค ประเทศ และโลก ในบางโอกาสนักเรียนสามารถร่วมมือ (collaboration) กับโครงงานต่าง ๆได้ทั่วโลก เป็นหลักสูตรที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง พหุปัญญา เทคโนโลยีและมัลติมีเดีย ความรู้พื้นฐานเชิงพหุสำหรับศตวรรษที่ 21 และการประเมินผลตามสภาพจริง รวมทั้งการเรียนรู้จากการให้บริการ (service) ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

ภาพของห้องเรียน จะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น (greater community) นักเรียนมีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้นำตนเองได้  (self-directed) มีการทำงานทั้งอย่างเป็นอิสระและอย่างร่วมมือกันคนอื่น หลักสูตรและการสอนจะมีลักษณะท้าทายสำหรับนักเรียนทุกคน และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักสูตรจะไม่เน้นการยึดตำราเป็นตัวขับเคลื่อน (textbook-driven) หรือแบบแยกส่วน (fragmented) เช่นในอดีต แต่จะเป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานและการบูรณาการ การสอนทักษะและเนื้อหาจะไม่เป็นจุดหมายปลายทาง (as an end) เช่นที่เคยเป็นมา แต่นักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านการวิจัยและการปฏิบัติในโครงงาน การเรียนรู้จากตำราจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ความรู้ (knowledge) จะไม่หมายถึงการจดจำข้อเท็จจริงหรือตัวเลข แต่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและการปฏิบัติโดยเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าที่มีอยู่ ทักษะและเนื้อหาที่ได้รับจะเกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติในโครงงาน จะไม่จบลงตรงที่การได้รับทักษะและเนื้อหาแล้วเท่านั้น การประเมินผลจะเปลี่ยนจากการประเมินความจำและความไม่เกี่ยวโยงกับความเข้าใจต่อการนำไปปฏิบัติได้จริง ไปเป็นการประเมินที่ผู้ถูกประเมินมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย (self-assessment)  ทักษะที่คาดหวังสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่เรียนรู้ผ่านหลักสูตรที่เป็นสหวิทยาการ บูรณาการ ยึดโครงงานเป็นฐาน และอื่นๆ ดังกล่าวจะเน้นเรื่อง 1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills)  2) ทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills) ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือ (collaboration) ในการทำงานเป็นทีม การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ในปัญหาที่ซับซ้อน การนำเสนอด้วยวาจาและด้วยการเขียน การใช้เทคโนโลยี ความเป็นพลเมืองดี การฝึกปฏิบัติอาชีพ การวิจัย และการปฏิบัติสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

ดังนั้น การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะ (perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (tradition paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้  เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบง่ายๆ ไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ — ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะและค่านิยมทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นตนเอง ความยืดหยุ่น การจูงใจตนเอง และความตระหนักในสภาพแวดล้อม  และเหนืออื่นใด คือ ความสามารถใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ (the ability to handle knowledge effectively in order to use it creatively) ถือเป็นทักษะที่สำคัญจำเป็นสำหรับการเป็นนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายในการที่จะพัฒนาเรียนเพื่ออนาคต  ให้นักเรียนมีทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพส่วนบุคคล เพื่อเผชิญกับอนาคตด้วยภาพในทางบวก (optimism) ที่มีทั้งความสำเร็จและมีความสุข

 

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

การประชุม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ครั้งที่ 1 วันที่ 19 สิงหาคม 2559

ณ ห้องประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ผู้พูด เนื้อหาที่พูด
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

อยากให้คณาจารย์ในสาขาเข้าไปศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่อง การเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21
อาจารย์สุธี  ตาณวาณิชกุล ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21
อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21 เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน
อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงาน
อาจารย์ชุลีพร  แสงทัย ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมายการมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

ทางสาขาจะมอบหมายให้ อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว ไปศึกษาข้อมูล และจะช่วยพิจารณาในหลักการ แล้วนำเอาแนวทางการปฏิบัติที่ดี มอบหมายให้อาจารย์น้ำผึ้ง นำไปอัพลงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย แล้วให้อาจารย์ในสาขาแต่ละท่านเข้าไปศึกษาได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยในเรื่อง Knowledge Management เพื่อจะได้นำแนวทางมาพัฒนาการเรียนการสอน
อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รับทราบและจะรีบดำเนินการหาข้อมูลแล้วสรุปผลให้หาหน้าสาขาพิจารณาก่อนอัพลงเว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่อไป

 

 

 

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

 

 

 

 

การประชุม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ครั้งที่ 2 วันที่ 23 กันยายน 2559

ณ ห้องประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

 

ผู้พูด เนื้อหาที่พูด
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

อยากให้คณาจารย์เสนอแนวคิดการพัฒนานักศึกษามีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 หลังจากที่เข้าไปศึกษาได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยในเรื่อง Knowledge Management
อาจารย์ณัฐพร    สิลาโส

 

การประเมินด้านทักษะในศตวรรษที่ 21 รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง การทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงพร้อมกับการประเมินผลในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
อาจารย์สรพงษ์  ศรีเดช

 

การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล ความชำนาญนักเรียนซึ่งเป็นการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคตช่วยให้มาตรการการประเมินประสิทธิภาพระบบการศึกษาในระดับที่สูงประเมินถึงสมรรถนะของนักเรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21

 

อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

มอบหมายให้ อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว นำองค์ความรู้ที่มีการเสนอไปรวบรวมเพิ่มในแนวปฏิบัติที่ดี นำไปอัพลงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย แล้วให้อาจารย์ในสาขาแต่ละท่านเข้าไปศึกษาได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยในเรื่อง Knowledge Management เพิ่มเติม
อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รับทราบและจะรีบดำเนินการหาข้อมูลแล้วสรุปผลให้หาหน้าสาขาพิจารณาก่อนอัพลงเว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่อไป

 

 

 

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

 

 

 

การประชุม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ครั้งที่ 3 วันที่ 28 ตุลาคม 2559

ณ ห้องประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

 

ผู้พูด เนื้อหาที่พูด
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

อยากให้คณาจารย์ในสาขาเข้าไปศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่อง การเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในด้านหลักสูตรและการสอน ให้มีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21
อาจารย์ณัฐพร    สิลาโส

 

สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่  21
อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
อาจารย์กิตติยา จรัสวงศ์ขจร ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน  และทักษะการคิดขั้นสูง
อาจารย์ชุลีพร  แสงทัย สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

ทางสาขาจะมอบหมายให้ อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอมหาวิทยาลัย
อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รับทราบและจะรีบดำเนินการสรุปผลให้หาหน้าสาขา

 

 

 

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

 

 

 

 

 

 

 

 

การประชุม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ครั้งที่ 4 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2559

ณ ห้องประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ผู้พูด เนื้อหาที่พูด
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

อยากให้คณาจารย์เสนอแนวคิดการพัฒนานักศึกษามีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 การพัฒนามืออาชีพในศตวรรษที่ 21
อาจารย์สุธี  ตาณวาณิชกุล มีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือและกลยุทธ์การเรียนการสอนไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนของพวกเขา
อาจารย์สรพงษ์  ศรีเดช

 

การเรียนการสอนมที่มุ่งเน้นการทำโครงงานแสดงให้เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจริงสามารถเพิ่มการแก้ปัญหาการคิดเชิงวิพากษ์และอื่น ๆ ทักษะในศตวรรษที่ 21
อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี

 

ช่วยให้มืออาชีพในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูที่ 21 ว่ารูปแบบชนิดของการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีที่สุดส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน
อาจารย์จันทร์เพ็ญ ดวงแก้ว พัฒนาความสามารถในการใช้กลยุทธ์ต่างๆ (เช่นการประเมินผลการเรียนการสอน) ถึงนักเรียนที่มีความหลากหลายและสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความแตกต่างการเรียนการสอนและการเรียนรู้
อาจารย์สุธี  ตาณวาณิชกุล

 

รองรับการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะของนักเรียนศตวรรษที่ 21
อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง

 

ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนของผู้ปฏิบัติงานโดยการหันหน้าเข้าหากันการสื่อสารเสมือนและผสม
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

ใช้รูปแบบความเป็นอันหนึ่งหันเดียวกันและความยั่งยืนของการพัฒนาวิชาชีพ
อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รับทราบและจะรีบดำเนินการหาข้อมูลแล้วสรุปผลให้หาหน้าสาขาพิจารณา

 

 

 

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

 

 

 

การประชุม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ครั้งที่ 5 วันที่ 9 ธันวาคม 2559

ณ ห้องประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ผู้พูด เนื้อหาที่พูด
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

การเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อาทิ สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21
อาจารย์สุธี  ตาณวาณิชกุล สนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนมืออาชีพที่ช่วยให้การศึกษาเพื่อการทำงานร่วมกันแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติในชั้นเรียน
อาจารย์ปานทิพย์ แสนสง ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง (เช่น ปฏิบัติจริงหรือผ่านการทำงานที่ใช้ตามโครงการหรืออื่น ๆ )
อาจารย์สรพงษ์ ศรีเดช เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ  รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล
อาจารย์ชุลีพร  แสงทัย สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์
อาจารย์กิตติยา จรัสวงศ์ขจร

 

การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21 อาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน  ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถการใช้ชีวิต การทำงาน ดำรงชีพอยู่ได้กับภาวะเศรษฐกิจในสังคมโลกปัจจุบัน
อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รับทราบและจะรีบดำเนินการหาข้อมูลแล้วสรุปผลให้หาหน้าสาขาพิจารณาก่อนอัพลงเว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่อไป

 

 

 

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

 

 

การประชุม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ครั้งที่ 6 วันที่ 20 มกราคม 2560

ณ ห้องประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ผู้พูด เนื้อหาที่พูด
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

อยากให้คณาจารย์เสนอแนวคิดแก้ไข ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21 การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน ในด้านมาตรฐานศตวรรษที่ 21
อาจารย์ณัฐพร    สิลาโส

 

 มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ

เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงานและ ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย

 

อาจารย์สรพงษ์  ศรีเดช

 

 สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21

 

อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี

 

เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน

 

อาจารย์กิตติยา จรัสวงศ์ขจร

 

การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้

 

อาจารย์สุธี  ตาณวาณิชกุล การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้

 

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รับทราบและจะรีบดำเนินการหาข้อมูลแล้วสรุปผลให้หาหน้าสาขาพิจารณาก่อนอัพลงเว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่อไป

 

 

 

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

การประชุม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ครั้งที่ 7 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560

ณ ห้องประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ผู้พูด เนื้อหาที่พูด
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วยภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลกศิลปะ คณิตศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ เพื่อปรับปรุงในกระบวนการเรียนการสอน
อาจารย์ณัฐพร    สิลาโส

 

โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก
อาจารย์สรพงษ์  ศรีเดช

 

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความรู้เกี่ยวกับโลก ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี ความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
อาจารย์ชุลีพร  แสงทัย ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาการสื่อสารและการร่วมมือ
อาจารย์กิตติยา จรัสวงศ์ขจร

 

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้ ความรู้ด้านสารสนเทศความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้ด้านเทคโนโลยี
อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี

 

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้ ความยืดหยุ่นและการปรับตัวการริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเองทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต และความรับผิดชอบเชื่อถือได้  ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รับทราบและจะรีบดำเนินการหาข้อมูลแล้วสรุปผลให้หาหน้าสาขาพิจารณาก่อนอัพลงเว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่อไป

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

 

การประชุม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ครั้งที่ 8 วันที่ 24 มีนาคม 2560

ณ ห้องประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ผู้พูด เนื้อหาที่พูด
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

บัญชีควรเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องเข้าสู่ AEC

 

อาจารย์ณัฐพร    สิลาโส

 

นักบัญชีเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอีกอาชีพหนึ่ง เหตุผลที่ทำให้คนส่วนหนึ่งเลือกอาชีพนี้ คือ ความมั่นคงในการทำงาน และผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการทำงาน นักบัญชีส่วนใหญ่เรียนจบมาจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในสาขาการตลาด การบัญชี หรือการเงิน
อาจารย์สรพงษ์  ศรีเดช

 

และเป็นที่รับรู้กันว่า ลักษณะของงานบัญชีจะเกี่ยวข้องกับการจัดการตัวเลข ผลกำไร รายรับรายจ่ายเป็นหลัก ผู้ที่จะทำงานด้านนี้ได้ ต้องมีความรู้ความสามารถมาเป็นอย่างดี

 

อาจารย์ชุลีพร  แสงทัย งานบัญชีมีความเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจแทบทุกขั้นตอน และจะมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อมีการเปิดสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
อาจารย์กิตติยา จรัสวงศ์ขจร

 

เนื่องจากอาชีพนักบัญชีเป็นอาชีพอิสระ โดยผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะเคลื่อนย้ายไปทำงานที่ใดก็ได้ในประเทศสมาชิกอาเซียน แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์บางอย่างที่ได้ตกลงกันไว้ เช่น ต้องผ่านการทดสอบของประเทศนั้น ๆ ก่อน จึงจะสามารถเข้าไปทำงานได้ และต้องมั่นใจว่าตนเองมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นนักบัญชีคุณภาพของอาเซียน
อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รับทราบและจะรีบดำเนินการหาข้อมูลแล้วสรุปผลให้หาหน้าสาขาพิจารณาก่อนอัพลงเว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่อไป

 

 

 

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

 

การประชุม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ครั้งที่ 9 วันที่ 7 เมษายน 2560

ณ ห้องประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

 

ผู้พูด เนื้อหาที่พูด
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

การพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ความรู้ความสามารถด้านบัญชี

ให้กับนักศึกษาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม

อาจารย์ณัฐพร    สิลาโส

 

เป็นที่ทราบกันดีว่า หากคุณพูดภาษาใดไม่ได้เลย คุณควรพูดภาษาอังกฤษให้ได้ เพราะภาษานี้เป็นสิ่งจำเป็นในการติดต่อสื่อสาร
อาจารย์สรพงษ์  ศรีเดช

 

และการทำธุรกิจ หากคุณสามารถพูดภาษาที่ 3 ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มอาเซียนได้ จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองมากยิ่งขึ้น ผู้ที่ต้องการทำงาน หรือเรียนในด้านนี้
อาจารย์ชุลีพร  แสงทัย ควรมีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว การทำงานบัญชีในอาเซียนคงจะมีอุปสรรคอยู่ไม่น้อยและอาจจะเสียเปรียบคู่แข่งขันคนอื่น ๆ ในหลายประเทศที่ต้องการตำแหน่งงานบัญชีเหมือนกับคุณและอาจจะเสียเปรียบคู่แข่งขันคนอื่น ๆ ในหลายประเทศที่ต้องการตำแหน่งงานบัญชีเหมือนกับคุณ
อาจารย์กิตติยา จรัสวงศ์ขจร

 

นักบัญชีจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในงานของตนเองอย่างเต็มที่ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถเป็นสิ่งที่ต้องมาพร้อม ๆ กัน หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็อาจจะนำมาซึ่งอุปสรรคในการทำงานของนักบัญชีได้ ดังนั้น ก่อนที่การเปิด AEC จะมาถึง
อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี

 

มาถึง นักบัญชีต้องหมั่นเพิ่มพูนความรู้ให้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น การจัดการเอกสารการบัญชี การเงิน การบันทึกรายรับรายจ่าย ภาษีอากร เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในงานที่ตนเองต้องทำเป็นอย่างดี เพราะสิ่งเหล่านั้นล้วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจใน AEC แทบทั้งสิ้น
อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รับทราบและจะรีบดำเนินการหาข้อมูลแล้วสรุปผลให้หาหน้าสาขาพิจารณาก่อนอัพลงเว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่อไป

 

 

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

การประชุม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ครั้งที่ 10 วันที่ 26 พฤษภาคม 2560

ณ ห้องประชุมหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

 

ผู้พูด เนื้อหาที่พูด
อาจารย์อัจจิมา สมบัติปัน

 

นักบัญชีควรมีความเข้าใจด้านการทำธุรกิจ และสนใจความรู้ด้านอื่น
อาจารย์ณัฐพร    สิลาโส

 

การมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานบัญชีเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ นักบัญชีต้องมีความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจบ้าง โดยใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง หรือกำลังดำเนินการอยู่
อาจารย์สรพงษ์  ศรีเดช

 

การให้ความใส่ใจในเรื่องเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดเข้าใจในงานได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้คนทำงานเข้าใจความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย การเพิ่มความรู้สามารถทำได้โดยการติดตามข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ แล้วนำมาคิดวิเคราะห์ ไปพร้อม ๆ กับการสังเกตความเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้นใน AEC
อาจารย์ชุลีพร  แสงทัย นักบัญชีควรมีความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานบัญชีโดยตรง แต่ถ้าหากรู้แล้วจะทำให้เกิดประโยชน์ในการทำงานมากขึ้น เช่น การเงินการลงทุน การบริหารจัดการ การวางแผนทางการตลาด การวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ
อาจารย์กิตติยา จรัสวงศ์ขจร

 

หากนักบัญชีมีความรู้เหล่านี้เพิ่มเติม ก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้เป็นคนทำงานที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และทำให้เป็นที่ต้องการตัวของนายจ้างทั้งในและต่างประเทศ ความรู้ความสามารถทัดเทียมกับนักบัญชีชาติอื่น
อาจารย์สุพจน์ วงศ์ดี

 

การที่นักบัญชียังคงเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีการเปิด AEC เพราะอาชีพนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจอย่างแยกไม่ออก นักธุรกิจที่ต้องการขยายการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน ก็มักจะมองหานักบัญชีฝีมือดี และไว้ใจได้ติดตามไปทำธุรกิจด้วยทุกครั้ง
อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว รับทราบและจะรีบดำเนินการหาข้อมูลแล้วสรุปผลให้หาหน้าสาขาพิจารณาก่อนอัพลงเว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่อไป

 

 

อาจารย์ฐิติพร ยะแก้ว

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

การจัดการความรู้ KM ประจำปีการศึกษา 2559

เป้าหมายของการจัดการความรู้ : เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ในด้านบริการวิชาการ

ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากนา KM มาปรับใช้กับการปฏิบัติงาน : สาขาวิชาการตลาดได้นาแนวทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปฏิบัติเพื่อการพัฒนาถึงความต้องการของชุมชนและการพัฒนาในหลักสูตรที่ให้มีความทันสมัยต่อสาขาวิชาการตลาดเพื่อนาผลที่ได้รับไปพัฒนาในปีต่อๆไป ให้หลักสูตรระยะสั้นสามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายให้20882373_1825654224116901_7232715955221895181_n

แบบรายงานผลการดำเนินงาน KM 2559

 

เกมรับมือตลาด “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ซบ มาม่า ไวไว แตกไลน์สู่ร้านอาหาร

Cr: position magazine online

มาม่า-ไวไว แบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ดิ้นหนีตาย จากสภาวะตลาดไม่โตเพราะพิษเศรษฐกิจ เปิดร้านอาหาร ร้านราเมงต่อยอดธุรกิจ มาม่าร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่นลุยร้านราเมงโคราคุเอ็น ทางด้านไวไวเปิดร้านควิกเทอเรสประเดิมสาขาแรกหน้าโรงงานย่านเพชรเกษม

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก ส่งผลทำให้หลายๆ ธุรกิจได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน หรือแม้แต่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เคยถูกเรียกว่าเป็น “ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ” เพราะจากเดิมถ้าเศรษฐกิจตกคนยิ่งกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่ปรากฏว่าช่วง 2 ปีมานี้ เศรษฐกิจไม่ดียอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลับยิ่งลดลง

ส่งผลให้ตลาดบะหมี่สำเร็จรูปในปี 2558 มีการเติบโตน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในรอบ 44 ปี เพียงแค่ 0.4% ด้วยมูลค่าตลาด 14,500 ล้านบาท

แต่ถึงแม้ว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 1.6% ก็ตาม แต่ทุกวันนี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันอันดุเดือด เมื่อผู้บริโภคมีทางเลือกใหม่ๆ จากอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อ

ถึงแม้ว่าจะมีการแก้เกมด้วยการออกสินค้าในระดับพรีเมียม แบบถ้วย เพื่อขยับไปจับลูกค้าในระดับกลางถึงบน แต่ตลาดนี้ยังมีสัดส่วนเล็กมากเมื่อเทียบกับบะหมี่ซองซึ่งเป็นเป็นตลาดใหญ่ ครองตลาดผู้บริโภคฐานราก ซึ่งได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจ หันไปซื้ออาหารประเภทอื่นอย่างข้าวถุงที่มีราคาถูกกว่าบะหมี่

ทำให้มาม่าเองต้องออกแคมเปญ ชิงโชค รถยนต์ ทอง ต่อเนื่องมาตลอด 2 ปี เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ กระตุกยอดขายให้เพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน ทั้งมาม่าและไวไวก็เริ่มมองหาการ “ต่อยอด” แตกไลน์ธุรกิจออกไป ก้าวไปสู่ในเกมธุรกิจใหม่ๆ แต่ยังอยู่บนรากฐานของธุรกิจเดิม

โดยบริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ในเครือของสหพัฒน์ ได้ลุยทำร้านราเมงด้วยการร่วมทุนกับ บริษัท โคราคุเอ็น โฮลดิ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด ในการบริหารร้าน “โคราคุเอ็น ราเมง” จากประเทศญี่ปุ่น

ทั้งคู่มองว่า ถึงแม้การแข่งขันจะสูง แต่โอกาสยังมี เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองแห่งอาหารการกิน และตลาดร้านอาหารก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านของเชนร้านอาหาร และร้านอาหารทั่วไป จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ทั้งสองแบรนด์ลงมาจับตลาดตรงนี้

จริงๆ แล้วก่อนหน้านี้โคราคุเอ็น ราเมงได้เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยมาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 2555 เปิดบริการไปแล้ว 6 สาขา แต่ดูเหมือนการแข่งขันจะไม่ง่ายอย่างที่คิด คู่แข่งมากหน้าหลายตา มีทั้งรายใหญ่ในไทย และร้านอิมพอร์ตจากญี่ปุ่น ทำให้ปัจจุบันมีร้านราเมงมากกว่า 1,000 ร้านในประเทศไทย

นอกจากนี้ การขาดประสบการณ์ในการทำตลาด และความไม่ชำนาญด้านทำเล ทำให้การขยายสาขาไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ทางโคราคุเอ็นจึงตัดสินใจยุติการบริหารด้วยตนเอง แล้วใช้โมเดลการมองหาพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจในไทย

จึงเป็นที่มาของการมาร่วมมือกับ “ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์” ที่มีความสนใจอยากเปิดร้านราเมงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะต้องการต่อยอดธุรกิจด้านเส้นในแบบที่ตนเองถนัด และได้พูดคุยเจรจากัน 3 เดือนจึงทำการร่วมทุนกึ่งเทกโอเวอร์ เปิดเป็น “บริษัท เพรซิเดนท์ โคราคุเอ็น จำกัด” ด้วยเงินลงทุน 25 ล้านบาท มีสัดส่วนการถือหุ้นเป็น บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) 70% บริษัท โคราคุเอ็น โฮลดิ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด 14% และบุคคล 16%

ในความร่วมทุนกึ่งเทกโอเวอร์ที่ว่านั้นทำให้สิทธิ์การบริหารร้านโคราคุเอ็นเป็นของไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ โดยที่ทางโคราคุเอ็นไม่ได้มีเงื่อนไขใดๆ กำหนด ทั้งนี้ทางไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ยังได้ซื้อในส่วนของโรงงานผลิตเส้นราเมงมาด้วย แต่ไม่เปิดเผยมูลค่าการลงทุน ซึ่งจากเดิมโรงงานได้ตั้งอยู่ที่ อ.มหาชัย แต่จะทำการย้ายมารวมกับโรงงานของไทยเพรสซิเดนท์ฟูดส์ ที่อำเภอศรีราชา

Tsutae Niida ประธานบริษัท Kourakuen Holding Corporation กล่าวว่า “ตอนแรกที่เข้ามาทำตลาดตั้งเป้าขยาย 100 สาขาในไทย แต่เราไม่ชำนาญด้านทำเล และหลายๆ อย่าง จึงต้องมองหาพันธมิตรท้องถิ่นเพื่อสร้างการเติบโต ตอนแรกคุยกับทางไทยเพรซิเดนท์ในลักษณะของการขายแฟรนไชส์ แต่เห็นว่ามีศักยภาพจึงทำการร่วมทุนกัน“

หลังจากที่มีการร่วมทุนเกิดขึ้นกันนั้นร้านโคราคุเอ็นภายใต้ชายคาใหม่ จึงเริ่มต้นจาก 2 สาขาที่ทำกำไรดีที่สุด คือ สาขาเกตเวย์เอกมัย และเจพาร์ค ศรีราชา ส่วนอีก 4 สาขาได้ทำการปิดบริการไปเพราะไม่สร้างกำไร และเร่งปั๊ม 30 สาขาภายใน 5 ปี โดยเริ่มต้นจากพื้นที่กรุงเทพฯ ก่อน แล้วจึงขยายไปยังต่างจังหวัด

เพชร พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า “เราถนัดในเรื่องเส้น จึงมองหาแต่ร้านร้านอาหารประเภทราเมงเพื่อมาต่อยอดธุรกิจ ซึ่งยอมรับว่าตลาดนี้การแข่งขันสูงมาก แต่จุดแข็งที่โคราคุเอ็นจะใช้เพื่อสู้ในตลาดราเมงหลักๆ เป็นในเรื่องของเมนูที่มีความหลากหลายทั้งราเมง เมนูข้าว และเกี๊ยวซ่า เพราะในปัจจุบันมีร้านราเมงที่แยกเซ็กเมนต์ชัดเจนเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงในเรื่องราคาในระดับกลาง ในขณะที่ร้านราเมงอิมพอร์ตจะมีราคาแพง 100-300 บาท”

ทางไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ได้ตั้งเป้ารายได้ภายใน 1 ปีนี้ 40 ล้านบาท โดยที่ปีนี้ยังไม่มีการขยายสาขาเพิ่มเติม

 

“ไวไว” แตกไลน์ “ควิกเทอเรส” สู่ธุรกิจร้านอาหาร

ทางด้านไวไวและควิกเป็นอีกแบรนด์ที่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีการขยับตัวค่อนข้างเยอะ สำหรับแบรนด์ควิกเองที่ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของการสร้างแบรนด์เพื่อให้เกิดการรับรู้แก่ผู้บริโภค ในกลุ่มวัยรุ่น ในปีที่แล้วมีการใช้พรีเซ็นเตอร์กลุ่มพร้อมกันถึง 7 คน และเป็นการเน้นการทำตลาดของบะหมี่แบบถ้วย แต่ไม่มีการออกรสชาติอะไรใหม่ๆ ออกมา

สิ่งใหม่ๆ ที่ไวไวต้องการเพิ่มไม่ใช่พอร์ตสินค้า แต่เป็นธุรกิจใหม่ ล่าสุดได้มีการแตกไลน์ธุรกิจร้านอาหารเช่นกัน แต่เป็นการลงทุนสร้างแบรนด์ใหม่เองใช้ชื่อร้านว่า “ควิกเทอเรส” ประเดิมลองตลาดที่หน้าโรงงานของตนเองย่านเพชรเกษมเป็นสาขาแรก ที่ได้เปิดให้บริการเมื่อช่วงกลางปี 2558 ที่ผ่านมา

ครั้งนี้เป็นการแตกไลน์ธุรกิจครั้งใหญ่อีกครั้งในรอบ 10 ปี หลังจากที่ไวไวเคยแตกไลน์ธุรกิจเครื่องปรุงรสแบรนด์ “รสเด็ด” มาแล้ว ความสำคัญของการที่ไวไวลงมาเล่นตลาดนี้ก็เพื่อต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถขายให้ได้มากกว่าบะหมี่ซองละ 6 บาทเท่านั้น เพื่อตอบรับกับตลาดที่ไม่มีการเติบโต

ยศสรัล แต้มคงคา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงปีนี้ยังไม่มีการลงทุนอะไรเพิ่มเท่าไหร่ แต่อยากแตกไลน์ธุรกิจมากกว่าเพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจเดิมที่เรามีจุดแข็งที่วัตถุดิบเรื่องเส้น เลยทำเป็นร้านอาหารเพราะสามารถขายได้แพงขึ้นมากกว่าบะหมี่ซองละ 6 บาท ในอนาคตจะมีการขยายสาขาเป็นเชนร้านอาหารเลย”

ควิกเทอเรสเป็นร้านอาหารประเภทอาหารจานเดียวที่ทางไวไวได้ต่อยอดจากธุรกิจเส้นของตนเอง เอาวัตถุดิบเส้นที่มีอยู่มาแปลงร่างเป็นเมนูอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่า จากที่ขายบะหมี่ได้ซองละ 6 บาท เมนูมีทั้งประเภทยำ ซูชิ สปาเกตตี ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ราคาเริ่มต้นที่ 35-55 บาท

แผนในการขยายสาขาของควิกเทอเรส ยศสรัลบอกว่า คงไม่ไปสู้กับร้านอาหารในห้าง อาจจะมองเป็นทำเลมหาวิทยาลัย สำนักงาน และแหล่งท่องเที่ยว มองที่ทำเลมหาวิทยาลัยมหิดล เพราะสามารถควบคุมได้ง่าย อยู่ใกล้กับโรงงาน ภายในสิ้นปีนี้จะขยายเพิ่ม 1 สาขา และตั้งเป้าขยาย 50 สาขาภายใน 5 ปี

ส่วนแผนในปีนี้สำหรับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยศสรัลมองว่า จะเพิ่มในตลาดกลุ่มพรีเมียมในลักษณะของการใส่ชิ้นเนื้อลงไป หรือซองใหญ่ขึ้น ทำให้ขายได้ในราคาสูงขึ้น จาก 6 บาทเป็น 8 บาท หรือจาก 13 บาท เป็น 15 บาท อาจจะได้เห็นในช่วงปลายปีนี้

นับเป็นอีกหนึ่งในความเคลื่อนไหวของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ต้องต่อยอดธุรกิจ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นใจ และบริบทการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป